ข้ามไปเนื้อหา

ดนัย อุดมโชค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดนัย อุดมโชค
Danai Udomchoke
ประเทศ (กีฬา) ไทย
ถิ่นพำนักกรุงเทพมหานคร, ไทย
วันเกิด11 สิงหาคม พ.ศ. 2524 (43 ปี)
กรุงเทพมหานคร, ไทย
ส่วนสูง1.72 m (5 ft 7 12 in)
เทิร์นโปรพ.ศ. 2540
การเล่นถนัดมือขวา (แบ็กแฮนด์มือเดียว)
เงินรางวัล$1,071,009
เดี่ยว
สถิติอาชีพ53–67
รายการอาชีพที่ชนะ0
อันดับสูงสุด77 (29 มกราคม พ.ศ. 2550)
อันดับปัจจุบัน363 (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
ผลแกรนด์สแลมเดี่ยว
ออสเตรเลียนโอเพนรอบที่ 3 (2007)
เฟรนช์โอเพนรอบที่ 1 (2007)
วิมเบิลดันรอบที่ 2 (2005, 2007)
ยูเอสโอเพนรอบที่ 1 (2004)
คู่
สถิติอาชีพ12–27
รายการอาชีพที่ชนะ1
อันดับสูงสุด130 (8 ตุลาคม พ.ศ. 2555)
อันดับปัจจุบัน147 (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
ผลแกรนด์สแลมคู่
ออสเตรเลียนโอเพนรอบที่ 1 (2007, 2013)
อัปเดตล่าสุดเมื่อ: 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ร้อยตำรวจเอก ดนัย อุดมโชค ชื่อเล่น ปิ๊ก เป็นนักเทนนิสชาวไทย เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2524 ที่กรุงเทพมหานคร อันดับโลกสูงสุดของดนัย อยู่ที่อันดับ 77 เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2550 หลังจากทำผลงานได้ดีในเทนนิสออสเตรเลียนโอเพน ประจำปี 2007 เอาชนะฮวน คาร์ลอส เฟอร์เรโร อดีตมืออันดับ 1 ของโลก 7-6, 7-5, 4-6, 6-1 ผ่านเข้ารอบสามของรายการ

ประวัติ

[แก้]

ดนัยเป็นบุตรของ นายวุฒิพันธ์ และนางกาญจนา อุดมโชค จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนสวนเด็ก จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนทิวไผ่งาม จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) และสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี จาก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ดนัยเริ่มเล่นเทนนิสเมื่ออายุ 8 ปี ขณะกำลังศึกษาชั้น ม.2 เนื่องจากมีอาการหอบหืดเป็นโรคประจำตัว และแพทย์แนะนำให้ออกกำลังกาย รวมถึงครอบครัวก็เล่นเทนนิสอยู่แล้ว โดยมีอาจารย์มานิตย์ รัตนมงคลกุล เป็นผู้ฝึกสอนคนแรก และ อาจารย์ชัยวัฒน์ คงกิจภากรณ์ เป็นผู้ฝึกสอนคนต่อมา เขาเริ่มเล่นเทนนิสอาชีพเมื่อ พ.ศ. 2540 โดยลงแข่งขันรายการเดวิส คัพ 1997 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นรายการแรก ได้เข้าถึงรอบชิงชนะเลิศ แต่แพ้นักเทนนิสจากปากีสถาน

ดนัยมีผลงานดีเด่นในรายการแกรนด์สแลมรายการวิมเบิลดัน 2005 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ชนะสเตฟาน คูเบ็ค มือวางอันดับ 78 ของโลก 5-7, 6-4, 4-6, 6-3, 8-6 เข้ารอบสองเป็นครั้งแรก และในการแข่งขันเทนนิสออสเตรเลียนโอเพน ประจำปี 2006 ดนัยทำผลงานได้ค่อนข้างดี โดยในรอบแรกชนะ เดวิด นัลบันเดียน มืออันดับ 3 ของโลก หลังจากถูกนำไป 2-0 ในสองเซตแรก แต่สามารถกลับมาชนะในเซตที่ 3-4 แต่แพ้ในเซตที่ 5 ด้วยคะแนน 2-6, 2-6, 6-1, 7-6 (4), 1-6

ดนัยลงแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2006 ที่เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ ระหว่างวันที่ 1 ถึง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ได้รับเหรียญทองประเภทชายเดี่ยว โดยเอาชนะลี ฮุง-เตก มือวางอันดับหนึ่งของรายการ และมืออันดับหนึ่งของเอเชีย 7-5, 6-3 ในรอบชิงชนะเลิศ ส่งผลให้ได้รับรางวัลนักกีฬาสมัครเล่นชายดีเด่น เนื่องในวันนักกีฬาแห่งชาติ ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2549 นอกจากนี้ดนัยยังได้รับเกียรติเชิญธงชาติไทยในพิธีเปิดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2010 ณ นครกว่างโจว ประเทศจีนอีกด้วย

ดนัยมีผู้ฝึกสอน คือ แจน สโตเซ็ก ชาวสาธารณรัฐเช็ก มีเพื่อนสนิท คือ ลู เยน-ชุน (Yen-Hsun Lu) นักเทนนิสชาวไต้หวัน ทั้งคู่ ฝึกซ้อมด้วยกัน และลงแข่งขันประเภทคู่ด้วยกัน

ดนัยประกาศยุติการเล่นเทนนิสไปในกลางเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 โดยประกาศผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวระหว่างที่พาทีมเทนนิสเยาวชนลงแข่งขันที่ประเทศเวียดนาม เพราะถึงจุดอิ่มตัว โดยจะหันไปเป็นผู้ฝึกสอนแทน[1]

สถิติ

[แก้]

ประเภทเดี่ยว

[แก้]

เอทีพี

[แก้]

ไอทีเอฟ ชาลเลนเจอร์ (6)

[แก้]
ชนะเลิศ (6)
[แก้]
ลำดับ วันที่ รายการ สนาม รางวัล คู่... คะแนน
1. 6 ต.ค.46 ดาร์วาด อินเดีย ฮาร์ด $  จีนไทเป Yeu-Tzuoo Wang 7-6 (5), 6-1
2. 23 พ.ค.48 ปูซาน เกาหลีใต้ ฮาร์ด $50K  สหรัฐ Paul Goldstein 7-6 (6), 6-1
3. 25 มิ.ย.48 แกรนบีย์ แคนาดา ฮาร์ด $50K ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส Gregory Carraz 7-6 (6), 2-6, 7-6 (2)
4. 14 พ.ย.48 แชมเปญ อิลลินอยส์ สหรัฐ ฮาร์ด $50K  สหรัฐ Justin Gimelstob 7-5, 6-2
5. 17 เม.ย.49 Chikmagalur อินเดีย ฮาร์ด $25K ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น Toshihide Matsui 7-5, 6-4
6. 15 พ.ค.49 เฟอร์กานา อุซเบกิสถาน ฮาร์ด $25K ธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย Alexander Peya 6-0, 6-2
7. 12 พ.ย.49 ปูซาน เกาหลีใต้ ฮาร์ด $75K  สหรัฐ Paul Goldstein 6-2, 6-0
รองชนะเลิศ (6)
[แก้]
ลำดับ วันที่ รายการ สนาม รางวัล ผู้ชนะเลิศ คะแนน
1. 28 เม.ย.46 นิวเดลี อินเดีย ฮาร์ด $ ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ Ivo Heuberger 2-6, 3-6
2. 28 มิ.ย.46 เบโล ฮอริซอนเต บราซิล ฮาร์ด $ ธงของประเทศชิลี ชิลี Julio Peralta 6-7 (6), 6-1, 1-6
3. 9 ส.ค.47 บิงแฮมป์ตัน นิวยอร์ก สหรัฐ ฮาร์ด $50K ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล Noam Okun 3-6, 6-4, 1-6
4. 16 พ.ค.48 เฟอร์กานา อุซเบกิสถาน ฮาร์ด $25K  จีนไทเป Yen-Hsun Lu 1-6, 6-7 (3)
5. 21 พ.ย.48 ซันเดอร์แลนด์ อังกฤษ ฮาร์ด $25K ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร Alex Bogdanovic 6-7 (4), 5-7
6. 29 พ.ค.49 ปูซาน เกาหลีใต้ ฮาร์ด $50K ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ Lee Hyung-Taik 3-6, 2-6

