หะดีษ
ส่วนหนึ่งของ |
ศาสนาอิสลาม |
---|
|
ฮะดีษ บ้างก็สะกด หะดีษ, หาดีษ, ฮาดีษ (อาหรับ: حديث, ฮะดีษ, พหุ. อะฮาดีษ, أحاديث[1], แปลว่า "คำพูด" หรือ "วาทกรรม") หรือ อะษัร[2] (อาหรับ: أثر, แปลว่า "ส่วนที่เหลือ"/"ผลกระทบ") สื่อถึงสิ่งที่มุสลิมและสำนักแนวคิดอิสลามสายหลักส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นบันทึกคำพูด การกระทำ และการยอมรับของนบีมุฮัมมัดที่ถ่ายทอดผ่านสายรายงาน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ฮะดีษคือสายรายงานที่ระบุถึงสิ่งที่นบี มุฮัมมัดเคยพูดและทำ[3]
บางคนกล่าวถึงฮะดีษเป็น "กระดูกสันหลัง" ของอารยธรรมอิสลาม[4] และสำหรับหลายคนถือว่าอำนาจของฮะดีษเป็นแหล่งนำทางทางศาสนาและศีลธรรมที่มีชื่อเรียกว่า ซุนนะฮ์ ซึ่งเป็นรองเพียงอัลกุรอาน[5] (ซึ่งมุสลิมเชื่อว่าเป็นดำรัสจากพระเจ้าที่ประทานแก่มุฮัมมัด) มุสลิมส่วนใหญ่เชื่อว่าอำนาจในคัมภีร์สำหรับฮะดีษมาจากอัลกุรอานที่กำชับให้มุสลิมทำตามแบบอย่างของมุฮัมมัดและเชื่อฟังคำตัดสินของท่าน (ดังปรากฏในซูเราะฮ์ที่ 24:54 และ 33:21)
ในขณะที่โองการที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายในอัลกุรอานมีจำนวนค่อนข้างน้อย แต่หลายคนถือว่าฮะดีษเป็นแนวทางสำหรับทุกสิ่ง ตั้งแต่รายละเอียดของภาระหน้าที่ทางศาสนา (เช่น ฆุสล์ หรือ วุฎูอ์, การทำน้ำละหมาด[6]เพื่อละหมาด) จนถึงวิธีการเคารพที่ถูกต้อง[7] และความสำคัญของความเมตตากรุณาต่อทาส[8] ดังนั้น สำหรับหลายคนถือว่ากฎหมายชะรีอะฮ์ (กฎหมายอิสลาม) "จำนวนมาก" มีที่มาจากฮะดีษมากกว่าอัลกุรอาน[9][Note 1]
ฮะดีษเป็นคำศัพท์ภาษาอาหรับที่หมายถึงคำพูด รายงาน บันทึก เรื่องเล่า[1][11][12]: 471 ซึ่งมีความแตกต่างจากอัลกุรอานตรงที่ มุสลิมทุกคนไม่เชื่อว่ารายงานฮะดีษ (หรืออย่างน้องก็ไม่ใช่บันทึกฮะดีษทั้งหมด) ได้รับการประทานจากพระเจ้า ชุดสะสมฮะดีษที่แตกต่างกันจะนำมาซึ่งความแตกต่างในสาขาต่าง ๆ ของความเชื่ออิสลาม[13] มุสลิมบางส่วนเชื่อว่าแนวทางอิสลามควรอิงตามอัลกุรอานเท่านั้น จึงปฏิเสธอำนาจของฮะดีษ บางคนถึงขั้นอ้างว่าฮะดีษส่วนใหญ่ถูกแต่งขึ้นมา (pseudepigrapha)[14] ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ถึง 9 และระบุอย่างผิด ๆ ว่ามาจากมุฮัมมัด[14][15][16] ในอดีต กลุ่มอัลมัวะอ์ตะซิละฮ์ก็ปฏิเสธฮะดีษที่เป็นพื้นฐานสำหรับกฎหมายอิสลาม แต่ยอมรับซุนนะฮ์และอิจญ์มาอ์[17]
