ชาจีน
ชาจีน เป็น เครื่องดื่มที่ทำมาจากใบชาจากแหล่งปลูกต้นชา (Camellia sinensis) และผ่านน้ำร้อน ใบชาใช้กรรมวิธีดั้งเดิมของจีน ชาจีนมักจะใช้ดื่มสม่ำเสมอตลอดวัน รวมถึงระหว่างมื้ออาหาร บางครั้งใช้ดื่มแทนน้ำเปล่าเพื่อสุขภาพ หรือเพื่อความพอใจแบบเรียบง่าย
ประวัติของชาจีน
[แก้]ในทางปฏิบัติการดื่มชามีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากในประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งต้นกำเนิด ถึงแม้ว่าแหล่งกำเนิดชาจะอยู่ในประเทศจีน โดยทั่วไปชาจีนจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงใบชาซึ่งใช้กรรมวิธีสืบทอดมาจากจีนสมัยโบราณ จากการจารึกที่เป็นที่กล่าวถึง ชาถูกค้นพบโดยจักรพรรดิ์จีน เสินหนง ในปี 2737 ก่อนคริสตกาล เมื่อใบไม้ในบริเวณใกล้พุ่มไม้ร่วงลงมาในน้ำต้มสำหรับจักรพรรดิ์ ชาจึงได้หยั่งรากลึกในประวัติศาตสต์และวัฒนธรรมของจีน เครื่องดื่มชา กล่าวว่า เป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็น 7 สิ่งของชีวิตชาวจีน รวมไปถึงไม้ก่อไฟ ข้าว น้ำมัน เกลือ ซอสถั่วเหลือง และน้ำส้มสายชู
ชาจีน สามารถแบ่งกลุ่ม จำแนกตามความแตกต่างได้ 5 กลุ่มหลัก คือ ชาขาว ชาเขียว ชาอูหลง ชาแดง และชาดำ ส่วนกลุ่มอื่นจะมีการเพิ่มประเภทชาหอมและชาอบแห้ง ซึ่งชาต่าง ๆ เหล่านี้มาจากความหลากหลายของแหล่งปลูกCamellia sinensis ชาจีนส่วนใหญ่บริโภคโดยชาวจีน และไม่มีการส่งออก นอกจากชุมชนชาวจีนในประเทศต่าง ชาเขียวเป็นชาอีกชนิดหนึ่งที่นิยมบริโภคในประเทศจีน
จากการจำแนกกลุ่มชาหลัก ๆ จากความหลากหลายของชาจำนวนมาก สำหรับเครื่องดื่มที่เป็นเอกเทศเช่นนี้ นักวิจัยบางท่านได้นับจำนวนได้มากกว่า 700 ชนิด ส่วนอื่นที่นำมารวมด้วยมีมากกว่า 1,000 ชนิด บางส่วนมีการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์ที่แตกต่างกันจากแหล่งปลูกคาเมลเลีย ยกตัวอย่างชนิดชาที่เป็นที่นิยม คือ เถี่ยกวานอิน เป็นชาที่ถูกค้นพบในเมืองอานซี มณฑลฝูเจี้ยน ส่วนชาชนิดอื่นมีลักษณะตามแหล่งปลูกชาพื้นเมือง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ชามีความหลากหลายมาจากกรรมวิธีที่แตกต่างของกระบวนการผลิตชาหลังจากใบชาถูกเก็บ ชาขาวและชาเขียวจะได้รับความร้อน เรียกว่า "ซาชิง" (จีนตัวย่อ: 杀青; จีนตัวเต็ม: 殺青) เพื่อรักษาสารต้านอนุมูลอิสระให้ยังคงอยู่ มักจะเรียกขบวนการนี้ว่า การหมัก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เอนไซม์ธรรมชาติยังคงอยู่ในใบชา ชาอูหลงจะถูกอ๊อกซิไดน์เพียงส่วน ส่วนชาดำและชาแดงจะถูกอ๊อกซิไดน์ทั้งหมด ส่วนความแตกต่างของชาชนิดอื่น ๆ มักมาจากขั้นตอนการผลิตที่หลากหลาย
ราชวงศ์ซ่ง
[แก้]การปลูกชาที่เด่น ๆ จะอยู่ในช่วงราชวงศ์ซ่ง ไร่ชาครอบคลุมกว่า 242 ประเทศ ณ ช่วงเวลานั้น รวมไปถึงชาบรรณาการ ซึ่งเป็นชาที่มาจากมณฑลเจ้อเจียง และมณฑลฝูเจี้ยน ซึ่งส่งออกไปยังประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศแถบอาหรับ
ในสมัยราชวงศ์ซ้อง ชาเริ่มได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเค้กชา บางรูปแบบของมังกรจีนและหงส์แดง ถูกสลักเป็นลายนูน และมีชื่อภาษาต่างประเทศรวมอยู่ด้วย:
เค้กชามังกรใหญ่ เค้กชามังกรน้อย เค้กลูกมังกรหิมะ ต้นกล้าเงิน ใบไม้เฆม เงินสีทอง ดอกไม้หยก นิ้วทอง ต้นกล้าอายุมั่นขวัญยืน ใบหยกฤดูใบไม้ผลิ มังกรซ่อนเฆม ต้นมังกรอายุยืน มังกรฟินิกซ์และดอกไม้ ต้นเงินฤดูใบไม้ผลิ
ราชวงศ์หมิง
[แก้]จองหงวนสมัยราชวงศ์หมิง นามว่า เหวิน เจิ้นเฮิง (文震亨) เจ้าของหนังสือสารานุกรม ฉางอู้จื้อ (จีนตัวย่อ: 长物志; จีนตัวเต็ม: 長物志; ตำราที่กล่าวถึงสิ่งฟุ่มเฟือย) มีทั้งหมด 12 เล่ม บรรยายด้วยเนื้อหาถึงชื่อเสียงของชาราชวงศ์หมิงหลายครั้ง เช่น
ชาหู่ชิว และ ชาเทียนฉือ
[แก้]ในช่วงเวลานั้น ชาหู่ชิว (จีน: 虎丘茶; "ชาเสือภูเขา") เพื่อไม่ให้สับสนกับชาแดงที่มีชื่อเดียวกันจากเขตนิลคีรี ในรัฐทมิฬนาฑูของอินเดีย) เป็นแหล่งที่ได้รับการพัฒนาชาที่ดีที่สุดในโลก ปริมาณผลผลิตค่อนข้างจะน้อยและขบวนการผลิตถูกควบคุมโดยรัฐบาลจีน อย่างไรก็ตาม ยังมีชาอีกชนิดหนึ่งที่รสชาติดีรองลงมา คือ ชาเทียนฉือ (จีน: 天池茶; "สระแห่งสวรรค์")
ชาเจี้ย
[แก้]ชาเจี้ย (จีน: 岕茶; พินอิน: jiè) มาจากอำเภอฉางซิง (长兴县) มณฑลเจ้อเจียง ได้รับการยกย่องอย่างสูงจากผู้เชี่ยวชาญถึงแม้ว่าจะมีราคาค่อนข้างแพง
รายละเอียด: เจี้ย เป็นชื่อย่อของ หลัว เจี้ย (จีนตัวย่อ: 罗岕; จีนตัวเต็ม: 羅岕) หลัว เจี้ย เป็นชื่อของภูเขาบริเวณชายแดนมณฑลเจ้อเจียงในสมัยราชวงศ์หมิง
ชาหลัวเจี้ย มาจากภูเขากู่ชู ในเมืองฉางซิง มณฑลเจ้อเจียง เป็นชาบรรณาธิการของจักรพรรดิตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง อายุใกล้ 900 ปี ตั้งแต่กลางยุคราชวงศ์ฉิน กลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งในช่วงปี 1970 ซึ่งถือเป็นชาคุณภาพระดับสูงของจีน
ชาลิ่วอาน (Liu'an tea)
[แก้]ชาลิ่วอาน (จีน: 六安茶) มักใช้สำหรับทำยาจีน เนื่องจากชาชนิดนี้ไม่มีกลิ่นและมีรสชาติขมถ้าไม่อบอย่างถูกวิธี คุณสมบัติของชานี้ถือว่ามีคุณสมบัติที่ดีทีเดียว ชาประเภทนี้เหมาะอย่างยิ่งกับผู้ที่เจ็บป่วยจากปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร
ชาลิ่วอาน ยังคงมีการผลิดในประเทศจีน มณฑลอานฮุย สาธารณรัฐประชาชนจีน ชาอานฮุย นำมาจากถ้ำค้างคาวของอำเภอจินไจ้ (金寨县) ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องของคุณภาพ เนื่องจากมีค้างคาวนับพัน ๆ ตัวอาศัยอยู่ในถ้ำแห่งนี้ จึงเสมือนมีปุ๋ยชั้นดีสำหรับแหล่งปลูกชา
ชาซ่งหลัว
[แก้]ชาซ่งหลัว ถูกผลิตที่เขาซ่งหลัว ที่ตั้งอยู่ทางเหนือของอำเภอซิวหนิง (休宁县) ในมณฑลอานฮุย สาธารณรัฐประชาชนจีน ไร่ชานี้ปลูกกระจายตามระดับความสูงที่ 600 ถึง 700 เมตรบนภูเขา
