ทัศนัย บูรณุปกรณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทัศนัย บูรณุปกรณ์
นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 – 31 มกราคม พ.ศ. 2564
ก่อนหน้าตัวเอง
ถัดไปอัศนี บูรณุปกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
4 ตุลาคม พ.ศ. 2552 – 6 กันยายน พ.ศ. 2556
ก่อนหน้าเดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่
ถัดไปตัวเอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 ตุลาคม พ.ศ. 2517 (49 ปี)
จังหวัดเชียงใหม่
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองกิจสังคม (2542–2544)
ไทยรักไทย (2544–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2567)
ก้าวไกล (2567–ปัจจุบัน)

ทัศนัย บูรณุปกรณ์ หรือชื่อเล่นว่า ไก่ อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ หลานของนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์

ประวัติ[แก้]

ทัศนัย บูรณุปกรณ์ เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2517 เป็นบุตรของนายพรทัศน์ บูรณุปกรณ์ และนางผ่องศรี บูรณุปกรณ์ สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และระดับปริญญาโท เศรษฐศาสตร์การเงิน มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม สหราชอาณาจักร และปริญญาโท สาขาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด

ทัศนัย บูรณุปกรณ์ สมรสกับนภัส จิวะกิดาการ หรือ ฝน Teen Voice GIRL อดีตนักร้องสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558 ปัจจุบันสถานะเลิกรา

งานการเมือง[แก้]

ปี พ.ศ. 2543 นายทัศนัยได้สู่วงการการเมือง ด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคกิจสังคม[1] ประเภทแบ่งเขต จังหวัดเชียงใหม่ เขตเลือกตั้งที่ 1 แข่งขันกับปกรณ์ บูรณุปกรณ์ จากพรรคไทยรักไทย และสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล จากพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[2][3] ต่อมา ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครเชียงใหม่ สังกัด กลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม กระทั่งบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ ผู้เป็นอาได้เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ นายทัศนัยจึงได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ ในขณะที่นายบุญเลิศ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้จากคดีความทางการเมือง นายทัศนัย ก็ได้รักษาราชการแทนนายบุญเลิศ

การดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่[แก้]

สมัยที่ 1[แก้]

หลังจากที่ ร้อยเอกหญิง ดร.เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีฯคนใหม่ ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2552 นายทัศนัยได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 พรรคเพื่อไทย และกลุ่มคนที่ชื่นชอบดร.ทักษิณ ชินวัตร โดยนายทัศนัย ได้รับเลือกมาเป็นอันดับหนึ่งด้วยคะแนนทั้งสิ้น 24,384 คะแนน ห่างจากลำดับที่สองเกือบเท่าตัว โดย กกต.กลาง ได้ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ต่อมา 6 กันยายน พ.ศ. 2556 ทัศนัยได้แถลงข่าวลาออกจากตำแหน่ง ก่อนที่จะหมดวาระเพียงไม่ถึงเดือน เนื่องจากเขาจะเข้าอุปสมบทให้แก่อา คือนายปกรณ์ บูรณุปกรณ์ ที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 กันยายน [4]

สมัยที่ 2[แก้]

ต่อมามีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ผลปรากฏว่านายทัศนัย ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ อีกสมัยหนึ่ง และดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2564 จึงพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีประกาศให้จัดการเลือกตั้งทั่วประเทศ โดยนายทัศนัย บูรณุปกรณ์ ได้ประกาศวางมือทางการเมืองหลังจากการดำรงตำแหน่งสมัยที่ 2 นี้เอง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-24. สืบค้นเมื่อ 2012-02-21.
  2. "ผลการเลือกตั้ง ส.ส.เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-02-21.
  3. http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
  4. นายกเล็กนครเชียงใหม่ประกาศลาออกก่อนหมดวาระ 3 ตุลาคม[ลิงก์เสีย] 5 กันยายน 2556. ASTVผู้จัดการออนไลน์
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2022-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๒๓, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
ก่อนหน้า ทัศนัย บูรณุปกรณ์ ถัดไป
ร้อยเอกหญิง เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
(4 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - 6 กันยายน พ.ศ. 2556 (สมัยที่ 1)
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 31 มกราคม พ.ศ. 2564(สมัยที่ 2))
อัศนี บูรณุปกรณ์