ข้ามไปเนื้อหา

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2551

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2551

← พ.ศ. 2547 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2552 →
ลงทะเบียน2,214,320
ผู้ใช้สิทธิ54.18% (ลดลง 8.32 จุด)
 
ผู้สมัคร อภิรักษ์ โกษะโยธิน ประภัสร์ จงสงวน
พรรค ประชาธิปัตย์ พลังประชาชน
คะแนนเสียง 991,018 543,488
% 45.93% 25.19%

 
ผู้สมัคร ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
พรรค อิสระ อิสระ
คะแนนเสียง 340,616 260,051
% 15.79% 12.05%


ผู้ว่าราชการก่อนการเลือกตั้ง

อภิรักษ์ โกษะโยธิน
ประชาธิปัตย์

ว่าที่ผู้ว่าราชการ

อภิรักษ์ โกษะโยธิน
ประชาธิปัตย์

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2551 เป็นการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 8 โดยจัดขึ้นในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เนื่องจากอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนเดิม นายอภิรักษ์ โกษะโยธินดำรงตำแหน่งครบวาระ 4 ปี

ที่มา

[แก้]
โปสเตอร์รณรงค์การเลือกตั้ง

เมื่อนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ดำรงตำแหน่งครบวาระ 4 ปี จึงมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551 โดยมีผู้สมัครเปิดตัวกันหลายคน เช่น ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล, นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ และนางลีนา จังจรรจา ในนามผู้สมัครอิสระ ทั้งนี้ทางพรรคประชาธิปัตย์มีมติให้ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งเป็นสมัยที่ 2 อีกด้วย โดยนายอภิรักษ์ได้ยื่นหนังสือลาออกอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551 โดยให้ นายพงษ์ศักดิ์ เสมสันต์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ปฏิบัติหน้าที่แทน ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน

ต่อมา ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ได้ถอนตัวไปเนื่องจากอ้างถึงผลสำรวจว่าคะแนนนิยมยังห่างจากนายอภิรักษ์มาก และการเปิดรับสมัครวันแรก มีขึ้นในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551 ทั้งนี้มีผู้สมัครหลายรายได้ไปยื่นสมัครเช่น นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน, นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์, นางลีนา จังจรรจา เป็นต้น ในขณะเดียวกัน นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยก็ได้ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อรับสมัครเลือกตั้งในสังกัดพรรคพลังประชาชน ในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 ด้วย

รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง

[แก้]
หมายเลข รายนามผู้สมัคร พรรคการเมือง เว็บไซต์
1 นายกิตติศักดิ์ ถิรวิศิษฎ์ ผู้สมัครอิสระ
2 ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ผู้สมัครอิสระ DrDanCanDo.com
3 ร้อยเอกเมตตา เต็มชำนาญ ผู้สมัครอิสระ
4 นายวราวุธ ฐานังกรณ์ ผู้สมัครอิสระ Warawoot.com เก็บถาวร 2008-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
5 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ประชาธิปัตย์ FutureBangkok.net เก็บถาวร 2008-09-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
6 นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล ผู้สมัครอิสระ
7 นางลีนา จังจรรจา ผู้สมัครอิสระ Hi-SoLeena.com เก็บถาวร 2008-12-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
8 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ผู้สมัครอิสระ ChuvitBangkok.com เก็บถาวร 2008-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
9 นายวิทยา จังกอบพัฒนา ผู้สมัครอิสระ
10 นายประภัสร์ จงสงวน พลังประชาชน Prapat10.com เก็บถาวร 2008-09-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
11 นายภพศักดิ์ ปานสีทอง ผู้สมัครอิสระ
12 นางธรณี ฤทธีธรรมรงค์ ผู้สมัครอิสระ
13 นายอุดม วิบูลเทพาชาติ ผู้สมัครอิสระ
14 น.ส.วชิราภรณ์ อายุยืน สาธารณชน PublicParty.or.th เก็บถาวร 2008-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
15 นายสมชาย ไพบูลย์ ผู้สมัครอิสระ
16 ว่าที่ พ.ต.นิพนธ์ ซิ้มประยูร ผู้สมัครอิสระ

ผลการสำรวจ

[แก้]

ก่อนการรับสมัคร

[แก้]

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อตรวจสอบกระแสความนิยมที่มีต่อว่าที่ผู้สมัครและเพื่อให้ได้ข้อมูลในการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งที่เป็นความต้องการของคนกรุงเทพฯ โดยสำรวจจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำนวน 1,254 คน ระหว่างวันที่ 27 - 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551 สรุปผลได้ดังนี้

