ซีเอช-47 ชีนุก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก CH-47 Chinook)
ซีเอช-47 ชีนุก
บทบาทเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง
บริษัทผู้ผลิตโบอิง โรเตอร์คราฟท์ ซิสเทมส์
บินครั้งแรก21 กันยายน พ.ศ. 2504
เริ่มใช้พ.ศ. 2505
สถานะประจำการ
ผู้ใช้งานหลักกองทัพบกสหรัฐ
กองกำลังป้องกันตนเองทางบกของญี่ปุ่น
กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์
จำนวนที่ผลิตมากกว่า 1,179 ลำ[1]
มูลค่า10.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2542) [2]
แบบอื่นโบอิง ชีนุก (สหราชอาณาจักร)

ซี-47 ชีนุก (อังกฤษ: CH-47 Chinook) เป็นเฮลิคอปเตอร์ใบพัดเรียงขนาดหนักสองเครื่องยนต์ มันมีความเร็วสูงสุดที่ 315 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเร็วกว่าเฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์หรือเฮลิคอปเตอร์โจมตีในทศวรรษที่ 2503 หรือแม้แต่บางลำในปัจจุบัน บทบาทของมันคือการขนส่งทหาร ปืนใหญ่ และเสบียงเข้าสู่สมรภูมิ มันมีทางลาดด้านท้ายขนาดใหญ่และตะขอแขวนสินค้าอีกสามจุดที่ด้ายนอก

ชีนุกถูกออกแบบและเริ่มผลิตโดยโบอิง เวอร์ทอลเมื่อต้นทศวรรษที่ 2503 ปัจจุบันมันถูกผลิตโดยโบอิง อินเตอร์เกรทเต็ด ดีเฟนซ์ ซิมเทมส์ ชีนุกได้ถูกขายให้กับ 16 ประเทศ ผู้ใช้รายใหญ่ที่สุดคือกองทัพบกสหรัฐและกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรซึ่งใช้โบอิง ชีนุก

การออกแบบและการพัฒนา[แก้]

ในปลายปีพ.ศ. 2499 กระทรวงกองทัพบกได้ประกาศแผนในการหาเฮลิคอปเตอร์เข้ามาแทนที่ซีเอช-37 โมเจฟ ซึ่งใช้เครื่องยนต์ลูกสูบ โดยจะหาลำที่ใช้เครื่องยนต์เทอร์ไบน์เข้ามาแทน การแข่งขันการออกแบบได้เกิดขึ้นและในเดือนกันยายน พ.ศ. 2501 การร่วมกันเลือกของกองทัพบกและกองทัพอากาศก็ทำให้เกิดแนวโน้มในการเลือกเฮลิคอปเตอร์ขนส่งขนาดกลางของเวอร์ทอลให้กับกองทัพบก อย่างไรก็ตามด้วยทุนที่จำกัดในการพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบทำให้การออกแบบเหล่านั้นไม่มากพอต่อความต้องการของกองทัพบก บางคนในกองทัพรู้สึกว่าเฮลิคอปเตอร์แบบใหม่นี้ควรจะเป็นยานพาหนะยุทธวิธีขนาดเบาที่เน้นไปที่บทบาทของเอช-21 และเอช-34 และขนทหารได้ประมาณ 15 นาย อีกปัจจัยหนึ่งเชื่อว่ายานขนส่งแบบใหม่นี้ควรมีขนาดใหญ่กว่าเพื่อที่จะได้ขนปืนใหญ่ได้ ปัญหาเรื่องขนาดเหล่านี้ทำให้ยากในการตัดสินใจ

เวอร์ทอลเริ่มงานกับเฮลิคอปเตอร์ใบพัดเรียงที่ใช้ชื่อว่าเวอร์ทอล โมเดล 107 หรือวี-107 ในปีพ.ศ. 2500[3] ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2501 กองทัพอากาศได้ทำสัญญากับเวอร์ทอลเพื่อสร้างวายเอชซี-1เอขึ้นมา[4] วายเอชซี-1เอถูกทดสอบโดยกองทัพบกเพื่อประเมินข้อมูลด้านกลไลและการปฏิบัติงาน เครื่องบินทั้งสามลำถูกสร้างขึ้นโดยขนทหารได้ 20 นาย อย่างไรก็ดีวายเอชซี-1เอถูกมองว่าหนักเกินไปที่จะใช้สำหรับการโจมตีและเบาเกินไปที่จะทำหน้าที่ขนส่ง การตัดสินใจเกิดขึ้นเพื่อให้เกิดเฮลิคอปเตอร์ขนส่งขนาดหนักและในเวลาเดียวกันก็ทำการพัฒนาฮิวอี้ให้เป็นยานลำเลียงทหารทางยุทธวิธี การตัดสินใจนั้นก็เพื่อคงรูปแบบของปฏิบัติการอากาศยานสำหรับทศวรรษถัดไป ผลที่ตามมาคือแนวคิดปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของกองทัพแตกต่างจากของนาวิกโยธิน เพราะว่ามีความต้องการด้านอุปกรณ์ที่แตกต่างกันในการใช้งาน[5] วายเอชซี-1เอจึงถูกพัฒนาและกลายเป็นซีเอช-46 ซีไนท์สำหรับกองทัพเรือและนาวิกโยธินในปีพ.ศ. 2505

เอชซี-1บีขณะทำการบินทดสอบ

จากนั้นกองทัพได้สั่งซื้อโมเดล 114 ที่ใหญ่กว่าโดยใช้ชื่อว่าเอชซี-1บี วายเอชซี-1บีที่สร้างออกมาก่อนการผลิตทำการบินครั้งแรกในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2504 ในปีพ.ศ. 2505 เอชซี-1บีได้รับชื่อใหม่ว่าซีเอช-47เอ คำว่า"ชีนุก" (Chinook) นั้นมาจากชนเผ่าชีนุกที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแปซิฟิก

ชีนุกมีเครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์สองเครื่องยนต์ ติดตั้งอยู่ที่โคนของใบพัดหลังและเชื่อมติดกันโดยไดรฟท์ชาฟท์ หากเครื่องยนต์เสียไปหนึ่ง อีกเครื่องก็ยังสามารถขับใบพัดทั้งสองต่อไปได้[6]

ขนาดของชีนุกนั้นมาจากการเติบโตของฮิวอี้และช่างเทคนิคของกองทัพบกที่ยืนกรานว่าการโจมตีทางอากาศเป็นสิ่งที่จำเป็น เกิดวิกฤติการโครงการฮิวอี้เมื่อช่างเทคนิคยืนกรานว่าจะไม่ให้มีแบบใหม่ที่เกินไปกว่ายูเอช-1บี ซึ่งนั่นหมายความว่าควรจะมีเฮลิคอปเตอร์แบบใหม่ที่อยู่ระหว่างฮิวอี้และเฮลิคอปเตอร์ขนส่งขนาดกลาง ด้วยการผลักดันฮิวอี้และชีนุก กองทัพได้เร่งโครงการอากาศยานต่อปี[7]

ซีเอช-47 ในการซ้อมรบสงครามพิเศษทางน้ำของสหรัฐที่แหลมเวอร์จิเนีย รัฐเวอร์จิเนีย เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551

ซีเอช-47 ที่ได้รับการพัฒนาและทรงพลังยิ่งขึ้นถูกพัฒนาตั้งแต่มันเข้าประจำการ

ชีนุกสำหรับการตลาด โบอิง-เวอร์ทอล โมเดล 234 ถูกใช้ไปทั่วโลกสำหรับการขนส่ง ก่อสร้าง ดับไฟป่า และการสำรวจปิโตรเลียม ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2549 บริษัทเฮลิคอปเตอร์ของโคลัมเบียได้ซื้อแบบสั่งพิเศษของโมเดล 234 จากเวอร์ทอล[8] ปัจจุบันบริษัทกำลังมองหาใบอนุญาตจากสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติเพื่อผลิตแบบสั่งพิเศษ

ชีนุกยังถูกผลิตภายใต้ใบอนุญาตโดยเอลิคอทเตอร์ริ เมอร์ริดิโอนอลลิในอิตาลีและคาวาซากิในญี่ปุ่น

ประวัติการใช้งาน[แก้]

สงครามเวียดนาม[แก้]

ในที่สุดกองทัพบกก็ได้ชีนุกขนาดใหญ่มาเป็นเฮลิคอปเตอร์ขนส่งขนาดกลางและในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 มีเฮลิคอปเตอร์ 161 ลำถูกส่งมอบให้กับกองทัพ กองพลทหารม้าที่ 1 ของสหรัฐได้นำกองพันชีนุกเข้าร่วมในปีพ.ศ. 2508 และแยกออกมาเป็นกองร้อยในเวลาต่อมา โดยเข้าร่วมในสงครามเวียดนามในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508

ภารกิจส่วนใหญ่ในเวียดนามของชีนุกคือการขนย้ายปืนใหญ่ในภูเขาที่เข้าถึงได้ยาก และคอยเติมเสบียง กองพลทหารม้าที่ 1 พบว่าชีนุกขนได้ไม่เกิน 7 พันปอนด์เมื่อทำงานในเขตภูเขา แต่สามารถบรรทุกเพิ่มได้ 1 พันปอนด์เมื่อทำงานใกล้ชายฝั่ง การออกแบบแรก ๆ ของชีนุกนั้นมีข้อจำกัดเรื่องระบบใบพัดซึ่งไม่สามารถใช้พลังงานได้อย่างเต็มที่ และผู้ใช้ต้องการรุ่นใหม่ที่ดีกว่า

เช่นเดียวกับชิ้นส่วนใหม่ ๆ ชีนุกมีปัญหาในเรื่องของการสอนนักบิน ผู้บัญชาการ นักบิน และหัวหน้าลูกเรือต้องตระหนักเสมอถึงน้ำหนักของทหารในห้องเก็บสินค้า ไม่นานชีนุกก็พิสูจน์ตนเองว่าเหมาะกับการเคลื่อนย้ายปืนใหญ่และเสบียงมากกว่าใช้ลำเลียงทหาร การตัดสินใจช่วงแรก ๆ ที่จะเปลี่ยนไปใช้เฮลิคอปเตอร์ขนาดนี้ฟังดูเป็นสิ่งที่มีเหตุผล[9]

เดิมทีชีนุกมีปืนกลเอ็ม60 ขนาด 7.62 ม.ม.หนึ่งกระบอกที่ข้างใดข้างหนึ่งของลำตัวไว้เพื่อป้องกัน มันมีกรอบเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้พลปืนพลาดยิงโดนใบพัด เครื่องกรองฝุ่นถูกติดตั้งเข้าไปเพื่อเพิ่มเสถียรภาพของเครื่องยนต์ เมื่อถึงจุดสูงสุดในการใช้งานในเวียดนาม ชีนุกก็มีถึง 22 หน่วยที่ใช้ปฏิบัติการ

สงความอิรัก-อิหร่าน[แก้]

