ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ArthitOnline (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 121: บรรทัด 121:
* [http://www.tourismthailand.org Tourism Thailand ข้อมูลการท่องเที่ยวฉบับภาษาอังกฤษ]
* [http://www.tourismthailand.org Tourism Thailand ข้อมูลการท่องเที่ยวฉบับภาษาอังกฤษ]
* [http://www.osotho.com/th/home/index.php อนุสาร อสท.] - นิตยสารการท่องเที่ยวของ ททท.
* [http://www.osotho.com/th/home/index.php อนุสาร อสท.] - นิตยสารการท่องเที่ยวของ ททท.
* [http://arthitonline.blogspot.com/2011/03/android-app-amazingthailand.html แนะนำ Android App "AmazingThailand" ]


{{กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของไทย}}
{{กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของไทย}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:44, 29 เมษายน 2554

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ไฟล์:LogoTAT.jpg
ภาพรวมรัฐวิสาหกิจ
งบประมาณประจำปี5,243.8 ล้านบาท (พ.ศ. 2554)[1]
เว็บไซต์http://www.tat.or.th

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตัวย่อ ททท. (Tourism Authority of Thailand) เป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีภารกิจในการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศไทย

ประวัติ

การส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทยเกิดขึ้นโดยพระดำริของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ครั้งทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการรถไฟ ใน พ.ศ. 2467 ได้มีการจัดตั้งแผนกโฆษณาของการรถไฟขึ้น มีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรมรถไฟ เชิงสะพานนพวงศ์ ต่อมาได้ย้ายมาตั้งที่สถานีรถไฟหัวลำโพง เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงย้ายไปดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์ และคมนาคม งานด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว ได้ย้ายไปอยู่ที่กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงคมนาคมด้วย

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2492 คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นควรปรับปรุงหน่วยงานท่องเที่ยวขึ้นใหม่ จึงได้มีมติให้กรมโฆษณา การยกร่างโครงการปรับปรุงหน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ในการประชุม เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2492 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กรมโฆษณาการพิจารณาส่งเสริมการท่องเที่ยว กรมโฆษณาการได้ทำความตกลงกับกระทรวงเศรษฐการ ซึ่งในสมัยนั้นมีชื่อว่า กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ขอโอนกิจการส่งเสริมการท่องเที่ยว จากกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมมาอยู่กับกรมโฆษณาการ สำนักนายกรัฐมนตรี และให้เรียกส่วนงานนี้ว่า สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว

ต่อมากรมโฆษณาการได้พิจารณาเห็นว่ากิจการส่งเสริมการท่องเที่ยวกำลังตื่นตัวในประเทศไทยมาก จึงได้จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวให้มีฐานะเทียบเท่ากอง เรียกว่า สำนักงานท่องเที่ยว โดยพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมโฆษณาการในสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2493

ใน พ.ศ. 2501 เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ไปพักรักษาตัวอยู่ ณ โรงพยาบาลวอลเตอร์รีด สหรัฐอเมริกา ได้ศึกษากิจการท่องเที่ยวด้วยความสนใจ และได้ดำริที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศอย่างจริงจัง ในปีต่อมาเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดแบ่งส่วนราชการ กรมประชาสัมพันธ์ พ.ศ. 2502 โดยตัด "สำนักงานท่องเที่ยว" ออก แล้วจัดตั้งขึ้นเป็นองค์การอิสระ เรียกว่า องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มีชื่อย่อว่า อ.ส.ท. โดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว พ.ศ. 2502

องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว พ.ศ. 2502 นั้น มีหน้าที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้ขยายตัวอย่างกว้างขวางรวดเร็ว จำเป็นต้องปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของ อ.ส.ท. ให้มีขอบเขตการปฏิบัติงานกว้างขวางยิ่งขึ้นทั้งในด้านการพัฒนา อนุรักษ์ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว และ การส่งเสริมเผยแพร่ จึงได้มีการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ ร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพื่อให้ หน่วยงานการท่องเที่ยวของรัฐ มีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบในการพัฒนาส่งเสริมเผยแพร่ และ ดำเนินกิจการ เพื่อเป็นการริเริ่มให้มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนคุ้มครองให้ความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวด้วย สภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งทำหน้าที่รัฐสภาในการประชุมครั้งที่ 41 วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2522 ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับ แล้วปรากฏว่า ร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบธุรกิจ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไม่ผ่านการพิจารณา ส่วนพระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ผ่านการพิจารณาประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 96 ตอนที่ 72 วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 จัดตั้ง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ขึ้น มีชื่อย่อว่า ททท.

ที่ตั้งและสำนักงานสาขา

สำนักงานใหญ่ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สำนักงานใหญ่) 1600 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0 2250 5500 โทรสาร 0 2250 5511

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยยังมีสำนักงานสาขาตามจังหวัดต่างๆ และสำนักงานสาขาในต่างประเทศอีกเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันสาขาในประเทศไทยแบ่งหน่วยงานรับผิดชอบดังนี้

ภาคเหนือ

  • สำนักงานเชียงใหม่ (เชียงใหม่ ลำปาง และลำพูน)
  • สำนักงานเชียงราย (เชียงราย พะเยา)
  • สำนักงานแม่ฮ่องสอน (แม่ฮ่องสอน)
  • สำนักงานตาก (ตาก)
  • สำนักงานแพร่ (แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ )
  • สำนักงานพิษณุโลก (พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร)
  • สำนักงานสุโขทัย (สุโขทัย กำแพงเพชร)
  • สำนักงานอุทัยธานี (อุทัยธานี นครสวรรค์)

ภาคกลาง

  • สำนักงานกาญจนบุรี (กาญจนบุรี)
  • สำนักงานกรุงเทพฯ (สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา นนทบุรี ปทุมธานี)
  • สำนักงานเพชรบุรี (เพชรบุรี ราชบุรี)
  • สำนักงานพัทยา (ชลบุรี)
  • สำนักงานระยอง (จันทบุรี ระยอง )
  • สำนักงานตราด (ตราด)
  • สำนักงานพระนครศรีอยุธยา (พระนครศรีอยุธยา)
  • สำนักงานลพบุรี (ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี)
  • สำนักงานนครนายก (นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว)
  • สำนักงานสุพรรณบุรี (สุพรรณบุรี อ่างทอง ชัยนาท)
  • สำนักงานประจวบคีรีขันธ์ (ประจวบคีรีขันธ์)
  • สำนักงานสมุทรสงคราม (สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • สำนักงานนครราชสีมา (ชัยภูมิ นครราชสีมา)
  • สำนักงานอุบลราชธานี (ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี)
  • สำนักงานขอนแก่น (ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์)
  • สำนักงานนครพนม (นครพนม มุกดาหาร สกลนคร)
  • สำนักงานอุดรธานี (หนองคาย อุดรธานี)
  • สำนักงานเลย (เลย หนองบัวลำภู)
  • สำนักงานสุรินทร์ (สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ)

ภาคใต้

  • สำนักงานหาดใหญ่ (สงขลา พัทลุง)
  • สำนักงานนครศรีธรรมราช (นครศรีธรรมราช)
  • สำนักงานนราธิวาส (นราธิวาส ปัตตานี ยะลา)
  • สำนักงานภูเก็ต (ภูเก็ต)
  • สำนักงานสุราษฎร์ธานี (สุราษฎร์ธานี)
  • สำนักงานตรัง (ตรัง สตูล)
  • สำนักงานกระบี่ (กระบี่ พังงา)
  • สำนักงานชุมพร (ชุมพร ระนอง)

สำนักงานในต่างประเทศ

ทวีปยุโรป

ทวีปเอเซีย

ทวีปอเมริกาเหนือ

ทวีปออสเตรเลีย

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น