ข้ามไปเนื้อหา

ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียว

พิกัด: 31°11′53″N 121°20′11″E / 31.19806°N 121.33639°E / 31.19806; 121.33639
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียว
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวย่อ上海虹桥国际机场
อักษรจีนตัวเต็ม上海虹橋國際機場

ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
เจ้าของ-ผู้ดำเนินงานShanghai Airport Authority
พื้นที่บริการเซี่ยงไฮ้
ที่ตั้งChangningMinhang, เซี่ยงไฮ้
เปิดใช้งานพฤษภาคม ค.ศ. 1923 (เดิม)
เมษายน ค.ศ. 1964 เปิดใหม่เป็นท่าอากาศยานนานาชาติ)
ฐานการบิน
เหนือระดับน้ำทะเล3 เมตร / 10 ฟุต
พิกัด31°11′53″N 121°20′11″E / 31.19806°N 121.33639°E / 31.19806; 121.33639
เว็บไซต์Hongqiao Airport
แผนภาพท่าอากาศยาน
แผนภาพท่าอากาศยาน
SHAตั้งอยู่ในShanghai
SHA
SHA
SHAตั้งอยู่ในประเทศจีน
SHA
SHA
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
18L/36R 3,400 ยางมะตอย
18R/36L 3,300 คอนกรีต
สถิติ (2021)
ผู้ดดยสาร33,207,337
การเคลื่อนตัวของอากาศยาน231,261
บรรทุก (ตัน)383,405

ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียว หรือ ท่าอากาศยานหงเฉียว (IATA: SHAICAO: ZSSS) เป็นหนึ่งในสองท่าอากาศยานนานาชาติของเซี่ยงไฮ้ และเป็นศูนย์กลางการบินที่สำคัญของจีน ท่าอากาศยานหงเฉียวให้บริการส่วนใหญ่เป็นเที่ยวบินภายในประเทศ สนามบินนี้ตั้งอยู่ใกล้กับย่านหงเฉียวในเขตฉางหนิง และเขตหมิ่นหัง อยู่ห่าง 13 กิโลเมตร (8.1 ไมล์) ทางทิศตะวันตกของตัวเมือง และเป็นท่าอากาศยานที่อยู่ใกล้กับใจกลางเมืองมากกว่าท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง

ท่าอากาศยานหงเฉียวเป็นศูนย์กลางการบินของ สายการบินไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์, เซี่ยงไฮ้แอร์ไลน์, จูนเยาแอร์ไลน์ และ สปริงแอร์ไลน์ ในปี 2559 สนามบินหงเฉียวให้บริการผู้โดยสาร 40,460,135 คน นับเป็นสนามบินที่พลุกพล่านอันดับ 7 ในประเทศจีน และเป็นอันดับที่ 45 ของโลก[2] ในปลายปี 2554 ท่าอากาศยานหงเฉียวให้บริการ 22 สายการบินที่ให้บริการผู้โดยสาร 82 เส้นทางการบิน[3] ในปี 2562 ท่าอากาศยานหงเฉียวได้รับการรับรองด้วยคะแนนสนามบินระดับ 5 ดาวของสกายแทรกซ์ (Skytrax) ในด้านการให้การอำนวยความสะดวก ความสะดวกสบายของอาคารผู้โดยสาร ความสะอาด การช็อปปิ้ง การให้บริการอาหารเครื่องดื่ม และการบริการพนักงาน[4]

ประวัติ

[แก้]

