ข้ามไปเนื้อหา

อภิธานศัพท์การเมืองไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก 3 ทรราช)

ต่อไปนี้เป็นอภิธานศัพท์การเมืองไทย

รายชื่อ

[แก้]
  • คืนหมาหอน, คืนสุดท้ายก่อนวันเลือกตั้ง มีความสำคัญในแง่ว่าเป็นคืนที่จะมีการทุจริตการเลือกตั้งสูงมาก โดยเฉพาะการตระเวนตามบ้านเรือนทุกหลังคาเรือนเพื่อซื้อเสียงครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ การแจกเงินซื้อเสียงที่จะมีอิทธิพลต่อผู้ไปลงคะแนนนั้น หากทำในวันใกล้เลือกตั้งมากที่สุดก็อาจช่วยให้เป็นที่จดจำได้ง่ายด้วย[1] เนื่องจากปฏิบัติการดังกล่าวกระทำในเวลากลางคืนด้วยลักษณะหลบ ๆ ซ่อน ๆ และมีพิรุธ สุนัขเฝ้าบ้านจึงพากันเห่าหอนเกรียวกราว[1] ราชบัณฑิตยสถานลงคำนี้ไว้ใน พจนานุกรมคำใหม่[2]คืนหมาหอนมีอีกความหมายหนึ่งคือหมายถึง การสังหารหัวคะแนนและคู่แข่งทางการเมืองด้วยอาวุธปืน[3]
  • งูเห่า,กลุ่มงูเห่า นักการเมืองที่ออกเสียงสวนมติพรรค มักเกิดจากได้รับประโยชน์ตอบแทนจากพรรคอื่นเช่นตำแหน่งรัฐมนตรี
  • นักรบไซเบอร์, ภาษาปากที่หมายถึงผู้ปฏิบัติการต่อสู้เชิงข้อมูลข่าวสารในสงครามไซเบอร์ ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารต่าง ๆ ปรากฏใช้ครั้งแรกเมื่อปี ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย เช่น ในช่วงที่มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง มีกลุ่มคนเผยแพร่ข้อมูลในช่องทางต่าง ๆ เพื่อถ่ายทอดสดการชุมนุม[4] และบ่อยครั้งที่แกนนำผู้ชุมนุมนำคลิปวิดีโอจากอินเทอร์เน็ตไปเผยแพร่ต่อบนเวทีปราศรัย ด้านรัฐบาลก็ได้มีการนำคลิปวิดีโอจากอินเทอร์เน็ตในการชี้แจงเช่นเดียวกัน[5]
  • นายกฯ คนนอก, การเสนอชื่อบุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือหัวหน้าพรรคการเมืองเป็นนายกรัฐมนตรีศัพท์นี้ใช้มากก่อนปี 2560 เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านั้นระบุว่าผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยหรือหัวหน้าพรรคการเมือง
  • นางแบก/นายแบก, คำใช้เรียกผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยที่มีความเห็นดีเห็นชอบกับพรรคในทุกเรื่องโดยไม่ลืมหูลืมตาเสมือนเป็นลูกน้องของนักการเมืองรวมถึงบุคคลที่ต้องสงสัยว่ารับเงินจากนักการเมืองเพื่อให้กล่าวสนับสนุนพรรคส่วนใหญ่เป็นสื่อมวลชนอาทิ​ คำ ผกา
  • มารยาททางการเมือง, แนวทางปฏิบัติแบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งนักการเมืองมักใช้อ้างว่ายึดถือปฏิบัติกันมาในแวดวงการเมืองไทย อาทิ การลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อมีการถอนตัวของพรรคร่วมรัฐบาล
  • มุ้ง, ฝักฝ่ายในพรรคการเมือง ซึ่งมักมีนักการเมืองผู้ใหญ่เป็นหัวหน้าคอยต่อรองผลประโยชน์ให้สมาชิก
  • ระบอบทักษิณ, คำที่นักวิจารณ์ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ใช้เพื่อวิจารณ์นโยบายของรัฐบาลในสมัยนั้น
  • ล้มเจ้า, บุคคลที่มีความคิดต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองปัจจุบันไปเป็นระบอบอื่น เช่น​ ชูชีพ ชีวะสุทธิ์ ชูพงศ์ ถี่ถ้วนสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์​ หรือบุคคลที่วิพากษ์วิจารณ์ล้อเลียนสถาบันพระมหากษัตรย์ในที่สาธารณะและในเฟซบุ๊ก ฯลฯ
