ข้ามไปเนื้อหา

น้ำเซาะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
น้ำเซาะทราย
ผู้ประพันธ์กฤษณา อโศกสิน
ประเทศไทย
ภาษาไทย
วันที่พิมพ์2512

น้ำเซาะทราย เป็นนวนิยายบทประพันธ์โดย กฤษณา อโศกสิน นักเขียนรางวัลซีไรท์และศิลปินแห่งชาติ ตีพิมพ์เป็นตอน ๆ โดยพิมพ์ฉบับรวมเล่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2512 เป็นนิยายที่สะท้อนปัญหาครอบครัวและการต่อสู้ของผู้หญิงเพื่อเรียกร้องสิทธิความชอบธรรม และทำให้เห็นภาพอันชัดเจนของคนที่ผิดศีล คือเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสามีคนอื่น[1] โดยเป็นเรื่องราวครอบครัวของ ภีม และ วรรณรี ที่มีลูก 2 คนชายและหญิงชื่อ ปอ และ ป่าน แต่เมื่อพุดกรอง ที่ภีมเคยหลงรักตั้งแต่สมัยมหาวิทยาลัยจึงทำให้เกิดปัญหาครอบครัวขึ้นนำเเสดงโดย สุวนันท์ ปุณณกันต์ , เคลลี่ ธนะพัฒน์ , ศรราม เทพพิทักษ์ , โสภิตนภา ชุ่มภาณี , ชนกันต์ พูนศิริวงศ์ , เฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชค ร่วมด้วย อาทิ ศิริพิชญ์ วิมลโนช , เจจินตัย อันติมานนท์ , สุดารัตน์ เดชากุล , กัญญกร พินิจ , พิมพ์ชนก แก้วลุ่มใหญ่

น้ำเซาะทราย ได้รับการทำเป็นละคร 5 ครั้ง และภาพยนตร์ 2 ครั้ง โดยทำเป็นละครครั้งแรกในปี พ.ศ. 2516 ออกอากาศทางช่อง 4 บางขุนพรหม สร้างครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2522 ทางช่อง 5 สร้างครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2536 ทางช่อง 7 สร้างครั้งที่ 4 ปี พ.ศ. 2544 ทางช่อง 3 และครั้งที่ 5 ปี พ.ศ. 2560 ทางช่อง 7[2] สำหรับฉบับปี 2560 ได้รับเรตติ้งเฉลี่ย 6.8 โดยตอนที่ทำเรตติ้งดีที่สุดคือตอนจบ ทำได้ 8.2[3] หรือจำนวนผู้ชมกว่า 5.4 ล้านคน[4] สำหรับฉบับภาพยนตร์ สร้างครั้งแรกปี พ.ศ. 2516 กำกับโดยวิจิตร คุณาวุฒิ ได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 9 ในสาขาบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม[5] ฉบับต่อมากำกับโดยชาลี อินทรวิจิตร ออกฉายปี พ.ศ. 2529[6] ฉบับนี้มีเพลงดังคือ "น้ำเซาะทราย" ขับร้องโดยจำรัส เศวตาภรณ์ ซึ่งได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 18[7]

โครงเรื่อง

[แก้]

พุดกรอง วิบูลย์สิน แอบรักกับภีม ประการพันธ์ มาตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัย แต่พุดกรองเลือกที่จะแต่งงานกับพร้อม วิบูลย์สิน จนทั้งคู่มีบุตรชายด้วยกันชื่อ จ้าน ทางฝั่งภีมแต่งงานกับวรรณนรี มีอาชีพเป็นครู มีลูกชายหญิงสองคน ลูกสาวชื่อ ภัทรียา และลูกชายชื่อ ภุมวาร ต่อมาพร้อม สามีของพุดกรองเสียชีวิต จนหลังจากนั้น 1 ปี พุดกรอง ได้ไปร่วมงานสังคมกับวรรณนรี ภีม และพงษ์สนิทจิตรกรรม ซึ่งจัดขึ้นโดยคุณหญิงพรรณราย ซึ่งได้แนะนำให้รู้จักกับพิมุข สามีของคุณหญิงพรรณราย ที่เป็นคู่แข่งในการแย่งชิงตำแหน่งคณบดีกับวรรณนรี

