ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลไม้ขาว

พิกัด: 8°10′52.3″N 98°17′57.1″E / 8.181194°N 98.299194°E / 8.181194; 98.299194
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลไม้ขาว
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Mai Khao
ประเทศไทย
จังหวัดภูเก็ต
อำเภอถลาง
ประชากร
 (31 ธันวาคม 2561)
 • ทั้งหมด13,333 คน
รหัสไปรษณีย์ 83110
รหัสภูมิศาสตร์830305
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลไม้ขาว
แผนที่
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลไม้ขาว
พิกัด: 8°10′52.3″N 98°17′57.1″E / 8.181194°N 98.299194°E / 8.181194; 98.299194
ประเทศ ไทย
จังหวัดภูเก็ต
อำเภอถลาง
การปกครอง
 • นายกสราวุธ ศรีสาคูคาม
รหัส อปท.06830306
ที่อยู่ที่ทำการ100 หมู่ 5 ถนนเทพกระษัตรี ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 83110
เว็บไซต์www.maikhaow.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ไม้ขาว เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

ประวัติศาสตร์

[แก้]

เมื่อประมาณ 1,000 กว่าปีก่อน ชาวบ้านเรือนที่อยู่ที่ตีนเขาเรียกว่า “บ้านใน” ซึ่งมีบ้านเรือนมากพอสมควร (ใกล้กับบ้านบ่อสอม ในปัจจุบัน) สมัยนั้นยังไม่มีการปลูกยางพาราและการปลูกสับปะรดแดง ต่อมาชาวบ้านเกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้น เชื่อกันว่าสาเหตุที่เจ็บไข้นั้นเพราะเงาของภูเขามาบังทับบ้านเรือน ดังนั้นชาวบ้านจึงย้ายมาอยู่บริเวณชายทะเลฝั่งตะวันตกของทะเลอันดามัน เรียกว่าบ้านหัวนอน และ บ้านใต้ตีน ในสมัยนั้น พื้นที่นี้มีลักษณะเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามบริเวณนี้มีคนจีนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว 5-6 ครัวเรือน หลังจากนั้นมีการขยายบ้านเรือนเพื่อมากขึ้น ซึ่งในป่าทึบดังกล่าวมีต้นไม้ขนาดใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง ต้นไม้ต้นใหญ่นี้มีลักษณะสีขาวทั้งต้น ดังนั้นชาวบ้านจึงได้ตั้งซื้อหมู่บ้านนี้ว่า “หมู่บ้านไม้ขาว” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ในสมัยก่อนที่ยังไม่มีสะพานสารสิน เมื่อเรือวิ่งข้ามฝั่งเข้ามาจะมองเห็นต้นไม้สีขาวโดดเด่นมาก ปัจจุบันชาวบ้านทราบว่าต้นไม้ต้นนั้นไม่มีอยู่แล้ว[ต้องการอ้างอิง] ตำบลไม้ขาวเดิมมี 5 หมู่บ้าน ปัจจุบันแยกออกเป็น 7 หมู่บ้าน

ภูมิศาสตร์

[แก้]

สภาพที่ตั้ง ภูมิประเทศ

[แก้]

ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งอยู่ตอนเหนือและทางตะวันตกของ เกาะภูเก็ต พื้นที่ตำบลไม้ขาวตั้งอยู่บริเวณด้านเหนือสุดและตะวันตกของเกาะภูเก็ต พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ พื้นที่ตอนกลางของตำบลไม้ขาวเป็นที่ราบสูง และลาดลงสู่ทะเล ทั้ง 3 ด้าน ทิศตะวันออกจดทะเลอันดามัน ทิศตะวันตกจดทะเลอันดามัน รวมทั้งทิศเหนือด้วย พื้นที่ตำบลไม้ขาวประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน ซึ่งมีลักษณะพื้นที่ที่ต่างกันและเหมือนกันหลายพื้นที่ คือ มีพื้นที่ติดทะเล ได้แก่ พื้นที่หมู่ 4 บ้านไม้ขาว หมู่ 5 บ้านท่าฉัตรไชย หมู่ 2 บ้านคอเอน ,หมู่ 1 บ้านหมากปรก และยังมีพื้นที่สำหรับการเกษตรกรรม เช่น หมู่ 3 บ้านสวนมะพร้าว และ หมู่ 4 บ้านไม้ขาว ตำบลไม้ขาวมีควนเขา 3 ลูก เขาคอเอนสูง 200 เมตร เขาบางดุกสูง 268 เมตรและ เขาบ่อไทรสูง 141 เมตร มีเกาะ 2 เกาะ คือ เกาะนก และเกาะกะลา พื้นที่ชายฝั่งด้านตะวันออกเป็นดินเลนและป่าชายเลน ส่วนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเป็นหาดทรายที่สวยงาม

สันนิษฐานว่าเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเล เนื่องจากพรุผืนนี้อยู่ขนานชายฝั่งทะเล กระแสน้ำตามธรรมชาติบริเวณชายฝั่ง อาจพัดพาตะกอนมาทำให้เกิดสันทรายขนานกับชายฝั่งเดิม และปิดกั้นเกิดเป็นแอ่ง ต่อมาเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพธรณีวิทยาและนิเวศวิทยา ทำให้น้ำจากน้ำทะเลกลายเป็นน้ำกร่อยและน้ำจืด มีการทับถมและการแทนที่ของสังคมพืชต่าง ๆ

