ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อะแซหวุ่นกี้"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 52: บรรทัด 52:


[[หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 1720]]
[[หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 1720]]
[[หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์คองบอง]]
[[หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์โกนบอง]]
[[หมวดหมู่:ทหารชาวพม่า]]
[[หมวดหมู่:ทหารชาวพม่า]]
[[หมวดหมู่:บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา]]
[[หมวดหมู่:บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:08, 21 เมษายน 2561

อะแซหวุ่นกี้
မဟာသီဟသူရ
เกิดประมาณค.ศ. 1720
หุบเขามู, ราชอาณาจักรพม่า
เสียชีวิตค.ศ. 1782
อังวะ, ราชอาณาจักรพม่า
รับใช้ราชวงศ์คองบอง
แผนก/สังกัดกองทัพอาณาจักรพม่า
ประจำการค.ศ. 1752–1776
ชั้นยศผู้บัญชาการทหาร, พลเอก (1752–1768)
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (1768–1776)[1]
การยุทธ์สงครามคองบอง-หงสาวดี (1752–1757)
สงครามพม่า-สยาม (1765, 1775–1776)
สงครามจีน-พม่า (1766–1769)
รัฐมณีปุระก่อกบฎ (1770)
งานอื่นรัฐมนตรี (1776–1777)
รัฐมนตรีสูงสุด (1782)

อะแซหวุ่นกี้ (ราว พ.ศ. 2246 - พ.ศ. 2325) เป็นแม่ทัพเฒ่าชาวพม่าผู้เคยทำสงครามพิชิตแคว้นมณีปุระ และปกป้องกรุงอังวะจากกองทัพจีน ชื่อของอะแซหวุ่นกี้นั้น ตามสำเนียงพม่าออกเสียงว่า อะติ๊กหวุ่งหยี่ หรือ หวุ่งยีตีหะตุระ ทั้งนี้ไม่ใช่ชื่อบุคคลแต่เป็นชื่อตำแหน่งขุนนาง เป็นตำแหน่งของเสนาบดีที่ดูแลไพร่ราบหรืออะติ๊ก และมีอีกชื่อหนึ่งที่อาจออกสำเนียงไทยได้ว่า "หวุ่งยีมหาเสนาบดี" สำหรับในภาษาอังกฤษนั้นเรียกตามชื่อตำแหน่งในภาษาพม่าว่า Maha Thiha Thura (พม่า: မဟာသီဟသူရ, "มหาสีหสุระ", แปลว่า "มหาเสนาบดีผู้กล้าดุจราชสีห์")

แม่ทัพคู่บารมีพระเจ้ามังระ

อะแซหวุ่นกี้เป็นหนึ่งในแม่ทัพของพระเจ้าอลองพญา ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์คองบอง ตั้งแต่สมัยที่พระเจ้าอลองพญายังเป็นสามัญชน เป็นหนึ่งใน 68 ทหารผู้กล้าหาญที่ร่วมกันสถาปนาราชวงศ์คองบอง และเป็นหนึ่งในแม่ทัพใหญ่ของพม่าที่พระเจ้ามังระไว้วางพระราชหฤทัยมากที่สุด โดยจะให้เป็นแม่ทัพใหญ่ทุกครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งอะแซหวุ่นกี้ผู้นี้ก็ไม่เคยทำให้พระเจ้ามังระผิดหวังเลย นับได้ว่าเป็นแม่ทัพคู่บารมีของพระเจ้ามังระอย่างแท้จริง

สงครามจีน-พม่า (พ.ศ. 2308-2312)

ในการรบกับราชวงศ์ชิงของจีนครั้งนี้ อะแซหวุ่นกี้สามารถสร้างผลงานการรบได้อย่างยอดเยี่ยม สามารถใช้คนน้อยเอาชนะคนมาก เมื่อเจอกองทัพใดที่แข็งแกร่งก็เลี่ยงไม่ประทะโดยตรงแต่ล่อให้บุกเข้ามาเรื่อยๆจากนั้นหาทางตัดเสบียง และสามารถเอาชนะได้ในทุกครั้ง ถึงแม้ต้าชิงจะบุกมาถึง 4 รอบรวมทหารแล้วมากกว่า140,000นาย แต่ก็ไม่เคยชนะแม่ทัพเฒ่าผู้นี้ได้เลย ในสงครามครั้งนี้ก่อกำเนิดแม่ทัพที่ยิ่งใหญ่หลายนาย รวมไปถึงแม่ทัพที่รักษาเมืองกองตนอย่างบาลามินดิน, เนเมียวสีหตู รวมถึงเนเมียวสีหบดีที่กลับจากอยุธยามาช่วยกรุงอังวะได้ทันในการบุกครั้งที่4

