Ardeola

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Pond heron
Pond-Heron-Ardeola-grayii.jpg
นกยางกรอกพันธุ์อินเดีย (Ardeola grayii)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ e
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์ปีก
อันดับ: นกกระทุง
วงศ์: วงศ์นกยาง
สกุล: Ardeola
F. Boie, 1822
สปีชีส์
  • A. grayii
  • A. ralloides
  • A. bacchus
  • A. speciosa
  • A. idae
  • A. rufiventris

Ardeola (อังกฤษ: pond heron) เป็นชื่อสกุลหนึ่งของวงศ์นกยาง (Ardeidae) ประกอบด้วยสปีชีส์ต่าง ๆ มีนกยางกรอกพันธุ์อินเดียเป็นต้น ปกติยาว 40-50 ซม. รวมปีกกว้าง 80-100 ซม. โดยมากผสมพันธุ์ในเขตร้อนของโลกเก่า แต่ก็มีนกอพยพคือ squacco heron (Ardeola ralloides) ในยุโรปใต้และตะวันออกกลางที่หลบหนาวไปยังแอฟริกา ชื่อวิทยาศาสตร์มาจากคำละตินว่า ardeola ซึ่งแปลว่า นกยางเล็ก[1]

นกมีลักษณะอ้วนเตี้ย คอสั้น ปากหนาสั้น ปกติหลังสีเหลืองหรือน้ำตาล คอด้านหน้าและอกมีสีหรือเป็นลาย ในฤดูร้อน นกโตแล้วอาจมีขนคอยาว นกยางกรอกจะดูเปลี่ยนไปเมื่อบิน เพราะจะดูขาวมากเนื่องจากปีกสีขาวสด

แหล่งผสมพันธุ์เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ทำรังเป็นฝูงเล็ก ๆ บ่อยครั้งกับนกลุยน้ำอื่น ๆ ปกติเป็นรังใหญ่ (platform nest) ทำด้วยก้านไม้อยู่ในต้นไม้หรือพุ่มไม้ วางไข่ 2-5 ใบ

นกกินแมลง ปลา และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก บ่อยครั้งพบที่หนองน้ำเล็ก ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้สปีชีส์ต่าง ๆ ของนกมีชื่อภาษาอังกฤษเป็น pond heron (นกยางหนองน้ำ)

สปีชีส์[แก้]

ภาพ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ การกระจายตัว
Indian Pond Heron I2 IMG 1142.jpg Ardeola grayii นกยางกรอกพันธุ์อินเดีย อิหร่านใต้ไปทางตะวันออกจนถึงปากีสถาน อินเดีย พม่า บังกลาเทศ และศรีลังกา
Squacco Heron (19355824299).jpg Ardeola ralloides Squacco heron ยุโรปใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
Ardeola bacchus on a roof.jpg Ardeola bacchus นกยางกรอกพันธุ์จีน จีนและเอเชียตะวันออกเขตอบอุ่นและเขตกึ่งร้อนที่ใกล้ ๆ กัน
Ardeola speciosa.JPG Ardeola speciosa นกยางกรอกพันธุ์ชวา เอเชียอาคเนย์
Madagascar Squacco Heron - Mara - Kenya(6) (15224926489).jpg Ardeola idae นกยางกรอกพันธุ์มาดากัสการ์ เคนยา แทนซาเนีย ยูกันดา รวันดาและแซมเบีย
Rufous-bellied Heron (Ardeola rufiventris).jpg Ardeola rufiventris Rufous-bellied heron แองโกลา บอตสวานา บุรุนดี สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เคนยา เลโซโท มาลาวี มาลี โมซัมบิก นามิเบีย รวันดา แอฟริกาใต้ เอสวาตีนี แทนซาเนีย ยูกันดา แซมเบีย และซิมบับเว

วัฒนธรรม[แก้]

คัมภีร์พุทธศาสนากล่าวถึงนกยางกรอกไว้ในเวสสันดรชาดก มหาวนวัณณนา คือ เมื่อสนทนากับชูชก อัจจุตฤๅษีได้พรรณนาถึงป่าที่พระเวสสันดรทรงอาศัยอยู่ว่ามีนกชนิดนี้[2]

คลังภาพ[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Jobling, James A (2010). The Helm Dictionary of Scientific Bird Names. London: Christopher Helm. p. 54. ISBN 978-1-4081-2501-4.
  2. "พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ 28 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 2 ข้อ 2067", E-Tipitaka 3.0.7, 2018, นกกะปูด ไก่ป่า นกหัสดีลิงค์ ร่ำร้องคูขันหากันและกัน นกยางโทน นกยางกรอก นกโพระดก นกต้อยตีวิด นกกระเรียน