การเลือกตั้งในประเทศญี่ปุ่น
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
การเมืองญี่ปุ่น |
---|
การเลือกตั้งในประเทศญี่ปุ่น กำกับดูแลโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งในแต่ละส่วนการปกครองท้องถิ่นภายใต้สภาการจัดการการเลือกตั้งกลาง ซึ่งเป็นองค์กรพิเศษขึ้นตรงต่อกระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสาร ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 มีการลดอายุผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจาก 20 ปี ลงไปที่ 18 ปี[1][2] ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งต้องพำนักอาศัยอยู่อย่างน้อย 3 เดือนก่อนการออกเสียง[3] ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกราชมนตรีสภาต้องมีอายุอย่างน้อย 25 ปี และ 35 ปีตามลำดับ[4]
การเลือกตั้งในประเทศญี่ปุ่น แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ:
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป (衆議院議員総選挙) จะจัดขึ้นทุก 4 ปี
- การเลือกตั้งสมาชิกราชมนตรีสภา (参議院議員通常選挙) จะจัดขึ้นทุก 3 ปี[5]
- การเลือกตั้งท้องถิ่น (統一地方選挙) จะจัดขึ้นทุก 4 ปี ในตำแหน่งส่วนจังหวัดและส่วนเทศบาลต่าง ๆ[6]
การเลือกตั้งระดับประเทศ
[แก้]สภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่น (衆議院, Shūgi-in) ประกอบด้วยสมาชิก 465 คน วาระเต็ม 4 ปี โดยมีสมาชิกจากเขตเลือกตั้งที่นั่งเดียว 289 คน และสมาชิกจากการเลือกตั้งระบบสัดส่วน 176 คน ใน 11 เขตเลือกตั้งส่วนภูมิภาค[6] เขตเลือกตั้งที่นั่งเดียวกำหนดโดยอิงคะแนนเสียงที่เหนือกว่า (plurality) และการเลือกตั้งระบบสัดส่วนกำหนดโดยวิธีโดนต์[7] ราชมนตรีสภา ประกอบด้วยสมาชิก 245 คน (ตั้งแต่ ค.ศ. 2022 เป็น 248 คน)[8]
จากการสำรวจโดยโยมิอูริชิมบุง ใน ค.ศ. 2010 เปิดเผยว่าชาวญี่ปุ่นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งครึ่งหนึ่งไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลยเนื่องด้วยความขาดประสิทธิภาพทางการเมือง[9]
บัตรเลือกตั้ง
[แก้]การลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งระดับประเทศและระดับท้องถิ่นส่วนใหญ่จะทำโดยการเขียนชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือชื่อพรรคการเมืองลงบนกระดาษลงคะแนนเสียง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งจะลงคะแนนเสียงลงบนบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ: ใบหนึ่งสำหรับชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขต อีกใบหนึ่งสำหรับชื่อพรรคการเมืองใน "บล็อก" เลือกตั้งระบบสัดส่วน (proportional representation block) ในการเลือกตั้งสมาชิกราชมนตรีสภา การลงคะแนนเสียงแบบแบ่งเขตมีความคล้ายคลึงกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ในเขตมีหลายสมาชิกที่ใช้ระบบเสียงเดียวโอนไม่ได้ อาจมีผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้รับเลือกหลายคน แต่ผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งสามารถใช้ได้เพียง 1 สิทธิ์เท่านั้น) แต่ในการเลือกตั้งระบบสัดส่วนสำหรับราชมนตรีสภา จะเป็นการลงคะแนนเสียงให้แก่พรรคการเมืองแบบบัญชีรายชื่อ (เพื่อพิจารณาที่นั่งแบบสัดส่วนพึงมีของพรรค) หรือให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง (ซึ่งมักมีอิทธิพลว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดจะได้รับเลือกจากบัญชีรายชื่อ)[10]