การก่อสร้างท่าอากาศยานซ่างไห่หงเฉียวเริ่มสร้างขึ้นในเดือนมีนาคมปี 2464 เมื่อสำนักงานกิจการการบินของรัฐบาลเป่ย์หยาง ร่างโครงการสายการบินปักกิ่ง – เซี่ยงไฮ้ ซึ่งวางแผนเส้นทางบินไปยังเซี่ยงไฮ้เป็นครั้งแรก ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2466 ท่าอากาศยานเปิดใช้งานแบบผสมทางทหารและพลเรือน ท่าอากาศยานแห่งนี้เป็นจุดเกิดเหตุของ 'อุบัติการณ์โอยาม่า' ในปี 2480 ที่ร้อยโทญี่ปุ่นถูกสังหารโดยทหารรักษาสันติภาพของจีน และเป็นเหตุหนึ่งในการนำไปสู่การยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ ในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองท่าอากาศยานถูกครอบครองโดยทหารญี่ปุ่นและใช้เป็นฐานทัพอากาศ และยังใช้เป็นฐานทัพอากาศอย่างต่อเนื่องแม้ในเวลาต่อมาหลังจากถูกส่งมอบให้กับรัฐบาลสาธารณรัฐจีน และรัฐบาลต่อมาคือสาธารณรัฐประชาชนจีน ในเดือนพฤศจิกายนปี 2506 สภาแห่งรัฐได้อนุมัติการขยายสนามบินหงเฉียวไปเป็นท่าอากาศยานเพื่อการพาณิชย์ระหว่างประเทศ โครงการขยายแล้วเสร็จในปี 2507 และเปิดใหม่ในเดือนเมษายน 2507 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2515 กองทัพอากาศถอนตัวออกจากสนามบินหงเฉียวอย่างเป็นทางการ

ในเดือนมีนาคม 2527 โครงการอาคารท่าอากาศยานซ่างไห่หงเฉียวได้ขยายอีกครั้งและโครงการขยายเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 30 กันยายนของปีเดียวกัน หลังจากการขยายตัวของอาคารผู้โดยสารพื้นที่ใช้งานนั้นเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับในอดีต ในปี 2531 การบินพลเรือนเซี่ยงไฮ้ดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างองค์กรการบริหารที่สำคัญโดยแยกสนามบินออกจากสายการบิน ท่าอากาศยานซ่างไห่ได้ดำเนินการแยกต่างหากและกลายเป็นองค์กรอิสระทางเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 25 มิถุนายนของปีเดียวกัน ในเดือนธันวาคม 2531 การขยายตัวครั้งที่สามของอาคารท่าอากาศยานซ่างไห่หงเฉียวเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2534

ท่าอากาศยานยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียวทำหน้าที่เป็นท่าอากาศยานหลักของเซี่ยงไฮ้จนกระทั่งสนามบินนานาชาติผู่ตงเสร็จสมบูรณ์ในปี 2542 เมื่อเที่ยวบินระหว่างประเทศเกือบทั้งหมดถูกย้ายไปที่ท่าอากาศยานผู่ตง ในปัจจุบันท่าอากาศยานหงเฉียวให้บริการส่วนใหญ่เป็นเที่ยวบินในประเทศ และห้าเส้นทางระหว่างประเทศ สู่ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว กรุงโตเกียว, ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ กรุงโซล, ท่าอากาศยานไถเป่ย์ซงซาน, ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง และ ท่าอากาศยานนานาชาติมาเก๊า

โถงเช็คอินส่วนผู้โดยสารภายในประเทศของอาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 ส่วน B
ร้าน Jimmy Choo ในอาคารผู้โดยสาร 2
โถงเช็คอินของอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2
ทางยกระดับของท่าอากาศยานหงเฉียวอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 2