หลังจากข้อตกลงระหว่างโบอิงกับอกุสต้าเกิดขึ้น กองทัพอากาศจักรวรรดิอิหร่านก็ได้ซื้อซีเอช-47ซี 20 ลำในปีพ.ศ. 2514 กองทัพบกจักรวรรดิอิหร่านได้ซื้อซีเอช-47ซี 70 ลำจากอกุสต้าในช่วงปีพ.ศ. 2515–2519 ในปลายปีพ.ศ. 2521 อิหร่านได้วางแผนที่จะสั่งซื้อเพิ่มอีก 50 ลำ แต่ก็ถูกยกเลิกไปเพราะเกิดการปฏิวัติขึ้นเสียก่อน

ประมาณวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 ซีเอช-47ซี 4 ลำของอิหร่านได้เจาะทะลุเข้าไปในน่านฟ้าของโซเวียตเป็นระยะ 15–20 กิโลเมตรในเขตทหารของเติร์กเมนิสถาน พวกมันถูกสกัดกั้นโดยมิก-23 เอ็ม แต่หนึ่งลำถูกยิงตก ลูกเรือ 8 คนเสียชีวิต และลำที่สองถูกบังคับให้ลงจอด ชีนุกถูกใช้โดยกองกำลังผู้ภักดีของจักรวรรดิอิหร่าน ในความพยายามเพื่อต่อต้านการปฏิวัติอิหร่านซึ่งเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2522[10]

อิหร่านเสียชีนุกไปอย่างน้อย 8 ลำในช่วงปีพ.ศ. 2523–2531 ขณะทำสงครามกับอิรัก ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 เครื่องมิราจ เอฟ-1 ของอิรักได้ยิงซีเอช-47 ของอิหร่านตก 3 ลำในขณะที่พวกเขาบินในระดับต่ำเพื่อส่งทหารเข้าไปในแนวหน้า

สงครามฟอล์กแลนด์[แก้]

ชีนุกถูกใช้โดยอาร์เจนตินาและสหราชอาณาจักรในสงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์เมื่อปีพ.ศ. 2525 กองทัพอากาศอาร์เจนตินาและกองทัพบกอาร์เจนตินาใช้ซีเอช-47ซี 4 ลำซึ่งทำงานทั่วไป ลำหนึ่งของกองทัพบกถูกทำลายขณะจอดโดยแฮริเออร์และอีกลำถูกยึดโดยอังกฤษ ทั้สองลำถูกคืนให้กับอาร์เจนตินาและประจำการอยู่จนถึงปีพ.ศ. 2545[11]

อิรักและอัฟกานิสถาน[แก้]

มีซีเอช-47ดีประมาณ 163 ลำทำหน้าที่ในคูเวตและอิรักในปฏิบัติการดีเซิร์ทชีลด์และพายุทะเลทรายใรปีพ.ศ. 2533-2534[12]

ปัจจุบันซีเอช-47ดีถูกใช้บ่อยครั้งในปฏิบัติการเอ็นดัวริ่งฟรีดอมในอัฟกานิสถานและปฏิบัติการปลดปล่อยอิรักในอิรัก ชีนุกถูกใช้ในภารกิจโจมตีทางอากาศ ส่งทหารเข้าฐานยิ่ง และส่งเสบียง มันยังทำหน้าที่ในการส่งคนเจ็บทางอากาศให้กับกองทัพอังกฤษอีกด้วย มันมักได้รับการคุ้มกันจากเฮลิคอปเตอร์โจมตีอย่างเอเอช-64 อาพาชี่ ซีเอช-47ดีมักมีประโยชน์ในบริเวณภูเขาของอัฟกานิสถานซึ่งความสูงและอุณหภูมิเป็นขีดจำกัดของยูเอช-60 แบล็กฮอว์ก

ชีนุกของฮอลแลนด์ถูกใช้ในคอซอวอ อิรัก และซีเอช-47ดีจำนวนมากถูกส่งเข้าไปในอัฟกานิสถาน ทางของออสเตรเลียก็มีส่วนร่วมในอัฟกานิสถานเช่นกัน

รุ่นต่าง ๆ[แก้]

ซีเอช-47เอ[แก้]

เดิมทีเป็นรุ่นขนาดกลางที่มีเครื่องยนต์ไลคอมมิ่ง ที55-แอล-5 ที่ให้กำลัง 2,200 แรงม้า แต่ถูกแทนที่ด้วยที-55-แอล-7 ที่ให้กำลัง 2,650 แรงม้าหรือที-55-แอล-7ซีที่ให้กำลัง 2,850 แรงม้าแทน ซีเอช-47เอถูกใช้ในกองทัพสหรัฐเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2505 โดยสร้างออกมาทั้งสิ้น 349 ลำ

เอซีเอช-47เอ[แก้]

เดิมทีรู้จักกันในชื่อ Armed/Armored CH-47A มันได้รับชื่ออย่างเป็นทางการว่าเอซีเอช-47เอโดยกองทัพสหรัฐ ย่อมาจาก Attack Cargo Helicopter (เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงโจมตี) มีซีเอช-47เอสี่ลำที่ถูกดัดแปลงให้เป็นรุ่นดังกล่าวโดยบริษัทโบอิงเวอร์ทอลเมื่อปีพ.ศ. 2508 มีสามลำที่ถูกส่งเข้ากองทัพเพื่อทำการทดสอบในเวียดนาม โดยอีกหนึ่งลำถูกนำไปทดสอบด้านอาวุธในสหรัฐ ในปีพ.ศ. 2511 มันก็เหลือเพียงหนึ่งลำและต่อมาโครงการก็ถูกยกเลิกไป

