รัฐมณีปุระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Manipur)
รัฐมณีปุระ
มณีปุระ รัฐของอินเดีย
ประเทศธงของประเทศอินเดีย อินเดีย
ก่อตั้ง21 มกราคม 1972
เมืองหลวงอิมผาล
อำเภอ16
การปกครอง
 • ผู้ว่าการรัฐนชมา เหปตุลละ[1]
 • มุขยมนตรีเอ็น. พิเรน สิงห์ (BJP)[2]
 • นิติบัญญัติระบบสภาเดี่ยว (60 ที่นั่ง)
 • รัฐสภาราชยสภา 1
โลกสภา 2
 • ศาลสูงศาลสูงมณีปุระ
พื้นที่
 • ทั้งหมด22,327 ตร.กม. (8,621 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 23
ประชากร
 (2011[3])
 • ทั้งหมด2,855,794 คน
 • อันดับที่ 23
 • ความหนาแน่น130 คน/ตร.กม. (330 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+05:30 (IST)
รหัส ISO 3166IN-MN
เอชดีไอ (2018)เพิ่มขึ้น 0.696[4]
ปานกลาง · ที่ 15
การรู้หนังสือ79.85% (ที่ 16)
ภาษาทางการภาษามณีปุระ (เมเต)[5][6]
เว็บไซต์www.manipur.gov.in
It elevated from the status of Union-Territories by the North-Eastern Areas (Reorganisation) Act 1971
สัญลักษณ์
ตรากังคลชา
ภาษามณีปุระ (เมเต)
เพลงSana Leibak Manipur
(Manipur, Land of Gold)
สัตว์ซังไก (Rucervus eldii eldii)
สัตว์ปีกไก่ฟ้าหางลายขวาง (Syrmaticus humiae)
ดอกไม้Shirui lily (Lilium mackliniae)
ต้นไม้Uningthou (Phoebe hainesiana)

มณีปุระ เป็นรัฐในทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย มีเมืองหลวงคือเมืองอิมผาล[7] อาณาเขตติดต่อกับรัฐนาคาแลนด์ทางเหนือ; รัฐมิโซรัมและประเทศพม่า (รัฐชีน) ทางใต้; รัฐอัสสัมทางตะวันตก และประเทศพม่า (เขตซะไกง์) ทางตะวันออก รัฐมีพื้นที่รวม 22,327 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรเกือบ 3 ล้านคน ซึ่งมีชาวกระแซ (เมเต) เป็นกลุ่มหลัก และยังมีชาว Pangals หรือ Pangans (มุสลิมมณีปุระ), ชนเผ่านาคา, ชนเผ่า Kuki/Zo เป็นต้น มณีปุระตั้งอยู่ตรงรอยต่อของจุดการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของเอเชีย เป็นเวลามากกว่า 2,500 ปีมาแล้ว[8] ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ซึ่งตั้งอยู่จุดเชื่อมต่อของอนุทวีปอินเดียกับเอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน เอเชียตะวันออก ไซบีเรีย ไมโครนีเซีย และพอลินีเชีย[9][10]

ศาสนา[แก้]

Religion in Manipur (2011)[11]

  Heraka (0.23%)

ศาสนาฮินดู[แก้]

วัด Ningthoukhong Gopinath ซึ่งเป็นวัดฮินดูที่มีขนาดใหญ่เป็นอับดับ 2 ในรัฐมณีปุระ
วัดลัทธิซานามาห์ ที่Kangla

จากการสำรวจสำมะโนประชากรของอินเดียปี 2554 ประชากรรัฐมณีปุระประมาณ 41.39% นับถือศาสนาฮินดูและ 41.29% นับถือศาสนาคริสต์

ชาว Meitei เป็นประชากรส่วนใหญ่ในรัฐมณีปุระ นับถือศาสนาฮินดูเป็นส่วนใหญ่และอาศัยกระจุกตัวกันในหุบเขามณีปุระ และที่เหลือประมาณ 14% ของชาว Meitei ปฏิบัติลัทธิซานามาห์ (Sanamahism) ส่วนในเขตอื่น ๆ ได้แก่ Bishnupur, Thoubal, Imphal East และ Imphal West มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดูเฉลี่ย 67.62% (ช่วง 62.27–74.81%) ตามข้อมูลสำมะโนประชากรปี 2554 [12]

