กลุ่มสายการบินลาตัม
ประเภท | บริษัทจำกัดมหาชน |
---|---|
การซื้อขาย | แม่แบบ:Bcs NYSE: LTM |
ISIN | CL0000000423 |
อุตสาหกรรม | ธุรกิจการบิน |
ก่อตั้ง | 2555 |
สำนักงานใหญ่ | ซานเตียโก ชิลี[1][2] |
บุคลากรหลัก | อิกนาซิโอ กูเอโต[3] (ประธาน) เอนริเก กูเอโต (ประธานบริหาร) |
ผลิตภัณฑ์ | เที่ยวบิน ขนส่งสินค้า ซ่อมบำรุงอากาศยาน |
บริการ | บริการสายการบิน |
รายได้ | 8.494 พันล้านดอลลาร์ (2560)[4] |
รายได้สุทธิ | 200.7 ล้านดอลลาร์ (2560) |
สินทรัพย์ | 18.798 พันล้านดอลลาร์ (2560) |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | 4.267 พันล้านดอลลาร์ (2560) |
พนักงาน | 43,000 คน (2560) |
บริษัทในเครือ | |
เว็บไซต์ | www |
ลาตัม (สเปน: LATAM) คือกลุ่มทุนสายการบินของประเทศชิลี มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงซันติอาโก[5][6] ถือเป็นกลุ่มทุนสายการบินขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคลาตินอเมริกา[7][8] ประกอบไปด้วยบริษัทลูกในประเทศอาร์เจนตินา, บราซิล, โคลอมเบีย, เอกวาดอร์, ปารากวัย และเปรู[9][10][11][12][13]
ประวัติ
[แก้]การรวมทุน
[แก้]สายการบินลัน (LAN) จากประเทศชิลี และสายการบินตัง (TAM) จากประเทศบราซิล ได้ทำข้อตกลงร่วมกันเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ข้อผูกพันความร่วมมือในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554 และหนังสือสัญญาที่จะรวมกิจการในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555[14][15][16] โดยผู้ถือหุ้นสายการบินตังได้เห็นชอบการควบรวมกิจการโดยสายการบินลัน[17] เอนริเก กูเอโต อดีตประธานบริหารของสายการบินลัน ไปเป็นประธานบริหารของลาตัม[18] และเมารีซียู โรลิง อามารู อดีตรองประธานของสายการบินตัง ไปเป็นประธานของลาตัม[19]
การอนุมัติจากรัฐบาล
[แก้]รัฐบาลชิลีได้อนุมัติข้อตกลงจัดตั้งลาตัมเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554 โดยมีเงื่อนไขทั้งหมด 11 ข้อ ส่วนหนึ่งในนั้นได้แก่ การโอนเวลาการบินบางส่วนที่ท่าอากาศยานนานาชาติเซาเปาลู–กวารุลยุสให้แก่คู่แข่งที่สนใจเปิดเส้นทางไปยังท่าอากาศยานนานาชาติอาร์ตูโร เมริโน เบนิเตซในซันติอาโกของชิลี การออกจากพันธมิตรทางการบินกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งระหว่างวันเวิลด์กับสตาร์อัลไลแอนซ์ และการจำกัดการเพิ่มจำนวนผู้โดยสารระหว่างบราซิลกับชิลี[20] ในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554 รัฐบาลบราซิลได้อนุมัติข้อตกลงโดยกำหนดเงื่อนไขคล้ายคลึงกับรัฐบาลชิลี คือ ลาตัมต้องเลือกพันธมิตรการบินภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 และต้องลดจำนวนเที่ยวบินระหว่างเซาเปาลูกับซันติอาโกลง ในขณะนั้นสายการบินตังมีอยู่ 2 เที่ยว ในขณะที่สายการบินลันมีอยู่ 4 เที่ยว ทำให้สายการบินลันต้องลดจำนวนเที่ยวลง 2 เที่ยว เพื่อให้คู่แข่งเปิดเส้นทางนี้เพิ่ม[21] ในวันที่ 7 มีนาคม พ..ศ. 2556 กลุ่มสายการบินลาตัมได้ประกาศเลือกกลุ่มวันเวิลด์เป็นพันธมิตรสายการบิน ทำให้สายการบินตังออกจากกลุ่มสตาร์อัลไลแอนซ์ในไตรมาสที่ 2 ของ พ.ศ. 2557 เพื่อเข้าร่วมกับกลุ่มวันเวิลด์[22]
การเปลี่ยนชื่อกิจการ
[แก้]ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 ได้มีการประกาศว่าสายการบินทั้งหมดในกลุ่มลาตัมจะเปลี่ยนชื่อเป็นลาตัมโดยสมบูรณ์ และจะทำสีเครื่องบินใหม่ทั้งหมดภายใน พ.ศ. 2561[23][24] เครื่องบินลายลาตัมเริ่มทำสีในเดือนเมษายน พ.ศ. 2559
