วี (เครื่องเล่นเกม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Wii)
Wii
Wii logo
Wii with Wii Remote
ผู้พัฒนานินเทนโด
ผู้ผลิตฟอกซ์คอน
ชนิดเครื่องเล่นวิดีโอเกม
ยุคยุคที่เจ็ด
วางจำหน่าย19 พฤศจิกายน 2006
ยอดจำหน่ายทั่วโลก: 70.93 ล้าน (ณ วันที่ 31 มีนาคม 2010) [1] (details)
สื่อแผ่นดิสก์เกมวีขนาด 12 ซม.
แผ่นดิสก์เกมคิวบ์ ขนาด 8 ซม.
ซีพียูไอบีเอ็ม พาวเวอร์พีซี -based[2] "Broadway"
สื่อบันทึกข้อมูลหน่วยความจำภายใน 512 MB
SD card, SDHC card
Nintendo GameCube Memory Card
กราฟิกการ์ดATI "Hollywood"
ที่บังคับวีรีโมต, วีบาลานซ์บอร์ด, นินเทนโด เกมคิวบ์ คอนโทลเลอร์, นินเทนโด ดีเอส
การเชื่อมต่อวายฟาย
บลูทูธ
2 × ยูเอสบี 2.0[3]
แลน โดยผ่านตัวแปลงจากยูเอสบี
บริการออนไลน์นินเทนโดวายฟายคอนเนกชัน, วีคอนเนกต์24, วีชอปแชนแนล
เกมที่ขายดีที่สุดWii Sports (pack-in, except in Japan and South Korea) 60.69 ล้าน (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2009) [4]
Wii Play, 26.71 ล้าน (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2009) [4]
การรองรับเครื่องรุ่นก่อนนินเทนโด เกมคิวบ์
รุ่นก่อนหน้าเกมคิวบ์
รุ่นถัดไปวียู
บทความนี้เกี่ยวกับเครื่องเล่นเกม สำหรับความหมายอื่น ดูที่ วี (แก้ความกำกวม)

วี (Wii) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมรุ่นที่ 5 ของบริษัทนินเทนโด ภายใต้ชื่อรหัสพัฒนาว่า เรฟโวลูชัน (Revolution) ซึ่งเป็นรุ่นที่จะออกมาถัดจากเครื่อง เกมคิวบ์ โดยที่จอยแพดที่ใช้ควบคุม จะเป็นรูปทรงเหมือน รีโมตโทรทัศน์ และเกมที่ใช้เล่นก็จะใช้การควบคุม โดยการเคลื่อนไหวจอยแพดนี้ ไปในทิศทางต่าง ๆ อีกด้วย

เครื่องเล่นวีสามารถเล่นเกมของ เกมคิวบ์ได้ทันที และยังสามารถเล่นเกมของแฟมิคอม ซูเปอร์แฟมิคอม และ นินเทนโด 64 ได้ผ่านระบบเกมที่สามารถ ดาวน์โหลดผ่านอินเทอร์เน็ต

ประวัติ[แก้]

เครื่องเล่นวี เริ่มถูกคิดค้นในปี พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นเวลาที่ เครื่องเล่นเกมคิวบ์เปิดตัว จากการสัมภาษณ์ของ นายชิเงรุ มิยาโมโตะ เกี่ยวกับแนวคิดในการมุ่งเน้น ไปที่วิธีใหม่ ๆ สำหรับการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เล่น "เป็นที่ยอมรับกันว่า พลังประมวลผลของเครื่องเล่นเกม ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง ของเครื่องเล่นเกม เราไม่สามารถมีเครื่องทรงพลังหลาย ๆ เครื่อง แข่งขันกันเอง มันก็เหมือนกับมีแต่ ไดโนเสาร์ดุร้าย ที่ต่อสู้กันเอง จนสูญพันธุ์ไปหมด" [5]