เอซีเอช-47เอมีปืนกลเอ็ม60ดีขนาด 7.62x51 ม.ม.หรือเอ็ม-2เอชบี ขนาด .50 คาลิเบอร์ ปืนใหญ่อากาศเอ็ม24เอ1 ขนาด 20 ม.ม.สองกระบอก เครื่องยิงจรวดมาร์ก 4 เก้าท่อสองเครื่องหรือกระเปาะปืนเอ็ม18เอ1 ขนาด 7.62x51 ม.ม.สองกระเปาะ และปืนยิงลูกระเบิดเอ็ม75 ขนาด 40 ม.ม.หนึ่งกระบอก ลำสุดท้ายที่เหลืออยู่ถูกนำไปแสดงในคลังแสงเรดสโตนในรัฐแอลละบามา[13][14][15]

ซีเอช-47บี[แก้]

เป็นรุ่นแก้ไขในขณะที่ทางโบอิงกำลังทำการพัฒนารุ่นซีขึ้นมา รุ่นบีมีเครื่องยนต์ไลคอมมิ่ง ที55-แอล-7ซีที่ให้กำลัง 2,850 แรงม้าสองเครื่องยนต์ มันมีจุดเด่นที่ใบพัดส่วนหลังและลำตัว มันสามารถติดตั้งปืนกลเอ็ม60ดีไว้ที่ทั้งสองประตูและที่ทางลาดท้ายลำได้อีกด้วย บางลำมีแก๊สน้ำตาหรือนาปาล์ม รุ่นบีสามารถติดตั้งรอกและตะขอได้ ชีนุกได้พิสูจน์ว่ามีประโยชน์ในการขนย้ายอากาศยาน มันได้ช่วยเครื่องบินไว้ 12,000 ลำคิดเป็นมูลค่า 3,600 ล้านดอลลาร์ในสงคราม พวกมันถูกผลิตออกมา 108 ลำ

ซีเอช-47ซี[แก้]

รุ่นซีมีเครื่องยนต์และระบบส่งกำลังที่ทรงพลังกว่า[16] มันถูกสร้างออกมาสามลำ ลำแรกใช้เครื่องยนต์ไลคอมมิ่ง ที55-แอล-7ซีที่ให้กำลัง 2,850 แรงม้า รุ่นซูเปอร์ซีใช้เครื่องยนต์ไลคอมมิ่ง ที55-แอล-11 ที่ให้กำลัง 3,750 แรงม้าและมีน้ำหนักรวม 21,000 กิโลกรัมรวมทั้งระบบเพิ่มความเสถียร เนื่องมาจากความยุ่งยากของเครื่องยนต์ ที55-แอล-11 ซึ่งถูกรีบนำเข้าสงคราม พวกมันจึงถูกนำออกชั่วคราวในปีพ.ศ. 2513 และแทนที่ด้วยที55-แอล-7ซีแทนจนกระทั่งเครื่องยนต์แบบเดิมถูกแก้ไข รุ่นเอ บี และซีนั้นไม่ได้รับการรับรองจากสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติให้พลเรือนใช้งานเพราะการทำงานของระบบเพิ่มกำลังไฮดรอลิก ระบบที่ถูกออกแบบใหม่ถูกใส่เข้าไปในรุ่นดีจนได้รับการรับรองและมีชื่อว่าโบอิง โมเดล 243 รุ่นซีถูกสร้างออกมา 233 ลำ

รุ่นเอ บี และซีถูกใช้อย่างกว้างขวางในสงครามเวียดนาม พวกมันเข้ามาแทนที่เอช-21 ชอว์นีในบทบาทเข้าสนับสนุนการโจมตี

กองทัพอากาศอังกฤษมีรุ่นซีที่เรียกว่าชีนุก เอชซี1 รุ่นส่งออกของรุ่นซีของอิตาลีมีชื่อว่าซีเอช-47ซี พลัส

ซีเอช-64ดี[แก้]

ซีเอช-64ดีเดิมทีใช้เครื่องยนต์ที55-แอล-712 สองเครื่องยนต์ แต่ส่วนใหญ่ในปัจจุบันหันมาใช้ที55-จีเอ-714เอแทน รุ่นเอ บี และซีทั้งหมดใช้โครงสร้างเหมือนกันหมด แต่ในรุ่นต่อ ๆ มาจะมีจุดเด่นที่เครื่องยนต์ ด้วยระบบตะขอสินค้าของมัน รุ่นดีจึงสามารถบรรทุกสินค้าภายในได้ถึง 26,000 ปอนด์ เช่น รถไถและตู้สินค้าขนาด 40 ฟุต รุ่นดีถูกนำมาใช้ครั้งแรกในปีพ.ศ. 2522 ในปฏิบัติการจู่โจมทางอากาศมันมักทำหน้าที่เป็นพาหนะลำเลียงปืนใหญ่เอ็ม198 ฮาวไอเซอร์ ขนาด 155 ม.ม.พร้อมกระสุนอีก 30 นัด และลูกเรืออีก 11 นาย นอกจากนี้มันยังมีระบบจีพีเอสอีกด้วย

รุ่นดีของกองทัพบกเกือบทั้งหมดถูกดัดแปลงมาจากรุ่นเอ บี และซี ซึ่งมีทั้งสิ้น 472 ลำที่ถูกดัดแปลงเป็นรุ่นดี รุ่นดีลำสุดท้ายถูกส่งมอบให้กับกองกำลังสำรองสหรัฐในรัฐเท็กซัสเมื่อต้นปีพ.ศ. 2545[17]

กองทัพอากาศอังกฤษมีรุ่นดีที่เรียกว่าชีนุก เอชซี2 และเอชซี2เอ รุ่นเอสดีเป็นรุ่นดัดแปลงของรุ่นดีโดยมีถังเชื้อเพลิงใหญ่ขึ้นและความจุสินค้าที่มากกว่าเดิม มันถูกใช้โดยกองทัพอากาศสาธารณรัฐสิงคโปร์ กองทัพบกกรีซ และสาธารณรัฐประชาชนจีน รุ่นดีจีเป็นรุ่นพัฒนาของรุ่นซีสำหรับกองทัพกรีซ

