อัชชาฟิอี
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
อิมามุลฟิกฮ์ อัชชาฟิอี اَلشَّافِعِيُّ | |
---|---|
![]() | |
คำนำหน้าชื่อ | เชค อัล-อิสลาม |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | สิงหาคม ค.ศ. 767 กาซา, บิลาด อัช-ชาม, รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ |
เสียชีวิต | 19 มกราคม ค.ศ. 820 (54 ปี) ฟุสตัต, ประเทศอียิปต์ |
ศาสนา | อิสลาม |
ชาติพันธุ์ | ชาวอาหรับ |
ยุค | ยุคทองของอิสลาม |
สำนักคิด | อิจติฮาด |
ความสนใจหลัก | ฟิกฮ์ |
แนวคิดโดดเด่น | มัซฮับชาฟิอี |
ผลงานโดดเด่น | Risalah: Usul al Fiqh, Kitab al-Umm |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
มีอิทธิพลต่อ |
อบูอับดิลลาฮ์ มุฮัมมัด อิบน์ อิดรีส อัชชาฟิอี (อาหรับ: أَبُو عَبْدِ ٱللهِ مُحَمَّدُ بْنُ إِدْرِيسَ ٱلشَّافِعِيُّ; ค.ศ. 767–820, ฮ.ศ. 150–204) เป็นนักเทววิทยา นักเขียน และนักปราชญ์มุสลิมชาวอาหรับ โดยเขาเป็นคนแรกที่สนับสนุนหลักการของกฎหมายอิสลาม (อุศูลุลฟิกฮ์) อัชชาฟิอีเป็นหนึ่งในสี่อิหม่ามที่ยิ่งใหญ่ และเป็นผู้ก่อตั้งสำนักชาฟิอี (หรือมัซฮับ) โดยเขาเคยเป็นนักเรียนดีเด่นของอิหม่ามมาลิก อิบน์ อนัส และปกครองเมืองนาญาร์มาก่อน[5]
ประวัติ[แก้]
ตระกูล[แก้]
อัชชาฟิอีอยู่ในตระกูลบนูมุฏฏอลิบของเผ่ากุเรช ซึ่งเป็นตระกูลพี่สาวของบนูฮาชิม ที่เป็นตระกูลของศาสดามุฮัมมัดและเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์[6]
ชีวิตช่วงต้น[แก้]
เขาเกิดในกาซาบริเวณเขตชุมชนอัสกาลานใน ฮ.ศ.150 (ค.ศ. 767).[7] พ่อของเขาเสียชีวิตตั้งแต่เขายังเป็นเด็ก และแม่ของเขาตัดสินใจย้ายไปที่มักกะฮ์ตอนที่เขาอายุประมาณ 2 ขวบ[6] และเนื่องจากว่าทางตรอบครัวมีฐานะไม่ค่อยดี แม่จึงให้เขาเขียนบนเรียนในกระดูกไหล่แทนกระดาษ[8]
ฝึกเรียนกับอิหม่ามมาลิก[แก้]
อัชชาฟิอีเดินทางไปเรียนกับอิหม่ามมาลิกที่มะดีนะฮ์[6] [9] โดยมีรายงานว่าเขาไปที่นั่นตอนอายุ 13 ปี[7][10] แต่บางรายงานกล่าวว่าเขาไปตอนอายุ 20 ปี[6] จนอิหม่ามมาลิกเสียชีวิตใน ฮ.ศ. 179 (ค.ศ. 795)[6] ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ชอบมุมมองบางอย่างของมาลิกในภายหลัง แต่เขายังคงให้เกียรติแก่อิหม่ามมาลิกว่าเป็น "คุณครู"[7]
เดินทางไปแบกแดดและอียิปต์[แก้]
อัชชาฟิอีเดินทางไปแบกแดดใน ค.ศ. 810 โดยความเป็นอยู่ในฐานะนักกฎหมายได้เติบโตขึ้นอย่างมาก[6] จนเคาะลีฟะฮ์อัลมะมูนได้กล่าวให้เขารับหน้าที่เป็นผู้พิพากษา แต่อิหม่ามชาฟิอีปฏิเสธข้อเสนอนี้.[6]
และใน ค.ศ. 814 เขาตัดสินใจออกจากแบกแดดแล้วไปที่อียิปต์ โดยไม่มีใครรู้ว่าทำไมเขาจึงออกจากแบกแดด แต่ในอียิปต์เขาอาจจะพบครูคนใหม่, ซัยยิดะฮ์ นาฟีซะฮ์ บินต์ อัล-ฮะซันได้สนับสนุนคำสอนของเขา[3][4] และเป็นที่ที่เขาสามารถใช้ชีวิตไปกับการสอนลูกศิษย์[6]
เสียชีวิต[แก้]
มีผู้มีอำนาจคนหนึ่งกล่าวว่า อัชชาฟิอีถูกฆ่าตายโดยผู้สนับสนุนของมาลิกีที่มีชื่อว่าฟิตยาน[11] แต่อย่างไรก็ตาม อัชชาฟิอี เป็นคนที่มีโรคภัยไข้เจ็บขั้นร้ายแรงมาก่อน ซึ่งทำให้ทำให้เขาอ่อนแอและไม่สบายในช่วงสุดท้ายของชีวิต ส่วนสาเหตุการตายนั้นยังไม่ทราบที่แน่ชัด[12]
อัชชาฟิอี เสียชีวิตตอนอายุ 54 ปีในวันที่ 30 เราะญับ ฮ.ศ. 204 (20 มกราคม ค.ศ. 820) ที่เมืองอัล-ฟุสตัด, ประเทศอียิปต์ และถูกฝังในตู้ฝังศพของบนูอับดุลฮากิม ใกล้ภูเขามูคอตตัม.[6] แล้วค่อยสร้าง กุบบะฮ์ (อาหรับ: قُـبَّـة, โดม) ใน ฮ.ศ. 608 (ค.ศ. 1212) โดยสุลต่านอัล-คามิลของราชวงศ์อัยยูบิด และตัวสุสานยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน[13][14]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Imam Ja'afar as Sadiq". History of Islam. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2015-07-21. สืบค้นเมื่อ 2019-03-26.