ในฐานะส่วนหนึ่งของการเตรียมการสำหรับเอ็กซ์โป 2010 จึงมีแผนพัฒนาเพื่อเป็นศูนย์คมนาคมครบวงจรหงเฉียว ท่าอากาศยานหงเฉียวได้ดำเนินโครงการปรับขยายในปี 2549 โดยวางแผนที่จะเพิ่มรันเวย์และอาคารผู้โดยสาร[5] โครงการเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2553 ก่อน เอ็กซ์โป 2010 (Shanghai World Expo 2010) จากแผนที่กำหนดไว้[6] โดยได้เสร็จสิ้นโครงการปรับขยายที่มีมูลค่า 1.53 หมื่นล้านหยวนตามแผน 5 ปี ทั้งนี้รวมถึงรันเวย์ที่สอง ขนาด 3,300 เมตร และอาคารผู้โดยสารใหม่ 2 อาคาร ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถของท่าอากาศยานหงเฉียวให้รองรับผู้ใช้งาน 40 ล้านคน/เที่ยวต่อปี อาคารผู้โดยสารที่ 2 นี้มีขนาดใหญ่กว่าอาคารผู้โดยสารที่ 1 ถึงสี่เท่า และอาคารผู้โดยสารที่ 2 ยังใช้สำหรับรองรับสายการบินร้อยละ 90 จากทั้งหมดของท่าอากาศยานหงเฉียว (อาคารผู้โดยสาร 1 ใช้สำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศเท่านั้น และรวมถึงสปริงแอร์ไลน์ และ เซียะเหมินแอร์ ) ด้วยทางวิ่ง (รันเวย์) ใหม่ทำให้เซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองแรกในประเทศจีนที่มี 5 รันเวย์เพื่อการพาณิชย์ (ท่าอากาศยานผู่ตงและท่าอากาศยานหงเฉียวรวมกัน) และ ในปัจจุบันมีแผนการขยายจำนวนรันเวย์ให้เป็นเจ็ด

รันเวย์ที่สองและอาคารผู้โดยสารแห่งที่สองแล้วเสร็จและเปิดในวันที่ 11 มีนาคมและ 16 มีนาคม 2010 ตามลำดับ[7] อย่างไรก็ตามควรสังเกตว่าไม่มีการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างอาคารผู้โดยสารสองแห่ง ผู้โดยสารต้องใช้รถบัสรับส่งระยะสั้นในขณะนั้น และรถไฟใต้ดินสาย 10 หรือรถไฟสายอื่น ๆ เพื่อเดินทางระหว่างอาคารผู้โดยสารสองแห่งเชื่อมต่อระหว่างอาคารผู้โดยสารสองแห่งในเวลาถัดมา

ตั้งแต่ปลายปี 2557 อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานหงเฉียวแห่งที่ 1 ได้รับการปรับปรุงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2464 โครงการทั้งหมดมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2560[8] เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2560 อาคาร A ของอาคารผู้โดยสารที่ 1 ได้รับการปรับปรุงใหม่อย่างสมบูรณ์และเปิดให้ประชาชนเข้าใช้งานอีกครั้ง[9] ต่อมาอาคาร B ถูกปิดเพื่อปรับปรุงใหม่ โครงการปรับปรุงอาคารผู้โดยสารที่ 1 ทั้งสองส่วนแล้วเสร็จในวันที่ 15 ตุลาคมปี 2018[9]

สายการบินและจุดหมายปลายทาง

[แก้]