เนื่องจากฮะดีษบางส่วนมีข้อความที่น่าสงสัยและขัดแย้งกัน การรับรองความถูกต้องของฮะดีษจึงกลายเป็นสาขาวิชาหลักในศาสนาอิสลาม[18] โดยในรูปแบบคลาสสิก ฮะดีษประกอบด้วยสองส่วน สายผู้รายงานที่ส่งผ่านรายงาน (อิสนัด) อลัข้อความหลักของรายงาน (มัตน์)[19][20][21][22][23] นักกฎหมายมุสลิมและมุสลิมที่สอนศาสนาจำแนกฮะดีษตามบุคคลได้เป็นหมวดหมู่ เช่น เศาะเฮียะห์ ("แท้"), ฮะซัน ("ดี") หรือ เฎาะอีฟ ("อ่อน")[24] อย่างไรก็ตาม นักวิชาการและกลุ่มต่าง ๆ จัดประเภทฮะดีษไม่เหมือนกัน
ในบรรดานักวิชาการของศาสนาอิสลามนิกายซุนนี คำว่าฮะดีษไม่ได้มีเพียงคำพูด คำแนพนำ การปฏิบัติ ฯลฯ ของมุฮัมมัดเท่านั้น แต่ยังรวมของผู้ติดตามท่านด้วย[25][26] ส่วนชีอะฮ์ถือว่าฮะดีษเป็นศูนย์รวมซุนนะฮ์ คำพูดและการกระทำของมุฮัมมัดและอะฮ์ลุลบัยต์ ครอบครัวของท่าน (อิมามทั้งสิบสองและฟาฏิมะฮ์ ลูกสาวของท่าน)[27]
ความหมายทางภาษา
[แก้]ในภาษาอาหรับ รูปคำนาม ฮะดีษ (حديث) หมายถึง "รายงาน", "บันทึก" หรือ "เรื่องเล่า"[28][29] ซึ่งมีรูปพหุพจน์เป็น อะฮาดีษ (أحاديث)[1] ฮะดีษ ยังหมายถึงคำพูดของบุคคลด้วย[30]
ความหมายทางวิชาการอิสลาม
[แก้]ในทัศนะของอิสลามซุนนีย์
[แก้]ฮะดีษ คือ คำพูด การกระทำ การยอมรับ และคุณลักษณะ ตลอดจนชีวประวัติของท่านนบีมุฮัมมัด (ศ) อิบนุหะญัร อัลอัสกอลานีย์ให้นิยามของฮะดีษว่า “ทุก ๆ สิ่งที่พาดพิงถึงท่านนบี (ศ)”
ประเภทของฮะดีษ
การจำแนกประเภทของฮะดีษนั้นนักวิชาการได้จำแนกฮะดีษเป็นดังนี้
1. จำแนกตามลักษณะของกระแสรายงาน แบ่งออกเป็นได้ สองประเภทคือ ฮะดีษมุตะวาติรและ ฮะดีษอาฮาด
2. จำแนกตามลักษณะของการนำมาใช้มาเป็นหลักฐานอ้างอิง แบ่งได้เป็นสองประเภท คือ
2.1 ฮะดีษที่นำมาเป็นหลักฐานได้ คือ ฮะดีษศอฮีฮฺ และ ฮะดีษฮะซัน
2.2 ฮะดีษที่ใช้เป็นหลักฐานไม่ได้ คือ ฮะดีษฎออีฟ(ฮะดีษอ่อน)และฮะดีษเมาฎั๊วะ(ฮะดีษที่ถูกอุปโลกน์ขึ้น)
3. จำแนกตามลักษณะของผู้สืบ (ที่มา [1], [2]
รายนามพระวจนานุกรม
[แก้]พระวจนานุกรมรวบรวมฮะดีษมีมากกว่า 10 พระวจนานุกรม ที่สำคัญคือ 6 พระวจนานุกรม คือ
1. เศาะฮีฮ์ อัลบุคอรี รวบรวมโดย อัลบุคอรีย์
2. เศาะฮีฮ์ มุสลิม รวบรวมโดย มุสลิม อิบน์ อัลฮัจญาจญ์
3. ญามิอ์ อัตติรมิซี รวบรวมโดย อัตตัรมีซี
4. ซุนัน อะบีดาวูด รวบรวมโดย อะบูดาวูด
5. ซุนัน อิบน์ มาญะฮ์ รวบรวมโดย อิบน์ มาญะฮ์
6. ซุนัน อัศศุฆรอ รวบรวมโดย อันนะซาอี
นอกจากนี้ยังมีพระวจนานุกรม
- อัลมุวัฏเฏาะอ์ รวบรวมโดย มาลิก บิน อะนัส (เจ้าสำนักมาลิกี)
