เซกา เมกาไดรฟ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เซก้า เมก้าไดรฟ์)
เซกา เจเนซิส/เมกาไดรฟ์
The original Japanese Mega Drive
Model 2 Genesis w/ 6-button controller
บน:เมกาไดรฟ์เดิม (ญี่ปุ่น)
ล่าง:
เซกา เจเนซิส โมเดล 2
ผู้ผลิตเซกา
ชนิดเครื่องเล่นวิดีโอเกม
รุ่นที่ยุคที่สี่
วางจำหน่าย
  • JP: 29 ตุลาคม 1988
  • NA: 14 สิงหาคม 1989
  • KOR: สิงหาคม 1990
  • PAL: กันยายน 1990
  • BRA: 1 กันยายน 1990
พร้อมการค้าปลีก
  • 1988–1997 (เซกา)
  • 1988–ปัจจุปัน (ทั้งหมด)
ยกเลิก
หน่วยขาย
  • เซกา: 30.75 ล้านเครื่อง
  • Tec Toy: 3 ล้านเครื่อง
  • Majesco: 1.5 ล้านเครื่อง (projected)
สื่อตลับเกม
หน่วยประมวลผล
การแสดงผล
  • Progressive: 320x224, 256x224 (NTSC) or 320x240, 256x240 (PAL) pixels, 512 color palette, 61 colors on-screen
  • Interlaced: 320x448, 256x448 (NTSC) or 320x480, 256x480 (PAL)
ระบบเสียง
บริการออนไลน์เซกาเมก้าเน็ต
เซกาชาเนล
XBAND
เกมขายที่ที่สุดโซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก (15 ล้านชุด)[1]
Backward
compatibility
มาสเตอร์ซิสเต็ม
รุ่นก่อนหน้ามาสเตอร์ซิสเต็ม
รุ่นต่อไปเซกา แซทเทิร์น

เซกา เมกาไดรฟ์ (ญี่ปุ่น: メガドライブโรมาจิMega Doraibu) หรือ เซกา เจเนซิส (อังกฤษ: Sega Genesis) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมยุคที่สี่ 16 บิตที่พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยเซกา เมกาไดรฟ์เป็นคอนโซลเครื่องที่สามของเซกาและเป็นรุ่นต่อจากเครื่องมาสเตอร์ซิสเต็ม เซกาเปิดตัวคอนโซลเมกาไดรฟ์ในญี่ปุ่นในปี 1988 ตามด้วยที่อเมริกาเหนือภายใต้ชื่อเจเนซิสในปี 1989 ในปี 1990 คอนโซลได้รับการจัดจำหน่ายในฐานะเมกาไดรฟ์โดย Virgin Mastertronic ในยุโรป Ozisoft ในออสตราเลเซีย และ Tec Toy ในบราซิล ในเกาหลีใต้เครื่องเกมถูกจัดจำหน่ายโดยซัมซุงในชื่อ Super Gam*Boy และต่อมาคือ Super Aladdin Boy

ตัวเครื่องถูกออกแบบโดยทีมวิจัยและพัฒนาภายใต้การดูแลของ Hideki Sato และ Masami Ishikawa ฮาร์ดแวร์ถูกดัดแปลงมาจากบอร์ดอาเขต System 16 มีศูนย์กลางที่ตัวประมวลผลโมโตโรลา 68000 ซึ่งเป็นซีพียู Zilog Z80 เป็นตัวควบคุมเสียง และระบบวิดีโอที่สนับสนุนฮาร์ดแวร์สไปรต์, ไทล์ และการเลื่อน เครื่องเกมสามารถเล่นเกมได้มากกว่า 900 เกมซึ่งสร้างโดยเซกาและผู้จัดจำหน่ายที่สามที่หลากหลายและเล่นผ่านตลับเกม เมกาไดรฟ์ได้รับประโยชน์จากอุปกรณ์เสริมหลายอย่างรวมถึง Power Base Converter เพื่อเล่นเกมมาสเตอร์ซิสเต็ม รวมถึงคอนโซลที่ได้รับสิทธิ์จากผู้จัดจำหน่ายบุคคลที่หนึ่งและที่สาม เซกาได้สร้างบริการเครือข่ายสองแห่งเพื่อรองรับเมกาไดรฟ์คือเซกาเมกาเน็ตและเซกาชาเนล

ในญี่ปุ่น แม้เครื่องเมกาไดรฟ์จะไม่ค่อยดีนักเมื่อเทียบกับคู่แข่งหลักสองรายคือเครื่องซูเปอร์แฟมิคอมของนินเท็นโดและเครื่องพีซีเอนจินของเอ็นอีซี แต่ประสบความสำเร็จอย่างมากในอเมริกาเหนือ บราซิลและยุโรป การมีส่วนร่วมในความสำเร็จคือที่รวบรวมเกมตู้ที่พอร์ตลง, ความนิยมของซีรีส์ โซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก ของเซกา, แฟรนไชส์กีฬายอดนิยมหลายรายการและการตลาดสำหรับวัยรุ่นที่ก้าวร้าวซึ่งวางเครื่องเกมให้เป็นคอนโซลที่ยอดนิยมสำหรับวัยรุ่น การเปิดตัวซูเปอร์แฟมิคอมสองปีหลังจากที่เจเนซิสเปิดตัวส่งผลให้เกิดการต่อสู้อย่างดุเดือดเพื่อแย่งส่วนแบ่งการตลาดในสหรัฐและยุโรปซึ่งมักถูกเรียกโดยนักข่าวและนักประวัติศาสตร์ว่าเป็น "สงครามคอนโซล" เนื่องจากการต่อสู้ครั้งนี้ได้ดึงดูดความสนใจของอุตสาหกรรมวิดีโอเกมในหมู่ประชาชนทั่วไป เมกาไดรฟ์และเกมที่มีชื่อเสียงที่สุดหลายเกมดึงดูดความสนใจทางกฎหมายเป็นอย่างมากในเรื่องที่เกี่ยวกับวิศวกรรมผันกลับและความรุนแรงในวิดีโอเกม การโต้เถียงที่เกี่ยวกับเกมที่มีความรุนแรงเช่น Night Trap และ Mortal Kombat ทำให้เซกาก่อตั้ง Videogame Rating Council ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกคณะกรรมการจัดเรตสื่อซอฟต์แวร์บันเทิง และเครื่องเกมที่ต่อจากเครื่องเซกา เมกาไดรฟ์คือ เซกา แซตเทิร์น ในปี 1994

อ้างอิง[แก้]

  1. Sonic the Hedgehog GameTap Retrospective Pt. 3/4. GameTap. กุมภาพันธ์ 17, 2009. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 1:25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 21, 2016. สืบค้นเมื่อ กันยายน 24, 2011. cf. "Review: Sonic Jam". Sega Saturn Magazine. No. 22. August 1997. p. 68. The original Megadrive game sold over 14 million copies.