เมื่อพุดกรองได้พบกับภีมอีกครั้ง จึงได้มีความรู้สึกดี ๆ ร่วมกัน ภีมก็เริ่มเบื่อวรรณนรีและเริ่มมีปากเสียงกัน จนภีมออกจากบ้านแล้วชวนพุดกรองมาหา ทั้งคู่จึงสภาพกันว่าแอบรักกันมาตั้งแต่เมื่อได้พบกันครั้งแรกแล้ว พุดกรองเริ่มหาวิธีให้มาได้พบกับภีม จนทั้งสองได้เช่าบ้านใช้ชีวิตร่วมกัน เมื่อพงษ์สนิทรู้เรื่องนี้จึงรีบไปบอกวรรณนรี แต่วรรณนรียังไม่เชื่อ พงษ์สนิทได้ยั่วยุให้พุดกรองและภีมมีปากเสียงกัน จนเมื่อวรรณนรีรู้แน่ชัดจึงยื่นคำขาดว่าจะหย่า หากไม่หย่าก็ต้องตัดขาดพุดกรอง ขณะที่พงษ์สนิทอยากให้พุดกรองเลือกตัวเองเป็นคู่ครอง จึงใช้วรรณนรีเป็นเครื่องมือ แต่วรรณนรีเครียดจนเข้าโรงพยาบาล เมื่อภีมและพุดกรองรู้เข้าจึงรู้สึกผิด ในขณะเดียวกันข่าวความสัมพันธ์ของพุดกรองกับภีมก็เป็นเรื่องดัง ประจวบกับพุดกรองตั้งท้องกับภีมด้วย

ต่อมาวรรณนรีรู้จักกับทวยหาญ กาญจนสุรัตน์ ทั้งคู่ไปเที่ยวพร้อมกับลูกของวรรณนรี แต่เมื่อกลับบ้านมาก็พบว่าภีมกลับบ้านมา ซึ่งภีมเองไม่พอใจ วรรณนรีจึงขอหย่า แต่ภีมก็ไม่มาตามนัด จนได้พูดคุยกับภีมอีกครั้งแต่ภีมก็ไม่ยอมหย่า จนในที่สุดพุดกรองคลอดลูกชายชื่อ ปูจ๋า ท้ายสุดภีมยอมหย่าหลังวรรณนรีขอพูดคุยเรื่องหย่าอีกครั้ง

พุดกรองรู้สึกได้ว่าที่ภีมไม่ยอมหย่าเพราะภีมยังรักวรรณนรีอยู่ พุดกรองได้ไปขอโทษขออโหสิกรรมต่อวรรณนรี แต่วรรณนรีไม่สนใจคำขอโทษเพราะคิดว่าพุดกรองเล่นละครอยู่ สุดท้ายภีมไม่เหลือใคร จึงกลับไปหาวรรณนรี แต่วรรณนรีทำตัวเฉยชา ไม่สนใจภีม

นักแสดงนำ

[แก้]
ปี พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2529 พ.ศ. 2536 พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2560
รูปแบบ ละคร ช่อง 4 ฟิล์ม 35 มม. สี-สโคป