สองปีต่อมา โปรแกรมเมอร์เกมเอนจิน (game engine) และ เกมดีไซเนอร์ (game designer) ได้ร่วมกัน พัฒนาแนวคิดนี้ ก่อน พ.ศ. 2548 ก็มีการพัฒนา ที่บังคับเป็นผลสำเร็จ แต่งานเปิดตัวในปีนั้น ได้ถูกยกเลิกไป นายมิยาโมโต้กล่าวว่า "เรายังมีปัญหาที่ต้องแก้ไข เราจึงตัดสินใจ ไม่เปิดเผยที่บังคับ แต่เราจะแสดงแค่ตัวเครื่องเท่านั้น"[5] ต่อมาประธานบริษัทนินเทนโด นายซาโตรุ อิวาตะ (Satoru Iwata) จึงได้แสดงวีโมต ในเดือนกันยายน ที่ โตเกียวเกมโชว์ (Tokyo Game Show) [6]

เครื่องเล่นนินเทนโด DS ได้ถูกกล่าวว่า เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ของการออกแบบเครื่องเล่นวี ดีไซเนอร์ เคนอิจิโร อาชิดะ ย้ำว่า "เรามีเครื่องเล่นนินเทนโด DS ในใจเวลาเราออกแบบเครื่องเล่นวี เราคิดจะใช้จอสัมผัส แบบเดียวกัน และยังสร้างเครื่องต้นแบบออกมาด้วย" ในที่สุดความคิดนี้ก็ถูกปฏิเสธ เนื่องจากมันจะทำให้ เครื่องเกมทั้งสองเหมือนกันเกินไป นายมิยาโมโต้กล่าวไว้ด้วยว่า "ถ้าเครื่อง DS ไม่ประสบความสำเร็จ เราคงจะไม่ผลิตเครื่องเล่นวีออกมา" [5]

ชื่อ[แก้]

เครื่องเล่นวี รู้จักในชื่อโค้ดเนมว่า "รีโวลูชัน" (Revolution) จนกระทั่งถึงวันที่ 27 เมษายน 2549 ก่อนงานประชุมเกม E3 [7] บริษัทนินเทนโดระบุว่าชื่อของเครื่องคือ "วี" ไม่ใช่ "นินเทนโดวี" เครื่องเล่นวี เป็นเครื่องเล่นเกมเครื่องแรก ของนินเทนโดที่ทำตลาด นอกประเทศญี่ปุ่น โดยไม่มีชื่อบริษัท เป็นเครื่องหมายการค้า นินเทนโดสะกด "Wii" ด้วยตัว "i" ตัวเล็กทั้งสองตัว โดยต้องการให้คล้ายกับ คนสองคนยืนอยู่ข้าง ๆ กัน แสดงถึงผู้เล่นที่มารวมกัน และอาจแสดงถึง ที่บังคับของเครื่องได้อีกด้วย [8] บริษัทได้ให้เหตุผลหลายอย่าง ในงานประกาศชื่อวี แต่ที่เป็นที่รู้จักดีที่สุดก็คือ: วีฟังดูเหมือนกับ 'we' (พวกเรา) ซึ่งเน้นว่า เป็นเครื่องเล่นเกมสำหรับทุกคน วีเป็นชื่อที่จดจำได้ง่าย สำหรับคนทั่วโลก ไม่ว่าเขาจะพูดภาษาอะไรก็ตาม ไม่มีความสับสน ไม่ต้องมีตัวย่อ แค่วี[8]

แม้ว่านินเทนโดจะได้อธิบายถึงที่มาของชื่อไปแล้ว นักพัฒนาเกมบางคน และนักข่าวก็ยังกล่าวถึง การเปลี่ยนชื่อในแง่ลบ พวกเขาชอบชื่อ "รีโวลูชัน" มากกว่าชื่อ "วี" [9] และกลัวว่า ชื่อวีจะแสดงถึง ความไม่เอาจริงเอาจัง ของเครื่องเล่นเกม [10] สำนักข่าว บีบีซี รายงานหลังจาก วันประกาศชื่อเครื่องว่า มีการล้อเลียนชื่อปรากฏอยู่ ทั่วอินเทอร์เน็ต [11] ประธานบริษัทนินเทนโดในอเมริกา เรกจี้ ฟิลส์ เอเม่ ยอมรับถึงผลตอบสนอง ในช่วงแรก ทั้งยังอธิบายการเปลี่ยนแปลงอีกว่า:

