ผู้ใช้:บุญพฤทธิ์ ทวนทัย/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คดีฆาตกรรมบัวผัน ตันสุ[แก้]

คดีฆาตกรรมบัวผัน ตันสุ
สถานที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
วันที่12 มกราคม พ.ศ. 2567
ประมาณ 2:00 นาฬิกา (UTC+7)
ประเภทการรุมประชาทัณฑ์ ฆาตกรรม
ตาย1 คน
ผู้ก่อเหตุกลุ่มเยาวชนจำนวน 5 คน

เมื่อเวลา 2 นาฬิกา ของวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2567 กลุ่มวัยรุ่นจำนวนห้าคนได้กระทำการรุมประชาทัณฑ์และฆาตกรรมนางบัวผัน ตันสุ หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันดีในชื่อ ป้ากบ ซึ่งเป็นผู้ป่วยทางจิตวัย 47 ปีจนเสียชีวิต[1] ก่อนจะนำศพไปทิ้งที่บ่อน้ำแห่งหนึ่งโดยเหตุการณ์เกิดขึ้นที่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เป็นอีกหนึ่งคดีที่เป็นที่สนใจของสังคม และมีการตั้งคำถามถึงกระบวนการยุติธรรมของไทยจนถึงขั้นมีการเรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายสำหรับเด็กและเยาวชนในเวลาต่อมา[2]

ความเป็นมา[แก้]

คดีนี้เกิดจากกลุ่มเยาวชนที่เรียกตนเองว่า แก๊งตังค์ไม่ออก ได้ขี่รถจักรยานยนต์และไปพบนางบัวผันนั่งอยู่หน้าเซเว่น อีเลฟเว่นในตัวอำเภออรัญประเทศ กลุ่มวัยรุ่นจึงได้ลงจากรถจักรยานยนต์และแสดงกิริยาท่าทางในเชิงลบต่อนางบัวผัน นางบัวผันรู้สึกไม่พอใจจึงปาขวดใส่เหล่าเยาวชน ทำให้มีหนึ่งในกลุ่มเยาวชนได้เข้าไปเตะนางบัวผัน[3] ก่อนจะกลับมาแล้วอุ้มนางบัวผันขึ้นรถจักรยานยนต์ นางบัวผันพยายามขัดขืนสู้จนร่างกระเด็นลงจากรถแล้วจึงรีบวิ่งหนี กลุ่มเยาวชนได้วิ่งตามนางบัวผันก่อนจะรุมประชาทัณฑ์จนนางบัวผันเสียชีวิต จากนั้นจึงใช้มีดแทงนางบัวผันซ้ำแล้วนำศพโยนทิ้งลงข้างบ่อน้ำแห่งหนึ่งตรงข้ามกับสถานีตำรวจภูธรอำเภออรัญประเทศ[1]

อ้างอิง[แก้]

ภูมารินทร์ วงษ์ศรี[แก้]

ภูมารินทร์ วงษ์ศรี
เกิดพ.ศ. 2540 (อายุ 27 ปี)
ที่เกิดอำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ
แนวเพลง
อาชีพ
ช่วงปีพ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน

ภูมารินทร์ วงษ์ศรี (พ.ศ. 2540 –) หรือชื่อในวงการคือ บิ๊ก ภูมารินทร์ เป็นนักแต่งเพลงหมอลำชาวไทย[1] มีชื่อเสียงจากการประพันธ์เพลงให้กับศิลปินหมอลำสมัยใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 ได้แก่ จิตรฉรีญา บุญธรรม, เพลง พิมพ์ลดา, ซีแกรม โตเกียวมิวสิค, แพรวพราว แสงทอง, อุ๋งอิ๋ง รัตนาภรณ์, จินตหรา พูนลาภ เป็นต้น

ประวัติและวงการบันเทิง[แก้]

เขาเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2540 ที่อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ[2] โดยเขามีศักดิ์เป็นหลานของกลมลี จันทวลีศิลปินหมอลำในท้องถิ่น[2] เขาได้ฝึกฝนการร้องเพลงและหมอลำ มาตั้งแต่สมัยที่ยังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา จนกระทั่งเขาได้เข้าศึกษาที่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานาฏศิลป์และการแสดง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เขาได้ร่วมกับเพื่อนก่อตั้งวงบัวอุบลซึ่งเป็นวงดนตรีหมอลำ[2] และในขณะที่เขากำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยดังกล่าวเขาได้พบกับจิตรฉรีญา บุญธรรม ศิลปินหมอลำซึ่งศึกษาอยู่ในคณะและมหาวิทยาลัยเดียวกันกับเขา[2]