กลุ่มสายการบินลาตัมยังคงดำเนินการเปลี่ยนชื่อกิจการและคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี พ.ศ. 2562 การเปลี่ยนแปลงจะค่อย ๆ ชัดเจนขึ้น ทั้งรูปแบบที่ปรากฏบนเครื่องบิน สำนักงาน เคาน์เตอร์บริการที่สนามบิน เว็บไซต์ และเครื่องแบบเป็นต้น การเปลี่ยนแปลงบางอย่างได้เกิดขึ้นโดยส่วนมากเป็นประสบการณ์การเดินทางของผู้โดยสาร เช่น การตกแต่งห้องโดยสาร ห้องรับรองพิเศษในเซาเปาลูและซันติอาโกซึ่งปัจจุบันเปิดใหับริการเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายห้องรับรองสมาชิกสะสมไมล์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค ระบบความบันเทิงบนเครื่องสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่[25]
การลงทุนของสายการบินเดลตาและการออกจากกลุ่มวันเวิลด์
[แก้]วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2562 สายการบินเดลตาประกาศที่จะซื้อหุ้นกลุ่มลาตัมจำนวนร้อยละ 20 หรือราว 1.9 พันล้านดอลลาร์เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจในภูมิภาคลาตินอเมริกา นอกจากนี้เดลตากำลังจ่ายค่าธรรมเนียมที่กลุ่มลาตัมลาออกจากกลุ่มวันเวิลด์ และเงินคำสั่งซื้อเครื่องแอร์บัส เอ350 เอ็กซ์ดับเบิลยูบี[26][27][28]เมีอวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563 กลุ่มลาตัมออกจากสมาชิกกลุ่มวันเวิลด์เริ่มวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
การเงินล้มละลาย
[แก้]วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 กลุ่มสายการบินลาตัมถูกบทหมาย 11 การล้มละลาย ที่ สหรัฐ จาก การระบาดทั่วของโควิด-19ของรัฐบาลชิลี
ผู้ถือหุ้น
[แก้]โครงสร้างผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
รายนามผู้ถือหุ้น | อัตราส่วน |
---|---|
กลุ่มกูเอโต | 27.91% |
กองทุนบำเหน็จบำนาญชิลี (อาเอเฟเป) | 21% |
กาตาร์แอร์เวย์ | 10.03% |
กลุ่มเอเบลน | 5.93% |
กลุ่มเบเตีย | 5.5% |
ตราสารอเมริกัน (เอดีอาร์) | 3.98% |
กลุ่มอามารู | 3% |
นักลงทุนต่างชาติ | 10.2% |
อื่น ๆ | 12.2% |
การปฏิบัติงาน
[แก้]ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 กลุ่มสายการบินลาตัมเป็นกลุ่มสายการบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในแง่เครือข่ายการบิน โดยให้บริการด้วยเครื่องบินจำนวน 315 ลำ ไปสู่จุดหมายปลายทาง 137 แห่ง ใน 24 ประเทศ และมีเครื่องบินขนส่งสินค้า 18 ลำเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทาง 144 แห่งใน 29 ประเทศ[29]
สายการบินลาตัมมีฐานการบินหลัก ณ ท่าอากาศยานนานาชาติอาร์ตูโร เมริโน เบนิเตซ ในกรุงซันติอาโก ชิลี, ท่าอากาศยานนานาชาติฆอร์เฆ ชาเบซ ในกรุงลิมา เปรู, ท่าอากาศยานนานาชาติเซาเปาลู–กวารุลยุสในนครกวารุลยุส บราซิล และท่าอากาศยานนานาชาติเอลโดราโดในกรุงโบโกตา โคลอมเบีย และจะหาฐานการบินแห่งใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิลเพื่อขยายเส้นทางการบินระหว่างยุโรปกับอเมริกาใต้[30] โบโกตาเพิ่งได้รับการประกาศให้เป็นฐานการบินแห่งใหม่สำหรับภูมิภาคแคริบเบียน[31]
กลุ่มบริษัทลูก
[แก้]สายการบินที่กลุ่มลาตัมถือหุ้นอยู่ (ทั้งส่วนใหญ่และส่วนน้อย) มีดังนี้:
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "LATAM Airlines Group SA". Reuters. August 17, 2018.