ชื่อ รีโวลูชัน ไม่ได้เป็นชื่อที่เหมาะสมที่สุด มันเป็นชื่อที่ยาว และในบางสังคม มันยังอ่านได้ยากอีกด้วย เราจึงต้องการชื่อที่สั้น ตรงประเด็น ง่ายต่อการออกเสียง และไม่ซ้ำใคร นั่นเป็นแนวคิดในการสร้างชื่อ วี ขึ้นมา [12]

นินเทนโดปกป้องการเลือกชื่อ วี แทนที่ รีโวลูชัน และตอบโต้นักวิจารณ์ทั้งหลายว่า "มีชีวิตอยู่กับมัน หลับไปกับมัน กินกับมัน เดินหน้าไปกับมัน" [13]

งานเปิดตัว[แก้]

ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2549 นินเทนโดได้ประกาศข้อมูลการจำหน่ายของที่ ญี่ปุ่น, อเมริกาเหนือ และ ใต้, ออสเตรเลเชีย (โอเชียเนีย) , เอเชีย และ ยุโรป รวมไปถึง วันที่ขาย, ราคา และจำนวนเครื่อง ก่อนหน้านั้น นินเทนโดได้เปิดเผยว่า มีการวางแผนที่จะผลิต เครื่องเล่นเกม 6 ล้านเครื่อง และเกม 17 ล้านเกม ในช่วงปีงบประมาณ ซึ่งปิดยอดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2550[14] และยังบอกอีกว่า คาดว่าจะสามารถผลิต เครื่องเล่นเกมได้มากกว่า 4 ล้านเครื่องก่อนสิ้นปี 2549 [15] มีการประกาศว่า เครื่องเล่นเกมส่วนใหญ่จะถูกส่งไปที่อเมริกา [16] และเกมทั้งหมด 33 เกมจะเปิดขายก่อนสิ้นปี 2549 [17] ตามรายงาน ประเทศอังกฤษได้ประสบปัญหา ขาดแคลนเครื่องเล่นเกม โดยร้านค้าต่าง ๆ และร้านออนไลน์ ไม่สามารถจำหน่าย ให้ลูกค้าที่สั่งจองล่วงหน้า ได้ครบจำนวนในวันเปิดตัว 8 ธันวาคม พ.ศ. 2549 [18] ในเดือนมีนาคม 2550 ร้านค้าบางร้านในอังกฤษ ยังคงประสบปัญหาขาดแคลนเครื่องเล่นเกม [19] ในเดือน มิถุนายน 2550 ความต้องการซื้อเครื่องเล่นเกม ยังคงมากกว่าจำนวนเครื่องที่ได้รับในประเทศอเมริกา [20]

นินเทนโดประกาศว่า จะมีการเปิดตัวเครื่องเล่นเกมใน เกาหลีใต้ ในวันที่ 26 เมษายน 2551 และจีนภายในปี 2551 [21][22][23]

ตัวเครื่อง[แก้]

เครื่องเล่นวี (บนสุด) เปรียบเทียบขนาดกับ เกมคิวบ์, นินเทนโด 64, ซูเปอร์นินเทนโด, และ แฟมิคอม

เครื่องเล่นวี เป็นเครื่องเล่นเกมที่มีขนาดเล็กที่สุด ของนินเทนโด ตัวเครื่องมีขนาดกว้าง 44 มม (1.73 นิ้ว) , สูง 157 มม (6.18 นิ้ว) , หนา 215.4 มม (8.48 นิ้ว) ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับกล่องดีวีดี 3 กล่องรวมกัน ขาตั้งที่มากับเครื่อง มีขนาดกว้าง 55.4 มม (2.18 นิ้ว) , สูง 44 มม (1.73 นิ้ว) และ หนา 225.6 มม (8.88 นิ้ว) รวมทั้งหมดหนัก 1.2 กก (2.7 ปอนด์) [24] นับเป็นเครื่องเล่นเกม ที่มีน้ำหนักเบาที่สุดของ เครื่องเล่นเกมรุ่นที่ 7 ตัวเครื่องสามารถวางได้ ทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง รหัสของชิ้นส่วนประกอบ และ อุปกรณ์เพิ่มเติม ขึ้นต้นด้วย "RVL" มาจากโค้ดเนม "รีโวลูชัน" (Revolution) [25]

