นกยางกรอกพันธุ์อินเดีย
นกยางกรอกพันธุ์อินเดีย (Indian pond heron) | |
---|---|
ขนนกนอกฤดูสืบพันธุ์ (อินเดีย) | |
ขนนกช่วงฤดูสืบพันธุ์ (อินเดีย) | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์ปีก Aves |
อันดับ: | นกกระทุง Pelecaniformes |
วงศ์: | วงศ์นกยาง Ardeidae |
สกุล: | Ardeola Ardeola (Sykes, 1832) |
สปีชีส์: | Ardeola grayii |
ชื่อทวินาม | |
Ardeola grayii (Sykes, 1832) | |
การกระจายตัวของ A. grayii เทียบกับนกที่ใกล้เคียงกับมันมากที่สุด | |
ชื่อพ้อง | |
Ardeola leucoptera |
นกยางกรอกพันธุ์อินเดีย[2] (อังกฤษ: Indian pond heron, paddybird, ชื่อวิทยาศาสตร์: Ardeola grayii) เป็นนกพันธุ์หนึ่งในวงศ์นกยาง (Ardeidae) วิวัฒนาการขึ้นในโลกเก่า เขตสืบพันธุ์เริ่มตั้งแต่อิหร่านใต้ไปทางตะวันออกจนถึงปากีสถาน อินเดีย พม่า บังกลาเทศ และศรีลังกา อยู่ในเขตที่กว้างขวาง เป็นนกสามัญ มักจะมองไม่เห็นเมื่อกำลังย่องล่าเหยื่อตามบริเวณหนองน้ำ หรือแม้เมื่อพักใกล้ ๆ ที่อยู่มนุษย์ แต่จะมองเห็นได้ชัดเมื่อบินเพราะปีกขาวสด ไม่เหมือนกับสีเขียวเข้มปนเหลืองและสีน้ำตาลโดยเป็นลาย ๆ ของร่างกายที่มองเห็นได้ยาก สีพรางตัวเช่นนี้ได้ผลมากจนกระทั่งว่านกปล่อยให้เข้าไปใกล้ ๆ ก่อนจะบินหนี เป็นพฤติกรรมที่ทำให้ได้ชื่อกับความเชื่อท้องถิ่นว่า นกสายตาสั้นหรือตาบอด[3][4] ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก[2]
รายละเอียด
[แก้]นกปรากฏว่าอ้วนเตี้ย คอสั้น ปากหนาสั้น มีหลังเหลืองปนน้ำตาล ในฤดูผสมพันธุ์ นกโตแล้วจะมีขนคอยาว หัวและคอสีเหลือง หลังสีแดงเข้ม อกสีน้ำตาลเหลือง[5] นกเหมือนจะเปลี่ยนไปจากสีทื่อ ๆ เมื่อบิน เพราะสีขาวสดของปีกทำให้เห็นได้ชัด มันคล้ายกับนกสกุลเดียวกันอีกอย่างหนึ่ง คือ squacco heron (Ardeola ralloides) มาก แต่หลังมีสีเข้มกว่า ทางด้านตะวันออกจากแหล่งที่มันอยู่ จะพบนกยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) แทน และทางทิศใต้ นกยางกรอกพันธุ์ชวา (Ardeola speciosa)
ในฤดูผสมพันธุ์ มีผู้พบนกรายตัวที่มีขาแดง แต่จำนวนนกที่มีไม่ได้แสดงว่า นี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ปกติสำหรับนกในฤดูผสมพันธุ์ ทำให้เสนอว่า อาจเป็นรูปแปรทางพันธุกรรม[6][7][8][9]
สีแดง/น้ำตาลที่ไม่ปกติ (erythrism) ของขนก็พบด้วยเหมือนกัน[10] จนกระทั่งเสนอเป็นสปีชีส์ย่อย phillipsi สำหรับกลุ่มที่พบในหมู่เกาะมัลดีฟส์ แต่นี่ยังไม่ได้การยอมรับ[11] นกพันธุ์นี้บวกกับสปีชีส์ที่ใกล้เคียงกันคือนกยางกรอกพันธุ์จีน นกยางกรอกพันธุ์ชวา และนกยางกรอกพันธุ์มาดากัสการ์ (Ardeola idae) รวมเป็น superspecies
