พระวิสุทธิกษัตรีย์
พระวิสุทธิกษัตรีย์ | |
---|---|
พระอัครมเหสีกรุงศรีอยุธยา | |
สถาปนา | พ.ศ. 2112 |
ก่อนหน้า | พระสุริโยทัย |
ถัดไป | พระมณีรัตนา |
พระอัครมเหสีเมืองพิษณุโลก | |
สถาปนา | พ.ศ. 2091 |
ก่อนหน้า | ไม่ปรากฏ |
ถัดไป | พระมณีรัตนา |
พระราชสวามี | สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช |
พระราชบุตร | พระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ |
ราชวงศ์ | สุพรรณภูมิ (พระราชสมภพ) สุโขทัย (อภิเษกสมรส) |
พระราชบิดา | สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ |
พระราชมารดา | พระสุริโยทัย |
พระวิสุทธิกษัตรีย์[1] หรือคำให้การชาวกรุงเก่าออกพระนามว่าพระบรมเทวี[2] มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระสวัสดิราชธิดา[1] เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ประสูติแต่พระสุริโยทัย ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และเป็นพระราชชนนีในพระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ
พระราชประวัติ
[แก้]พระชนม์ชีพช่วงต้น
[แก้]พระวิสุทธิกษัตรีย์ มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระสวัสดิราชธิดา[1] เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ประสูติแต่พระสุริโยทัย มีพระเชษฐา พระอนุชา และพระขนิษฐาร่วมพระราชชนกชนนีคือ พระราเมศวร สมเด็จพระมหินทราธิราช พระบรมดิลก และพระเทพกษัตรีย์
พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่าหลังสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสวยราชย์จากความช่วยเหลือจากขุนพิเรนทรเทพ ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา และหลวงศรียศบ้านลานตากฟ้า จึงทรงปรึกษาพระธรรมนูญหอหลวงเพื่อพระราชทานบำเหน็จรางวัล และมีพระราชดำรัสว่าจะพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระสวัสดิราชธิดาแก่ขุนพิเรนทรเทพ แล้วจึงถวายพระนามให้ใหม่ว่า วิสุทธิกษัตรีย์ เป็นตำแหน่งพระอัครมเหสีเมืองพิษณุโลก พร้อมพระราชทานเครื่องราชูปโภค ศักดิฝ่ายทหารพลเรือน เรือชัยพื้นดำแดงคู่หนึ่ง และเครื่องราชกกุธภัณฑ์[1]
ขณะที่ คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชามีพระนามาภิไธยเดิมว่าพระไชย เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ประสูติแต่พระมหาเทวี ต่อมาโปรดให้ไปครองเมืองพิษณุโลก มีพระอัครมเหสีชื่อ พระบรมเทวี และประสูติกาลพระราชบุตรสามพระองค์คือ พระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ[2]
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีต ระบุว่าพระองค์กับพระราชสวามีคือออกญาพิษณุโลก มิใคร่จะลงรอยกัน เคยถูกพระราชสวามีตีพระเศียรจนพระโลหิตไหล พระวิสุทธิกษัตรีย์ทรงใช้ผ้าซับพระพักตร์เช็ดพระโลหิตใส่ถ้วยทองพร้อมหนังสือฟ้องร้องนำส่งจากพิษณุโลกไปยังพระราชบิดาในกรุงศรีอยุธยา เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทราบความดังนั้นก็ทรงกริ้วมาก มีรับสั่งให้ทหารพร้อมอาวุธขึ้นไปพิษณุโลกหวังประหารพระชามาดา ออกญาพิษณุโลกจึงหนีราชภัยไปหงสาวดี เมื่อพบพระเจ้าหงสาวดีจึงกราบทูลว่าสมเด็จพระมหาจักรพรรดิมีช้างเผือกเจ็ดเชือก หลายตัวเกิดแถบชายแดนหงสาวดี พระเจ้าหงสาวดีจึงมีสิทธิในช้างเผือก จึงก่อให้เกิดสงครามช้างเผือก[3]
สงครามช้างเผือก
[แก้]พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่าหลังการเสวยราชย์ครั้งที่สองของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เวลานั้นพระวิสุทธิกษัตรีย์ยังประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลกร่วมกับสมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระมหินทราธิราชเกรงว่าพระภคินีและพระราชนัดดาจะเป็นอันตราย[4] เพราะทรงพิจารณาแล้วว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาเอาใจออกหากเข้าฝ่ายหงสาวดี[5] สมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระมหินทราธิราชจึงไปชิงตัวพระวิสุทธิกษัตรีย์และสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จลงมา ณ กรุงอโยธยา[4] ครั้นสมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงทราบข่าวจึงทูลฟ้องพระเจ้าบุเรงนอง พระเจ้าบุเรงนองจึงยกทัพใหญ่ไปตีกรุงอโยธยา[6] สามารถปิดล้อมกรุงอโยธยาไว้ได้ แต่ตีพระนครแต่ไม่สำเร็จ ระหว่างนั้นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิประชวรได้ 25 วันก็เสด็จสวรรคต[7]
ในวัฒนธรรมร่วมสมัย
[แก้]พระวิสุทธิกษัตรีย์เป็นตัวละครในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ ดังนี้
- ละครโทรทัศน์เรื่อง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช รับบทโดยนันทวัน เมฆใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2530
- ภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท รับบทโดยพิมลรัตน์ พิศลยบุตร เมื่อปี พ.ศ. 2544[8][9]
- ละครโทรทัศน์เรื่อง กษัตริยา และ มหาราชกู้แผ่นดิน รับบทโดยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เมื่อปี พ.ศ. 2546[10]
- ภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช รับบทโดยปวีณา ชารีฟสกุล เมื่อปี พ.ศ. 2550[11]
- ละครโทรทัศน์เรื่อง ขุนศึก (บันเทิงคดี) รับบทโดย พิศมัย วิไลศักดิ์ เมื่อปี พ.ศ. 2555
- ละครโทรทัศน์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ รับบทโดยศิรประภา สุขดำรงค์ เมื่อปี พ.ศ. 2560[12]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระวิสุทธิกษัตรีย์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 71
- ↑ 2.0 2.1 คำให้การชาวกรุงเก่า, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 497
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับ เยเรเมียส ฟาน ฟลีตฯ, หน้า 43-44
- ↑ 4.0 4.1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 111
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 109
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 112
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 116
- ↑ "สุริโยไท ฉบับสู่ตลาดโลก เพิ่มฉากใหญ่เน้นเรื่องของอารมณ์". สยามโซน. 12 เมษายน 2545. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สุริโยไท". ภาพยนตร์ไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-21. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "กษัตริยา". เรื่องย่อละครไทย. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช". สยามโซน. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ข้อความ "date 1 สิงหาคม 2557" ถูกละเว้น (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" อภิมหาซีรีส์ยิ่งใหญ่ เปิดศักราช พ.ศ. 2560". ผู้จัดการออนไลน์. 22 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
- บรรณานุกรม
- ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2553. 536 หน้า. ISBN 978-616-508-073-6
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9
- หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับเยเรเมียส ฟาน ฟลีตและผลงานคัดสรร พลตรี หม่อมราชวงศ์ ศุภวัฒย์ เกษมศรีฯ. กรุงเทพฯ : สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 2552. 171 หน้า. ISBN 9789746425872