สุดท้ายเมื่อการต่อสู้ดำเนินมาจนทั้งสองฝ่ายต่างอ่อนล้าเต็มที่ และหาประโยชน์อะไรจากการต่อสู้ที่ยืดเยื้อนี้ไม่ได้ โดยในขณะนั้นกองทัพต้าชิงได้ถูกกองทัพอังวะล้อมกระหนาบเอาไว้แล้วโดยกองทัพของเนเมียวสีหบดีที่กลับมาจากการพิชิตกรุงศรีอยุธยา อะแซหวุ่นกี้พิจรณาแล้วว่าต่อให้ทำลายกองทัพต้าชิงครั้งนี้ไปอีกจักรพรรดิเฉียนหลงก็คงส่งกองทัพมาอีก ดังนั้นอะแซหวุ่นกี้จึงขอเจรจาสงบศึกแม้จะยังไม่ได้รับพระราชานุญาตจากพระเจ้ามังระ และจักรพรรดิเฉียนหลงก็ตามสุดท้ายเกิดเป็นสนธิสัญญากองตน แม้ทั้งพระเจ้ามังระและจักรพรรดิเฉียนหลงจะไม่ทรงพอพระทัยกับการเจรจาโดยพลการของแม่ทัพทั้ง2 แต่เมื่อพิจารณาแล้วก็เห็นโทษมากกว่าคุณจึงไม่ได้ทำโทษร้ายแรงแก่แม่ทัพทั้ง2 หลังจากกลับมาพระเจ้ามังระจึงลงโทษภรรยาของอะแซหวุ่นกี้ ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่ของพระชายาองค์หนึ่งของพระองค์ด้วย ด้วยการให้ยืนตากแดดและทูลหัวด้วยเครื่องบรรณาการจากจีน นอกจากนี้แล้วอะแซหวุ่นกี้ยังมีศักดิ์เป็นพระสัสสุระ(พ่อตา) ของพระเจ้าจิงกูจา หรือพระเจ้าเซงกูด้วย[2][3]

หมายพิชิตกรุงธนบุรี (พ.ศ. 2318-2319)

ศึกกรุงธนบุรีครั้งนี้อะแซหวุ่นกี้วัย 72 ปีได้เดินทางมาถึงเมืองพิษณุโลกแล้ว แต่ไม่อาจเอาชัยได้โดยง่ายนักเนื่องจากในขณะนั้นพระเจ้าตากสิน ได้ส่งพระยาจักรี และพระยาสุรสีห์มาป้องกันเมืองพิษณุโลกอันเป็นหัวเมืองใหญ่ด่านสุดท้ายเอาไว้ ซึ่งการต่อสู้ก็เป็นไปอย่างดุเดือดแม้พระยาจักรีจะทรงใช้การแบ่งกำลังทหารแต่งเป็นกองโจรคอยดักซุ่มตัดเสบียงอาหารเป็นที่ได้ผลในช่วงแรก แต่ด้วยประสบการณ์ของแม่ทัพเฒ่าผู้นี้ก็ทำให้สามารถรับมือได้ทุกครั้ง เมื่อการรบไม่อาจหักเอาได้ด้วยกำลังอะแซหวุ่นกี้ก็ได้ใช้แผนเมื่อครั้งสยบกองทัพต้าชิงนั้นคือหลีกเลี่ยงการปะทะกับกองทัพที่แข็งแกร่ง ทำเพียงตรึงเอาไว้ และหาทางตัดเสบียงอาหาร กล่าวคือเมื่อเจอกองทัพของพระยาจักรี ก็ไม่ส่งทัพใหญ่เข้าปะทะด้วยตรงๆ แต่ให้ทหารเข้าปะทะเพื่อตรึงไว้เท่านั้น จากนั้นก็แต่งกองโจรคอยดักปล้นเสบียงอาหารและตัดกำลังเสริมที่จะเข้ามาช่วยพิษณุโลก สุดท้ายการรบระหว่างอะแซหวุ่นกี้ กับพระยาจักรีก็จบลง แอแซหุว่นกี้สามารถเข้ายึดพิษณุโลกได้แต่ก็ไม่สามารถรุกต่อได้ในทันที ต้องเสียเวลาหาเสบียงอาหารอยู่หลายวัน เนื่องจากเจ้าพระยาจักรีได้แต่งทัพซุ่มมาตัดเสบียงแม่ทัพเฒ่าผู้นี้เอาไว้ตลอดการศึก นับเป็นการสู้รบที่อะแซหวุ่นกี้ทั้งแปลกใจและชื่นชมแม่ทัพศัตรูผู้นี้มาก เมื่อพิชิตเมืองพิษณุโลกอันเป็นหัวใจหลักในแผนป้องกันของกรุงธนบุรีได้แล้ว อะแซหวุ่นกี้จึงได้แบ่งกองทัพออกเป็น3สายกวาดต้อนผู้คนและเสบียงไหล่บ่าลงมาพร้อมๆกัน ส่วนอะแซหวุ่นกี้เป็นทัพหลวงคอยหนุนทัพต่างๆอีกที ในขณะนี้กองทัพทุกสายพร้อมแล้วที่จะมาบรรจบที่กรุงธนบุรี อีกทางด้านหนึ่งพระเจ้ามังระ ก็ส่งเนเมียวสีหบดียกทัพเข้ายึดหัวเมืองทางเหนือได้ราบคาบ ส่วนทัพทางใต้ก็สามารถยึดเมืองกุย เมืองปราณเอาไว้ได้แล้วเช่นกัน ทั้ง2ทัพเตรียมมุ่งสู่กรุงธนบุรีอีกทางหนึ่ง ขณะนั้นสถานการของกรุงธนบุรีวิกฤตมากเนื่องจากหัวเมืองใหญ่เมืองสุดท้ายอย่างพิษณุโลกแตกแล้ว ทั้งทัพใหญ่ของเนเมียวสีหบดีอีกสายก็ตีเชียงใหม่แตกแล้ว อีกทั้งทัพทางใต้ก็ตีมาถึงเมืองเพรชบุรีแล้วเช่นกัน และกำลังจะไหลบ่าลงมารวมกับทัพของอะแซหวุ่นกี้อีก แต่แล้วเหตุการณ์เหนือความคาดหมายก็เกิดขึ้นเมื่อมีข่าวด่วนจากรุงอังวะใจความว่า พระเจ้ามังระเสด็จสวรรคตแล้ว