สายการบินพาณิชย์

[แก้]
สายการบิน จุดหมายปลายทาง
แอร์ไชน่า Beijing–Capital, Chengdu, Chongqing, Guangzhou, Taipei–Songshan, Tianjin
แอร์มาเก๊า Macau
ออลนิปปอนแอร์ไลน์ Tokyo–Haneda
เอเชียน่าแอร์ไลน์ Seoul–Gimpo
คาเธ่ย์ดรากอน Hong Kong
เฉิงตูแอร์ไลน์ Chengdu, Yueyang
ไชน่าแอร์ไลน์ Taipei–Songshan
ไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์ Anqing, Beijing–Capital, Changsha, Chengdu, Chongqing, Dali, Daqing, Diqing, Dunhuang, Enshi, Fuzhou, Ganzhou, Guangzhou, Guilin, Guiyang, Harbin, Hohhot, Hong Kong, Jiayuguan, Jieyang, Jinan, Kunming, Lanzhou, Lijiang, Lincang, Linyi, Liuzhou, Luoyang, Macau, Mangshi, Mudanjiang, Nanchang, Nanning, Pu'er, Qingdao, Seoul–Gimpo, Shenyang, Shenzhen, Taipei–Songshan, Taiyuan, Tengchong, Tianjin, Tokyo–Haneda, Ulanhot, Urumqi, Weihai, Wenshan, Wuhai, Wuhan, Wuyishan, Xiamen, Xi'an, Xining, Xinyang,[10] Yan'an, Yancheng, Yanji, Yantai, Yinchuan, Yulin, Zhengzhou, Zhuhai
ไชน่าเซ้าเทิร์นแอร์ไลน์ Beijing–Capital, Beijing–Daxing,[11] Chengdu, Guangzhou, Guiyang, Nanning, Ordos, Shenzhen, Urumqi, Yining, Zhengzhou
ไชน่ายูไนเต็ดแอร์ไลน์ Beijing–Daxing, Shijiazhuang, Tianjin
อีวาแอร์ Taipei–Songshan
ไห่หนานแอร์ไลน์ Beijing–Capital, Guangzhou, Urumqi
เหอเป่ย์แอร์ไลน์ Shijiazhuang
ฮ่องกงแอร์ไลน์ Hong Kong
เจแปนแอร์ไลน์ Tokyo–Haneda
จุนเยาแอร์ไลน์ Beijing–Daxing,[12] Bijie, Changsha, Chengdu, Chizhou, Chongqing, Guangzhou, Guiyang, Kunming, Lanzhou, Nanning, Sanya, Seoul–Gimpo, Shenzhen, Taiyuan, Tokyo–Haneda, Urumqi, Wuhan, Xi'an, Zhuhai, Zunyi–Maotai
โคเรียนแอร์ Seoul–Gimpo
ลัคกี้แอร์ Kunming, Yichun
ชานตงแอร์ไลน์ Chongqing, Jinan, Qingdao, Xiamen, Yantai
ซ่างไห่แอร์ไลน์ Beijing–Capital, Changsha, Chengdu, Chongqing, Fuyang, Fuzhou, Guangzhou, Guilin, Guiyang, Haikou, Hailar, Hohhot, Hong Kong, Jiamusi, Jieyang, Jinggangshan, Jixi, Kunming, Lanzhou, Lianyungang, Macau, Nanchang, Nanning, Ordos, Qingdao, Qiqihar, Sanya, Seoul–Gimpo, Shenyang, Shenzhen, Taipei–Songshan, Taiyuan, Tianjin, Tokyo–Haneda, Urumqi, Wenzhou, Wuhan, Xiamen, Xi'an, Xishuangbanna, Yantai, Zhanjiang, Zhengzhou, Zhuhai
เซินเจิ้นแอร์ไลน์ Guangzhou, Jingdezhen, Shenzhen
สปริงแอร์ไลน์ Changde, Changsha, Chengde, Chengdu, Chongqing, Dongying, Enshi, Guangzhou, Guiyang, Hohhot, Huaihua, Jieyang, Kunming, Lanzhou, Qianjiang, Qingdao, Qingyang, Quanzhou, Shenzhen, Shijiazhuang, Urumqi, Xiamen, Xi'an, Xishuangbanna, Yinchuan, Zhangjiakou, Zhanjiang, Zhuhai, Zunyi–Xinzhou
เทียนจินแอร์ไลน์ Tianjin
ทิเบตแอร์ไลน์ Chengdu, Lhasa
ซ่าเหมินแอร์ไลน์ Beijing–Daxing, Chongqing, Fuzhou, Quanzhou, Shenzhen, Xiamen

อาคารรับส่งผู้โดยสาร

[แก้]

อาคารรับส่งผู้โดยสารที่ 1

[แก้]

อาคารรับส่งผู้โดยสารที่ 2

[แก้]

สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ

[แก้]
ทางเข้าโรงแรมสนามบิน

สนามบินมีสำนักงานใหญ่ของไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ ซึ่งตั้งอยู่ในอาคาร China Eastern Airlines, [13] [14] และเป็นสำนักงานใหญ่ของ สายการบิน China Airlines [15]