นกปกติจะเงียบแต่อาจร้องเสียงต่ำห้าวเมื่อบินหนีหรือใครเข้าไปใกล้ ๆ รังของมัน[11] นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ พันเอกวิลเลียม เฮ็นรี่ ไซกส์ ได้พรรณนาถึงนกนี้เมื่อปี 1832 แต่ได้ให้ชื่อวิทยาศาสตร์ของมันเพื่อยกย่องนักสัตววิทยาชาวอังกฤษจอห์น เอ็ดวาร์ด เกรย์ (John Edward Gray)
งานศึกษาทางแคริโอไทป์ได้แสดงว่า นกยางกรอกมีโครโมโซม 68 อัน (นับทั้งสองชุด คือ 2N) หรือมี 34 คู่ เทียบกับมนุษย์ที่มี 46 อันหรือ 23 คู่[12]
พฤติกรรมและนิเวศวิทยา
[แก้]นกสามัญมากในอินเดีย มันผสมพันธุ์อยู่เป็นฝูงแต่ไม่ใหญ่มาก (semi-colonial) ปกติหากินตัวเดียวตามพื้นที่ชุ่มน้ำ อาจหากินตามขยะด้วย แต่หลายตัวอาจจะหากินใกล้ ๆ กันในช่วงหน้าแล้งเมื่อที่ชุ่มน้ำเล็ก ๆ มีเหยื่อมาก[13] ในช่วงหน้าแล้ง มันบางทีหากินตามสนามหญ้าที่ชุ่มน้ำหรือแม้แต่ทุ่งหญ้าที่แห้ง ๆ เมื่อหากินอยู่ อาจเข้าไปใกล้มันมากได้ก่อนที่จะบินหนี บางครั้งอาจพักอยู่เป็นฝูง (communal roost) บ่อยครั้งที่ต้นไม้ตามถนนในเขตเมือง[14]
อาหารการกิน
[แก้]ที่หาอาหารของนกพันธุ์นี้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ปกติจะหากินอยู่ที่ขอบ ๆ หนองน้ำ แต่ก็ชอบใช้พืชลอยน้ำเช่น ผักตบชวา เพื่อให้เข้าไปถึงที่ลึกได้ บางครั้งอาจว่ายเหนือน้ำ หรือบินจับปลาแล้วลงยืนในน้ำที่ลึกกว่า[15][16][17][18] ยังมีรายงานว่านกบินจับปลาที่กระโดดขึ้นจากน้ำ[19][20] บางครั้งมันบินต่ำ ๆ เหนือน้ำเพื่อไล่กบและปลาไปที่ฝั่งก่อนจะลงเกาะตามชายฝั่ง[21] มีรายงานว่ามันคาบเศษขนมปังแล้วทิ้งลงที่ผิวน้ำเพื่อล่อปลา[22]
อาหารหลักของนกนี้รวมกุ้งกั้งปู แมลงน้ำ ปลา ลูกอ๊อด และบางครั้ง ปลิง[23] นอกพื้นที่ชุ่มน้ำ นกเหล่านี้กินแมลง (รวมจิ้งหรีด แมลงปอ[24] และผึ้ง[25]) ปลา (เช่น ปลาดอกหมาก) และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก[26]
การผสมพันธุ์
[แก้]ฤดูผสมพันธุ์เริ่มที่ต้นฤดูมรสุม นกทำรังเป็นฝูงเล็ก ๆ บ่อยครั้งกับนกลุยน้ำอื่น ๆ ปกติในรังขนาดใหญ่ (platform nest) ทำด้วยก้านไม้อยู่ในต้นไม้หรือพุ่มไม้ รังโดยมากสร้างในที่สูง 9-10 เมตรในต้นไม้ใบใหญ่ ตัวผู้หาวัสดุ ตัวเมียสร้างรัง วางไข่ 3-5 ฟอง[27] ลูกนกออกจากไข่ไม่พร้อมกันโดยใช้เวลา 18-24 วัน ทั้งพ่อและแม่เลี้ยงลูกนก[28] ปลาเป็นอาหารเลี้ยงลูกหลัก[13] รังที่ไม่ถูกกวนอาจใช้อีกในปีต่อ ๆ ไป[29]
