วัคซีนโรคอีสุกอีใส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Varicella vaccine)
วัคซีนโรคอีสุกอีใส
วัคซีนโรคอีสุกอีใสจากประเทศญี่ปุ่น
รายละเอียดวัคซีน
โรคที่เป็นข้อบ่งชี้ไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์
ชนิดเชื้อลดฤทธิ์
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าVarivax, Varilrix, อื่น ๆ
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa607029
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
ช่องทางการรับยาฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • AU: S4 (ต้องใช้ใบสั่งยา)
  • UK: POM (Prescription only) [3][4]
  • US: ℞-only [5][6][7]
  • EU: Rx-only [2]
  • In general: ℞ (Prescription only)
ตัวบ่งชี้
เลขทะเบียน CAS
DrugBank
ChemSpider
  • none
UNII
  7checkY (what is this?)  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

วัคซีนโรคอีสุกอีใส เป็นวัคซีนที่ใช้ป้องกันอีสุกอีใส[8] วัคซีนหนึ่งเข็มสามารถป้องกันโรคขนาดปานกลางได้ 95% และโรคขั้นรุนแรงได้ 100%[9] การให้วัคซีนสองเข็มจะให้ผลที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเพียงหนึ่งเข็ม[9] ถ้าให้แก่ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคภายในห้าวันหลังจากที่ได้รับเชื้ออีสุกอีใส วัคซีนจะสามารถป้องกันเชื้อโรคในผู้ติดเชื้อได้เกือบทุกราย[9] ทั้งนี้การให้วัคซีนแก่ประชากรกลุ่มใหญ่จะสามารถป้องกันผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนได้อีกด้วย[9] วิธีการให้วัคซีนคือการฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง[9] ส่วนวัคซีนชนิดหนึ่งชื่อว่า วัคซีนโซสเตอร์ ใช้ป้องกันโรคที่มาจากไวรัสชนิดเดียวกัน[10]

องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำการให้วัคซีนตามกำหนดการให้วัคซีนเท่านั้นถ้าประชากรที่ได้รับวัคซีนของประเทศดังกล่าวมีจำนวนมากกว่า 80%[9] แต่ถ้าประชากรที่ได้รับวัคซีนมีจำนวนเพียง 20 ถึง 80% ก็เป็นไปได้ว่าประชากรที่จะติดเชื้อโรคเมื่ออายุมากขึ้นก็จะมีจำนวนมากขึ้นและผลโดยรวมก็อาจแย่ลงตามไปด้วย[9] ข้อแนะนำสำหรับการให้วัคซีนในประเทศสหรัฐอยู่ที่สองเข็ม โดยเริ่มเข็มแรกเมื่อเด็กอายุสิบสองถึงสิบห้าเดือน[8] ข้อมูลเมื่อ 2017 มี 23 ประเทศได้แนะนำให้มีการฉีดวัคซีนแก่เด็กทุกคน เก้าประเทศแนะนำเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง สามประเทศแนะนำเฉพาะบางส่วนของประเทศ ในขณะที่ประเทศอื่นไม่มีการแนะนำ[11] แต่ทั้งนี้ไม่ใช่ทุกประเทศที่มีการจัดหาวัคซีนเนื่องจากราคาของวัคซีน[12] ในสหราชอาณาจักร มีการอนุญาตใช้งาน Varilrix วัคซีนไวรัสเชื้อเป็น[13] ให้กับเด็กที่มีอายุ 12 เดือน

วัคซีนนี้มีความปลอดภัยสูง ผลข้างเคียงเล็กน้อยอาจได้แก่ อาการปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน มีไข้ และผื่นผิวหนัง[8] ผลข้างเคียงขั้นรุนแรงนั้นพบได้น้อยมากและส่วนใหญ่มักเกิดในกลุ่มของผู้ที่มีการกดการทำงานของภูมิคุ้มกัน[9] ควรต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้วัคซีนนี้ในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์[9] และไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่มีให้การวัคซีนในระหว่างการตั้งครภ์และไม่พบผลลัพธ์เชิงลบใด ๆ[8][9] การให้วัคซีนนี้อาจทำโดยการให้เพียงตัวเดียวหรือร่วมกับวัคซีนเอ็มเอ็มอาร์ ซึ่งมีชื่อเรียกว่าวัคซีนเอ็มเอ็มอาร์วี[9] วัคซีนนี้ผลิตจากเชื้อไวรัสที่อ่อนฤทธิ์[8]

วัคซีนไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ลดฤทธิ์ สายพันธุ์โอกะ ได้รับการพัฒนาโดยมิจิอากิ ทากาฮาชิกับเพื่อนร่วมงานในประเทศญี่ปุ่นช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1970[14] จากนั้นใน ค.ศ. 1981 ทีมนักวัคซีน (vaccinologist) สัญชาติอเมริกันของMaurice Hilleman พัฒนาวัคซีนโรคอีสุกอีใสในสหรัฐ ตามฐานจากไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ "สายพันธุ์โอกะ"[15][16][17] การจำหน่ายวัคซีนอีสุกอีใสครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1984[9] วัคซีนนี้อยู่ในทะเบียนยาที่จำเป็นขององค์การอนามัยโลก โดยเป็นยารักษาโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดซึ่งจำเป็นต่อระบบสุขภาพขั้นพื้นฐาน[18]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Varicella virus vaccine (Varivax) Use During Pregnancy". Drugs.com. 6 February 2019. สืบค้นเมื่อ 28 December 2019.
  2. "Varilrix". European Medicines Agency (EMA). สืบค้นเมื่อ 27 February 2021.
  3. "Varivax - Summary of Product Characteristics (SmPC)". (emc). 29 November 2018. สืบค้นเมื่อ 28 December 2019.
  4. "Varilrix 10 3.3 PFU/0.5ml, powder and solvent for solution for injection - Summary of Product Characteristics (SmPC)". (emc). 20 February 2020. สืบค้นเมื่อ 27 February 2021.
  5. "Varivax- varicella virus vaccine live injection, powder, lyophilized, for suspension". DailyMed. สืบค้นเมื่อ 27 February 2021.
  6. "Varivax". U.S. Food and Drug Administration (FDA). 16 September 2020. สืบค้นเมื่อ 27 February 2021.
  7. "Varivax". U.S. Food and Drug Administration (FDA). 22 July 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2017. สืบค้นเมื่อ 27 February 2021.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 "Chickenpox (Varicella) Vaccine Safety". Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 27 October 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2015. สืบค้นเมื่อ 15 December 2015.
  9. 9.00 9.01 9.02 9.03 9.04 9.05 9.06 9.07 9.08 9.09 9.10 9.11 "Varicella and herpes zoster vaccines: WHO position paper, June 2014". Relevé Épidémiologique Hebdomadaire. 89 (25): 265–87. June 2014. hdl:10665/242227. PMID 24983077.
  10. "Herpes Zoster Vaccination". Centers for Disease Control and Prevention. 2015-07-31. สืบค้นเมื่อ 2021-10-26.
  11. Wutzler P, Bonanni P, Burgess M, Gershon A, Sáfadi MA, Casabona G (August 2017). "Varicella vaccination - the global experience". Expert Review of Vaccines. 16 (8): 833–843. doi:10.1080/14760584.2017.1343669. PMC 5739310. PMID 28644696.
  12. Flatt A, Breuer J (September 2012). "Varicella vaccines". British Medical Bulletin. 103 (1): 115–27. doi:10.1093/bmb/lds019. PMID 22859715.
  13. "Varilrix".
  14. Gershon, Anne A. (2007), Arvin, Ann; Campadelli-Fiume, Gabriella; Mocarski, Edward; Moore, Patrick S. (บ.ก.), "Varicella-zoster vaccine", Human Herpesviruses: Biology, Therapy, and Immunoprophylaxis, Cambridge: Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-82714-0, PMID 21348127, สืบค้นเมื่อ 6 February 2021
  15. Tulchinsky, Theodore H. (2018). "Maurice Hilleman: Creator of Vaccines That Changed the World". Case Studies in Public Health: 443–470. doi:10.1016/B978-0-12-804571-8.00003-2. ISBN 9780128045718. PMC 7150172.
  16. "Chickenpox (Varicella) | History of Vaccines". www.historyofvaccines.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 6 February 2021.
  17. "Maurice Ralph Hilleman (1919–2005) | The Embryo Project Encyclopedia". embryo.asu.edu. สืบค้นเมื่อ 6 February 2021.
  18. World Health Organization (2019). World Health Organization model list of essential medicines: 21st list 2019. Geneva: World Health Organization. hdl:10665/325771. WHO/MVP/EMP/IAU/2019.06. License: CC BY-NC-SA 3.0 IGO.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]