ไม่มีชาซองลัวปลูกนอกพื้นที่ 12 หมู่ (畝, 1 หมู่ = 667 ตารางเมตร) และมีเพียงชาไม่กี่ครอบครัวที่เป็นเจ้าของขบวนการกลั่นเต็มรูปเพื่อเตรียมชาซองลัว เมื่อไม่นานมานี้ มีชาชนิดนี้ที่อบด้วยมือของพระสงฆ์บนเขายิ่งทำให้ดียิ่งขึ้น
ชาซองลัวของแท้จะถูกผลิตที่ตีนเขาของดองชาน (เนินเขาของถ้ำ) และยอดสุดของเทียน ชี (จีน: 天池; "สระแห่งสวรรค์") ซึ่งเป็นสิ่งล้ำค่าที่คนในเมืองซีอานรักมาก และมักเป็นที่ชื่นชอบของคนเมืองนานดู และเมืองชูซอง เนื่องจากสถานที่นี้ง่ายต่อการชงชาและกลิ่นที่หอมมาก
ชาหลงจิ่ง และชาเทียนมู่
[แก้]ชาหลงจิ่ง (龙井茶) และชาเทียนมู่ (天目茶) อาจจะตรงกับชาสระแห่งสวรรค์ เนื่องจากปลูกในภูมิอากาศที่เหมาะแก่การเติบโตเหมือนกัน เนื่องจากฤดูหนาวมาก่อนบนภูเขา จึงมีความสมบูรณ์ของหิมะในฤดูหนาว ดังนั้น พืชชาจึงสามารถเพาะตัวขึ้นได้ในเวลาต่อมา
ชาหลงจิงถูกผลิตในเขตซีหูของมณฑลหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน หลงจิ่ง ตามตัวอักษรคือ "บ่อมังกร" ที่ตั้งอยู่บนเขาเฟิ่งหวง เขาเทียนมู่ ตั้งอยู่ที่อำเภอหลินอานด้านตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลเจ้อเจียง มี 2 ยอดเขาสูง 1,500 เมตร แต่ละมีบ่อน้ำบนยอดเขาที่เต็มไปด้วยน้ำใสกระจ่างเหมือนดวงตา ดังนั้นจึงชื่อ เทียนมู่ (จีน: 天目, "ดวงตาสวรรค์")
วัฒนธรรม
[แก้]ธรรมเนียมปฏิบัติ
[แก้]ภัตตาคารทุกที่ในจีน เป็นเรื่องปกติสำหรับลูกค้าในการทำความสะอาดถ้วยชามและเครื่องใช้ของพวกเขาที่โต๊ะอาหารด้วยการล้างด้วยน้ำชาจากหม้อ ชาอาจจะถูกเทราดบนเครื่องใช้บนชามของเขา หรือ ชามที่ใหญ่ขึ้นสำหรับรองรับสิ่งสกปรกหลังจากใช้ชาล้างชาม
พิธีชงชา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (May 2012) |
ของใช้
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (May 2012) |
สถานที่
[แก้]สวนชา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (May 2012) |
บ้านชา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (May 2012) |
ภัตตาคารชา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (May 2012) |
งานวรรณกรรม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (May 2012) |
สัญลักษณ์ และ ลักษณะที่สำคัญ
[แก้]ชาที่มีชื่อเสียงของจีน (จีน: 中國名茶 หรือ 10 สุดยอดชาของจีน (จีน: 中國十大名茶) ที่ได้รับการบันทึกสูงสุด 10 อันดับ จากตารางด้านล่าง: รายการชาที่นิยมของจีน
ภาษาจีน | ภาษาไทย | ภูมิภาค | ชนิด |
---|---|---|---|
龙井茶 | ชาหลงจิ่ง | หางโจว มณฑลเจ้อเจียง | ชาเขียว |
洞庭碧螺春 | ต้งถิงปี้หลัวชุน | ซูโจว มณฑลเจียงซู | ชาเขียว |
安溪铁观音 | อานซีเถี่ยกวานอิน | อานซี มณฑลฝูเจี้ยน | ชาอูหลง |
黄山毛峰 | หวงซานเหมาเฟิง | หวงซาน มณฑลอานฮุย | ชาเขียว |
