ข้ามไปเนื้อหา

พิกซาร์

พิกัด: 37°49′58″N 122°17′02″W / 37.8327°N 122.2838°W / 37.8327; -122.2838
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิกซาร์แอนิเมชันสตูดิโอส์
ประเภทบริษัทย่อย
อุตสาหกรรมแอนิเมชัน
ก่อนหน้าเดอะกราฟิกส์กรุปออฟลูคัสฟิล์มคอมพิวเตอร์ดิวิชัน (ค.ศ. 1979–1986)
ก่อตั้ง3 กุมภาพันธ์ 1986; 38 ปีก่อน (1986-02-03) ใน ริชมอนด์, แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐ[a]
ผู้ก่อตั้ง
สำนักงานใหญ่1200 พาร์ก อเวนิว, ,
สหรัฐ
37°49′58″N 122°17′02″W / 37.8327°N 122.2838°W / 37.8327; -122.2838
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
บุคลากรหลัก
ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน
ตราสินค้าพิกซาร์อิมเมจคอมพิวเตอร์, พิกซาร์เรนเดอร์แมน
เจ้าของสตีฟ จอบส์ (ค.ศ. 1986-2011)
พนักงาน
1,233 (พ.ศ. 2563) Edit this on Wikidata
บริษัทแม่
เว็บไซต์www.pixar.com แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
เชิงอรรถ / อ้างอิง
[1][2][3]

พิกซาร์แอนิเมชันสตูดิโอส์ (อังกฤษ: Pixar Animation Studios) หรือเรียกกันทั่วไปว่า พิกซาร์ เป็นสตูดิโอคอมพิวเตอร์แอนิเมชันอเมริกัน เป็นที่รู้จักจากภาพยนตร์คอมพิวเตอร์แอนิเมชันที่ประสบความสำเร็จทั้งในด้านคำวิจารณ์และในเชิงพาณิชย์ ตั้งอยู่ที่เมือง เอเมอรีวิลล์, รัฐแคลิฟอร์เนีย และเป็นบริษัทในเครือของ วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์ ที่เป็นเจ้าของโดย บริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์

พิกซาร์เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1979 โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนกคอมพิวเตอร์ของลูคัสฟิล์มซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ กราฟิกกรุป ก่อนจะแยกตัวออกมาก่อตั้งเป็นบริษัทในปี ค.ศ. 1986 ด้วยการระดมทุนจาก สตีฟ จอบส์ ผู้ร่วมก่อตั้งของแอปเปิล ซึ่งกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่[2] ดิสนีย์ซื้อพิกซาร์ในปี ค.ศ. 2006 ด้วยมูลค่ามากกว่า 7.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแปลงหุ้นของพิกซาร์แต่ละหุ้นเป็น 2.3 หุ้นของหุ้นดิสนีย์[4][5] พิกซาร์เป็นที่รู้จักกันอย่างดีจากภาพยนตร์ของสตูดิโอที่ใช้เทคโนโลยี เรนเดอร์แมน เอพีไอสร้างภาพกราฟิกส์ระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมของบริษัทเอง ลักโซจูเนียร์ โคมไฟจากภาพยนตร์สั้นชื่อเดียวกันในปี ค.ศ. 1986 เป็นตัวนำโชคของสตูดิโอ

พิกซาร์สร้างภาพยนตร์แอนิเมชันแล้วทั้งหมด 27 เรื่อง โดยเริ่มต้นจาก ทอย สตอรี่ (1995) ซึ่งเป็นภาพยนตร์คอมพิวเตอร์แอนิเมชันขนาดยาวเรื่องแรก ภาพยนตร์เรื่องล่าสุดคือ เมืองอลวนธาตุอลเวง (2023) สตูดิโอยังสร้างภาพยนตร์สั้นอีกหลายเรื่อง ข้อมูลเมื่อ กรกฎาคม 2023 ภาพยนตร์ของสตูดิโอทำเงินมากกว่า 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในบ็อกซ์ออฟฟิศทั่วโลก[6] โดยทำเงินทั่วโลกเฉลี่ยประมาณ 546.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อภาพยนตร์ ทอย สตอรี่ 3 (2010), ผจญภัยดอรี่ขี้ลืม (2016), รวมเหล่ายอดคนพิทักษ์โลก 2 (2018) และ ทอย สตอรี่ 4 (2019) เป็นหนึ่งในห้าสิบภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดตลอดกาล ยิ่งไปกว่านั้นภาพยนตร์สิบห้าเรื่องของพิกซาร์ยังอยู่ในห้าสิบภาพยนตร์แอนิเมชันที่ทำเงินสูงสุดตลอดกาล