เขามีผลงานด้านการขับร้องและประพันธ์เพลงเรื่อยมา จนกระทั่งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 เขาเริ่มมีชื่อเสียงจากเพลง ฮอยกอดภูยอดรวย[3][4] ซึ่งเขาได้ประพันธ์ให้จิตรฉรีญาขับร้อง โดยเพลงดังกล่าวมียอดผู้เข้าชมในยูทูบถึง 1,000,000 ครั้งภายในหนึ่งเดือน ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เพลงดังกล่าวมียอดผู้ชมในยูทูบร่วม 27,647,003 ครั้ง หลังจากความสำเร็จในเพลงดังกล่าว เขาได้ประพันธ์เพลงให้กับศิลปินอื่นเพิ่มเติม อาทิ ฮอยใจบั้งไฟแสน ขับร้องโดยเพลง พิมพ์ลดา[5], พบรักที่แม่กลอง ขับร้องโดยซีแกรม โตเกียวมิวสิค, เอิ้นหาอ้ายอำนวย ขับร้องโดยพร อภิรดี, เอิ้นหานางเอกน้อย ขับร้องโดยอุ๋งอิ๋ง รัตนาภรณ์[6], คอยอ้ายไหลเรือไฟ ขับร้องโดยจินตหรา พูนลาภและจิตรฉรีญา, น้ำตาหยดบนรถไฟ ขับร้องโดยแพรวพราว แสงทอง เป็นต้น

ลักษณะการประพันธ์[แก้]

ลักษณะผลงานการประพันธ์ของเขาโดยส่วนใหญ่มักใช้ทำนองหมอลำแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะลำกลอนทำนองอุบลที่เป็นพื้นฐานสำหรับนักร้องหมอลำ ทั้งยังมีการใช้ถ้อยคำและสอดแทรกวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนในภาคอีสาน ด้วยฝีมือการประพันธ์เพลงของเขาทำให้สลา คุณวุฒิ ศิลปินแห่งชาติแสดงความชื่นชมต่อเขาเช่นกัน[7]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญชาร์ล[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญชาร์ล
ประเภทเครื่องราชอิสริยาภรณ์ห้าชั้น
วันสถาปนาพ.ศ. 2401
ประเทศ โมนาโก
ผู้สมควรได้รับชาวโมนาโกและชาวต่างประเทศ
สถานะยังพระราชทานอยู่
ประธานเจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 เจ้าผู้ครองโมนาโก
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าไม่มี
รองมาเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎแห่งโมนาโก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญชาร์ล (ฝรั่งเศส: Ordre de Saint-Charles, โมนาโก: U̍rdine de San Carlu) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของราชรัฐโมนาโก โดยเจ้าผู้ครองโมนาโกเป็นประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้[1][2] ซึ่งจะมอบให้แก่ชาวโมนาโกและชาวต่างประเทศที่กระทำคุณประโยชน์อย่างยิ่งยวดต่อประเทศโมนาโก เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2401 มีทั้งสิ้นห้าชั้น[1][2]

การพระราชทาน[แก้]

กรณีเป็นข้าราชการหรือชาวโมนาโก เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ต้องมีการเลื่อนขั้นตามลำดับซึ่งจะคล้ายคลึงกันกับระบบของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยโดยจะเริ่มขอพระราชทานชั้นเบญจมาภรณ์ก่อนแล้วจึงสามารถขอพระราชทานในชั้นที่สูงกว่าต่อไปได้ ดังนี้

  • หากได้รับชั้นเบญจมาภรณ์ครบสี่ปี ให้เลื่อนขั้นไปที่ชั้นจัตุรถาภรณ์
  • หากได้รับชั้นจัตุรถาภรณ์ครบสามปี ให้เลื่อนขั้นไปที่ชั้นตริตาภรณ์
  • หากได้รับชั้นตริตาภรณ์ครบสี่ปี ให้เลื่อนขั้นไปที่ชั้นทวีติยาภรณ์
  • หากได้รับชั้นทวีติยาภรณ์ครบห้าปี ให้เลื่อนขั้นไปที่ชั้นประถมาภรณ์