เสียงพากย์ในฟิล์ม

ละคร ช่อง 5 ฟิล์ม 35 มม. สี-สโคป

เสียงจริงซาวดน์ออนฟิล์ม

ละคร ช่อง 7 ละคร ช่อง 3 ละคร ช่อง 7
ผู้ผลิต - แหลมทองภาพยนตร์ คณะรัศมีดาวการละคร พูนทรัพย์ โปรดักชั่น กันตนา ทีวีซีน ดาราวิดีโอ
บทการแสดง - - - วิจิตร คุณาวุฒิ วิลาสิณี เอกลิขิต ปลายปากกา
ผู้กำกับ - วิจิตร คุณาวุฒิ - ชาลี อินทรวิจิตร ฐาปกรณ์ ดิษยนันทน์ ชนะ คราประยูร สยาม สังวริบุตร
บทบาท นักแสดงหลัก
วรรณนรี ประการพันธ์ สุพรรณ บูรณะพิมพ์ มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช วงเดือน อินทราวุธ นาถยา แดงบุหงา สินจัย หงษ์ไทย จริยา แอนโฟเน่ สุวนันท์ ปุณณกันต์
ภีม ประการพันธ์ กำธร สุวรรณปิยะศิริ นาท ภูวนัย ชนะ ศรีอุบล อภิชาติ หาลำเจียก ศรัณยู วงษ์กระจ่าง ฉัตรชัย เปล่งพานิช ศรราม เทพพิทักษ์
พุดกรอง วิบูลย์สิน อารีย์ นักดนตรี วันดี ศรีตรัง กนกวรรณ ด่านอุดม สินจัย หงษ์ไทย ปรียานุช ปานประดับ จันทร์จิรา จูแจ้ง โสภิตนภา ชุ่มภาณี
ทวยหาญ กาญจนสุรัตน์ - คธา อภัยวงศ์ สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ แทน จันทรวิโรจน์ สมบัติ เมทะนี สมภพ เบญจาธิกุล เคลลี่ ธนะพัฒน์
ทิว - - - - - - ชนกันต์ พูนศิริวงศ์
ดลฤดี (ดลลี่) - - - - - - เฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชค
พงษ์สนิท จิตรกรรม - สายัณห์ จันทรวิบูลย์ ประจวบ ฤกษ์ยามดี ชลประคัลภ์ จันทร์เรือง ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี ยุทธพิชัย ชาญเลขา เจจินตัย อันติมานนท์
ดร.พิมุข - - - - ฐาปกรณ์ ดิษยนันทน์ ศรุต วิจิตรานนท์
คุณหญิงพรรณราย - มารศรี ณ บางช้าง - อัญชลี ไชยศิริ สุดารัตน์ เดชากุล สุพรรษา เนื่องภิรมย์ ศิริพิชญ์ วิมลโนช
สุมนา - - - - - ขวัญฤดี กลมกล่อม กัญญกร พินิจ
ลิซ่า - - - - - - โซเฟีย ลา
คุณผสาน - - - - - - สุดารัตน์ เดชากุล
สมัยสวาท - - - - - พิมพ์ผกา เสียงสมบุญ -
วินิดา - - - - - - ภัทรี ชนะศักดิ์
สายจิตย์ - - - - - - พิมพ์ชนก แก้วลุ่มใหญ่
สมศรี - - - - - - พิมพากานต์ วงษ์ศรีแก้ว
บทบาท นักแสดงรับเชิญ
พร้อม วิบูลย์สิน - - - สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์ อดุลย์ ดุลยรัตน์ ดิลก ทองวัฒนา
เชย - - - - - - วีรินท์ นาคะวรังค์
เนียม - - - - - ยุวดี เรืองฉาย สิริยา นฤนาท
คุณอา - - - - - - รุจิเรข พักตระเกษตริน
นายไปล่ - - - - - - โชคดี พักภู่
นางเรียง - - - - - - ชลมารค ธ.เชียงทอง
จ้าน วิบูลย์สิน - - - - ธนพงศ์ คล้ายพงษ์พันธ์ ด.ช.วรุฬห์ อัศวศิริชัยกุล ด.ช.กรพิพัฒน์ กฤษณะทรัพย์
ภัทรียา ประการพันธ์ (ปอ) - ด.ญ.มลฤดี ยมาภัย - ด.ญ.อาจารี กุลไพจิตร อรรัตน์ ฉัตรวลี ด.ญ.อุษามณี ไวทยานนท์ ด.ญ.จาร์ดีน่า แฟรงค์
ภุมวาร ประการพันธ์ (ป่าน) - ด.ช.สยม สังวริบุตร - ด.ช.ศุโชติ เถาเสถียร ด.ช.ตะวัน จารุจินดา ด.ช.อัครพนธ์ อังสุภูติพันธ์ ด.ช.เซบาสเตียน รัตนกุล
อรมาลา - - - - - - ชุติปภา รังสรรค์