คำถาม : 1. ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่คนกรุงเทพฯ อยากได้
อันดับ รายนามผู้สมัคร ผลสำรวจ
1 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 43.30
2 หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล 13.16
3 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 6.94
4 นายปลอดประสพ สุรัสวดี 3.35
5 ร.ต.ต.เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ 2.87
6 ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 1.67
7 นายปานปรีย์ พหิทธานุกร 1.09
8 นายประภัสร์ จงสงวน 0.88
- ไม่ระบุ 26.74
คำถาม : 2. คนกรุงเทพฯ ทราบว่าจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551 นี้หรือไม่
อันดับ คำตอบ ผลสำรวจ
1 ไม่ทราบ 83.97
2 ทราบ 16.03
คำถาม : 3. สิ่งใดที่คนกรุงเทพฯ อยากทราบมากที่สุด
อันดับ คำตอบ ผลสำรวจ
1 นโยบายและแผนการทำงานของผู้สมัครฯ 31.46
2 ประวัติผู้สมัครและคุณสมบัติต่างๆ 25.56
3 หมายเลขของผู้สมัครฯ 24.72
4 เวลาในการเลือกตั้ง 9.55
5 ผลงานที่โดดเด่นของผู้สมัครฯ 8.71
คำถาม : 4. คุณลักษณะของผู้ว่าฯ กทม. ที่คนกรุงเทพฯ ต้องการ
อันดับ คำตอบ ผลสำรวจ
1 พูดจริงทำจริง ทำตามคำสัญญาที่ให้ไว้ได้ 28.82
2 ซื่อสัตย์ เป็นคนดี 24.6
3 มีคุณธรรม จริยธรรมร้อย 16.19
4 เป็นคนเก่ง มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ในการทำงาน 15.30
5 รู้และเข้าใจถึงปัญหาของ กทม.อย่างแท้จริง 15.08

หลังปิดรับสมัคร

[แก้]

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขตเลือกตั้งระหว่างวันที่ 10 - 14 กันยายน พ.ศ. 2551 จำนวน 4,044 คน โดยแบ่งเป็นชาย 1,515 คน (37.46%) และหญิง 2,529 คน (62.54%) สรุปผลได้ดังนี้

คำถาม : 1. ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่คนกรุงเทพฯ อยากได้
อันดับ รายนามผู้สมัคร ผลสำรวจ
ชาย หญิง ร้อยละ
1 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 63.35 57.82 61.28
2 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 11.86 16.57 13.63
3 ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 11.86 12.87 12.24
4 นายประภัสร์ จงสงวน 6.29 6.60 6.40
5 นางลีนา จังจรรจา 0.55 1.32 0.84
6 นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล 0.12 0.20 0.15
- ไม่ระบุ 5.97 4.62 5.46
คำถาม : 2. การพิจารณาเลือกผู้ว่าราชกรุงเทพมหานคร แตกต่างจากการเลือก ส.ส. หรือ ส.ว. หรือไม่
อันดับ คำตอบ ผลสำรวจ เหตุผล
ชาย หญิง ร้อยละ
1 แตกต่าง 58.39 47.36 51.72 • การเลือกตั้งผู้ว่าเป็นการเมืองระดับท้องถิ่นไม่ใช่ระดับประเทศ
• สส.จะทำงานในส่วนเขต แต่ผู้ว่าฯ กทม.ทำงานในส่วนกทม.ทั้งหมด
• ทำหน้าที่คนละแบบกันการแก้ปัญหาต่างกันจึงเลือก
• ผู้สมัครต่างกัน
• ฯลฯ
2 ไม่แตกต่าง 41.61 52.64 48.28 • เป็นการพิจารณาตัวบุคคล คือ เลือกคนดี มีความสามารถที่จะทำงานได้
• เป็นระบบการเลือกตั้งที่ต้องออกไปใช้สิทธิ์ออกเสียงเหมือนกัน
• เป็นวิธีการเลือกคนเข้ามาทำงานแทนประชาชน แค่ต่างกันที่ภาระงานเท่านั้น
• ฯลฯ
คำถาม : 3. การเมืองระดับประเทศที่วุ่นวายอยู่ในขณะนี้ กระทบต่อการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.หรือไม่
อันดับ คำตอบ ผลสำรวจ เหตุผล
ชาย หญิง ร้อยละ
1 ไม่กระทบ 77.78 71.43 51.21 • เป็นการเมืองท้องถิ่นไม่ใช่ระดับประเทศ
• เป็นคนละส่วนกันไม่เกี่ยวกัน เป็นการเมืองคนละระดับ
• เป็นคนกลางไม่ได้ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
• ไม่มีเรื่องอะไรแล้ว ไม่มีปัญหาอะไร
• ไม่ได้อยู่ใกล้บริเวณที่วุ่นวาย
• ฯลฯ
2 กระทบ 22.22 28.57 48.79 • ประชาชนเบื่อการเมืองไทย อาจจะไปใช้สิทธิ์น้อยลง
• การเมืองวุ่นวายแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ทำให้ประชาชนเกิดความสับสน
• การประกาศพรก. ฉุกเฉินมีผลต่อการหาเสียง
• อาจกระทบในเรื่องการเดินทางไปเลือกตั้งที่ต้องเสี่ยงกับม๊อบและรถติด
• ฯลฯ