- มุสนัด อะฮ์หมัด อิบน์ ฮัมบัล รวบรวมโดย อะฮ์หมัด อิบน์ ฮัมบัล (เจ้าสำนักฮัมบะลี)
- เศาะฮีฮ์ อิบน์ คุซัยมะฮ์ รวบรวมโดย อิบน์ คุซัยมะฮ์
- เศาะฮีฮ์ อิบน์ ฮิบบาน รวบรวมโดย อิบน์ ฮิบบาน
- มุศ็อนนัฟ อับดุรร็อซซาก รวบรวมโดย อับดุรร็อซซาก อัศศ็อนอานีย์
- มุสนัด อัชชาฟิอี รวบรวมโดย อัชชาฟิอี (เจ้าสำนักชาฟิอี)
- มุสนัด อะบูฮะนีฟะฮ์ รวบรวมโดย อะบูฮะนีฟะฮ์ (เจ้าสำนักฮะนะฟี)
- กิตาบ อัลอาษาร รวบรวมโดย มุฮัมมัด อัชชัยบานี และ อะบูยูซุฟ
- ซุนัน อัลกุบรอ รวบรวมโดย อัลบัยฮะกี
- อัลมุสตัดร็อก อัลฮากิม รวบรวมโดย อัลฮากิม อันนัยซาบูรี
- ซุนัน อัดดาริมี รวบรวมโดย อัดดาริมี
- อัลมุอ์ญัม อัลกะบีร รวบรวมโดย อัฏเฏาะบะรอนี
- อัลมุอ์ญัม อัลเอาซาฏ รวบรวมโดย อัฏเฏาะบะรอนี
- อัลมุอ์ญัม อัลเศาะฆีร รวบรวมโดย อัฏเฏาะบะรอนี
- มุสนัด อัฏเฏาะยาลิซี รวบรวมโดย อะบูดาวูด อัฏเฏาะยาลิซี
- มุศ็อนนัฟ อิบน์ อะบีชัยบะฮ์ รวบรวมโดย อิบน์ อะบีชัยบะฮ์
- มุสนัด อะบูยะอ์ลา รวบรวมโดย อะบูยะอ์ลา อัลเมาศิลี
- ซุนัน อัดดารุกุฏนี รวบรวมโดย อัดดารุกุฏนี
- มุสนัด อัลบัซซาร รวบรวมโดย อะบูบักร์ อัลบัซซาร
- ตะฮ์ซีบ อัลอาษาร รวบรวมโดย อัฏเฏาะบะรี (เจ้าสำนักมัซฮับญะรีรี)
พระวจนานุกรมที่ใช้ตามมหาวิทยาลัยอิสลาม
[แก้]- มะศอบีฮ์ อัสซุนนะฮ์ รวบรวมโดย อัลบะเฆาะวี
- มิชกาฮ์ อัลมะศอบีฮ์ รวบรวมโดย อัตตับรีซี
- ริยาฎุศศอลิฮีน รวบรวมโดย อันนะวะวี
- อัลอัรบะอีน รวบรวมโดย อันนะวะวี
- มัจญ์มูอ์ อัซซะวาอิด รวบรวมโดย อัลฮัยษะมี
- อัลเมาฎูอาต อัลกุบรอ รวบรวมโดย อิบน์ อัลเญาซี
- บุลูฆ อัลมะรอม รวบรวมโดย อิบน์ ฮะญัร อัลอัสเกาะลานี
- ญามิอ์ อัลกะบีร รวบรวมโดย อัสซุยูฏี
- ญามิอ์ อัศเศาะฆีร รวบรวมโดย อัสซุยูฏี
- ซิลซิละฮ์ อะฮาดีษ อัศเศาะฮีฮะฮ์ รวบรวมโดย อัลอัลบานี
- อัลญามิอ์ อัศเศาะฮีฮ์ มิน มะลัยซะฟิศเศาะฮีฮัยน์ รวบรวมโดย มุกบิล อิบน์ ฮาดี อัลวาดิอี
ฮะดีษในทัศนะของอิสลามชีอะหฺ
[แก้]ฮะดีษ หมายถึงคำพูด การกระทำ และการยอมรับของนบีมุฮัมมัด และของบรรดามะอฺศูม
สายชีอะหฺได้มีการรวบรวมเป็นเล่ม ที่สำคัญที่สุดมี 4 เล่มคือ
1. อัลกาฟี รวมรวมโดย อัลกุลัยนีย์
2. มัน ลายะฮฺฎุรุฮุ อัลฟะกีหฺ รวมรวมโดย เชคศอดูก (ฮ.ศ.305-381)
3. ตะหฺซีบ อัลอะฮฺกาม รวบรวมโดย เชคอัตตูซีย์ (ฮ.ศ.385-460)
4. อัลอิสติบศอร รวบรวมโดย เชคอัตตูซีย์ เช่นเดียวกัน
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Brown 2009, p. 3.