ปัจจัยการตาย
[แก้]นกมีสัตว์ล่าน้อยแต่นกล่าเหยื่ออาจจับนกที่บาดเจ็บกิน[30]
งานศึกษาต่าง ๆ ได้แยกเจออาร์โบไวรัสที่เป็นเหตุโรค "Balagodu", พยาธิใบไม้[31] และปรสิตอื่น ๆ อีกหลายอย่างในนก[32][33][34][35][36] งานศึกษาได้ตรวจเจอสารภูมิต้านทานสำหรับโรคสมองอักเสบญี่ปุ่น (Japanese encephalitis) และสำหรับไวรัสเวสต์ไนล์ (เหตุของไข้เวสต์ไนล์) ในนกยางกรอกและนกยางควาย (Bubulcus ibis) จากอินเดียใต้[37] โลหะหนักที่ได้จากอาหารในน้ำเน่าเสียอาจมีอยู่ในขนหางอย่างเข้มข้น[38]
ในวัฒนธรรม
[แก้]นิสัยแบบยืนนิ่ง ๆ จนบินหนีเมื่อเข้าไปใกล้ก่อความเชื่อพื้นบ้านที่มีอย่างกว้างขวางว่านกตาไม่ดี จึงได้ชื่อในภาษาต่าง ๆ ที่ระบุลักษณะนี้ เช่น ในศรีลังกา นกเรียกว่า kana koka ในภาษาสิงหลซึ่งแปลว่า นกยางครึ่งบอด[3] ส่วนวลีภาษาฮินดูสตานี ว่า "bagla bhagat" ได้ใช้เหมือนกับสำนวนฝรั่งที่มีกำเนิดจากคัมภีร์ไบเบิลว่า "หมาป่าในหนังแกะ"[39] และกับสำนวนไทยว่า "มือถือสากปากถือศีล" คือนกยางกรอกทำเป็นเหมือนนกฤๅษียืนเข้าสมาธิ ซึ่งก็มีในสุภาษิตมราฐีด้วย[A] นกยังปรากฏเป็นตัวละครในนิทาน Hitopadesha[B] ที่มันยอมเจ็บตัวเพื่อช่วยพระราชา[43]
นักเขียนธรรมชาติวิทยาทั้งชาวอังกฤษและอินเดียได้ตั้งข้อสังเกตว่านกเปลี่ยนสีได้อย่างน่าแปลกใจ เช่น ฟิลลิป สจวร์ต โรบินสันได้พรรณนาถึงนกว่า นั่งเป็นสีเทาซอมซ่อ แต่บินเป็นสีขาวสด[44] ในอดีต คนอินเดียเคยกินมันเป็นอาหาร[45] ในช่วงที่ค้าขายขนนกต่าง ๆ มาก ขนนกนี้ได้ส่งออกจากอินเดียไปยังประเทศอังกฤษ[46]
พุทธศาสนา
[แก้]คัมภีร์พุทธศาสนากล่าวถึงนกยางกรอกไว้ในเวสสันดรชาดก มหาวนวัณณนา คือ เมื่อสนทนากับชูชก อัจจุตฤๅษีได้พรรณนาถึงป่าที่พระเวสสันดรทรงอาศัยอยู่ว่ามีนกชนิดนี้[47]
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ นกยางกรอกเป็นนักบุญ/ฤๅษี/อรหันต์[40]
- ↑ Hitopadesha (สันสกฤต: हितोपदेशः, IAST: Hitopadeśa, "คำแนะนำที่มีประโยชน์" ) เป็นคัมภีร์อินเดียเขียนเป็นภาษาสันสกฤต ประกอบด้วยนิทานอุทาหรณ์มีมนุษย์และสัตว์เป็นตัวละคร ประกอบด้วยคติพจน์ ภูมิปัญญาทางโลก และศีลธรรมเกี่ยวกับการเมืองที่เขียนเป็นภาษาเรียบง่ายและสละสลวย[41] เป็นคัมภีร์ที่ได้รับความนิยม แปลเป็นภาษาอินเดียต่าง ๆ มากมาย ภาษาเอเชียอาคเนย์ ตะวันออกกลาง และยุโรป[41][42]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ BirdLife International (2012). "Indian Pond-heron, Ardeola grayii". IUCN Red List of Threatened Species. 2012: e.T22697128A93600400. สืบค้นเมื่อ 26 November 2013.