สตูดิโอได้รับรางวัลออสการ์ 23 รางวัล, รางวัลลูกโลกทองคำ 10 รางวัลและรางวัลแกรมมี่ 11 รางวัล พร้อมกับรางวัลอื่น ๆ อีกมากมาย ภาพยนตร์หลายเรื่องของพิกซาร์ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม นับตั้งแต่เปิดตัวรางวัลในปี ค.ศ. 2001 โดยมีสิบเอ็ดเรื่องที่ได้รับรางวัล ได้แก่ นีโม...ปลาเล็ก หัวใจโต๊...โต (2003), รวมเหล่ายอดคนพิทักษ์โลก (2004), ระ-ทะ-ทู-อี่ พ่อครัวตัวจี๊ด หัวใจคับโลก (2007), วอลล์ - อี หุ่นจิ๋วหัวใจเกินร้อย (2008), ปู่ซ่าบ้าพลัง (2009), ทอย สตอรี่ 3 (2010), นักรบสาวหัวใจมหากาฬ (2012), มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง (2015), วันอลวน วิญญาณอลเวง (2017), ทอย สตอรี่ 4 (2019) และ อัศจรรย์วิญญาณอลเวง (2020) นอกจากนี้ภาพยนตร์ ปู่ซ่าบ้าพลัง และ ทอย สตอรี่ 3 เคยได้รับการเสนอชื่อในรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 ผู้บริหารของพิกซาร์ จอห์น แลสซีเตอร์, แบรด เบิร์ด, พีต ดอกเตอร์, แอนดรูว์ สแตนตันและลี อุนคริช ได้รับรางวัลรางวัลสิงโตทองคำ สาขารางวัลความสำเร็จในชีวิต ในงานเทศกาลภาพยนตร์เวนิส โดย จอร์จ ลูคัส ผู้ก่อตั้งลูคัสฟิล์ม เป็นผู้มอบรางวัล

ประวัติ

[แก้]

ภาพยนตร์

[แก้]

แฟรนไชส์

[แก้]

โดยไม่รวมภาคแยกของคาร์ส ซึ่งผลิตโดยดิสนีย์ตูนสตูดิโอส์

ชื่อเรื่อง ภาพยนตร์ ภาพยนตร์สั้น ฤดูกาลโทรทัศน์ วันที่ออกฉาย
ทอย สตอรี่ 6 7 4 1995–ปัจจุบัน
มอนสเตอร์ อิงค์ 2 2 2 2001–ปัจจุบัน
ไฟน์ดิงนีโม 2 4 0 2003–ปัจจุบัน
ดิอินเครดิเบิลส์ 2 5 0 2004–ปัจจุบัน
คาร์ส 3 4 2 2006–ปัจจุบัน
อินไซด์เอาต์ 2 1 1 2015–ปัจจุบัน

ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุด

[แก้]
ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดในอเมริกาเหนือ
อันดับ เรื่อง ปี รายได้รวมบ็อกซ์ออฟฟิศ
1 มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง 2 2024 $652,597,245
2 รวมเหล่ายอดคนพิทักษ์โลก 2 2018 $608,581,744
3 ผจญภัยดอรี่ขี้ลืม 2016 $486,295,561
4 ทอย สตอรี่ 4 2019 $434,038,008
5 ทอย สตอรี่ 3 2010 $415,004,880
6 นีโม...ปลาเล็ก หัวใจโต๊...โต 2003 $380,843,261
7 มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง 2015 $356,921,711
8 ปู่ซ่าบ้าพลัง 2009 $293,004,164
9 มหา'ลัย มอนส์เตอร์ 2013 $268,492,764
10 รวมเหล่ายอดคนพิทักษ์โลก 2004 $261,441,092
11 บริษัท รับจ้างหลอน (ไม่) จำกัด 2001 $255,873,250
12 ทอย สตอรี่ 2 1999 $245,852,179
13 4 ล้อซิ่ง...ซ่าท้าโลก 2006 $244,082,982
14 นักรบสาวหัวใจมหากาฬ 2012 $237,283,207
15 วอลล์ - อี หุ่นจิ๋วหัวใจเกินร้อย 2008 $223,808,164
16 วันอลวน วิญญาณอลเวง 2017 $210,460,015
17 ระ-ทะ-ทู-อี่ พ่อครัวตัวจี๊ด หัวใจคับโลก 2007 $206,445,654
18 ทอย สตอรี่ 1995 $191,796,233
19 สายลับสี่ล้อ ซิ่งสนั่นโลก 2011 $191,452,396
20 ตัวบั๊กส์ หัวใจไม่บั๊กส์ 1998 $162,798,565
21 เมืองอลวนธาตุอลเวง 2023 $154,426,697
22 สี่ล้อซิ่ง ชิงบัลลังก์แชมป์ 2017 $152,901,115
23 ผจญภัยไดโนเสาร์เพื่อนรัก 2015 $123,087,120
24 บัซ ไลท์เยียร์ 2022 $118,307,188
25 คู่ซ่าล่ามนต์มหัศจรรย์ 2020 $61,555,145
ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดทั่วโลก
อันดับ เรื่อง ปี รายได้รวมบ็อกซ์ออฟฟิศ
1 มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง 2 2024 $1,693,216,995
2 รวมเหล่ายอดคนพิทักษ์โลก 2 2018 $1,243,225,667
3 ทอย สตอรี่ 4 2019 $1,073,394,593
4 ทอย สตอรี่ 3 2010 $1,066,969,703
5 ผจญภัยดอรี่ขี้ลืม 2016 $1,028,570,889
6 นีโม...ปลาเล็ก หัวใจโต๊...โต 2003 $941,637,960
7 มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง 2015 $857,611,174
8 วันอลวน วิญญาณอลเวง 2017 $807,816,196
9 มหา'ลัย มอนส์เตอร์ 2013 $743,559,607
10 ปู่ซ่าบ้าพลัง 2009 $735,099,082
11 รวมเหล่ายอดคนพิทักษ์โลก 2004 $631,688,498
12 ระ-ทะ-ทู-อี่ พ่อครัวตัวจี๊ด หัวใจคับโลก 2007 $623,726,085
13 สายลับสี่ล้อ ซิ่งสนั่นโลก 2011 $559,852,396
14 นักรบสาวหัวใจมหากาฬ 2012 $538,983,207
15 บริษัท รับจ้างหลอน (ไม่) จำกัด 2001 $528,773,250
16 วอลล์ - อี หุ่นจิ๋วหัวใจเกินร้อย 2008 $521,311,860
17 ทอย สตอรี่ 2 1999 $511,358,276
18 เมืองอลวนธาตุอลเวง 2023 $496,444,308
19 4 ล้อซิ่ง...ซ่าท้าโลก 2006 $461,983,149
20 ทอย สตอรี่ 1995 $394,436,586
21 สี่ล้อซิ่ง ชิงบัลลังก์แชมป์ 2017 $383,930,656
22 ตัวบั๊กส์ หัวใจไม่บั๊กส์ 1998 $363,258,859
23 ผจญภัยไดโนเสาร์เพื่อนรัก 2015 $332,207,671
24 บัซ ไลท์เยียร์ 2022 $226,425,420
25 คู่ซ่าล่ามนต์มหัศจรรย์ 2020 $141,940,042

—รวมถึงการออกฉายซ้ำในโรงภาพยนตร์

หมายเหตุ

[แก้]
  1. กราฟิกส์กรุปออฟลูคัสฟิล์มคอมพิวเตอร์ดิวิชัน ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 มกราคม 1979; 45 ปีก่อน (1979-01-07)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "COMPANY FAQS". Pixar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 2, 2006.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 Smith, Alvy Ray. "Pixar Founding Documents". Alvy Ray Smith Homepage. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 27, 2005. สืบค้นเมื่อ January 11, 2011.
  3. Smith, Alvy Ray. "Proof of Pixar Cofounders" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2016. สืบค้นเมื่อ December 23, 2015.
  4. "Walt Disney Company, Form 8-K, Current Report, Filing Date Jan 26, 2006" (PDF). secdatabase.com. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ May 13, 2018. สืบค้นเมื่อ May 12, 2018.
  5. "Walt Disney Company, Form 8-K, Current Report, Filing Date May 8, 2006". secdatabase.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 13, 2018. สืบค้นเมื่อ May 12, 2018.
  6. "Disney-Pixar Production Company Box Office History". The Numbers.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • พิกซาร์
  • ภาพยนตร์เรื่องรวมเรื่องสั้นจากพิกซาร์ ภาค 1