ด้านหน้าของตัวเครื่องประกอบด้วย ช่องใส่แผ่นดิสก์เรืองแสง ซึ่งสามารถใส่แผ่นดิสก์วี ขนาด 12 ซม หรือ แผ่นดิสก์เกมคิวบ์ แสงสีฟ้าในช่องใส่แผ่นดิสก์จะเรืองแสง เป็นเวลาสั้น ๆ เมื่อเปิดเครื่อง และวูบวาบเมื่อมีข้อมูลเข้ามาจาก WiiConnect24. หลังจากเฟิร์มแวร์อัปเดต เวอร์ชัน 3.0 ช่องใส่แผ่นดิสก์จะมีแสงทุกครั้ง เมื่อใส่หรือถอดแผ่นดิสก์ เวลาไม่มีข้อมูลเข้า หรือเวลาเล่นเกม จะไม่มีแสงที่ช่องใส่แผ่นดิสก์ ยูเอสบี พอร์ท 2 อันอยู่ด้านหลังของตัวเครื่อง ช่องใส่ เอสดีการ์ด ถูกซ่อนอยู่ด้านหลังฝาปิด ด้านหน้าของตัวเครื่อง แผ่นเอสดีการ์ด สามารถใช้สำหรับอัปโหลด รูปภาพ หรือใช้เก็บสำรอง เซฟเกม และ เกมเวอร์ชัวคอนโซล เนื่องจากระบบการจัดการสิทธิทางดิจิตอล ข้อมูลของเวอร์ชัวคอนโซล จะนำไปใช้กับเครื่องอื่นไม่ได้ ใช้ได้เฉพาะเครื่องที่ ดาวน์โหลดมาเท่านั้น [26] ในการใช้ช่องใส่เอสดีการ์ด สำหรับเซฟเกม ต้องมีการอัปเดตซอฟต์แวร์ก่อนด้วยการดาวน์โหลดแพทช์ ดังนั้นเครื่องที่ไม่ได้ต่อกับอินเทอร์เน็ต ก็จะไม่สามารถเซฟเกมไว้ใน เอสดีการ์ดได้ เอสดีการ์ดสามารถใช้สร้างเพลงภายในเกม จากไฟล์เอ็มพี3 อย่างเช่นในเกม Excite Truck และยังสร้างเพลงสำหรับสไลด์โชว์ ในโฟโต้แชนแนลได้อีกด้วย นินเทนโดได้แสดงตัวเครื่อง และวีรีโมท ในสีขาว, ดำ, เงิน, เขียวมะนาว, และแดง [27][28] แต่ที่มีขายขณะนี้มีแค่สีขาว นายชิเงรุ มิยาโมโตะ ย้ำว่าสีอื่น ๆ จะมีขายเมื่อ ไม่มีปัญหาผลิตไม่ทันแล้ว [29]

ชุดเปิดตัวเครื่องเล่นวี ประกอบด้วย ตัวเครื่อง ขาตั้งสำหรับตั้งตัวเครื่องในแนวตั้ง, วีโมต 1 อัน, วีเซนเซอร์บาร์ 1 อัน, ขาตั้งเซนเซอร์บาร์ 1 อัน, พาวเวอร์อแดปเตอร์ 1 อัน, ถ่านไฟฉาย AA 2 ก้อน, สายต่อวิดีโอชนิด composite 1 เส้น, หนังสือคู่มือการใช้งาน, และ (ยกเว้นที่ขายในญี่ปุ่น) เกมวีสปอร์ต

ผู้ประกาศข่าวของนินเทนโดกล่าวว่า บริษัทมีแผนที่จะเปิดตัวเครื่องเล่นวี ที่สามารถเล่นดีวีดีได้ในปี 2550 [30] แม้ว่าจะใช้แค่ซอฟต์แวร์ เท่านั้นก็สามารถเล่นดีวีดีได้ มัน"ต้องมีมากกว่าแค่เฟิร์มแวร์อัพเกรด" จึงไม่สามารถทำผ่านเครือข่าย WiiConnect24 ได้ [30]

วีโมต[แก้]