เอ็มเอช-47ดี[แก้]

เอ็มเอช-47ดีของสหรัฐที่กำลังรับยาในอัฟกานิสถาน

เอ็มเอช-47ดีถูกพัฒนาขึ้นสำหรับหน่วยรบพิเศษและสามารถเติมเชื้อเพลิงทางอากาศได้ มันมีระบบโรยตัวและการพัฒนาอื่น ๆ เอ็มเอช-47ดีถูกใช้โดยกองบินปฏิบัติการพิเศษที่ 160 ของสหรัฐ มีเอ็มเอช-47ดี 12 ลำที่ถูกสร้างขึ้นมา มีหกลำที่ดัดแปลงมาจากรุ่นเอและอีกหกลำดัดแปลงมาจากรุ่นซี.[18]

เอ็มเอช-47อี[แก้]

เป็นรุ่นที่ปัจจุบันใช้โดยกองกำลังพิเศษของสหรัฐ มันเริ่มจากต้นแบบที่ผลิตออกมาในปีพ.ศ. 2534 โดยมีเพียง 26 ลำเท่านั้น ทั้งหมดถูกส่งมอบให้กับหน่วยพิเศษที่เรียกว่า"ไนท์สตอลเกอร์ส" (Nightstalkers) ซึ่งตั้งฐานอยู่ที่ป้อมแคมป์เบลล์ในรัฐเคนตักกี้ รุ่นอีถูกดัดแปลงมาจากรุ่นซี เอ็มเอช-47อีนั้นมีความคล้ายคลึงกับเอ็มเอช-47ดี แต่ต่างกันที่มันมีถังเชื้อเพลิงที่เหมือนกับซีเอช-47เอสดีและมีเรดาร์หลบหลีกภูมิประเทศ[19]

ใรปีพ.ศ. 2538 กองทัพอากาศอังกฤษได้สั่งซื้อชีนุก เอชซี3 8 ลำ มันเป็นรุ่นที่มีราคาถูกกว่าเอ็มเอช-47อีสำหรับปฏิบัติการพิเศษ พวกมันถูกส่งมอบในปีพ.ศ. 2544 แต่ไม่เคยเข้าประจำการเนื่องมาจากปัญหาเรื่องระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศที่ไม่เหมาะสม ในปีพ.ศ. 2551 เริ่มมีการลดระดับเอชซี3 ลงให้เป็นเอชซี2 ทำให้พวกมันเข้าประจำการได้ในที่สุด[20]

ซีเอช-47เอฟ[แก้]

รุ่นเอฟนั้นพัฒนามาจากรุ่นดีโดยทำการบินครั้งแรกในปีพ.ศ. 2544 รุ่นแรกในสายการผลิตเปิดตัวในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ที่โรงงานโบอิงในรัฐเพนซิลวาเนียโดยทำการบินครั้งแรกในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2549[21] รุ่นเอฟถูกออกแบบมาให้มีอายุการใช้งานที่มากขึ้นไปจนถึงปีพ.ศ. 2573 ในการพัฒนาทั้งหมดมีเครื่องยนต์ฮันนีเวลล์ที่ให้กำลัง 4,868 แรงม้า ระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศ และโครงสร้างที่เป็นเนื้อเดียวกันเพื่อลดชิ้นส่วนและรวดเร็วขึ้น[22] การสร้างแบบใหม่จะช่วยลดการสั่นสะเทือน จุดเชื่อมต่อที่หลุดได้ และลดการซ่อมแซมและค่าใช้จ่ายการดูแลรักษา นอกจากนี้แล้วมันยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นอีกด้วย[23] รุ่นเอฟสามารถบินที่ความเร็วมากกว่า 282 กิโลเมตรต่อชั่วโมงโดยบรรทุกสินค้ามากกว่า 9,530 กิโลกรัมได้[24] ระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศยังรวมทั้งห้องนักบินซีเอเอเอส (Common Avionics Architecture System) ของร็อกเวลล์ คอลลินส์และระบบดีเอเอฟซีเอส (Digital Advanced Flight Control System) ของบีเออี ซิสเทมส์[22]

โบอิงได้ส่งมอบรุ่นเอฟจำนวน 48 ลำให้กับกองทัพบกสหรัฐ ในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551 โบอิงได้ประกาศว่ากองทัพได้ทำสัญญา 5 ปี โดยมีมูลค่า 4,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสร้างเพิ่มอีก 191 ลำพร้อมกับอีก 24 ทางเลือก[24] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 เนเธอร์แลนด์ได้กลายเป็นลูกค้าต่างชาติรายแรกที่สั่งซื้อรุ่นเอฟ 6 ลำโดยต่อมาเพิ่มขึ้นเป็น 17 ลำ 6 ลำนี้จะได้รับการติดตั้งห้องนักบินซีเอเอเอสของร็อกเวลล์ด้วยเช่นกัน[25] ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552 รัฐบาลอังกฤษได้ประกาศว่าแผนการเฮลิคอปเตอร์ในอนาคตของพวกเขาจะทำการสั่งซื้อซีเอช-47เอฟ 24 ลำ (ต่อมาลดลงเหลือ 14 ลำ) โดยมีการส่งมอบลำสุดท้ายให้กับกองทัพอากาศในปี พ.ศ. 2558[26]

เอ็มเอช-47จี[แก้]

เอ็มเอช-47จีในงานเปิดตัวของโบอิงเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

