ประตูชัยแห่งออร็องฌ์
โรงละครโรมันและบริเวณแวดล้อมและประตูชัยแห่งออร็องฌ์ * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
ประตูชัยแห่งออร็องฌ์ | |
ประเทศ | ฝรั่งเศส |
ประเภท | มรดกทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์พิจารณา | (iii) (v) |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 1981 (คณะกรรมการสมัยที่ 5) |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
ประตูชัยแห่งออร็องฌ์ (อังกฤษ: Triumphal Arch of Orange, ฝรั่งเศส: Arc de triomphe d'Orange) เป็นประตูชัยที่ตั้งอยู่ที่เมืองออร็องฌ์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส[1] เวลาที่สร้างประตูชัยยังเป็นที่ถกเถึยงกันอยู่[2] แต่จากการค้นคว้าศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ยอมรับคำจารึกเป็นหลักฐาน[3]ว่าสร้างในสมัยออกัสตัส[4] บนถนนอากริปปาเดิมเพื่อเป็นเกียรติแก่ทหารผ่านศึกของสงครามกอลและกองกำลังเลกีโอที่ 2 เอากุสตา ต่อมาก็ได้รับการสร้างใหม่โดยจักรพรรดิไทบีเรียสเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะของเจอร์มานิคัสที่มีต่อชนเผ่าต่าง ๆ ในบริเวณไรน์แลนด์[4] ประตูชัยมีคำจารึกอุทิศแก่จักรพรรดิไทบีเรียสในปี ค.ศ. 27[5] ด้านหน้าทางเหนือทางด้านนอก ส่วนล่างสุดของทับหลังและบัวถูกตัดออกไปเพื่อติดคำจารึก แต่ในปัจจุบันสูญหายไป และความพยายามที่จะสืบว่าคำจารึกคืออะไรก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ[6] ตัวประตูชัยตกแต่งด้วยประติมากรรมนูนที่เกี่ยวกับการทหาร ที่รวมทั้งการรบทางเรือ การยึดทรัพย์สมบัติของฝ่ายที่แพ้ การรบระหว่างฝ่ายโรมันกับกลุ่มชนเจอรมานิคและกอล ทหารราบโรมันถือโล่ที่มีตรากองกำลังเลกีโอที่ 2 เอากุสตาปรากฏบนประตูทางด้านเหนือ[5]
ประตูชัยแห่งออร็องฌ์ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี ค.ศ. 1981[7]
ลักษณะ
[แก้]ในยุคกลางประตูชัยใช้เป็นปราสาทในการรักษาทางเข้าเมืองทางตอนเหนือ[4] สถาปนิกโอกุสแตง คาริสตีศึกษาประตูชัยและทำการบูรณปฏิสังขรณ์ในคริสต์ทศวรรษ 1850[5] เดิมประตูสร้างด้วยก้อนหินปูนโดยไม่ใช้ปูน (mortar) ตัวประตูเป็นซุ้มสามซุ้ม ซุ้มกลางเป็นซุ้มใหญ่กระหนาบด้วยซุ้มที่เล็กกว่าสองข้าง ขนาดของประตูยาว 19.57 เมตร กว้าง 8.40 เมตรและสูง 19.21 เมตร[4] ด้านนอกของแต่ละด้านเป็นเสาโครินเธียนสี่เสา ประตูเป็นประตูชัยที่เก่าแก่ที่สุดที่ต่อมานำไปใช้เป็นแบบในการก่อสร้างประตูชัยเซ็พติมิอัส เซเวอรัสในกรุงโรมและประตูชัยคอนสแตนติน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ It is situated 600 meters north from the town center by route Route nationale N7
- ↑ Bibliography of scholarship that rejects the inscription as evidence for dating the construction is presented by James C. Anderson, Jr., "Anachronism in the Roman Architecture of Gaul: The Date of the Maison Carrée at Nîmes" The Journal of the Society of Architectural Historians 60,1 (March 2001:68-79) p. 71 note 12; Anderson offers a revised date in the first half of the second century for the Maison Carrée: "in short, once the date of the Maison Carrée is called into question, the entire chronology for such Romano-Provençal monuments requires reassessment" (p. 72).
- ↑ The traditional dating for the triumphal arches of Gallia Narbonensis is summarized in Pierre Gros, "Pour une chronologie des arcs de triomphe de Gaule narbonnaise", Gallia 37 (1979:55-83
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Cleere, Henry (May 14, 2001). Southern France: An Oxford Archaeological Guide. Oxford University Press. pp. 122–123. ISBN 0192880063.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Bromwich, James (1993). The Roman Remains of Southern France: A Guidebook. Routledge. pp. 183–186. ISBN 0415143586.
- ↑ R. Amy, P.-M. Duval, J. Formigé, Ch. Picard, and A. Piganiol, L'Arc d'Orange (paris, 1962).
- ↑ UNESCO: Roman Theatre and its Surroundings and the Monumental Arch of Orange[1]
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ประตูชัยแห่งออร็องฌ์