ข้ามไปเนื้อหา

บลูทูธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตราสัญลักษณ์บลูทูท

บลูทูท บ้างเขียน บลูทูธ (อังกฤษ: Bluetooth) เป็นมาตรฐานเทคโนโลยีแบบไร้สายในพื้นที่ใกล้ ซึ่งใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องมือไร้สายที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันรวมถึงในเครือข่ายพื้นที่ส่วนบุคคล ในประเภทการใช้งานที่แพร่หลายที่สุด ขีดอำนาจในการส่งผ่านข้อมูลนั้นจำกัดอยู่ที่ 2.5 มิลลิวัตต์ ซึ่งทำให้เทคโนโลยีนี้ดำเนินไปได้ในพื้นที่ที่น้อยมาก คือ ไม่เกิน 10 เมตร เทคโนโลยีนี้อาศัยคลื่นวิทยุแบบยูเอชเอฟตั้งแต่ 2.402 กิกะเฮิรตซ์ไปจนถึง 2.48 กิกะเฮิรตซ์[1]

ชื่อบลูทูทนั้นำมาจากพระนามของพระเจ้าแฮรัลด์ บลูทูท พระมหากษัตริย์แห่งประเทศเดนมาร์ก[2] เพื่อรำลึกถึงพระองค์ในฐานะผู้ปกครองประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวียซึ่งปัจจุบันเป็นกลุ่มผู้นำในด้านการผลิตโทรศัพท์มือถือเข้าสู่ตลาดโลก และระบบบลูทูทเริ่มต้นจากประเทศในแถบนี้เช่นกัน

รายละเอียดทางเทคนิค

[แก้]

บลูทูทใช้สัญญาณวิทยุความถี่สูง 2.4 GHz. (จิกะเฮิร์ซ) แต่จะแยกย่อยออกไป ตามแต่ละประเทศ อย่างในแถบยุโรปและอเมริกา จะใช้ช่วง 2.400 ถึง 2.4835 GHz. แบ่งออกเป็น 79 ช่องสัญญาณ และจะใช้ช่องสัญญาณที่แบ่งนี้ เพื่อส่งข้อมูลสลับช่องไปมา 1,600 ครั้งต่อ 1 วินาที ส่วนที่ญี่ปุ่นจะใช้ความถี่ 2.402 ถึง 2.480 GHz. แบ่งออกเป็น 23 ช่อง ระยะทำการของบลูทูทจะอยู่ที่ 5-100 เมตร โดยมีระบบป้องกันโดยใช้การป้อนรหัสก่อนการเชื่อมต่อ และ ป้องกันการดักสัญญาณระหว่างสื่อสาร โดยระบบจะสลับช่องสัญญาณไปมา จะมีความสามารถในการเลือกเปลี่ยนความถี่ที่ใช้ในการติดต่อเองอัตโนมัติ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเรียงตามหมายเลขช่อง ทำให้การดักฟังหรือลักลอบขโมยข้อมูลทำได้ยากขึ้น หลักของบลูทูทออกแบบมาเพื่อใช้กับอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากใช้การขนส่งข้อมูลในจำนวนที่ไม่มาก อย่างเช่น ไฟล์ภาพ, เสียง, แอปพลิเคชันต่าง ๆ และสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ขอให้อยู่ในระยะที่กำหนดไว้เท่านั้น (ประมาณ 5-100 เมตร) นอกจากนี้ยังใช้พลังงานต่ำ กินไฟน้อย และสามารถใช้งานได้นาน โดยไม่ต้องนำไปชาร์จไฟบ่อย ๆ ด้วย

ระยะทำการ

[แก้]

ความสามารถในการส่งข้อมูลของบลูทูทนั้นขึ้นกับแต่ละ class ที่ใช้ ซึ่งมี 4 class ดังนี้

  • Class 1 กำลังส่ง 100 มิลลิวัตต์ ระยะประมาณ 100 เมตร
  • Class 2 กำลังส่ง 2.5 มิลลิวัตต์ ระยะประมาณ 10 เมตร
  • Class 3 กำลังส่ง 1 มิลลิวัตต์ ระยะประมาณ 1 เมตร
  • Class 4 กำลังส่ง 0.5 มิลลิวัตต์ ระยะประมาณ 0.5 เมตร

รุ่น

[แก้]

ข้อกำหนด และคุณสมบัติของ Bluetooth แบ่งเป็นรุ่นต่าง ๆ ดังนี้

  • Bluetooth 1.0
  • Bluetooth 1.1
  • Bluetooth 1.2 z
  • Bluetooth 2.0
  • Bluetooth 2.0 EDR
  • Bluetooth 2.1 EDR
  • Bluetooth 3.0
  • Bluetooth 4.0
  • Bluetooth 4.1
  • Bluetooth 4.2
  • Bluetooth 5
  • Bluetooth 5.1
  • Bluetooth 7
    • ระบบ EDR : Enhanced Data Rate เพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุดเป็น 3 Mbps.

โปรไฟล์

[แก้]
  • HFP
  • AVRCP ย่อมาจาก Audio/Video Remote Control Profile

EDR (Enhanced Data Rate) คือ ระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการปรับปรุงให้สามารถสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายได้เร็วขึ้น ทั้งนี้พัฒนาจากรุ่น 1.1 ที่ส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็ว 1 เมกะบิตต่อวินาที จนถึงรุ่น 1.2 ที่ปรับปรุงสัญญาณและคลื่นความถี่บลูทูท 2.0+ EDR ส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็ว 3 เมกะบิตต่อวินาที

อ้างอิง

[แก้]
  1. Muller, Nathan J. (2002). Networking A to Z. McGraw-Hill Professional. pp. 45–47. ISBN 9780071429139. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 24, 2021. สืบค้นเมื่อ June 14, 2021.
  2. Kardach, Jim (3 May 2008). "Tech History: How Bluetooth got its name". EE Times. สืบค้นเมื่อ 9 June 2014.