ข้ามไปเนื้อหา

ทะเลมาร์มะรา

พิกัด: 40°40′N 28°00′E / 40.667°N 28.000°E / 40.667; 28.000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทะเลมาร์มะรา
ทะเลมาร์มะราตั้งอยู่ในประเทศตุรกี
ทะเลมาร์มะรา
ทะเลมาร์มะรา
ที่ตั้งของทะเลมาร์มะราในประเทศตุรกี
ระดับความสูงของพื้นที่ทะเลมาร์มะราและโดยรอบ
ที่ตั้งยุโรปใต้และเอเชียตะวันตก
พิกัด40°40′N 28°00′E / 40.667°N 28.000°E / 40.667; 28.000
ชนิดทะเลใน
ชื่อในภาษาแม่Marmara Denizi (ตุรกี)
แหล่งน้ำไหลเข้าหลักแม่น้ำซีมัฟ, บีกาชายือ, แม่น้ำนีลือเฟร์
แหล่งน้ำไหลออกช่องแคบตุรกี
พื้นที่รับน้ำ11,500 km2 (4,400 sq mi)
ประเทศในลุ่มน้ำประเทศตุรกี
พื้นที่พื้นน้ำ11,350 km2 (4,380 sq mi)
ความลึกโดยเฉลี่ย494 m (1,621 ft)
ความลึกสูงสุด1,370 m (4,490 ft)
ปริมาณน้ำ3,378 km3 (810 cu mi)
เกาะเกาะมาร์มะรา, อัฟชา, อิมราลือ, หมู่เกาะเจ้าชาย, พาชาลีมานือ และเกาะเอกินลิก
เมืองอิสตันบูล, บูร์ซา, อิซมิท, เทคีร์ดา, บาลือเกซีร์, ชานักคาแล และยาโลวา

ทะเลมาร์มะรา หรือ ทะเลมาร์โมรา (อังกฤษ: Sea of Marmara, Marmara Sea, Sea of Marmora; ตุรกี: Marmara Denizi; กรีกโบราณ: Προποντίς, Προποντίδα, อักษรโรมัน: Propontís, Propontída) เป็นทะเลในขนาดเล็กในชายแดนประเทศตุรกี เชื่อมเข้ากับทะเลดำและทะเลอีเจียนผ่านช่องแคบบอสฟอรัสและช่องแคบดาร์ดาเนลส์ ซึ่งแยกตุรกีฝั่งยุโรปกับฝั่งเอเชีย มีพื้นที่ 11,350 km2 (4,380 sq mi) และขนาด 280 × 80 km (174 × 50 mi)[1] จุดที่ลึกที่สุดอยู่ที่ 1,370 เมตร (4,490 ฟุต)

ชื่อ

[แก้]

ทะเลมาร์มะราได้ชื่อมาจากเกาะใหญ่สุดทางตอนใต้ชื่อเกาะมาร์มะราเนื่องจากอุดมไปด้วยหินอ่อน (กรีก μάρμᾰρον (mármaron) "หินอ่อน")[2]

ในสมัยคลาสสิก พื้นที่นี้รู้จักกันในชื่อ Propontis จากศัพท์ภาษากรีกว่า pro (ก่อน) และ pontos (ทะเล) สะท้อนให้เห็นถึงข้อเท็จจริงว่าชาวกรีกโบราณเดินทางผ่านบริเวณก่อนเข้าทะเลดำ ซึ่งพวกเขาเรียกเป็น Pontos

ตำนาน

[แก้]

ในเทพปกรณัมกรีก พายุที่ Propontis พัดพาอาร์โกนอทส์หลับไปยังเกาะที่พวกเขามา เป็นชนวนเหตุสงครามที่เจสันหรือเฮราคลีสสังหาร พระเจ้า Cyzicus ที่เข้าใจผิดว่าพวกเขาเป็นศัตรูจาก Pelasgia[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Marmara, Sea of - Dictionary definition of Marmara, Sea of - Encyclopedia.com: FREE online dictionary". www.encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ 3 January 2018.
  2. Liddell, Henry George; Scott, Robert. "A Greek-English Lexicon". Henry Stuart Jones and Roderick McKenzie. Perseus. สืบค้นเมื่อ January 12, 2009.
  3. Parada, Carlos. "Greek Mythology Link". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 13, 2002. สืบค้นเมื่อ April 30, 2001.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]