ตามบันทึกในพงศาวดารฝ่ายไทย (ฝ่ายเดียว) เล่าว่า อะแซหวุ่นกี้วัย 72 ปี ชืนชมเจ้าพระยาจักรีท่านนี้มากที่สามารถมองแผนการของเขาออก และต่อสู้ได้อย่างกล้าหาญจนเป็นที่น่าเกรงขามของกองทัพพม่า จึงได้เกิดการพักรบหนึ่งวันเพื่อดูตัว เมื่อได้พบอะแซหวุ่นกี้ก็ยิ่งแปลกใจขึ้นไปอีก เพราะแม่ทัพที่ต่อสู้กับเขาอย่างสูสียังเป็นเพียงแม่ทัพหนุ่ม จึงได้สรรเสริญเจ้าพระยาจักรีว่าภายหน้าจะได้เป็นพระมหากษัตริย์ ซึ่งต่อมาเจ้าพระยาจักรีก็คือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือรัชกาลที่ 1 และเนินดินที่อะแซหวุ่นกี้ขอดูตัวเจ้าพระยาจักรี อยู่ที่หน้าสำนักงานเทศบาลเมืองพิษณุโลกในปัจจุบัน (ปัจจุบันราชการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 1 บนเนินนี้)[4][5]

ประกาศแก่นายกองทั้งปวง

ในหนังสือพระราชพงศาวดารฝ่ายไทยอะแซหวุ่นกี้พูดเชิงตัดพ้อและยกย่องกรุงธนบุรีประมาณว่า พลาดโอกาสครั้งนี้ไป จะหาโอกาสเช่นนี้อีกในภายภาคหน้านั้นยากเสียแล้ว โดยประกาศแก่พวกนายกองทั้งปวงว่า

  • ไทยเดี๋ยวนี้ฝีมือเข้มแข็งนัก ไม่เหมือนไทยแต่ก่อน และเมืองพิษณุโลกเสียครั้งนี้จะได้เสียเพราะฝีมือทหารแพ้เราทั้งหมดนั้นหามิได้ เพราะเขาอดข้าวขาดเสบียงอาหารจึงเสียเมือง ก็ใครเล่าซึ่งจะมารบเมืองไทยสืบไปภายหน้า หากเป็นแม่ทัพที่มีสติปัญญาและฝีมือแต่เพียงแค่เสมอเรา หรือต่ำกว่าเรานั้น อย่ามาทำสงครามตีเมืองไทยเลยจะเอาชัยชนะเขาเสียมิได้ แม้นมีฝีมือดีกว่าเราจึงจะมาทำศึกกับไทยได้ชัยชนะ