ไวษณพนิกายฮินดูเป็นศาสนาประจำชาติของราชอาณาจักรมณีปุระ ในปีค.ศ. 1704 เมื่อกษัตริย์ Charairongba ยอมรับไวษณพนิกายและเปลี่ยนชื่อเป็น Pitambar Singh [13] อย่างไรก็ตามวัดฮินดูแห่งแรกถูกสร้างขึ้นก่อนหน้านี้มาก โดยพบแผ่นทองแดงที่ขุดจากเมือง Phayeng มีอายุย้อนหลังไปถึงปีค.ศ. 763 (รัชสมัยของพระเจ้าคงเตชา) มีจารึกเกี่ยวกับเทพเจ้าในศาสนาฮินดูเป็นคำภาษาสันสกฤต [14] ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 กษัตริย์ Meidingu Khumomba ได้สร้างวิหารหนุมาน [15] วัดวิษณุที่ละมังดงสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1474 (ในรัชสมัยของกษัตริย์คิยัมภา) โดยพราหมณ์จากรัฐฉาน ตามตำนานวัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ตั้งของสัญลักษณ์พระวิษณุที่มอบให้แก่กษัตริย์ คิยัมภา โดยกษัตริย์เขคคัมภาแห่งรัฐฉาน และ Phurailatpam Shubhi Narayan เป็นนักบวชพราหมณ์คนแรกของวัดนี้ [16]

ศาสนาคริสต์[แก้]

ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่มีประชากรใหญ่เป็นอับดับสองในรัฐมณีปุระ มีประมาณ 41% ของประชากรรัฐมณีปุระ มิชชันนารีโปรเตสแตนต์เข้าไปเผยแพร่ศาสนาในมณีปุระในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีการจัดตั้งโรงเรียนคริสเตียน 2 - 3 แห่งซึ่งเปิดสอนการศึกษาแบบตะวันตก โรงเรียนคาทอลิกเช่น Little Flower School in Imphal, Don Bosco High School ใน Imphal, St. Joseph's Convent และ Nirmalabas High School ยังคงเปิดดำเนินการในมณีปุระ ประชากรส่วนใหญ่ในเขตภูเขานับถือศาสนาคริสต์ [12]


อ้างอิง[แก้]

  1. "Guv Dr Najma Heptulla presents Ustad Bismillah Khan Puraskar". United News of India. 19 August 2019. สืบค้นเมื่อ 18 October 2019.
  2. BJP leader Biren Singh sworn in as Manipur Chief Minister เก็บถาวร 15 มีนาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, India Today (15 March 2017)
  3. "Manipur Population Sex Ratio in Manipur Literacy rate data". census2011.co.in. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2015.
  4. "Sub-national HDI - Subnational HDI - Global Data Lab". globaldatalab.org. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
  5. "At a Glance « Official website of Manipur". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มีนาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2016.
  6. Abstract of speakers' strength of languages and mother tongues – 2000 เก็บถาวร 8 ธันวาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Census of India, 2001
  7. Manipur: Treatise & Documents, Volume 1, ISBN 978-8170993995, Introduction
  8. Naorem Sanajaoba (editor), Manipur, Past and Present: The Heritage and Ordeals of a Civilization, Volume 4, Chapter 1: NK Singh, ISBN 978-8170998532
  9. Naorem Sanajaoba (editor), Manipur, Past and Present: The Heritage and Ordeals of a Civilization, Volume 4, Chapter 4: K Murari, ISBN 978-8170998532
  10. "Trade connection of Manipur with Southeast Asia in Pre British period Part 2 by Budha Kamei". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กรกฎาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2018.
  11. "Population by religion community - 2011". Census of India, 2011. The Registrar General & Census Commissioner, India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2015.
  12. 12.0 12.1 "Census of India : C-1 Population By Religious Community". censusindia.gov.in. Archived from the original on 13 September 2015. Retrieved 1 September 2015. https://www.censusindia.gov.in/2011census/C-01.html
  13. https://shodhganga.inflibnet.ac.in/bitstream/10603/93320/11/11_chapter%204.pdf
  14. 14.139.13.47:8080/jspui/bitstream/10603/249207/6/06_chapter-ii.pdf
  15. Sanajaoba, Naorem (1988). Manipur, Past and Present: The Heritage and Ordeals of a Civilization. ISBN 9788170998532
  16. https://www.sahapedia.org/the-vaishnava-temples-of-manipur-historical-study