- ↑ Azami, Muhammad Mustafa (1978). Studies in Hadith Methodology and Literature. American Trust Publications. p. 3. ISBN 978-0-89259-011-7. สืบค้นเมื่อ 16 December 2022.
- ↑ "Are Hadith Necessary? An Examination of the Authority of Hadith in Islam".
- ↑ J.A.C. Brown, Misquoting Muhammad, 2014: p.6
- ↑ "Hadith". Encyclopaedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 31 July 2020.
- ↑ An-Nawawi, Riyadh As-Salihin, 1975: p.203
- ↑ An-Nawawi, Riyadh As-Salihin, 1975: p.168
- ↑ An-Nawawi, Riyadh As-Salihin, 1975: p.229
- ↑ Forte, David F. (1978). "Islamic Law; the impact of Joseph Schacht" (PDF). Loyola of Los Angeles International and Comparative Law Review. 1: 2. สืบค้นเมื่อ 19 April 2018.
- ↑ J.A.C. Brown, Misquoting Muhammad, 2014: p.18
- ↑ "Hans Wehr English&Arabic Dictionary".
- ↑ Mohammad Taqi al-Modarresi (26 March 2016). The Laws of Islam (PDF) (ภาษาอังกฤษ). Enlight Press. ISBN 978-0994240989. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 August 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2017.
- ↑ J.A.C. Brown, Misquoting Muhammad, 2014: p.8
- ↑ 14.0 14.1 "Hadith and the Corruption of the great religion of Islam | Submission.org - Your best source for Submission (Islam)". submission.org. สืบค้นเมื่อ 2020-01-23.
- ↑ Aisha Y. Musa, The Qur’anists, Florida International University, accessed May 22, 2013.
- ↑ Neal Robinson (2013), Islam: A Concise Introduction, Routledge, ISBN 978-0878402243, Chapter 7, pp. 85-89
- ↑ https://books.google.co.uk/books?id=G-M3IRh22moC&pg=PA63&dq=some+mutazilites+rejected+hadiths&hl=en&newbks=1&newbks_redir=0&source=gb_mobile_search&sa=X&ved=2ahUKEwiB3sOs5LT-AhXSjVwKHZ1lCtIQ6AF6BAgHEAM#v=onepage&q&f=false
- ↑ Lewis, Bernard (1993). Islam and the West. Oxford University Press. p. 44. ISBN 9780198023937. สืบค้นเมื่อ 28 March 2018.
hadith.
- ↑ "Surah Al-Jumu'a, Word by word translation of verse number 2-3 (Tafsir included) | الجمعة - Quran O". qurano.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-01-31.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Brown 2009, p. 4.
- ↑ Brown 2009, p. 6-7.
- ↑ Islahi, Amin Ahsan (1989) [transl. 2009]. Mabadi Tadabbur-i-Hadith (translated as: "Fundamentals of Hadith Interpretation") (ภาษาอูรดู). Lahore: Al-Mawrid. สืบค้นเมื่อ 2 June 2011.
- ↑ Campo, Juan Eduardo (2009). "Hadith". Encyclopedia of Islam. ISBN 9781438126968.
- ↑ The Future of Muslim Civilisation by Ziauddin Sardar, 1979, page 26.
- ↑ Motzki, Harald (2004). Encyclopedia of Islam and Muslim World.1. Thmpson Gale. p. 285.
- ↑ Al-Bukhari, Imam (2003). Moral Teachings of Islam: Prophetic Traditions from Al-Adab Al-mufrad By Muḥammad ibn Ismāʻīl Bukhārī. ISBN 9780759104174.
- ↑ al-Fadli, Abd al-Hadi (2011). Introduction to Hadith (2nd ed.). London: ICAS Press. p. vii. ISBN 9781904063476.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Mawrid Reader". ejtaal.net.
- ↑ al-Kuliyat by Abu al-Baqa’ al-Kafawi, p. 370; Mu'assasah l-Risalah. This last phrase is quoted by al-Qasimi in Qawaid al-Tahdith, p. 61; Dar al-Nafais.
- ↑ Lisan al-Arab, by Ibn Manthour, vol. 2, p. 350; Dar al-Hadith edition.
บรรณานุกรม
[แก้]- Berg, H. (2000). The development of exegesis in early Islam: the authenticity of Muslim literature from the formative period. Routledge. ISBN 0-7007-1224-0.
- Brown, Daniel W. (1996). Rethinking tradition in modern Islamic thought. Cambridge University Press. ISBN 0521570778. สืบค้นเมื่อ 10 May 2018.
