แหล่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมเมจิของญี่ปุ่นฯ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แหล่งมรดกจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในยุคเมจิ: การถลุงเหล็กและผลิตเหล็กกล้า การต่อเรือและการทำเหมืองถ่านหิน *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ประเทศ ญี่ปุ่น
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(ii) (iv)
อ้างอิง1484
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2558 (คณะกรรมการสมัยที่ 39)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

แหล่งมรดกจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในยุคเมจิ: การถลุงเหล็กและผลิตเหล็กกล้า การต่อเรือและการทำเหมืองถ่านหิน เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่ประกอบด้วยสถานที่ 23 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่น คือที่เมืองฮางิ จังหวัดยามางูจิ และในเมืองต่าง ๆ บนเกาะคีวชู โดยสถานที่เหล่านี้มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วของญี่ปุ่น ตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึงช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็ก การต่อเรือ และการทำเหมืองถ่านหิน สถานที่เหล่านี้ยังเป็นตัวอย่างของกระบวนการค้นหาเทคโนโลยีของญี่ปุ่นจากยุโรปและอเมริกา ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 และบ่งบอกว่าเทคโนโลยีพวกนี้ถูกปรับให้เข้ากับความจำเป็นและประเพณีทางสังคมของญี่ปุ่นอย่างไร ซึ่งถือเป็นการส่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมตะวันตกไปยังประเทศที่ไม่ใช่ชาติตะวันตกสำเร็จเป็นครั้งแรกด้วย และจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศช่วงเวลานั้น ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของญี่ปุ่นครั้งใหญ่ในทุกด้านจนทำให้ประเทศญี่ปุ่นพัฒนาประเทศแบบก้าวกระโดดจนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในปัจุบัน

มรดกโลก[แก้]

แหล่งมรดกจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในยุคเมจิ:การถลุงเหล็กและผลิตเหล็กกล้า การต่อเรือและการทำเหมืองถ่านหิน ของญี่ปุ่นได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 39 เมื่อปี 2558 ที่เมืองบ็อน ประเทศเยอรมนี ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใด ๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