ปัจจุบันเอ็มเอช-47จีกำลังถูกส่งมอบให้กับกองทัพบกสหรัฐ มันคล้ายคลึงกับเอ็มเอช-47อี แต่มีจุดเด่นที่ระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศที่ซับซ้อนกว่าซึ่งรวมทั้งระบบสถาปนิกอิเล็กทรอนิกส์อากาศทั่วไปหรือซีเอเอเอส (Common Avionics Architecture System, CAAS) ระบบซีเอเอเอสเป็นห้องนักบินแก้วแบบทั่วไปที่ใช้ในเฮลิคอปเตอร์มากมายอย่างเอ็มเอช-60เค/แอลและเออาร์เอช-70เอ[27] เอ็มเอช-47จียังจะทำงานร่วมกับระบบใหม่ทั้งหมดของซีเอช-47เอฟอีกด้วย[28]

มันมีพื้นฐานมาจากประสบการณ์ในอัฟกานิสถาน ซีเอช-47 นั้นถูกพบว่ามีประสิทธิภาพมากกว่ายูเอช-60 แบล็กฮอว์กในฐานะเฮลิคอปเตอร์จู่โจม ด้วยขนาดบรรทุก พิสัย และความเร็วที่มากกว่า ชีนุกหนึ่งลำจึงสามารถเข้ามาแทนที่ยูเอช-60 ได้ถึง 5 ลำในบทบาทเดียวกัน[29]

โครงการพัฒนาใหม่จะเข้ามาทำการพัฒนาเอ็มเอช-47ดีและเอ็มเอช-47อีให้กลายเป็นเอ็มเอช-47จีแทน เอ็มเอช-47อีทั้งหมด 25 ลำและเอ็มเอช-47ดีอีก 11 ลำจะได้รับการพัฒนาในปลายปีพ.ศ. 2546 ในปีพ.ศ. 2545 กองทัพได้ประกาศว่าจะทำการขยายกองบินปฏิบัติการพิเศษของตน ซึ่งจะเพิ่มเอ็มเอช-47จีเข้าไปอีก 12 ลำ[30]

เอชเอช-47[แก้]

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เอชเอช-47 แบบใหม่ที่มีพื้นฐานมาจากเอ็มเอช-47จี ได้ถูกเลือกโดยกองทัพอากาศสหรัฐ มันถูกสร้างออกมา 4 ลำ โดยแบบผลิตอีก 141 ลำจะเข้าประจำการในปีพ.ศ. 2555[31][32] อย่างไรก็ดีเมื่อถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 สัญญาดังกล่าวก็ถูกจัดการโดยจีเอโอและทำให้กองทัพอากาศต้องทำการเลือกใหม่อีกครั้ง[33]

รุ่นส่งออก[แก้]

ซีเอช-47เจเป็นเฮลิคอปเตอร์บรรทุกขนาดกลางของกองกำลังป้องกันตนเองทางบกและกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่น ซีเอช-47เจเอเป็นรุ่นพิสัยไกลของรุ่นเจ โดยมีถังเชื้อเพลิงที่ใหญ่กว่า ทั้งสองรุ่นถูกสร้างขึ้นภายใต้ใบอนุญาตโดยคาวาซากิ เอชเอช-47ดีเป็นรุ่นสำหรับการค้นหาและช่วยเหลือของกองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี

ซีเอช-47ซี ชีนุกแปดลำถูกส่งมอบให้กับกองทัพแคนาดาในปีพ.ศ. 2517 ชีนุกถูกใช้โดยแคนาดาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2517-2534 พวกมันถูกเรียกว่า"ซีเอช-147" เฮลิคอปเตอร์เหล่านี้ต่อมาได้ถูกขายให้กับเนเธอร์แลนด์และปัจจุบันมันถูกใช้งานโดยกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์โดยใช้ชื่อว่าซีเอช-47ดี ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 รัฐบาลออสเตรเลียได้เรียกขอการซื้อซีเอช-47เอฟเจ็ดลำ[34] มีการคาดว่าอิตาลีและสหราชอาณาจักรจะสั่งซื้อเพิ่ม แผนในการพัฒนากองบินซีเอช-47ดีในปัจจุบันทั้งหมดให้กลายเป็นรุ่นเอฟได้เกิดขึ้น และสุดท้ายทำให้มีทั้งหมด 20 ลำ

ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552 แคนาดาได้ทำสัญญาที่จะซื้อซีเอช-47เอฟ 15 ลำโดยทำการส่งมอบในปีพ.ศ. 2556-2557.[35][36]

รุ่นพลเรือน[แก้]

  • โมเดล 234แอลอาร์ (พิสัยไกล) - เป็นเฮลิคอปเตอร์บรรทุกทางการตลาด 234แอลอาร์สามารถทำหน้าที่ได้หลายอย่าง เช่น บรรทุกผู้โดยสารอย่างเดียว บรรทุกสินค้าอย่างเดียว หรือบรรทุกทั้งผู้โดยสารและสินค้า (LR ย่อมาจาก Long Range)
  • โมเดล 234อีอาร์ (เพิ่มพิสัย) - เป็นเฮลิคอปเตอร์บรรทุกทางการตลาด (ER ย่อมาจาก Extended Range)
  • โมเดล เอ็มแอลอาร์ (หลากบทบาทพิสัยไกล) - เป็นเฮลิคอปเตอร์บรรทุกทางการตลาด (MLR ย่อมาจาก Multi Purpose Long Range)
  • โมเดล 234ยูที (ยานขนส่งอเนกประสงค์) -เฮลิคอปเตอร์บรรทุกอเนกประสงค์ (UT ย่อมาจาก Utility Transport)
  • โมเดล 414 - เป็นรุ่นส่งออกของซีเอช-47ดี มันมีอีกชื่อหนึ่งว่าซีเอช-47ดี อินเตอร์เนชั่นแนล ชีนุก (อังกฤษ: CH-47D International Chinook)