- ↑ 2.0 2.1 "สัตว์ป่าคุ้มครอง". โลกสีเขียว. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-26. สืบค้นเมื่อ 2015-04-23.
๗๐๕ นกยางกรอกพันธุ์อินเดีย (Ardeola grayii)
- ↑ 3.0 3.1 Anonymous (1998). "Vernacular Names of the Birds of the Indian Subcontinent" (PDF). Buceros. 3 (1): 53–109.
- ↑ Yule, Henry; Burnell, A. C. (1903). Crooke, William (บ.ก.). Hobson-Jobson: A Glossary of Colloquial Anglo-Indian Words and Phrases, and of Kindred Terms, Etymological, Historical, Geographical and Discursive. London, UK: John Murray. p. 650.
- ↑ กรอก. พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ (CD ROM).
๒ น. ชื่อนกยางขนาดเล็กในวงศ์ Ardeidae ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) หัวสีน้ำตาลแดง หลังสีเทาอมดำ อกสีแดง ยางกรอกพันธุ์ชวา (A. speciosa) หัวและคอสีเหลือง หลังสีเทาอมดำ อกสีเหลือง และยางกรอกพันธุ์อินเดีย (A. grayii) หัวและคอสีเหลือง หลังสีแดงเข้ม อกสีน้ำตาลเหลือง กินปลา.
- ↑ Gopisundar, K. S. (2004). "Abundance and seasonality of Indian Pond Herons Ardeola grayii with red legs in Uttar Pradesh, India" (PDF). Forktail. 20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-10-11.
- ↑ Abdulali, H.; Alexander, H. G. (1952). "Ardeidae with red legs". Ibis. 94 (2): 363. doi:10.1111/j.1474-919X.1952.tb01829.x.
- ↑ Wesley, H. D. (1993). "Genetics of the red tarsi and feet in the Pond Heron". Newsletter for Birdwatchers. 33 (4): 73.
- ↑ Sundar, Gopi KS. "Distribution and extent of Pond Herons Ardeola grayii with red legs in India" (PDF). Indian Birds. 1 (5): 108–115. ISSN 0973-1407.
- ↑ Parasharya, BM (1983). "An erythristic pond heron". Pavo. 21 (1&2): 107–108.
- ↑ 11.0 11.1 Rasmussen, PC; Anderton, JC (2005). Birds of South Asia:The Ripley Guide. Smithsonian Institution & Lynx Edicions.
- ↑ Mohanty MK, Bhunya SP (1990). "Karyological studies in four species of ardeid birds (Ardeldae, Ciconiiformes)". Genetica. 81 (3): 211–214. doi:10.1007/BF00360867.
