ข้ามไปเนื้อหา

ชิรากาวะ (หมู่บ้านในจังหวัดกิฟุ)

พิกัด: 36°16′15.4″N 136°53′54.8″E / 36.270944°N 136.898556°E / 36.270944; 136.898556
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชิรากาวะ

白川村
ชิรากาวาโง
ชิรากาวาโง
ธงของชิรากาวะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของชิรากาวะ
ตรา
ที่ตั้งของชิรากาวะ (เน้นสีเขียว) ในจังหวัดกิฟุ
ที่ตั้งของชิรากาวะ (เน้นสีเขียว) ในจังหวัดกิฟุ
แผนที่
ชิรากาวะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ชิรากาวะ
ชิรากาวะ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 36°16′15.4″N 136°53′54.8″E / 36.270944°N 136.898556°E / 36.270944; 136.898556
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคชูบุ
จังหวัด กิฟุ
อำเภอโอโนะ
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลหมู่บ้าน
 • นายกเทศมนตรีชิเงรุ นาริฮาระ (成原茂)
พื้นที่
 • ทั้งหมด356.64 ตร.กม. (137.70 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 เมษายน ค.ศ. 2024)[1]
 • ทั้งหมด1,416 คน
 • ความหนาแน่น3.97 คน/ตร.กม. (10.3 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
โทรศัพท์05769-6-1311
ที่อยู่ที่ทำการ517 Hatogaya, Shirakawa-mura, Ōno-gun, Gifu-ken501-5692
รหัสท้องถิ่น21604-6
เว็บไซต์www.shirakawa-go.org (ในภาษาญี่ปุ่น)
สัญลักษณ์
ดอกไม้ฮากูซังชากูนาเงะ (Rhododendron brachycarpum)
ต้นไม้บีชญี่ปุ่น/บูนะ (Fagus crenata)

ชิรากาวะ (ญี่ปุ่น: 白川村โรมาจิShirakawa-mura) เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในอำเภอโอโนะ จังหวัดกิฟุ ประเทศญี่ปุ่น เป็นที่รู้จักดีจากการเป็นที่ตั้งของชิรากาวาโง หมู่บ้านเล็ก ๆ แบบดั้งเดิมที่เต็มไปด้วยบ้านหลังคามุงจากที่เรียกว่า กัชโชซูกูริ ร่วมกับโกกายามะที่ตั้งอยู่ในนครนันโตะ จังหวัดโทยามะ เป็นหนึ่งในแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก

ณ วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2024 หมู่บ้านนี้มีจำนวนประชากรประมาณ 1,416 คน[1] มีความหนาแน่นของประชากร 3.97 คนต่อตารางกิโลเมตร[2] มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 356.64 ตารางกิโลเมตร (137.70 ตารางไมล์)

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ชิรากาวะเป็นหมู่บ้านบนภูเขาที่ตั้งอยู่ในทางตอนเหนือจังหวัดกิฟุ ติดกับจังหวัดอิชิกาวะและจังหวัดโทยามะโดยมีเทือกเขาเรียวฮากุกั้น เขาฮากูซังเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดที่ระดับความสูง 2,172 เมตร (7,126 ฟุต) พื้นที่ของหมู่บ้านเป็นป่าภูเขาร้อยละ 95.7 และมีลักษณะเป็นสถานที่สูงชัน ระหว่างภูเขามีแม่น้ำโชไหลผ่าน ซึ่งไหลไปทางทิศเหนือสู่นครนันโตะ จังหวัดโทยามะ ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในหุบเขาริมแม่น้ำ นับตั้งแต่เปิดใช้งานอุโมงค์ฮิดะ การเดินทางด้วยรถยนต์จากทากายามะไปยังชิรากาวะใช้เวลาลดลงจาก 3 ชั่วโมงเหลือ 50 นาที และใช้เวลาเดินทางถึงนันโตะเพียง 1 ชั่วโมง

เทศบาลข้างเคียง

[แก้]

ภูมิอากาศ

[แก้]
กัชโชซูกูริ บ้านหลังคามุงจากแบบดั้งเดิมในในชิรากาวาโง

หมู่บ้านชิรากาวะมีภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นทวีป (เคิพเพิน Dfa) ประกอบด้วยสี่ฤดูกาลที่แตกต่างกัน โดยฤดูหนาวจะเป็นที่โดดเด่นในชิรากาวะมากที่สุด ชิรากาวะขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีหิมะตกมากที่สุดในญี่ปุ่น ปริมาณหิมะเฉลี่ยต่อปีโดยเฉลี่ยเกินกว่า 10 เมตร (415.4 นิ้ว) โดยมีเนินหิมะทับถมกันสูงกว่า 2 เมตร ผลที่ตามมาของการที่หิมะตกหนักบ่อยครั้ง คือการสร้างบ้านหลังคามุงจากหนาเป็นพิเศษ เรียกว่า กัชโชซูกูริ (ญี่ปุ่น: 合掌造りโรมาจิgasshō-zukuri) และด้วยความที่มีเทือกเขาในอุทยานแห่งชาติฮากูซังเป็นพื้นหลัง สถานที่เหล่านี้จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ

สถิติประชากร

[แก้]

ตามข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[5] ประชากรของชิรากาวะได้ลดลงในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วง ค.ศ. 2000

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1970 2,525—    
1980 2,132−15.6%
1990 1,892−11.3%
2000 2,151+13.7%
2010 1,733−19.4%
2020 1,511−12.8%

ประวัติศาสตร์

[แก้]
ที่ทำการหมู่บ้านชิรากาวะ

พื้นที่บริเวณชิรากาวะเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโบราณแคว้นหนึ่งชื่อว่าแคว้นฮิดะ ต่อมาในระหว่างการปฏิรูปที่ดินหลังการฟื้นฟูเมจิ พื้นที่แห่งนี้ก็ได้ถูกจัดให้อยู่ภายใต้การปกครองของอำเภอโอโนะ จังหวัดกิฟุ และเมื่อมีการประกาศใช้ระบบเทศบาล ก็ได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านชิรากาวะขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1897

เศรษฐกิจ

[แก้]

เศรษฐกิจในท้องถิ่นยึดโยงกับการท่องเที่ยวตามฤดูกาลเป็นหลัก เนื่องจากรายได้จากนักท่องเที่ยวที่มาเข้าชมหมู่บ้านกัชโชซูกูริ ทำให้สภาพทางการเงินของหมู่บ้านจึงได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก และมีนักท่องเที่ยวสัญจรเพิ่มมากขึ้นอีกเมื่อหมู่บ้านนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก

อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้มาเยือนที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดมลภาวะซึ่งสร้างความเสียหายต่อพื้นที่ และจากการที่ชาวท้องถิ่นเปลี่ยนบ้านของตนเป็นหอพัก ร้านขายของที่ระลึก และลานจอดรถ ทำให้สถานะมรดกโลกของพื้นที่แห่งนี้ตกอยู่ในความเสี่ยง นอกจากนี้ยังเกรงกันว่าการเปลี่ยนมาให้ความสนใจกับการบริการนักท่องเที่ยวมากขึ้นจะส่งผลเสียต่อเสน่ห์ของความเรียบง่ายของพื้นที่และภูมิทัศน์โดยรวมของญี่ปุ่น

การศึกษา

[แก้]

ชิรากาวะมีโรงเรียนที่เปิดสอนในระดับประถมและมัธยมต้นหนึ่งแห่ง ซึ่งสังกัดเทศบาลหมู่บ้าน และไม่มีโรงเรียนมัธยมปลาย

การขนส่ง

[แก้]

รถไฟ

[แก้]

หมู่บ้านชิรากาวะไม่มีรถไฟโดยสารให้บริการ

ทางหลวง

[แก้]

การเดินทางมายังหมู่บ้านชิรากาวะสามารถใช้รถประจำทางคาเอ็ตสึโน (ญี่ปุ่น: 加越能バスโรมาจิKaetsunō basu) ซึ่งให้บริการในเส้นทางไปยังแหล่งมรดกโลกทั้งโกกายามะและชิรากาวาโง โดยเริ่มจากสถานีรถไฟทากาโอกะ (จังหวัดโทยามะ) ผ่านสถานีรถไฟชินทากาโอกะ มายังสถานีขนส่งผู้โดยสารชิรากาวาโง

เมืองพี่น้อง

[แก้]

สถานที่ที่น่าสนใจในท้องถิ่น

[แก้]
  • หมู่บ้านประวัติศาสตร์ชิรากาวาโงและโกกายามะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
    • บ้านวาดาเกะ (和田家) บ้านทรงกัชโชซูกูริที่ใหญ่ที่สุดในพื้นที่
  • ชิรากาวาโงฮิราเซะอนเซ็ง (白川郷平瀬温泉) ได้รับการกำหนดให้เป็น "พื้นที่บ่อน้ำพุร้อนเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจแห่งชาติ"
  • เขื่อนมิโบโระ, ทะเลสาบมิโบโระ (御母衣ダム、御母衣湖)
  • อุโมงค์ฮิดะ (飛驒トンネル)
  • ฮากูซังรินโด (白山林道) เส้นทางเดินป่า
  • ช่องเขาอาโมอุ (ญี่ปุ่น: 天生峠โรมาจิAmou tōge) จุดชมใบไม้เปลี่ยนสีที่มีชื่อเสียง
  • ศาลเจ้าฮาจิมังชิรากาวะ (白川八幡神社) ซึ่งมีการจัดเทศกาลโดบูโรกุ ในวันที่ 14–15 ตุลาคมของทุกปี

ระเบียงภาพ

[แก้]

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "人口・世帯数" [จำนวนประชากร/จำนวนครัวเรือน]. จังหวัดกิฟุ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2024.
  2. สถิติทางการหมู่บ้านชิรากาวะ (ในภาษาญี่ปุ่น)
  3. 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). JMA. สืบค้นเมื่อ May 30, 2022.
  4. 観測史上1~10位の値(年間を通じての値). JMA. สืบค้นเมื่อ May 30, 2022.
  5. "Shirakawa (Gifu , Japan) - Population Statistics, Charts, Map, Location, Weather and Web Information". www.citypopulation.de. สืบค้นเมื่อ 2023-10-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]