ถอนทัพ

ยังไม่ทันที่จะได้รบตัดสินแพ้ชนะกัน อะแซหวุ่นกี้ต้องยกทัพกลับอังวะอย่างกะทันหัน เมื่อทางกรุงอังวะแจ้งข่าวพระเจ้ามังระสวรรคต อะแซหวุ่นกี้จึงต้องนำทัพกลับไปปกป้องพระเจ้าจิงกูจาราชบุตรพระเจ้ามังระ เพื่อป้องกันเหตุความวุ่นวายที่อาจจะมีเนื่องจากอยู่ในช่วงผลัดแผ่นดิน ซึ่งเหล่าบรรดาขุนนางและเสนาอำมาตย์ต่างแตกออกเป็นพวกๆ ให้การสนับสนุนเชื้อพระวงศ์คนละพระองค์ ส่วนอะแซหวุ่นกี้ต้องกลับไปปกป้องราชบุตรของพระเจ้ามังระที่พระองค์ฝากฝังไว้ ครั้งนั้นอะแซหวุ่นกี้มีคำสั่งให้ม้าเร็ว3หน่วย วิ่งไปบอกกองทัพทั้ง3สายที่ไหล่บ่าสู่กรุงธนุบุรีว่าให้รีบถอนกำลังทั้งหมดกลับมาทันที แต่ม้าเร็วแจ้งทันแค่2กองทัพ อีกหนึ่งกองทัพไปไกลแล้ว อะแซหวุ่นกี้จึงมีคำสั่งให้ประหารม้าเร็วหน่วยนั้นเสีย จากนั้นเร่งกองทัพทั้งกลางวันกลางคืนกลับสู่กรุงอังวะ ทิ้งกองทัพอีก1กองที่เหลือไว้ในกรุงธุนบุรีโดยไม่รอ

ถูกถอดยศและลดตำแหน่ง

เมื่อพระเจ้าจิงกูจามีตำแหน่งที่มั่นคงแล้ว ได้ทำสิ่งที่ทำให้แม่ทัพนายกองแห่งราชวงค์คองบองตกใจเป็นอย่างยิ่ง คือพระองค์ได้ทำการถอดยศอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพคู่บารมีของพระเจ้ามังระพระบิดาของพระองค์ลง และเนรเทศไปอยู่เมืองสะกายทั้งที่แม่ทัพเฒ่าผู้นี้ยกทัพกลับมาปกป้องตำแหน่ง และรักษาอำนาจในการปกครองสูงสุดให้แก่พระองค์จนมีความมั่นคง เหตุก็อาจเนื่องมาจากทรงระแวงอะแซหวุ่นกี้ที่มีอำนาจ และบารมีทางการทหารมากเกินไป หรืออีกนัยหนึ่งคือต้องการแสดงพระราชอำนาจให้ผู้คนทั้งแผ่นดินเห็นว่า ใครคือผู้กุมอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน

บั้นปลายชีวิต

อะแซหวุ่นกี้เป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าหม่องหม่องให้รัฐประหารพระเจ้าจิงกูจาที่สืบราชสมบัติจากพระราชบิดา เนื่องจากทนเห็นสภาพบ้านเมืองที่เป็นอยู่ไม่ได้ ต่อมาร่วมมือกับพระเจ้าปดุงปราบดาภิเษก พระเจ้าปดุงขึ้นครองราชย์แล้วโปรดให้คืนตำแหน่งแก่อะแซหวุ่นกี้ตามเดิม แต่ไม่ได้ให้อำนาจทางการทหารไว้ ต่อมาได้ประหารอะแซหวุ่นกี้โดยให้เหตุว่า อะแซหวุ่นกี้ได้สนับสนุนน้องอีกคนของพระเจ้าปดุงยึดอำนาจแต่ไม่สำเร็จ[6][7][8]

อ้างอิง

  1. Htin Aung, p. 181
  2. "ประวัติศาสตร์ไทยรบพม่า ตอน ศึกอะแซหวุ่นกี้ 1/2 อ.วีระ ธีรภัทร". 2015-09-21. สืบค้นเมื่อ 2017-05-12.
  3. "ประวัติศาสตร์ไทยรบพม่า ตอน ศึกอะแซหวุ่นกี้ 2/2 อ.วีระ ธีรภัทร". 2015-09-21. สืบค้นเมื่อ 2017-05-12.
  4. http://kanchanapisek.or.th/kp8/culture/psl/phis132.html
  5. [1]
  6. "ประวัติศาสตร์ วาระสุดท้ายอาณาจักรอยุธยา 1/3 อ.วีระ ธีรภัทร". 2015-09-17. สืบค้นเมื่อ 2017-05-12.
  7. "ประวัติศาสตร์ วาระสุดท้ายอาณาจักรอยุธยา 2/3 อ.วีระ ธีรภัทร". 2015-09-17. สืบค้นเมื่อ 2017-05-12.
  8. "ประวัติศาสตร์ วาระสุดท้ายอาณาจักรอยุธยา 3/3 อ.วีระ ธีรภัทร". 2015-09-18. สืบค้นเมื่อ 2017-05-12.