- ↑ 13.0 13.1 Begum, S. (2003). "Colonial nesting behavior in Indian Pond Heron (Ardeola grayii grayii) of Bangladesh" (PDF). Zoos' Print Journal. 18 (6): 1113–1116. doi:10.11609/jott.zpj.18.6.1113-6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-06-03. สืบค้นเมื่อ 2019-09-12.
- ↑ Gadgil, Madhav; Ali, Salim (1975). "Communal roosting habits of Indian birds". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 72 (3): 716–727.
- ↑ Chandra-Bose, DA (1969). "The Paddybird, Ardeola grayii (Sykes) floating on water". Pavo. 7 (1&2): 74–75.
- ↑ Neelakantan, KK (1986). "Pond heron afloat". Newsletter for Birdwatchers. 26 (5–6): 11–13.
- ↑ Krishna, MB (1978). "Pond Herons". Newsletter for Birdwatchers. 18 (10): 12.
- ↑ Muir, G.B.F. (1916). "Paddy-birds Ardeola grayii fishing". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 24 (2): 366–367. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-16.
- ↑ Grimwood, I.M .; Brocklehurst, M.J.C. (1984). "Unusual feeding behaviour in the Paddy Bird or Indian Pond Heron Ardeola grayii". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 81 (3): 696–697. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-23.
- ↑ Sivasubramanian, C (1988). "Aerial feeding by Median Egret (Egretta intermedia), Little Egret (Egretta garzetta) and Pond Heron (Ardeola grayii)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 85 (3): 611–612. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-23.
- ↑ Kirkpatrick, K. M. (1953). "Feeding habit of the Indian Pond Heron (Ardeola grayii)". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 51 (2): 507.
- ↑ Réglade, Michel Antoine; Dilawar, Mohammed E.; Anand, Ulhas (2015). "Active bait-fishing in Indian Pond Heron Ardeola grayii". Indian Birds. 10 (5): 124–125.
- ↑ Mathew, DN; Narendran, TC; Zacharias, VJ (1978). "A comparative study of the feeding habits of certain species of Indian birds affecting agriculture". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 75 (4): 1178–1197.
- ↑ Santharam, V. (2003). "Indian pond-herons Ardeola grayii feeding on dragonflies". Journal of the Bombay Natural History Society. 100 (1): 108.
- ↑ Prasad, JN; Hemanth, J (1992). "Pond Heron Ardeola grayii (Sykes) feeding on bees". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 89 (2): 246.
- ↑ Sodhi, N.S. (1986). "Feeding ecology of Indian pond heron and its comparison with that of little egret". Pavo. 24 (1&2): 97–112.
- ↑ Pandey, Deep Narayan (1991). "Nesting of the Pond Heron Ardeola grayii (Sykes) on Eucalyptus trees". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 88 (2): 281.
- ↑ Yesmin, R.; Rahman, K.; Haque, N. (2001). "The breeding biology of the Pond Heron (Ardeola grayii Sykes) in captivity". Tigerpaper. 28 (1): 15–18.
- ↑ Ali, S.; S. D. Ripley (1978). Handbook of the birds of India and Pakistan. Vol. 1 (2nd ed.). New Delhi: Oxford University Press. pp. 63–64.
- ↑ Navarro, A (1962). "Pale Harrier taking a Pond Heron". J. Bombay Nat. Hist. Soc. 59 (2): 653.
- ↑ Umadevi K, Madhavi R (2000). "Observations on the morphology and life-cycle of Procerovum varium (Onji & Nishio, 1916) (Trematoda: Heterophyidae)". Systematic Parasitology. 46 (3): 215–225. doi:10.1023/A:1006398205390. PMID 10845654.
- ↑ Pavri K, Sheikh BH, Singh KR, Rajagopalan PK, Casals J (1969). "Balagodu virus, a new arbovirus isolated from Ardeola grayii (Sykes) in Mysore State, South India". Indian J Med Res. 57 (4): 758–64. PMID 4979767.