武夷岩茶 | ชาอู่อี๋ | อู่อี๋ มณฑลฝูเจี้ยน | ชาอูหลง |
君山银针 | จวินซานอิ๋นเจิน | เยวี่ยหยาง มณฑลหูหนาน | ชาเหลือง |
祁门红茶 | ชาฉีเหมิน | ฉีเหมิน มณฑลอานฮุย | ชาแดง |
六安瓜片 | ลิ่วอานกวาเพี่ยน | จินไจ้ มณฑลอานฮุย | ชาเขียว |
普洱茶 | ชาผูเอ่อร์ | ผูเอ่อร์, มณถลยูนนาน | ชาดำ |
白毫银针 | ไป๋เหาอิ๋นเจิน | ฝูติ่ง มณฑลฝูเจี้ยน | ชาขาว |
เศรษฐกิจ
[แก้]ผลผลิต
[แก้]ชาคุณภาพสูงที่สุดของชาขาว ชาเหลือง และ ชาเขียว มาจากการเก็บยอดชาในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ ชาอ่อนที่เก็บได้จะมีส่วนประกอบของตาขั้วเดียว ซึ่งตาขั้วนี้จะมีใบติดกัน หรือ ตาที่มีใบคลี่ที่อยู่ติดกันเล็กน้อย โดยทั่วไปเราต้องการคือเก็บใบขนาดเท่ากับหรือสั้นกว่าตาเดียว
ชาที่มีการออกซิไดน์มากกว่าชาอื่น เช่น ชาแดง หรือ ชาอูหลง มาจากใบแก่ ยกตัวอย่าง อานซี เถี่ยกวานอิน มาจากตาขั้วเดียว ที่มีใบ 2-4 ใบ
ไม่เพียงแต่ชาเขียวเกรดดีจะมาจากยอดใบอ่อนของชาเขียว ลิ่วอานกวาเพี่ยน (六安瓜片) ชาเขียวคุณภาพดีจากใบสมบูรณ์จำนวนมาก
ตามธรรมเนียม ยอดใบชาเหล่านี้จะถูกเก็ฐก่อน 5 เมษายน หรือช่วงเทศการชิงหมิง มาตรฐานในการเก็บจะเริ่มก็ต่อเมื่อ 5% ในสวนพร้อมให้เก็บ หรือชาขั้วเดียวได้ตามขนาด ชาสวนบางครั้งสามาเก็บได้ทุกวัน หรือทุก ๆ 2 วัน
การค้า
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (May 2012) |
การบริโภค
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (May 2012) |
ความหลากหลาย
[แก้]การสะกดชื่อของพันธุ์ชาต่าง ๆ มักจะสะท้อนจากการใช้ในภาษาอังกฤษ และมีที่มาพื้นฐานมาจากประวัติศาสตร์ หรือการออกเสียงแบบภาษาจีนทางตอนใต้ที่ใช้มากกว่า พินอิน ภาษาจีนแบบทางการ ยกตัวอย่าง เช่น ชาอู่อี๋ (武夷茶 wǔyí chá) ชากงฟู (工夫 gōngfu) ชาซีชุน (熙春茶) ลาผู่ซาน เสียวจ่ง (拉普山小種 lāpǔshān xiǎozhǒng) เจินเหมย์ (珍眉 zhēnméi) ซิ่วเหมย์ (秀眉 xiùméi) ไป๋เหา (白毫 báiháo) ชาแดงฉีเหมิน (祁門紅茶 qímén hóngchá)[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kit Boey Chow, Ione Kramer All Teas in China Page 179 1990 "It should be noted that for promotion purposes, many non-Chinese companies borrow names from Chinese teas, such as Bohea, Congou, Hyson, Souchong, Chunmee, Sowmee, Pekoe, Keemun, etc. Such labels may contain little or no tea of ..."
ดูเพิ่มเติม
[แก้]- Evans, John C., Tea in China: The History of China's National Drink. Contributions to the Study of World History, Number 33. Greenwood Press: New York; Westport, Connecticut; London, 1992. ISSN: 0885-9159, ISBN 0-313-28049-5.
- Forbes, Andrew ; Henley, David (2011). China's Ancient Tea Horse Road. Chiang Mai: Cognoscenti Books. ASIN: B005DQV7Q2