- Brown, Jonathan A. C. (2004). "Criticism of the Proto-Hadith Canon: Al-daraqutni's Adjustment of the Sahihayn". Journal of Islamic Studies. 15 (1): 1–37. doi:10.1093/jis/15.1.1.
- Brown, Jonathan A.C. (2007). The Canonization of al-Bukhārī and Muslim (PDF). Leiden, Netherlands: Brill. ISBN 9789004158399. สืบค้นเมื่อ 3 October 2017.
- Brown, Jonathan A.C. (2009). Hadith: Muhammad's Legacy in the Medieval and Modern World (Foundations of Islam). Oneworld Publications. ISBN 978-1851686636.
- Brown, Jonathan A.C. (2014). Misquoting Muhammad: The Challenge and Choices of Interpreting the Prophet's Legacy. Oneworld Publications. ISBN 978-1780744209. สืบค้นเมื่อ 4 June 2018.
- Hallaq, Wael B. (1999). "The Authenticity of Prophetic Ḥadîth: A Pseudo-Problem". Studia Islamica (89): 75–90. doi:10.2307/1596086. ISSN 0585-5292. JSTOR 1596086. S2CID 170916710.
- Ibn Warraq, บ.ก. (2000). "1. Studies on Muhammad and the Rise of Islam". The Quest for the Historical Muhammad. Prometheus. pp. 15–88.
- Lucas, S. (2004). Constructive Critics, Hadith Literature, and the Articulation of Sunni Islam. Brill Academic Publishers. ISBN 90-04-13319-4.
- Muhyi ad-Din Abu Zakariyya Yahya bin Sharaf an-Nawawi (1975). Riyadh as-Salihin [Gardens of the Righteous]. Mauhammad Zafulla Khan, translator. New York: Olive Branch Press. สืบค้นเมื่อ 18 May 2018. [ลิงก์เสีย]
- Robinson, C. F. (2003). Islamic Historiography. Cambridge University Press. ISBN 0-521-62936-5.
- Robson, J. "Hadith". ใน P.J. Bearman; Th. Bianquis; C.E. Bosworth; E. van Donzel; W.P. Heinrichs (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam Online. Brill Academic Publishers. ISSN 1573-3912.
- Schacht, Joseph (1950). The Origins of Muhammadan Jurisprudence. Oxford: Clarendon
- Senturk, Recep (2005). Narrative Social Structure: Anatomy of the Hadith Transmission Network, 610-1505. Stanford, CA: Stanford University Press. ISBN 9780804752077.
- Swarup, Ram (1983). Understanding Islam through Hadis. New Delhi: Voice of India. ISBN 9788185990736. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2017. สืบค้นเมื่อ 3 October 2017.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Encyclopedia of Sahih Al-Bukhari by Arabic Virtual Translation Center (New York 2019, Barnes & Noble ISBN 9780359672653)
- English Translation of over 60,000 Basic Ahadith Books from Ahl Al-Bayt, Online Shia Islamic Articles, Books, Khutbat, Calendar, Duas ( including Bihar ul Anwaar})
- 1000 Qudsi Hadiths: An Encyclopedia of Divine Sayings; New York: Arabic Virtual Translation Center; (2012) ISBN 978-1-4700-2994-4
- Gauthier H.A. Joynboll (PhD) (2013). Encyclopedia of Canonical Hadith. archive.org (ภาษาอังกฤษ). London and Boston: Brill. p. 839. doi:10.1163/ej.9789004156746.i-804. ISBN 978-9004156746. OCLC 315870438. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 22, 2018.
- Lucas, S. (2002). The Arts of Hadith Compilation and Criticism. University of Chicago. OCLC 62284281.
- Musa, A. Y. Hadith as Scripture: Discussions on The Authority Of Prophetic Traditions in Islam, New York: Palgrave, 2008. ISBN 0-230-60535-4
- Fred M. Donner, Narratives of Islamic Origins (1998)
- Tottoli, Roberto, "Hadith", in Muhammad in History, Thought, and Culture: An Encyclopedia of the Prophet of God (2 vols.), Edited by C. Fitzpatrick and A. Walker, Santa Barbara, ABC-CLIO, 2014, Vol I, pp. 231–236.
ออนไลน์
[แก้]- Hadith Islam, in Encyclopædia Britannica Online, by Albert Kenneth Cragg, Gloria Lotha, Marco Sampaolo, Matt Stefon, Noah Tesch and Adam Zeidan
Hadith by Topics and advice of PBUH เก็บถาวร 2022-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Hadith – Search by keyword and find hadith by narrator
- New International Encyclopedia. 1905. .
- Encyclopedia Americana. 1920. .