รางวัล

[แก้]
ภาพยนตร์ปี พ.ศ. 2516
งานประกาศผลรางวัล รางวัล ผู้เข้าชิง ผลรางวัล หมายเหตุ
รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 9 บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม[5] คุณาวุฒิ ชนะ
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม มยุรฉัตร เหมือนประสิทธิเวช เสนอชื่อเข้าชิง
ภาพยนตร์ปี พ.ศ. 2529
งานประกาศผลรางวัล รางวัล ผู้เข้าชิง ผลรางวัล หมายเหตุ
รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 18 ดนตรีและเพลงประกอบยอดเยี่ยม[8] จำรัส เศวตาภรณ์ ชนะ
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม สินจัย หงษ์ไทย เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม อภิชาติ หาลำเจียก เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม นาถยา แดงบุหงา เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ครั้งที่ 6 ผู้แสดงสมทบฝ่ายชายยอดเยี่ยม ชลประคัลภ์ จันทร์เรือง เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยม อภิชาติ หาลำเจียก เสนอชื่อเข้าชิง
ละครโทรทัศน์ปี พ.ศ. 2536
งานประกาศผลรางวัล รางวัล ผู้เข้าชิง ผลรางวัล หมายเหตุ
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 8 ดารานำหญิงดีเด่น ปรียานุช ปานประดับ เสนอชื่อเข้าชิง
ละครโทรทัศน์ปี พ.ศ. 2560
งานประกาศผลรางวัล รางวัล ผู้เข้าชิง ผลรางวัล หมายเหตุ
มายา มหาชน 2017 ดาราสมทบชายขวัญใจมหาชน เคลลี่ ธนะพัฒน์ เสนอชื่อเข้าชิง
ดารานำชายขวัญใจมหาชน ศรราม เทพพิทักษ์ เสนอชื่อเข้าชิง
ดารานำหญิงขวัญใจมหาชน สุวนันท์ ปุณณกันต์ เสนอชื่อเข้าชิง
The Best Come Back Star แห่งปี 2560 ชนะ
ผู้กำกับละครขวัญใจมหาชน สยาม สังวริบุตร เสนอชื่อเข้าชิง
ละครยอดนิยมขวัญใจมหาชน น้ำเซาะทราย เสนอชื่อเข้าชิง
ดาราอินไซด์ อวอร์ด ครั้งที่ 2 ละครยอดนิยมดีเด่นแห่งปี น้ำเซาะทราย เสนอชื่อเข้าชิง
MThai Top Talk-About 2018 นักแสดงชายที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด ศรราม เทพพิทักษ์ เสนอชื่อเข้าชิง
ละครที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด น้ำเซาะทราย เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 32 ผู้กำกับการแสดงละครดีเด่น[9] สยาม สังวริบุตร เสนอชื่อเข้าชิง
ดาราเดลี่ อวอร์ดส์ 2017 ครั้งที่ 7 สีสันที่สุดแห่งปี 2017 โสภิตนภา ชุ่มภาณี เสนอชื่อเข้าชิง
นักแสดงนำหญิงสาขาละครที่สุดแห่งปี 2017 สุวนันท์ ปุณณกันต์ เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 9 บทโทรทัศน์ยอดเยี่ยม[10] นันทนา วีระชน (ปลายปากกา) เสนอชื่อเข้าชิง

อ้างอิง

[แก้]
  1. น้ำเซาะทราย ไม่เคยตายไปจากใจ
  2. "กองทัพ "ละครรีเมค" ครึ่งปีแรก 2017 เยอะจัง มากันทุกช่อง!!". สนุก.คอม. 16 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. "ปิดฉาก น้ำเซาะทราย ทำเรตติ้งสูงสุดตั้งแต่ออกอากาศ". สนุก.คอม. 22 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. "เรตติ้ง"น้ำเซาะทราย"ตอนจบมาแล้วจ้า". คมชัดลึก. 22 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. 5.0 5.1 "แกะกล่องหนังไทย". ไทยพีบีเอส. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  6. "น้ำเซาะทราย [2529]". ฐานข้อมูลภาพยนตร์ดีเด่น. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)[ลิงก์เสีย]
  7. บอน บอระเพ็ด (15 สิงหาคม 2554). "เพลงวาน : "นกเจ้าโผบิน" โผผินสู่ดนตรีบำบัด..."จำรัส เศวตาภรณ์"/บอน บอระเพ็ด". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  8. ประวัติและความเป็นมา
  9. "เปิดโผรายชื่อผู้เข้าชิงรางวัล โทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 32 อั้ม ลุ้นดารานำหญิง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-06. สืบค้นเมื่อ 2019-08-28.
  10. เปิดโผผู้เข้าชิงรางวัลนาฏราชครั้งที่ 9 ดีเดย์ประกาศ 5 ส.ค.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]