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์

[แก้]
  • เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2542 Korean Air Lines Flight 6316 เครื่องบิน MD-11F ขึ้นทะเบียนเส้นทางการบิน HL7373 ได้รับความเสียหายหลังจากบินขึ้นจากท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียวไปยัง กรุงโซล หลังจากขึ้นเครื่องบินเจ้าหน้าที่หอบังคับการบินได้ติดต่อไปที่ Shanghai Departure ซึ่งได้ทำการเคลียร์เที่ยวบินให้ไต่ระดับที่ 1,500 เมตร (4,900 ฟุต) เมื่อเครื่องบินไต่ระดับลงไปถึง 4,500 ฟุต (1,400 เมตร) กัปตันหลังจากได้รับคำตอบที่ผิดสองครั้งจากเจ้าหน้าที่ว่าความสูงที่ต้องการควรเป็น 1,500 ft (460 m) จึงคิดว่าเครื่องบินที่ระดับ 3,000 ft (910 m) สูงเกินไป กัปตันจึงผลักคันบังคับควบคุมไปข้างหน้าอย่างฉับพลันและทำให้เครื่องบินเข้าสู่การลดระดับลงมาอย่างรวดเร็ว กัปตันและลูกเรือทั้งคู่พยายามที่จะกู้คืนจากการดำดิ่งแต่ก็ไม่สามารถทำได้ ทำให้ผู้โดยสารทั้งสามคนบนเครื่องและห้าคนบนพื้นดินเสียชีวิต [16]
  • เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2554 กาตาร์แอร์เวย์ส เที่ยวบินที่ 888 โบอิ้ง 777-300ER เดินทางจาก สนามบินนานาชาติโดฮา ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติอื่นแทนท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง เนื่องจากการแจ้งสถานการณ์ฉุกเฉินเชื้อเพลิงต่ำและเลือกที่จะเปลี่ยนเส้นทางไปท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียว หอควบคุมการจราจรทางอากาศที่หงเฉียวสั่งให้ Juneyao Airlines เที่ยวบินที่ 112 เดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติเป่าอันเซินเจิ้นไปยังหงเฉียวเพื่อยกเลิกการลงจอด และอนุญาตให้ Qatar Airways Boeing 777-300ER ลงจอดแทน นักบินของสายการบิน Juneyao Airlines 1112 ไม่สนใจคำสั่งเพื่อยกเลิกการลงจอดและไม่ให้ความสำคัญกับเที่ยวบิน 888 ในที่สุดบังคับให้เที่ยวบินของสายการบินกาตาร์แอร์เวย์ต้องทำการบินวน เครื่องบินทั้งสองลงจอดอย่างปลอดภัยโดยไม่มีการบาดเจ็บหรือความเสียหายต่อเครื่องบิน เหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่บทลงโทษสำหรับ Juneyao Airlines และลูกเรือของเครื่องบิน Juneyao โดยการบินพลเรือนของจีน รวมถึงการเพิกถอนใบอนุญาตนักบินอย่างถาวรในประเทศจีน [17]
  • เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2013 ไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 2947 เอ็มบราเยอร์ EMB-145LI บินจาก สนามบิน Huai'an Lianshui ไปยัง ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียว เลี้ยวออกจากรันเวย์ 18L ในระหว่างการลงจอด เครื่องบินหยุดจอดบนทางรถแท็กซี่ที่อยู่ติดกันโดยล้อหน้าของเครื่องบินยุบ ไม่มีผู้โดยสารหรือลูกเรือได้รับบาดเจ็บ แต่เครื่องบินได้รับความเสียหายอย่างมาก [18]
  • เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559 ไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์ เที่ยวบิน MU5643 แอร์บัส A320 (ลงทะเบียน B-2337) เกือบชนกับเที่ยวบิน MU5106 ของสายการบินเดียวกันซึ่งเป็น แอร์บัส A330 เมื่อเครื่องแรกต้องการขึ้นบินบนรันเวย์ 36L ในขณะที่เครื่องหลังต้องการตัดข้ามรันเวย์เดียวกันภายใต้คำแนะนำที่ผิดพลาด เครื่องลำแรกจึงทำTOGA เพื่อขึ้นบินก่อนอย่างรวดเร็วและสามารถหลีกเลี่ยงการปะทะกัน

การขนส่งติดต่อทางบก

[แก้]