ทรัพยากร

[แก้]

ตำบลไม้ขาวมีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติอุทยานแห่งชาติสิรินาถและที่ดินราชพัสดุ 4,208 ไร่ ป่าเขาไม้พอกและป่าเขาไม้แก้ว 4,444 ไร่ ป่าพรุ 605 ไร่ ป่าชายเลนคลองอู่ตะเภา มีพื้นที่ 1,556.25 ไร่ ติดทะเลอันดามันชายฝั่งด้านตะวันออกของตำบลไม้ขาวเป็นพื้นที่ที่เป็นธรรมชาติซึ่งมีลักษณะพิเศษ ประกอบไปด้วยพืชพรรณนานาชนิด และสัตว์นานาพันธ์ดำรงชีวิตร่วมกัน ในสภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลน น้ำกร่อยและมีน้ำทะเลท่วมถึงอยู่สม่ำเสมอและยังเป็นแหล่งผลิตอาหารและพลังงานที่สำคัญ พรรณไม้ป่าชายเลนได้แก่โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก แสม พังกาหัวสุม ลำพู ลำแพนและตะบูน นอกจากนี้ป่าชายเลนฯยังอุดมไปด้วยพืชนานาชนิด เช่น ตาตุ่มเหงือกปลาหมอ ถั่วขาว ถั่วดำ ปรงทะเล รวมทั้งเอผีไฟท์ เช่นกาฝาก กล้วยไม้ ซึ่งขึ้น

ประชากร

[แก้]
  • จำนวนประชากร ทั้งสิ้น 11,658 คน เป็นชาย 5,836 คน เป็นหญิง 5,822 คน (พ.ศ. 2551)
  • ศาสนา ศาสนาพุทธ 60%, ศาสนาอิสลาม 35% , ศาสนาคริสต์ 3% , นับถือผี (ชาวเล,มอแกน) 2%

ประเพณีและวัฒนธรรม

[แก้]
  • ประเพณีลอยเรือและประเพณีนอนหาด (ไทยใหม่) งานประเพณีลอยเรือจัดปีละ 2 ครั้ง ในเดือนหกและเดือนสิบเอ็ดทุกปี
  • ประเพณีนอนหาด ณ หาดหินลูกเดียว หมู่ที่ 5 ต.ไม้ขาว
  • ประเพณีรียาเราะฮ์กุโบร์บ้านหมากปรก

เศรษฐกิจ

[แก้]

ประเภทอุตสาหกรรมครัวเรือน,การเกษตร

[แก้]

ผ้าบาติก, กะปิ, ตะกล้าพลาสติก

การคมนาคม

[แก้]

ตำบลไม้ขาวมีเส้นทางคมนาคม 3 ทาง ได้แก่ ทางบก ทางน้ำและทางอากาศ การคมนาคมทางบก มีทางหลวงหมายเลข 402 ( ภูเก็ต - สารสิน ) เป็นเส้นทางหลัก และมีทางหลวงชนบทรวมทั้งเส้นทางอื่นๆ ที่แยกออกจากทางหลวงหมายเลข 402 และทางหลวงชนบท ไปยังชุมชน หมู่บ้านและสถานที่ท่องเที่ยว ชายหาดต่าง ๆ สำหรับทางน้ำตำบลไม้ขาว มีท่าเทียบเรือยอร์ช 1 แห่ง ท่าเทียบเรือท่องเที่ยวของเอกชน 1 แห่ง อยู่บริเวณ หมู่ที่ 2 ( บ้านคอเอน ) และท่าเทียบเรือท่องเที่ยวและเรือประมงบ้านท่าฉัตรไชย 1 แห่ง นอกจากนั้นยังมีท่าเทียบเรือขนาดเล็กอีก 2 แห่ง ส่วนทางอากาศมีสนามบินนานาชาติภูเก็ต ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร เชื่อมโยงทั้งภายในประเทศและต่างประเทศโดยตรง

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]
  1. สะพานสารสิน (Sarasin Bridge)
  2. ประตูเมืองภูเก็ต (Phuket Gateway)
  3. อุทยานแห่งชาติสิรินาถ (Sirinath National Park)
  4. พรุเจ๊ะสัน (Pud Jimson)
  5. หาดไม้ขาว (Mai Khao Beach)
  6. หาดทรายแก้ว (Sai Kaew Beach)
  7. Phuket Airport Viewpoint
  8. Yacht Haven Marina Phuket
  9. สวนน้ำสแปลช จังเกิ้ล (splash jungle)

ศาสนสถาน

[แก้]
  1. วัดไม้ขาว
  2. วัดท่าฉัตรไชย
  3. มัสยิดบ้านหยิด
  4. มัสยิดบ้านคอเอน
  5. มัสยิดบ้านบางดุก
  6. มัสยิดหมากปรก
  7. มัสยิดทุ่งคา
  8. มัสยิดบ่อสอม
  9. มัสยิดท่าฉัตรไชย

โรงเรียน

[แก้]
  1. โรงเรียนบ้านท่าฉัตรไชย
  2. โรงเรียนหงษ์หยกบำรุง
  3. โรงเรียนบ้านไม้ขาว (Ban Maikhao School)
  4. โรงเรียนบ้านคอเอน
  5. โรงเรียนบ้านหมากปรก

สถานีอนามัย

[แก้]
  1. สถานีอนามัยบ้านไม้ขาว
  2. สถานีอนามัยบ้านคอเอน

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]