แบบดัดแปลง[แก้]

ในปีพ.ศ. 2512 มีการทดลองโมเดล 347 เกิดขึ้น มันคือซีเอช-47เอที่มีลำตัวที่ยาวขึ้น ใบพัดสี่ใบ ปีกที่สามารถถอดออกได้ที่ติดตั้งอยู่ที่ส่วนบนของลำตัว และอื่น ๆ มันทำการบินครั้งแรกในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 และถูกพัฒนาต่ออีกหลายปี[37]

ในปีพ.ศ. 2516 กองทัพได้ทำสัญญากับโบอิงเพื่ออกแบบเฮลิคอปเตอร์ยกของขนาดหนัก โดยใช้ชื่อว่าเอ็กซ์ซีเอช-62เอ มันเป็นซีเอช-47 ที่ใหญ่กว่าเดิมและมีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับเอส-64 สกายเครน (ซีเอช-54 ทาร์ฮี) แต่โครงการก็ถูกยกเลิกในปีพ.ศ. 2518 โครงการเริ่มขึ้นอีกครั้งและทำการบินทดสอบในทศวรรษที่ 2523 แต่ก็ไม่ได้รับทุนจากสภาคองเกรสเหมือนเดิม[37] เอชแอลเอชที่มีขนาดใหญ่ขึ้นถูกแยกชิ้นส่วนเมื่อสิ้นปีพ.ศ. 2548[38]

ประเทศผู้ใช้งาน[แก้]

กองทัพ[แก้]

ซีเอช-47 ที่กำลังยกเอฟ-15 เข้าสู่สถานที่ฝึกในฐานทัพอากาศครีก

พลเรือน[แก้]

ซีเอช-47บีของนาซ่าที่ใช้เพื่อทำการทดสอบระบบการบิน
ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา
 สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
  • องค์กรป้องกันไฟแห่งชาติไต้หวัน (ปัจจุบันใช้รุ่น 234 สามลำและซีเอช-47เอสดีเก้าลำ)
 สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • สถาบันการบนพลเรือนจีน (อังกฤษ: Civil Aviation Administration of China) [40]
ธงของประเทศเอกวาดอร์ เอกวาดอร์
ธงของประเทศนอร์เวย์ นอร์เวย์
 สหราชอาณาจักร
 สหรัฐ

อุบัติเหตุและเหตุการณ์สำคัญ[แก้]

  • ในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2525 เหตุเกิดที่งานแสดงทางอากาศในเยอรมนี ชีนุกของกองทัพสหรัฐลำหนึ่ง (หมายเลข 74-22292) ซึ่งลำเลียงพลร่มได้ตกลง มีผู้เสียชีวิต 46 ราย ต่อมาพบว่าสาเหตุมาจากการสะสมของเปลือกผลวอลนัทที่ถูกใช้เพื่อทำความสะอาดเครื่องยนต์[42][43][44]
  • ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 ชีนุกของบริติช อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลิคอปเตอร์สได้ตกลงในสนามบินซัมเบอร์บนเกาะเชทแลนด์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 45 รายและชีนุกถูกถอนออกจากการให้บริการในทะเลเหนือ[45]
  • ผู้พันมารี เธเรส รอสซี เคย์ตัน (อังกฤษ: Marie Therese Rossi Cayton) เป็นหญิงอเมริกันคนแรกที่ได้บินเข้าทำการรบในปฏิบัติการพายุทะเลทรายในปีพ.ศ. 2534 เธอถูกสังหารเมื่อชีนุกของเธอตกในวันที่ 1มีนาคม พ.ศ. 2534[46]
  • ในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 ซีเอช-47ดีของกองทัพเกาหลีใต้ได้ทำการติดตั้งรูปปั้นบนสะพานในโซล พวกเขาล้มเหลวในการปลดตะขอจากรูปปั้น ทำให้ใบพัดฟันเข้ากับอนุสาวรีย์จนทำให้ลำตัวของเครื่องชน เฮลิคอปเตอร์ขาดออกเป็นสองท่อน ครึ่งหนึ่งตกลงบนสะพานจนเกิดเพลิงลุกไหม้และอีกครึ่งตกลงสู่แม่น้ำ ลูกเรือทั้งสามคนเสียชีวิต[47]

รายละเอียดของซีเอช-47ดี[แก้]

เครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์ของซีเอช-47
  • ลูกเรือ 3 นาย (นักบิน นักบินผู้ช่วย วิศวกรการบิน)
  • ความจุ
    • ทหาร 33-35 นาย หรือ
    • เปลหาม 24 เตียงและผู้ดูแล 3 คน หรือ
    • สินค้าน้ำหนัก 12,700 กิโลกรัม
  • ความยาว 30.1 เมตร *
  • เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัด 18.3 เมตร
  • ความสูง 5.7 เมตร
  • พื้นที่ใบพัดหมุน 260 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 10,185 กิโลกรัม
  • น้ำหนักพร้อมอาวุธ 12,100 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 22,680 กิโลกรัม
  • ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์ไลคอมมิ่ง ที55-จีเอ-712 2 เครื่องยนต์ ให้กำลังเครื่องละ 3,750 แรงม้า
  • ความเร็วสูงสุด 315 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • ความเร็วประหยัด 220 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พิสัย 741 กิโลเมตร
  • ระยะในการขนส่ง 2,252 กิโลเมตร
  • เพดานบินทำการ 18,500 ฟุต
  • อัตราการไต่ระดับ 1,522 ฟุตต่อนาที
  • อาวุธ
  • ระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศ
    • ร็อกเวลล์ ซีเอเอเอส (ในเอ็มเอช-47จีและซีเอช-47เอฟ)

