ข้ามไปเนื้อหา

แฟมิคอม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นินเทนโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม
Nintendo Entertainment System
นินเทนโดแฟมิลีคอมพิวเตอร์ (แฟมิคอม)
Nintendo Family Computer (Famicom)

Official Nintendo Entertainment System logo
Family Computer logo

Nintendo Entertainment System with controller
Nintendo Family Computer

ด้านบน: อเมริกาเหนือ นินเทนโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม
ด้านล่าง: ญี่ปุ่น แฟมิคอม
ผู้ผลิตนินเทนโด
ชนิดเครื่องเล่นวิดีโอเกม
ยุคยุคที่สาม (ยุค 8-บิต)
วางจำหน่าย
  • JP: 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2526
  • US: 18 ตุลาคม พ.ศ. 2528
  • CA: 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529
  • EU: 1 กันยายน พ.ศ. 2529[a]
ยกเลิก
  • US: 14 สิงหาคม พ.ศ. 2538
  • JP: 25 กันยายน พ.ศ. 2546
  • TH: พ.ศ. 2543
ยอดจำหน่าย61.91 ล้าน[1]
สื่อROM cartridge ("Game Pak")[b]
ซีพียูRicoh 2A03 8-bit processor (MOS Technology 6502 core)
ที่บังคับ2 คอนโทลเลอร์พอร์ต[c]
1 ช่องเสริม
เกมที่ขายดีที่สุดSuper Mario Bros. (บรรจุรวมกับเครื่อง), 40.23 ล้าน (พ.ศ. 2542)[2]
Super Mario Bros. 3, 18 ล้าน (ณ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2546)[3]
รุ่นก่อนหน้าคัลเลอร์ ทีวี เกม
รุ่นถัดไปซูเปอร์นินเทนโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม

แฟมิคอม (Famicom) (ญี่ปุ่น: ファミコンโรมาจิFamikon) หรือ เครื่องเกมนินเทนโด (Nintendo Entertainment System: NES) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกม 8 บิต ผลิตโดยบริษัทนินเทนโด ชื่อของแฟมิคอมมาจากคำเต็มว่า แฟมิลี่คอมพิวเตอร์ (Family Computer) (ญี่ปุ่น: ファミリーコンピュータโรมาจิFamirī Konpyūta) คนไทยมักเรียกเครื่องเล่นเกมชนิดนี้ว่า เครื่องแฟมิลี่

มะซะยุกิ อุเอะมุระได้เป็นผู้ออกแบบระบบเกม และวางจำหน่ายในญี่ปุ่นเมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 ในราคา 14,800 เยน โดยมีเกม 3 เกมที่ออกมาพร้อมกัน คือ ดองกีคอง (Donkey Kong) ดองกีคองจูเนียร์ (Donkey Kong Jr.) และป็อปอาย (Popeye) ส่วนเกมที่ได้รับความนิยมในเครื่องเล่นเกมชนิดนี้คือซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส (Super Mario Bros.) และซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส 2 (Super Mario Bros. 2) และซูเปอร์มาริโอบราเธอร์ส 3 (Super Mario Bros. 3) และซูเปอร์มาริโอบราเธอส์: เดอะลอสต์เลเวลส์ (Super Mario Bros: The Lost Levels)

แฟมิคอมรุ่นต่างๆ

[แก้]

เครื่องเล่นเกมแฟมิคอมในประเทศญี่ปุ่นรวมถึงประเทศอเมริกาออกถึง 3 รุ่นได้แก่

  • แฟมิลี่ดีสค์ซิสเตม
  • AV แฟมิลี่คอมพิวเตอร์
  • NES 2 (ท็อปโรดเดอร์)

อุปกรณ์เสริมในเครื่องเล่นเกมแฟมิคอม

[แก้]

ในประเทศญี่ปุ่นได้มีการจัดจำหน่ายอุปกรณ์เสริมต่างๆและเป็นอุปกรณ์ลูกเล่นในเกมแฟมิคอมเช่น

  • จอยปีน (Beam Gun)
  • หุ่นยนต์ (Family Computer Robot)
  • แป้นพิมพ์ (Famicom BASIC)
  • แว่นสามมิติ (Famicom 3D System)
  • โมเด็ม (Family Computer Network System)
  • เครื่องบันทึก (Famicom Data Recorder)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Consolidated Sales Transition by Region" (PDF). Nintendo. 2010-01-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-02-14. สืบค้นเมื่อ 2010-02-14.
  2. "Best-Selling Video Games". Guinness World Records. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-03-17. สืบค้นเมื่อ 2008-01-31.
  3. "All Time Top 20 Best Selling Games". 2003-05-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-21. สืบค้นเมื่อ 2008-01-31.