ประเภทคู่

[แก้]

ไอทีเอฟ ชาลเลนเจอร์

[แก้]
ชนะเลิศ (2)
[แก้]
ลำดับ วันที่ รายการ สนาม รางวัล จับคู่กับ คู่แข่ง คะแนน
1. 25 พ.ย.45 โยโกฮามา ญี่ปุ่น พรม $  จีนไทเป Yen-Hsun Lu ธงของประเทศโครเอเชีย โครเอเชีย Ivo Karlovic
ธงของประเทศนิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ Mark Nielsen
7-6 (5), 6-3
2. 25 พ.ค.46 แกรนบีย์ แคนาดา ฮาร์ด $  จีนไทเป Yen-Hsun Lu ธงของประเทศบราซิล บราซิล Josh Goffi
 สหรัฐ Ryan Sachire
6-7 (4), 6-4, 7-6
รองชนะเลิศ
[แก้]
ลำดับ วันที่ รายการ สนาม รางวัล จับคู่กับ ผู้ชนะเลิศ คะแนน
1. 22 ก.ค.45 บราซิล ฮาร์ด $  จีนไทเป Yen-Hsun Lu ธงของประเทศเม็กซิโก เม็กซิโก Alejandro Hernandez
ธงของประเทศบราซิล บราซิล Daniel Melo
W/O
2. 19 เม.ย.47 เม็กซิโกซิตี เม็กซิโก ฮาร์ด $  จีนไทเป Yen-Hsun Lu ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย Nathan Healy
ธงของประเทศฟินแลนด์ ฟินแลนด์ Tuomas Ketola
5-7, 6-7 (6)
3. 8 พ.ย.47 แนชวิลล์ เทนเนสซี สหรัฐ ฮาร์ด $ ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ Cecil Mamiit  สหรัฐ Jason Marshall
 สหรัฐ Travis Parrott
3-6, 4-6
4. 16 พ.ค.48 เฟอร์กานา อุซเบกิสถาน ฮาร์ด $  จีนไทเป Yen-Hsun Lu ธงของประเทศอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน Murad Inoyatov
ธงของประเทศอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน Denis Istomin
1-6, 3-6
5. 17 เม.ย.49 Chikmagalur อินเดีย ฮาร์ด $25K  จีนไทเป Yen-Hsun Lu  ไทย สนฉัตร รติวัฒน์
 ไทย สรรค์ชัย รติวัฒน์
3-6, 2-6
6. 30 ต.ค.49 โซล เกาหลีใต้ ฮาร์ด $ ธงของประเทศโรมาเนีย โรมาเนีย Florin Mergea ธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย Alexander Peya
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี Bjorn Phau
4-6, 2-6

สรุปผลงาน

[แก้]
รายการการแข่งขัน 2550 2549 2548 2547 2546 2545 2544 2543 2542 2541 2540 รวม
ออสเตรเลียนโอเพน รอบ3 QLF/ รอบ1 Q1 Q2 Q1 Q1 Q1 Q2 - - -
เฟรนช์โอเพน รอบ1 - - Q1 Q1 Q1 - - - - -
วิมเบิลดัน รอบ2 รอบ1 QLF/ รอบ2 Q3 Q1 - - - - - -
ยูเอสโอเพน รอบ1 Q1 Q3 QLF/ รอบ1 Q2 Q3 Q1 Q2 - - -
รวม ชนะ-แพ้ 9-19 9-12 - - - - - - - - - 29-32
อันดับโลกเมื่อสิ้นปี 155 102 121 204 162 211 283 268 292 590 1288

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ดนัยลั่นเลิกแล้วครับ". กีฬา. เดลินิวส์. No. 24020. 19 กรกฎาคม 2015. pp. 16 ต่อ 14.
  2. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๗. 5 ธันวาคม 2552.
  3. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๑๐๔. 1 พฤษภาคม 2563.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]