ดูเพิ่ม[แก้]

เหล่าทหารที่กำลังรอชีนุกสองลำมารับในอัฟกานิสถาน ปีพ.ศ. 2551
การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
อากาศยานที่เทียบเท่า

อ้างอิง[แก้]

  1. CH-47D/F Chinook page, Boeing
  2. CH-47/MH-47 Chinook Helicopter. About.com - CH-47/MH-47 Chinook Helicopter
  3. Origins: Vertol V-107 & V-114, Vectorsite.net, July 1, 2004.
  4. Spenser, Jay P. Whirlybirds, A History of the U.S. Helicopter Pioneers. University of Washington Press, 1998. ISBN 0-295-97699-3.
  5. "Vietnam Studies, Airmobility 1961-1971". Department of the Army. 1989. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (.html)เมื่อ 2008-12-04. สืบค้นเมื่อ 2008-11-13.
  6. Chinook Information and diagrams about the transmission system
  7. "Vietnam Studies, Airmobility 1961-1971". Department of the Army. 1989. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-04. สืบค้นเมื่อ 2008-11-13.
  8. "Type Certificate Data Sheet No. H9EA" (PDF). Federal Aviation Administration. January 17, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (.pdf)เมื่อ 2007-06-14. สืบค้นเมื่อ 2007-02-08.
  9. "Vietnam Studies, Airmobility 1961-1971". Department of the Army. 1989. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (.html)เมื่อ 2008-12-04. สืบค้นเมื่อ 2008-11-13.
  10. "Iranian troops smash four-day siege by Kurds". Lakeland Ledger. 27 August 1979.
  11. boeing-vertol CH-47C Chinook in argentina comando de aviacion de ejercito argentino
  12. "CH-47D/MH-47E Chinook". Army Technology. SPG Media Limited. 2006. สืบค้นเมื่อ 2006-08-27.
  13. [1]. Vectorsite.net
  14. Guns a Go-Go. gunsagogo.org
  15. Guns a Go-Go. chinook-helicopter.com
  16. US Army CH-47A / CH-47B / CH-47C / CH-47D / SOA Chinooks. Vectorsite.net, 1 July 2004.
  17. Boeing CH-47D model Chinook helicopters. chinook-helicopter.com
  18. Boeing MH-47D model Chinook helicopters. chinook-helicopter.com
  19. Boeing MH-47E model Chinook helicopters. chinook-helicopter.com
  20. Hoyle, Craig (2008-06-06). "UK starts Chinook HC3 'reversion' work, amid criticism". Flight International. สืบค้นเมื่อ 2009-01-19.
  21. "New Boeing CH-47F takes flight", Aerotech News and Review, November 3, 2006, p. 3.
  22. 22.0 22.1 "Boeing's New CH-47F Chinook Helicopter Begins Operational Test Flights with U.S. Army", Boeing, February 19, 2007.
  23. Holcomb, Henry, "New Look Chinook", Philadelphia Inquirer, August 17, 2007. archive link
  24. 24.0 24.1 "Boeing Awarded US Army Contract for 191 CH-47F Chinook Helicopters", Boeing, August 26, 2008.
  25. "Boeing Signs Contract for Dutch Chinooks", Boeing, February 15, 2007.
  26. "Final new-build Chinook HC6s delivered to UK RAF". Flight Global. 10 December 2015.
  27. Warwick, Graham. "Chinook: CAAS unites rotorcraft cockpits". Flight International, 1 April 2008.
  28. MH-47E/G Special Operations Chinook product page. Boeing.
  29. Air Transportation: Chinook Replaces Blackhawk in Combat
  30. http://www.globalsecurity.org/military/systems/aircraft/mh-47g.htm
  31. "Boeing Awarded U.S. Air Force Combat Search and Rescue Contract". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-14. สืบค้นเมื่อ 2010-01-03.
  32. "HH-47 Combat Search and Rescue (CSAR-X)". Global Security.org.
  33. "Bowing To GAO, USAF Likely To Recompete CSAR-X". Aviation Week. 28 February 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2012.
  34. "Australia - CH-47F Chinook Helicopters" เก็บถาวร 2010-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. DSCA, 23 April 2009.
  35. "Boeing Receives $1.15B Contract for 15 Canadian Chinooks, Announces Matching Reinvestment in Industry". สืบค้นเมื่อ 2009-08-11.
  36. "Chinooks will fly too late for Afghanistan".
  37. 37.0 37.1 Goebel, Greg. "ACH-47A Gunship / Model 347 / XCH-62 HLH (Model 301) / Model 360". Vectorsite.net, 1 December 2009.
  38. "XCH-62 with photo". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-13. สืบค้นเมื่อ 2010-01-03.
  39. Canadian military acquiring new helicopters, drones
  40. Boeing: History - Products - Boeing Model 234 Chinook
  41. SP-3300 Flight Research at Ames, 1940-1997
  42. Description of crash of Chinook 74-22292, Chinook-helicopter.com.
  43. Air show safety in the spotlight, BBC, 27 July 2002.
  44. "Ursula J. Schoenborn v. The Boeing Company, 769 F.2d 115 (3d Cir. 1985) - a case in the U.S. Court of Appeals for the Third Circuit". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-01. สืบค้นเมื่อ 2010-01-07.
  45. Report No: 2/1988. Report on the accident to Boeing Vertol (BV) 234 LR, G-BWFC 2.5 miles east of Sumburgh, Shetland Isles, 6 November 1986
  46. "Marie Therese Rossi Cayton" Arlington National Cemetery Website
  47. "S. Korean Helicopter Crashes Into Bridge, 3 Killed". People's Daily, 30 May 2001. archive page on Google.com

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]