การสำรวจความนิยมหน้าหน่วยเลือกตั้ง (Exit Poll)

[แก้]

หลังจากปิดหีบเลือกตั้งเมื่อเวลา 15.00 น. ของวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ทาง เอเบคโพลล์ (มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ)ได้มีการประกาศผลการสำรวจความนิยมหน้าหน่วยเลือกตั้ง (Exit Poll) ขึ้น โดยผลการสำรวจเป็นดังนี้

อันดับ รายนามผู้สมัคร ความนิยม (%)
1 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 44.07
2 นายประภัสร์ จงสงวน 23.90
3 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 14.18
4 ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ 12.64
5 อื่นๆ 5.21

ผลการเลือกตั้ง

[แก้]
ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2551[1]
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
ประชาธิปัตย์ อภิรักษ์ โกษะโยธิน (5) 991,018 45.93 +7.73
พลังประชาชน ประภัสร์ จงสงวน (10) 543,488 25.19
อิสระ ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ (8) 340,616 15.79 +1.78
อิสระ เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2) 260,051 12.05
อิสระ ลีนา จังจรรจา (7) 6,267 0.29
อิสระ วิทยา จังกอบพัฒนา (9) 3,759 0.17 +0.14
อิสระ วราวุธ ฐานังกรณ์ (4) 2,771 0.13
กลุ่มเมตตาธรรม ร้อยเอก เมตตา เต็มชำนาญ (3) 2,105 0.10 +0.02
อิสระ กิตติศักดิ์ ถิรวิศิษฎ์ (1) 2,102 0.10 +0.08
พรรคสาธารณชน วชิราภรณ์ อายุยืน (14) 1,140 0.05
กลุ่มกรุงเทพ ฯ พัฒนา สุเมธ ตันธนาศิริกุล (6) 1,079 0.05 +0.02
อิสระ ธรณี ฤทธีธรรมรงค์ (12) 852 0.04
อิสระ ภพศักดิ์ ปานสีทอง (11) 811 0.04
อิสระ อุดม วิบูลเทพาชาติ (13) 617 0.03 +0.01
อิสระ สมชาย ไพบูลย์ (15) 503 0.02
อิสระ ว่าที่พันตรี นิพนธ์ ซิ้มประยูร (16) 421 0.02
ผลรวม 2,157,599 100.00
บัตรดี 2,157,599 97.44
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 37,345 1.69
บัตรเสีย 19,376 0.87
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 2,214,320 54.18
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4,087,329 100.00
ประชาธิปัตย์ รักษาที่นั่ง

หมายเหตุ

[แก้]

การเลือกตั้งครั้งนี้ เกิดขึ้นในช่วงที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ชุมนุมใหญ่อยู่ด้วย ซึ่งขณะนั้นทางกลุ่ม พธม.ได้ทำการบุกยึดทำเนียบรัฐบาลไว้ได้แล้ว และมีหมายจับแกนนำต่าง ๆ ทั้งหมด 9 คน ในเวลา 08.00 น. ของวันเลือกตั้ง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หนึ่งในแกนนำได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ในหน่วยเลือกตั้งที่ 12 ภายในโรงเรียนเศรษฐเสถียร ถนนพระราม 5 เขตดุสิต และถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับ จึงหวั่นเกรงว่าอาจจะมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น แต่ทว่าการเลือกตั้งก็ดำเนินต่อไปได้อย่างเรียบร้อยจนเสร็จสิ้น

อ้างอิง

[แก้]
ก่อนหน้า การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2551 ถัดไป
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2547

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2551

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2552
  1. ชิงชัยกรุงเทพ 2551 ประมวลและสรุปผลการเลือกตั้งผู้ว่า กทม.