- ↑ The Origins of Islamic Law: The Qurʼan, the Muwaṭṭaʼ and Madinan ʻAmal, by Yasin Dutton, pg. 16
- ↑ 3.0 3.1 "Nafisa at-Tahira". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2019-06-26. สืบค้นเมื่อ 2019-03-26.
- ↑ 4.0 4.1 Aliyah, Zainab. "Great Women in Islamic History: A Forgotten Legacy". Young Muslim Digest. สืบค้นเมื่อ 18 February 2015.
- ↑ Fadel M. (2008). The True, the Good and the Reasonable: The Theological and Ethical Roots of Public Reason in Islamic Law Archived 2010-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Canadian Journal of Law and Jurisprudence.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 6.8 Khadduri, Majid (2011). Translation of al-Shāfi‘i's Risāla – Treatise on the Foundations of Islamic Jurisprudence. England: Islamic Texts Society. pp. 8, 11–16. ISBN 978 0946621 15 6.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Haddad, Gibril Fouad (2007). The Four Imams and Their Schools. United Kingdom: Muslim Academic Trust. pp. 189, 190, 193. ISBN 1 902350 09 X.
- ↑ Ibn Abi Hatim. Manaaqibush-Shaafi'ee. p. 39.
- ↑ A.C. Brown, Jonathan (2014). Misquoting Muhammad: The Challenge and Choices of Interpreting the Prophet's Legacy. Oneworld Publications. p. 35. ISBN 978-1780744209.
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2012-04-20. สืบค้นเมื่อ 2012-02-23. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help)CS1 maint: archived copy as title (link) - ↑ Khadduri, pp. 15–16 (Translator's Introduction). Khadduri cites for this story Yaqut's Mu‘jam al-Udabā, vol. VI pp. 394–95 (ed. Margoliouth, London: 1931), and Ibn Hajar's Tawālī al-Ta'sīs, p. 86.
- ↑ Khadduri, p. 16 (Translator's Introduction).
- ↑ "Archnet". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2013-12-15. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help) - ↑ "Tour Egypt :: The Mausoleum of Imam al-Shafi".
สารานุกรม[แก้]
- Burton, John (1990). The Sources of Islamic Law: Islamic Theories of Abrogation (PDF). Edinburgh University Press. ISBN 0-7486-0108-2. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2020-01-04. สืบค้นเมื่อ 21 July 2018.
- Ruthven Malise, Islam in the World. 3rd edition Granta Books London 2006 ch. 4
- Majid Khadduri (trans.), "al-Shafi'i's Risala: Treatise on the Foundation of Islamic Jurisprudence". Islamic Texts Society 1961, reprinted 1997. ISBN 0-946621-15-2.
- al-Shafi'i, Muhammad b. Idris,"The Book of the Amalgamation of Knowledge" translated by Aisha Y. Musa in Hadith as Scripture: Discussions on The Authority Of Prophetic Traditions in Islam, New York: Palgrave, 2008
Helal M Abu Taher, Char Imam (Four Imams), Islamic Foundation, Dhaka,1980.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
วิกิคำคมมีคำคมเกี่ยวกับ อัชชาฟิอี |