โดยมักจะมีพิธีพระราชทานในวันชาติโมนาโก คือวันที่ 16 พฤศจิกายนของทุกปี[3]

เกียรติยศศพ[แก้]

สำหรับชาวโมนาโก หากผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ถึงแก่กรรมลง

  • ชั้นตริตาภรณ์ลงไป : จะได้รับเกียรติโดยคณะประสานเสียงซึ่งจะขับร้องบทสวดหรือบทสดุดีแสดงความอาลัยภายในโบสถ์ และมีเจ้าหน้าที่คาราบิเนียร์สี่คนคอยอารักขาภายในโบสถ์ในระหว่างพิธีศพตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่
  • ชั้นประถมาภรณืและทวีติยาภรณ์ : จะได้รับเกียรติระหว่างนำศพเข้าโบสถ์รวมถึงการเคลื่อนย้ายศพออกจากโบสถ์ โดยมีเจ้าหน้าที่คาราบิเนียร์ถึงยี่สิบสี่คนคอยอารักขาและแสดงความเคารพ

ลำดับชั้นและลักษณะ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มีทั้งสิ้นห้าชั้น[1][2] ประกอบด้วย

  • ประถมาภรณ์: ประกอบด้วยดวงตราห้อยกับสายสะพายแถบสีขาวริ้วสีแดง โดยสะพายจากบ่าขวาเฉียงลงทางซ้าย และมีดาราสีทองสำหรับประดับบนอกซ้าย พร้อมกับสายสร้อยที่ประกอบด้วยดวงตราและมีลักษณะรูปไข่ลายหมกรุกสีแดงและสีขาวประกอบกับสายสร้อย
  • ทวีติยาภรณ์: ประกอบด้วยดวงตราห้อยกับแพรแถบสีขาวริ้วสีแดง สำหรับสวมคอ และมีดาราสีเงินสำหรับประดับบนอกขวา
  • ตริตาภรณ์: มีลักษณะเช่นเดียวกับชั้นทวีติยาภรณ์ แต่ไม่มีดารา
  • จัตุรถาภรณ์: ประกอบด้วยดวงตราห้อยกับแพรแถบสีขาวริ้วสีแดง ประดับบนอกด้านซ้าย โดยมีดอกไม้จีบติดบนแพรแถบ
  • เบญจมาภรณ์: มีลักษณะเช่นเดียวกับชั้นจัตุรถาภรณ์ แต่ไม่มีดอกไม้จีบติดบนแพรแถบ
แพรแถบย่อ
ประถมาภรณ์
ทวีติยาภรณ์
ตริตาภรณ์
จัตุรถาภรณ์
เบญจมาภรณ์

สมาชิกแห่งราชอิสริยาภรณ์ที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "Palais – Order of St. Charles". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2007. สืบค้นเมื่อ 4 January 2008.
  2. 2.0 2.1 2.2 "UK – Order of St. Charles". สืบค้นเมื่อ 4 January 2008.
  3. Fête nationale monégasque 2011, les décorations
  4. "Ordonnance Souveraine n° 1.324 conférant l'honorariat la Grand'Croix de l'Ordre de Saint-Charles – Journal 5143". Journal de Monaco. Principauté de Monaco. 1956. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 7, 2017. สืบค้นเมื่อ October 6, 2017.
  5. Jack Jones, "Princess Grace" เก็บถาวร มีนาคม 12, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Register-Guard, September 15, 1982.
  6. Sovereign Ordonnance of 1 March 1934
  7. n° 10223 of 27 November 2023
  8. Le prince Albert II décoré de l’ordre national de la Couronne du Royaume et remet l’ordre de Saint-Charles au roi de Malaisie
  9. "Monaco's Prince Albert II accorded state welcome at Istana Negara". Malay Mail. 27 November 2023. สืบค้นเมื่อ 27 November 2023.
  10. n° 4504 of 4 October 2013

เครื่องอิสริยาภรณ์มิตรภาพ[แก้]

เครื่องอิสริยาภรณ์มิตรภาพ คือเครื่องอิสริยาภรณ์ของประเทศรัสเซีย สร้างขึ้นโดยบอริส เยลต์ซิน ตามคำสั่งประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐที่ 442 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2537 หลังจากนั้นมีการปรับปรุงเกณฑ์การมอบเป็นระยะทั้งในปี พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2555 ออกแบบโดยอเลกซานเดอร์ ชูค