วีรีโมต

วีรีโมต (บางครั้งเรียกว่า วีโมต (Wiimote) ซึ่งแปลงมาจากคำว่า รีโมต (remote) ) เป็นที่บังคับหลักของเครื่องวีที่ใช้ในเกมหลัก ๆ ของเครื่อง และมีอยู่ในชุดการขายพื้นฐาน ประกอบด้วยสองส่วนคือ วีรีโมต มีรูปทรงเหมือนรีโมตโทรทัศน์ โดยมีคุณสมบัติหลักคือมีเซนเซอร์ในการตรวจจับการเคลื่อนไหว และควบคุมการเล่นเกมโดยการเคลื่อนไหวรีโมตนี้ไปในทิศทางต่าง ๆ และต้องวางตัวตรวจจับความเคลื่อนไหว (Wii Sensor Bar) ไว้ด้านบนของโทรทัศน์ที่ใช้เล่น และจอยอนาล็อกหรือที่เรียกในภาษาญี่ปุ่นว่านุนชะคุ (Nunchuk) ใช้เชื่อมต่อกับวีรีโมต ใช้ในการบังคับทิศทางต่าง ๆ

สเป็กเครื่อง[แก้]

นินเทนโดได้ประกาศ รายละเอียดเพียงเล็กน้อย เกี่ยวกับระบบของวี แต่ข้อมูลสำคัญ ๆ บางอันได้รั่วไหล มาจากสำนักข่าว แม้ว่ารายงานเหล่านี้ จะไม่ได้รับการยืนยัน อย่างเป็นทางการ มันพอจะบอกได้ว่า ตัวเครื่องเป็นการต่อเติม หรือการพัฒนามาจาก เครื่องเล่นเกมคิวบ์ ยิ่งไปกว่านั้น จากการวิเคราะห์พบว่า เครื่องเล่นวีมีความสามารถ ประมาณ 1.5 ถึง 2 เท่าของเครื่องรุ่นก่อน [2][31]

ที่บังคับเพิ่มเติม[แก้]

ที่บังคับเพิ่มเติม มักใช้เพื่อเพิ่มอรรถรสในการเล่นให้สมจริงยิ่งขึ้น เช่น ที่บังคับในเกมขับรถไฟ พวงมาลัยรถยนต์ (Wii Wheel) หรือที่ลั่นไก (Wii Zapper) ที่ใช้ต่อเข้ากับตอนล่างของวี รีโมต ใช้ในการยิงปืน


ปัญหาด้านเทคนิค[แก้]

เฟิร์มแวร์อัปเดต อันแรกทาง WiiConnect24 มีผลทำให้ เครื่องบางเครื่องใช้งานไม่ได้ เจ้าของเครื่องต้องส่งเครื่อง กลับไปให้นินเทนโดซ่อม (ถ้าต้องการเก็บเซฟเกมเอาไว้) หรือว่าเปลี่ยนเครื่องใหม่ [41]

ปัญหาลิขสิทธิ์[แก้]

บริษัท อินเตอร์ลิงก์ อิเล็กทรอนิกส์ (Interlink Electronics) ยื่นฟ้องร้องเรื่องลิขสิทธิ์ต่อนินเทนโด โดยชี้ไปที่การทำงานของ วีรีโมต โดยกล่าวว่าทำให้บริษัท สูญเสียค่าลิขสิทธิ์ ลดยอดขาย และขาดกำไร เนื่องจากการละเมิดลิขสิทธิ์ ของนินเทนโด [42] ห้างหุ้นส่วน อนาสเคป (Anascape Ltd) บริษัทในเท็กซัส ก็ยื่นฟ้องร้องต่อนินเทนโด เรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ [43] บริษัท กรีนเวลลิ่ง (Green Welling LLP) ฟ้องร้องต่อนินเทนโด เรื่องสายรัดข้อมือที่ขาดง่าย [44] บริษัทในเท็กซัสชื่อ โลนสตาร์ อินเวนชัน (Lonestar Inventions) ก็ฟ้องร้องนินเทนโด โดยกล่าวว่าบริษัท ลอกเลียนแบบลิขสิทธิ์ของบริษัท ในการออกแบบตัวเก็บประจุ และใช้ในเครื่องเล่นวี [45]

มีบริษัทจีนชื่อ LetVGO ผลิตเครื่องเล่นเกมที่ใช้จอยรีโมต คล้ายกับ วีโมต มีเกมในตัว 12 เกม และใช้ CPU แบบง่าย ๆ ความเร็ว 2.4 GHz โดยใช้ชื่อว่า Vii ซึ่งในขณะนี้มีขายเฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น และยังไม่ถูก Nintendo ฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์[46][47]