บัตรเลือกตั้งที่ไม่สามารถใช้ลงคะแนนเสียงให้ผู้รับสมัครใดได้เลยจะไม่ถือว่าเป็นบัตรเสีย แต่จะนำไปลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกคนอย่างได้สัดส่วน มักเรียกระบบนี้ว่า "การออกเสียงลงคะแนนเศษส่วนอย่างได้สัดส่วน" (按分票,, Anbun-hyō; proportional fractional votes) โดยปัดขึ้นไปที่เลขทศนิยมลำดับที่ 3[11][12] ใน ค.ศ. 2002 กฎหมายการออกเสียงลงคะแนนทางอิเล็กทรอนิกส์[13] อนุญาตให้ใช้เครื่องนับและบันทึกคะแนนเสียงในการเลือกตั้งท้องถิ่น[14] การเลือกตั้งโดยใช้เครื่องบันทึกคะแนนเสียงเกิดขึ้นที่นครนีมิ จังหวัดโอกายามะ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2002[15] ใน ค.ศ. 2018 จังหวัดอาโอโมริ ได้ยกเลิกการใช้เครื่องนับและลงคะแนนเสียงอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นจังหวัดเดียวที่ใช้วิธีดังกล่าวในประเทศญี่ปุ่น เนื่องด้วยงบประมาณที่ต้องใช้เช่าเครื่องที่สูงและปัญหาปลีกย่อยอื่น ๆ[16]
มีการเริ่มใช้ระบบการเลือกตั้งล่วงหน้า (期日前投票制度) ใน ค.ศ. 2003[17] การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปญี่ปุ่น ค.ศ. 2017 มีชาวญี่ปุ่นผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้ากว่า 21 ล้านคน[18]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Diet enacts law lowering voting age to 18 from 20". The Japan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-10. สืบค้นเมื่อ 2023-05-14.
- ↑ "Public Offices Election Act amended to reduce the voting age to 18 | Liberal Democratic Party of Japan". www.jimin.jp. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.
- ↑ "Japan:Public Offices Election Act (2016) —". aceproject.org. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.
- ↑ "Japan:Public Offices Election Act (2016) —". aceproject.org. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.
- ↑ "The Government of Modern Japan: Elections | Asia for Educators | Columbia University". afe.easia.columbia.edu. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.
- ↑ 6.0 6.1 "総務省|選挙の種類". 総務省 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.
- ↑ "公職選挙法 | e-Gov法令検索". elaws.e-gov.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.
- ↑ "Diet passes controversial bill adding seats to Japan's Upper House for first time in nearly half a century". The Japan Times. 18 July 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-25. สืบค้นเมื่อ 27 April 2019.
- ↑ Nishikawa, Yoko (4 April 2010). "Nearly half of Japan's voters don't support any party". Reuters. สืบค้นเมื่อ 5 April 2010.
- ↑ Kamiya, Setsuko, "Some election campaign rules outdated, quirky", Japan Times, 11 December 2012, p. 3
- ↑ "按分票とはなんですか?" (ภาษาญี่ปุ่น). [[Nerima, Tokyo|]] city electoral commission. สืบค้นเมื่อ 17 May 2021.
- ↑ "按分票". Asahi Shimbun Chiezō (知恵蔵, (ja)) (ภาษาญี่ปุ่น). kotobank.jp (Voyage Marketing). สืบค้นเมื่อ 17 May 2021.
- ↑ "地方公共団体の議会の議員及び長の選挙に係る電磁的記録式投票機を用いて行う投票方法等の特例に関する法律". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2010. สืบค้นเมื่อ 26 September 2009.
- ↑ MIC: 電磁的記録式投票制度について
- ↑ Kōbe Shimbun, 28 June 2002: 全国初の電子投票ルポ 岡山・新見市
- ↑ "Last municipality in Japan scraps electronic voting system". Mainichi Japan (ภาษาอังกฤษ). 2018-04-04. สืบค้นเมื่อ 2023-05-15.
- ↑ MIC: 期日前投票制度
- ↑ Nihon Keizai Shimbun, 22 October 2017: 期日前投票、2137万人で過去最多, retrieved 9 October 2020.