อาคารผู้โดยสารแห่งที่ 2 ของท่าอากาศยานหงเฉียว ( 31°11′46″N 121°19′18″E / 31.19611°N 121.32167°E / 31.19611; 121.32167 ) เป็นอาคารที่เชื่อมต่อกับ สถานีรถไฟ Shanghai Hongqiao ( 31°11′46″N 121°18′58″E / 31.19611°N 121.31611°E / 31.19611; 121.31611 ) ซึ่งเป็นศูนย์กลางรถไฟที่สำคัญ ให้บริการ เส้นทางรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ ที่ เส้นทางรถไฟความเร็วสูงเซี่ยงไฮ้-หางโจว และ เส้นทางรถใฟความเร็วสูงเซี่ยงไฮ้-หนานจิง อาคารผู้โดยสารแห่งที่ 1 ( 31°11′50″N 121°20′32″E / 31.19722°N 121.34222°E / 31.19722; 121.34222 ) อยู่ฝั่งตรงข้ามอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 2 โดยมีรันเวย์คั้นกลาง

สถานีรถไฟใต้ดิน ภายในท่าอากาศยานและสถานีรถไฟหงเฉียว 3 สถานี คือ

ข้อเสนอในการขยายรถไฟแม็กเลฟเซี่ยงไฮ้ จากสถานีถนนหลงหยาง ผ่านสถานีรถไฟเซี่ยงไฮ้สายใต้ ไปยังท่าอากาศยานหงเฉียว ที่จะเชื่อมต่อสนามบินทั้งสองด้วยความเร็วสูงสุดจะใช้เวลาเพียง 15 นาทีในการเดินทาง 55 กม. แผนเดิมกำหนดให้แล้วเสร็จการขยายเชื่อมต่อในปี 2553 (ปี 2010) ให้ทันสำหรับงานเอ็กซ์โป 2010 อย่างไรก็ตามข้อเสนอการขยายนี้ ถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนดเนื่องจากการประท้วง

อ้างอิง

[แก้]
  1. 2016年民航机场生产统计公报. CAAC. 24 Feb 2017.
  2. "ACI releases World Airport Traffic Report 2010" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2020-07-27.
  3. http://news.carnoc.com/list/219/219143.html
  4. https://skytraxratings.com/airports/shanghai-hongqiao-airport-rating
  5. http://news.sina.com.cn/c/2007-02-27/033912377301.shtml
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-03-02. สืบค้นเมื่อ 2020-07-27.
  7. xwcb.eastday.com/c/20091225/u1a673605.html
  8. www.shanghaidaily.com/metro/public-services/Airport-renovation-biggest-since-it-opened-in-1921/shdaily.shtml
  9. 9.0 9.1 www.shanghaidaily.com/metro/public-services/Hongqiao-airport-gets-its-biggest-facelift-since-its-opening-in-1921/shdaily.shtml
  10. 嘿!2018年冬春新航季,来聊点航线新动态!. WeChat (ภาษาChinese (China)). China Eastern Shanghai sales. 2018-10-12. สืบค้นเมื่อ 2020-01-15.
  11. https://www.shine.cn/news/metro/2004126173/
  12. "Juneyao Airlines adds Beijing Daxing service from late-Oct 2019". routesonline. สืบค้นเมื่อ 24 September 2019.
  13. "Exhibit B." p. 2. "2550 Hongqiao Road Hongqiao International Airport China Eastern Airlines Building" (Archive)
  14. "China Eastern Airlines Corp. Ltd. (CEA)." Yahoo! Finance. Retrieved on 3 October 2009. "China Eastern Airlines Corp. Ltd. 2550 Hong Qiao Road Shanghai, 200335 China – Map"
  15. "Directory:World airlines." Flight International. 25–31 March 2003. 45. "Hongqiao International Airport, Shanghai, 200335, China"
  16. Accident summary, Korean Air HL7373 เก็บถาวร 2012-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. aviation-safety.net
  17. Incident: Incident: Qatar B773 and Juneyao A320 near Shanghai on Aug 13th 2011, fuel emergency or not. The Aviation Herald. 24 August 2011.
  18. Accident: China Eastern E145 at Shanghai on Jun 7th 2013, runway excursion, nose gear collapse. The Aviation Herald. 7 June 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Shanghai Hongqiao International Airport