เจียหยาง
เจียหยาง 揭阳市 เก๊กเอี๊ย | |
---|---|
น้ำพุดนตรีเก๊กเอี๊ย | |
ที่ตั้งของเก๊กเอี๊ยในมณฑลกวางตุ้ง | |
พิกัด (รัฐบาลท้องถิ่นนครเก๊กเอี๊ย): 23°33′04″N 116°22′22″E / 23.5510°N 116.3727°E | |
ประเทศ | สาธารณรัฐประชาชนจีน |
มณฑล | กวางตุ้ง |
เขตการปกครองระดับอำเภอ | 5 |
เขตการปกครองระดับตำบล | 100 |
ศูนย์กลางการปกครอง | เขตหรงเฉิง (หย่องเซีย; 榕城区) |
การปกครอง | |
• เลขาธิการพรรค | หยาน จื๋อฉาน (严植婵) |
• นายกเทศมนตรี | เฉิน ตง (陈东) |
พื้นที่ | |
• นครระดับจังหวัด | 5,240.5 ตร.กม. (2,023.4 ตร.ไมล์) |
• ความยาวชายฝั่ง (ไม่รวมเกาะ) | 82 ตร.กม. (32 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 8 เมตร (26 ฟุต) |
ประชากร (2010) | |
• นครระดับจังหวัด | 5,877,025 คน |
• ความหนาแน่น | 1,100 คน/ตร.กม. (2,900 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 741,674 คน |
เขตเวลา | มาตรฐานจีน |
รหัสพื้นที่ | 663 |
รหัส ISO 3166 | CN-GD-52 |
ภาษา | ภาษาหมิ่น |
ภาษาถิ่น | ภาษาแต้จิ๋ว และภาษาแคะ |
GDP | ¥68.514 พันล้าน (2004) |
GDP ต่อหัว | ¥35,327 (2017) |
คำนำหน้าทะเบียนรถ | 粤V |
เจียหยาง | |||||||||||||||||||
"เจียหยาง" เขียนด้วยตัวอักษรจีน | |||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 揭阳 | ||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 揭陽 | ||||||||||||||||||
ยฺหวิดเพ็ง | Kit3 joeng4 | ||||||||||||||||||
เยลกวางตุ้ง | Kityèuhng | ||||||||||||||||||
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | Jiēyáng | ||||||||||||||||||
ไปรษณีย์ | Kityang | ||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | อาทิตย์อุทัย (พระอาทิตย์ขึ้น) | ||||||||||||||||||
|
เจียหยาง (จีน: 揭阳; พินอิน: Jiēyáng) ในภาษาจีนกลาง หรือ เก๊กเอี๊ย ในภาษาแต้จิ๋ว เป็นนครระดับจังหวัดทางตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเฉาชั่นซึ่งผู้คนที่นี่จะพูดภาษาแต้จิ๋วแตกต่างจากผู้คนในบริเวณใกล้เคียงที่พูดภาษาเยว่ (หรือภาษากวางตุ้ง) เจียหยางมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในฐานะเป็นเมืองเกิดของชาวจีนโพ้นทะเลจำนวนมากที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เจียหยางมีอาณาเขตทางทิศตะวันออกติดกับซัวเถา ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับแต้จิ๋ว ทิศเหนือติดกับเหมย์โจว ทิศตะวันตกติดกับชั่นเหว่ย์ และทิศใต้ติดกับทะเลจีนใต้
เขตการปกครอง
[แก้]เจียหยางมีฐานะเป็นนครระดับจังหวัด แบ่งเขตการปกครองออกเป็นระดับอำเภอจำนวน 5 แห่ง แบ่งเป็น 2 เขต, 1 นครระดับอำเภอ (บริหารงานในนามของจังหวัด), และ 2 อำเภอ
แผนที่ | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
เขตหรงเฉิง
(หย่องเซีย) เขตเจียตง
(เก๊กตัง) อำเภอเจียซี
(เก็กไซ) อำเภอฮุ่ยไหล
(ห้วยลาย) | ||||||
ทับศัพท์จีนกลาง | ทับศัพท์แต้จิ๋ว | อักษรจีนตัวย่อ | พินอิน | ประชากร (สำมะโนปี 2010) |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
เขตหรงเฉิง | หย่องเซีย | 榕城区 | Róngchéng Qū | 741,674 | 182 | 4,098 |
เขตเจียตง | เก๊กตัง | 揭东区 | Jiēdōng Qū | 1,157,720 | 850 | 1,362 |
อำเภอเจียซี | เก็กไซ | 揭西县 | Jiēxī Xiàn | 825,313 | 1,279 | 605 |
อำเภอฮุ่ยไหล | ห้วยลาย | 惠来县 | Huìlái Xiàn | 1,097,615 | 1,207 | 906 |
นครผู่หนิง | โผวเล้ง | 普宁市 | Pǔníng Shì | 2,054,703 | 1,620 | 1,291 |