ต่อมามีเครื่อง Wii เลียนแบบอีกรุ่นหนึ่ง[48] ซึ่งรุ่นนี้มีการรุกจำหน่ายในญี่ปุ่นด้วย โดยใช้ชื่อว่า Sport Vii โดยมีเกมเก็บอยู่ในตลับเกม รูปร่างคล้ายตลับ เกมบอยแอดวานซ์

วีบาลานซ์บอร์ด[แก้]

วีบาลานซ์บอร์ด (Wii Balance Board) เป็นอุปกรณ์สำหรับทรงตัวซึ่งจะมีเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวของเท้าผู้ เล่นรวมไปถึงตรวจจับสมดุลของน้ำหนักเท้าทั้งสองข้างด้วย เพื่อนำไปใช้ควบคุมการเล่นเกมที่ต้องอาศัยการทรงตัวต่าง ๆ อย่างเช่นเกม WiiFit เกมออกกำลังกายที่จะทำออกมาพร้อมกับกระดานทรงตัวนี้

วีโมชันพลัส[แก้]

วีโมชันพลัส (Wii Motion Plus) เป็นอุปกรณ์เสริมของ วีรีโมต ช่วยทำให้มีความแม่นยำมากขึ้นแต่จะมีผลกับเกมใหม่ ๆ ที่รองรับเท่านั้นจะวางขายในวันที่ 8 มิถุนายน 2009 พร้อมกับเกม วีสปอร์ตรีสอร์ท (Wii Sports Resort)

อ้างอิง[แก้]