- ↑ "Latam Airlines Group SA Corporate Information". Bloomberg. October 27, 2018.
- ↑ "LATAM - Board of Directors". latamairlinesgroup.net. สืบค้นเมื่อ 15 May 2017.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-10. สืบค้นเมื่อ 2019-11-21.
- ↑ "LATAM Airlines Group SA". Reuters. August 17, 2018.
- ↑ "Latam Airlines Group SA Corporate Information". Bloomberg. October 27, 2018.
- ↑ https://www.bloomberg.com/profiles/companies/LTM:CI-latam-airlines-group-sa
- ↑ http://brandz.com/admin/uploads/files/BrandZ_LatAm_2017_Download.pdf
- ↑ Webber, Jude; Lemer, Jeremy (15 August 2010), "LatAm airlines join consolidation trend", Financial Times, สืบค้นเมื่อ 16 August 2010
- ↑ Sobie, Brendan (13 August 2010), "LAN and TAM to merge", Flight International, สืบค้นเมื่อ 14 August 2011
- ↑ "Contact." LATAM Airlines Group. Retrieved on 25 January 2013. "Contact Pdte. Riesco 5711, 20th floor Las Condes Santiago, Chile "
- ↑ http://i.imgur.com/IvRaefc.jpg
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-28. สืบค้นเมื่อ 2019-11-21.
- ↑ "BBC News - Chile's Lan and Brazil's Tam merge to create huge airline". Bbc.co.uk. 1970-01-01. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
- ↑ "TAM and LAN announce binding agreement". TAM Linhas Aéreas. 19 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-13. สืบค้นเมื่อ 14 August 2011.
- ↑ "LAN says signs non-binding deal with TAM to merge". Reuters. 13 August 2010. สืบค้นเมื่อ 13 August 2010.
- ↑ "BBC News - Chile's Lan and Brazil's Tam merge to create huge airline". Bbc.co.uk. 1970-01-01. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
- ↑ "Enrique Cueto to be CEO of new LAN-TAM parent". Flight International. 13 August 2010. สืบค้นเมื่อ 14 August 2011.
- ↑ "LAN and TAM aim to complete merger by mid 2011". Flight Global. 14 August 2010. สืบค้นเมื่อ 14 August 2011.
- ↑ Seabra, Luciana (21 September 2011). "Tribunal chileno aprova fusão de TAM e LAN com 11 condições" (ภาษาโปรตุเกส). Valor Econômico. สืบค้นเมื่อ 26 September 2011.
- ↑ Rodrigues, Eduardo; Froufe, Célia (14 December 2011). "Com restrições, CADE aprova fusão TAM/Lan" (ภาษาโปรตุเกส). O Estado de S. Paulo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-14. สืบค้นเมื่อ 15 December 2011.
- ↑ "LATAM - News Release". www.latamairlinesgroup.net. สืบค้นเมื่อ 15 May 2017.
- ↑ "LAN and TAM to operate as LATAM with a new livery" เก็บถาวร 2020-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 9 August 2015
- ↑ "LATAM's entire fleet to have new livery by 2018" retrieved 9 August 2015
- ↑ Mutzabaugh, Ben (7 August 2015). "So long, LAN and TAM; Airlines will soon fly under LATAM brand". USA Today Online. สืบค้นเมื่อ 31 August 2015.
- ↑ https://www.reuters.com/article/latam-airlines-ma-delta-air/delta-to-buy-20-of-latam-for-1-9-billion-in-regional-shake-up-idUSL2N26H1U3
- ↑ Sider, Alison. "Delta Air Lines to Take 20% Stake in Latam Airlines for $1.9 Billion". WSJ (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-09-27.
- ↑ "LATAM Intends To Leave The oneworld Alliance". Simple Flying (ภาษาอังกฤษ). 2019-09-27. สืบค้นเมื่อ 2019-09-27.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-10. สืบค้นเมื่อ 2019-11-21.
- ↑ "LATAM Airlines Group has to undergo a delicate balance of short term pain for strategic gain". www.centreforaviation.com. Centre for Aviation. สืบค้นเมื่อ 4 September 2015.
- ↑ Bohorquez Aya, Edwin (7 July 2015). "América Latina le habla duro a". El Espectador (Spanish). สืบค้นเมื่อ 5 August 2015.