เขตการปกครองเหล่านี้แบ่งย่อยลงไปอีกออกเป็นระดับตำบลจำนวน 100 แห่ง แบ่งเป็น 69 เมือง, 10 ตำบล และ 21 แขวง
เศรษฐกิจ
[แก้]การปลูกข้าวและอุตสาหกรรมสิ่งทอมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของเก๊กเอี๊ย
การขนส่ง
[แก้]ทางอากาศ
[แก้]ท่าอากาศยานเก๊กเอี๊ยแต้ซัวแห่งใหม่เป็นสนามบินที่ใหญ่เป็นอันดับสามในมณฑลกวางตุ้ง รองจากท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวิน และท่าอากาศยานนานาชาติเชินเจิ้นเป่าอัน โดยแทนที่ท่าอากาศยานชั่นโถวไว่ชา เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2011
ทางราง
[แก้]เจียหยางตั้งอยู่บนเส้นทางรถไฟกว่างโจว–เหมย์โจว–ซัวเถา
ภาษาและวัฒนธรรม
[แก้]ภาษาแต้จิ๋วเป็นภาษาที่พูดกันเป็นส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ อย่างไรก็ตามก็มีผู้พูดภาษาแคะอยู่อย่างจำกัดในหมู่ชาวแคะในอำเภอเก๊กไซ
ประวัติศาสตร์
[แก้]พบว่าชาวเจียหยางจำนวนมากอพยพไปต่างประเทศในช่วงทศวรรษที่ 1930 ทั้งปนตียานักและเกอตาปังในอินโดนีเซีย, โจโฮร์บะฮ์รูในมาเลเซีย, สิงคโปร์, กัมพูชา และไทย ต่างก็มีชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลจำนวนมากที่มาจากเจียหยาง
รัฐบาลกลางจีนอนุมัติให้เจียงหยางมีฐานะเป็นนครระดับจังหวัดในปี 1991
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]- ลิ้มโต๊ะเคี่ยม (林道乾, Lîm tō-khiân) โจรสลัดในศตวรรษที่ 16
ภูมิอากาศ
[แก้]ข้อมูลภูมิอากาศของเจียหยาง (1981–2010) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 29.5 (85.1) |
30.5 (86.9) |
33.0 (91.4) |
35.3 (95.5) |
36.2 (97.2) |
39.2 (102.6) |
39.7 (103.5) |
38.9 (102) |
37.8 (100) |
35.9 (96.6) |
33.7 (92.7) |
33.0 (91.4) |
39.7 (103.5) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 19.3 (66.7) |
19.6 (67.3) |
21.6 (70.9) |
25.6 (78.1) |
28.9 (84) |
31.2 (88.2) |
33.3 (91.9) |
33.0 (91.4) |
31.5 (88.7) |
29.0 (84.2) |
25.3 (77.5) |
21.2 (70.2) |
26.63 (79.93) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 14.5 (58.1) |
15.3 (59.5) |
17.5 (63.5) |
21.6 (70.9) |
25.0 (77) |
27.4 (81.3) |
29.0 (84.2) |
28.8 (83.8) |
27.5 (81.5) |
24.6 (76.3) |
20.5 (68.9) |
16.2 (61.2) |
22.33 (72.19) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 11.5 (52.7) |
12.6 (54.7) |
14.9 (58.8) |
18.9 (66) |
22.4 (72.3) |
24.9 (76.8) |
26.0 (78.8) |
26.0 (78.8) |
24.7 (76.5) |
21.7 (71.1) |
17.3 (63.1) |
12.9 (55.2) |
19.48 (67.07) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 2.3 (36.1) |
3.7 (38.7) |
4.1 (39.4) |
9.6 (49.3) |
15.2 (59.4) |
19.0 (66.2) |
21.6 (70.9) |
22.7 (72.9) |
18.4 (65.1) |
12.5 (54.5) |
7.0 (44.6) |
0.9 (33.6) |
0.9 (33.6) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 32.6 (1.283) |
76.4 (3.008) |
117.6 (4.63) |
170.9 (6.728) |
203.7 (8.02) |
291.6 (11.48) |
293.2 (11.543) |
283.2 (11.15) |
203.7 (8.02) |
39.1 (1.539) |
32.5 (1.28) |
29.4 (1.157) |
1,773.9 (69.839) |
ความชื้นร้อยละ | 74 | 79 | 81 | 81 | 82 | 83 | 80 | 80 | 78 | 74 | 73 | 71 | 78 |
แหล่งที่มา: ศูนย์บริการข้อมูลอุตุนิยมวิทยาของจีน |
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์รัฐบาลท้องถิ่นนครเจียหยาง (ในอักษรจีนตัวย่อ)