  1. "Consolidated Financial Highlights" (PDF). Nintendo. 2010-03-31. p. 23. สืบค้นเมื่อ 2010-05-07.
  2. 2.0 2.1 "Wii: The Total Story". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-18. สืบค้นเมื่อ 2006-11-20.
  3. McDonough, Amy. "Wii Get It Now: Technical Specs from 1UP.com". 1up.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-22. สืบค้นเมื่อ 2008-05-02.
  4. 4.0 4.1 "Financial Results Briefing for the Six-Month Period ended December 2009" (PDF). Nintendo. 2009-10-31. p. 11. สืบค้นเมื่อ 2010-01-29.
  5. 5.0 5.1 5.2 Kenji Hall. "The Big Ideas Behind Nintendo's Wii". BusinessWeek. สืบค้นเมื่อ 2007-02-02.
  6. Sinclair, Brendan. "TGS 2005: Iwata speaks". สืบค้นเมื่อ 2006-09-24. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  7. "Nintendo Revolution Renamed To Nintendo Wii". Console Watcher. Console Watcher. สืบค้นเมื่อ 2006-11-03.
  8. 8.0 8.1 "Breaking: Nintendo Announces New Revolution Name - 'Wii'". Gamasutra. CMP. สืบค้นเมื่อ 2006-09-16.
  9. Parmy Olson. "Wii Reactions: Developers Comment". Forbes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-25. สืบค้นเมื่อ 2007-03-10.
  10. "Iwata's Nintendo Lampooned for 'Wii'". BBC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-19. สืบค้นเมื่อ 2007-03-10.
  11. "Nintendo name swap sparks satire". BBC. สืบค้นเมื่อ 2007-03-14.
  12. Michael Donahoe, Shane Bettenhausen "War of the Words". Electronic Gaming Monthly. July 2006. p. 25. {{cite news}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  13. "Nintendo Talks to IGN about Wii". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-21. สืบค้นเมื่อ 2007-03-14.
  14. "Nintendo Co., Ltd. Corporate Management Policy Briefing". Nintendo. สืบค้นเมื่อ 2006-11-11.
  15. Bozon, Mark (2006-09-26). "Nintendo Sets the Record Straight". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-23. สืบค้นเมื่อ 2007-09-24.
  16. "Nintendo to Sell Wii Console in November". Gadget Guru. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2006-10-29.
  17. Rodriguez, Steven (November 14 2006). "The Twenty Wii Launch Games". Planet GameCube. สืบค้นเมื่อ 2006-11-14. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  18. "Wii shortages frustrating gamers". BBC. 2006-12-08. สืบค้นเมื่อ 2006-12-08.
  19. "UK Wiis "Like Gold Dust"". IGN. 2007-03-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-10. สืบค้นเมื่อ 2007-04-18.
  20. "Demand for Wii still outpaces supply". komo-tv. 2007-06-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-18. สืบค้นเมื่อ 2007-07-01.
  21. "Nintendo's Wii to Hit South Korea and China". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-16. สืบค้นเมื่อ 2008-04-14.
  22. Wii Launch Center - DS, Wii heading to Korea - News at GameSpot
  23. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-29. สืบค้นเมื่อ 2008-04-14.
  24. 1/article.html "A Closer Look at the Nintendo Wii". {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)[ลิงก์เสีย] pcworld.com. Retrieved on March 8 2007.
  25. "Wii controller world tour". Ngamer. July 13, 2006. p. 8. {{cite news}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  26. "Nintendo Forums: SD CARD ISSUE (from one system to another)". December 10, 2006. สืบค้นเมื่อ 2006-12-10.
  27. "Wii Colors". Revolution Report. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-16. สืบค้นเมื่อ 2006-07-15.
  28. "Wii Remote Colors". news.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-02. สืบค้นเมื่อ 2006-07-15.
  29. Wii Quotables เก็บถาวร 2012-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน IGN.com. Retrieved on March 10 2007.
  30. 30.0 30.1 "GameDaily BIZ: Confirmed: Nintendo to Release DVD-Enabled Wii in 2007". 2006-11-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-06. สืบค้นเมื่อ 2006-11-14. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  31. Casamassina, Matt. "IGN's Nintendo Wii FAQ". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-10. สืบค้นเมื่อ 2006-11-11.
  32. 32.0 32.1 "IGN: Revolution's Horsepower". IGN. 2006-03-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-22. สืบค้นเมื่อ 2006-12-23. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  33. "Wii??? (Wii??)". Nintendo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-15. สืบค้นเมื่อ 2006-05-22. (ญี่ปุ่น)
  34. "PS3 VS Wii, Comparisons of Core LSI Chip Areas". TechOn!. 2006-11-27. สืบค้นเมื่อ 2006-12-15. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  35. Burman, Rob (2007-08-08). "Keyboard Functionality Added to Wii". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-23. สืบค้นเมื่อ 2007-08-08. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  36. Casamassina, Matt (2006-09-20). "IGN's Nintendo Wii FAQ". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-02. สืบค้นเมื่อ 2007-01-25. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  37. Casamassina, Matt (2006-07-17). "Macronix Supplies Wii". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-22. สืบค้นเมื่อ 2006-07-18. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  38. consolewatcher.com Wii Component Cable Supports 480p Output
  39. "What is Wii?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-08. สืบค้นเมื่อ 2007-09-18.
  40. "Dolby Technology to Power the Sound of the Wii Console" (Press release). Dolby Laboratories. 2006-09-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-20. สืบค้นเมื่อ 2006-09-23.
  41. "Wii Connect 24 Kills Wiis". ComputerAndVideoGames.com.
  42. Micah Seff (2006-12-08). "Nintendo Sued for Patent Infringement". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-13. สืบค้นเมื่อ 2006-12-08.
  43. INQUIRER staff (2006-8-03). "Microsoft, Nintendo sued over games controller". The Inquirer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-24. สืบค้นเมื่อ 2006-12-08. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  44. "Nintendo Recalls Defective Wii Wrist Straps After Class Action Filed by Green Welling LLP". Business Wire. 2006-12-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-05. สืบค้นเมื่อ 2007-03-23.
  45. "Lonestar sues Nintendo over Wii capacitor design". Engadget/Wall Street journal. 2006-06-18. สืบค้นเมื่อ 2007-06-19.
  46. "ผู้จัดการออนไลน์ - "เวยลี่ปั้ง"เครื่องเกม Vii จีนที่ดูเหมือน Wii ญี่ปุ่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-17. สืบค้นเมื่อ 2008-09-12.
  47. เว็บไซต์ของผู้ผลิด Vii http://www.letvgo.com/vii.htm
  48. http://www.youtube.com/watch?v=wed_bW8iiEw

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]