- ↑ Pavri KM, Rajagopalan PK, Arnstein P (1968). "Isolation of Ornithosis bedsoniae from paddy birds, Ardeola grayii (Sykes), in Mysore State India". Indian J. Med. Res. 56 (11): 1592–4. PMID 5715959.
- ↑ Sahay S, Sahay U, Verma DK (1990). "On a new trematode of the genus Psilorchis (Psilostomidae Looss, 1900) from pond heron Ardeola grayii". Indian Journal of Parasitology. 14 (2): 203–205.
- ↑ Madhavi, R; Narasimha Rao, N; Rukmini, C (1989). "The life history of Echinochasmus bagulai Verma 1935 (Trematoda, Echinostomatidae)". Acta Parasitologica Polonica. 34 (3): 259–265.
- ↑ Deshmukh, PG (1971). "On the male of Avioserpens multipapillosa Singh, 1949 from Ardeola grayii". Rivista di Parassitologia. 32 (2): 101–3. PMID 5166875.
- ↑ Paramasivan, R.; A.C. Mishra; D.T. Mourya (2003). "West Nile virus: the Indian scenario" (PDF). Indian J Med Res. 118: 101–108. PMID 14700342. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2019-09-12.
- ↑ Muralidharan, S.; Jayakumar, R.; Vishnu, G (2004). "Heavy metals in feathers of six species of birds in the district Nilgiris, India". Bulletin of Environmental Contamination and Toxicology. 73 (2): 285–291. doi:10.1007/s00128-004-0425-x. PMID 15386041.
- ↑ Pahwa, Munshi Thakardass (1919). The modern Hindustani scholar of the Pucca munshi. Baptist Mission Press, Calcutta. p. 578.
- ↑ Manwaring, A. (1899). Marathi proverbs. Oxford: Clarendon Press. p. 40.
- ↑ 41.0 41.1 Hitopadesa. แปลโดย Narayana, S; Haksar, AND. Penguin Books. 2005. pp. ix–xiv. ISBN 978-93-5118-096-8.
- ↑
Snyder, CR; Lopez, Shane J (2001). Handbook of Positive Psychology. Oxford University Press. pp. 508, 1406. ISBN 978-0-19-028561-6.
Hitopadesa (Hindu text)
- ↑ Arnold, Edwin (1893). The Book of Good Counsels from the Sanskrit of the Hitopadesa. London: W.H.Allen and Co. p. 108.
- ↑ Dewar, Douglas (1896). Bombay Ducks. London: John Lane Company. pp. 111, 235–239.
- ↑ Susainathan, P. (1921). Bird friends and foes of the farmer. Bulletin NO. 81. Madras: Department of Agriculture. p. 48.
- ↑ Watt, George (1908). The Commercial Products of India. London: John Murray. p. 139.
- ↑ "พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ 28 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 2 ข้อ 2067", E-Tipitaka 3.0.7, 2018,
นกกะปูด ไก่ป่า นกหัสดีลิงค์ ร่ำร้องคูขันหากันและกัน นกยางโทน นกยางกรอก นกโพระดก นกต้อยตีวิด นกกระเรียน
บรรณานุกรม
[แก้]- Lamba, B.S. (1963) Nidification of some Indian birds. No.6. The Indian Pond Heron or Paddy bird Ardeola grayii (Sykes). Pavo 1 (1): 35–43.
- de Boer LEM, van Brink JM (1982) Cytotaxonomy of the Ciconiiformes (Aves), with karyotypes of eight species new to cytology. Cytogenet Cell Genet 34: 19–34. doi:10.1159/000131791.
- Parasharya, BM; Bhat, HR (1987) Unusual feeding strategies of the Little Egret and Pond Heron. Pavo 25 (1&2): 13–16.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]