  • แลนด์สไลด์, การชนะการเลือกตั้งแบบถล่มทลาย มักหมายถึงชนะแบบเสียงเกินกึ่งหนึ่งของที่นั่งในสภาซึ่งทำให้สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้
  • บ้านใหญ่, ตระกูลในรายชื่อสกุลนักการเมืองไทยที่ทรงอิทธิพลทางการเมืองในท้องถิ่นและการเมืองระดับจังหวัด
  • ใบดำ, ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลตลอดชีวิต[6]
  • ใบแดง, คณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง[6]
  • ใบส้ม, คณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลา 1 ปี ถ้าบุคคลนั้นได้รับเลือกตั้งให้จัดการเลือกตั้งใหม่[6]
  • ใบเหลือง, คณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งจัดการเลือกตั้งใหม่ในเขตนั้น[6]
  • ประชาธิปไตยครึ่งใบ, รูปแบบการปกครองที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้ง แต่สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง เริ่มปรากฏในยุครัฐธรรมนูญปี 2520[7]
  • ประชาธิปไตยเต็มใบ, รูปแบบการปกครองที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งคู่
  • ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข, คำเรียกระบอบการปกครองของไทยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
  • 3 ทรราช, ผู้มีอำนาจในประเทศไทยช่วงก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ได้แก่ จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร (บุตรชายของจอมพลถนอมและเป็นบุตรเขยของจอมพลประภาส) การปกครองสมัยนั้นเป็นยุคระบอบเผด็จการทหารและมีการวางทายาททางการเมืองกันอย่างชัดเจน
  • สลิ่ม, กลุ่มผู้มีแนวคิดอนุรักษนิยมในการเมืองไทย ซึ่งหมายถึงกลุ่มนิยมเจ้าและนิยมทหาร ในตอนแรกมาจากกลุ่มเสื้อหลากสี
  • สนามเล็ก, การเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล องค์การ​บริหารส่วนจังหวัด นายกเมืองพัทยา​ การเลือกตั้ง​ผู้ว่า​ราชการกรุงเทพมหานคร
  • สนามใหญ่, การเลือกตั้งสมาชิกสภา​ผู้แทนราษฎร​ไทย
  • ส.ส.นกแล, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งครั้งแรก โดยอาศัยกระแสสังคมของนักการเมืองคนอื่นในขณะนั้น[8]
  • สอบตก, ไม่ได้รับเลือกตั้ง
  • เสื้อเหลือง, สมาชิกหรือผู้สนับสนุนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
  • เสื้อแดง, สมาชิกหรือผู้สนับสนุนแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
  • เสื้อหลากสี, สมาชิกหรือผู้สนับสนุนกลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์
  • เสื้อส้ม, สมาชิกหรือผู้สนับสนุนพรรคอนาคตใหม่ พรรคก้าวไกลและปัจจุบันคือพรรคประชาชน
  • พรรคแมลงสาบ,หมายถึงพรรคประชาธิปัตย์ คำนี้ยังมีที่มาจากคนในพรรคเองคือ กนก วงษ์ตระหง่าน[9]สาเหตุที่พรรคประชาธิปัตย์ถูกเปรียบกับแมลงสาบเพราะมักจะรอดการโจมตีที่หมายเอาชีวิตของแมลงสาบจากมนุษย์เสมอ พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยถูกศาลสั่งลงโทษยุบพรรคเลยและมักรอดในคดีอื่นๆแทบจะทุกคดีไม่ต่างกับแมลงสาบที่ฆ่ายาก
  • แมลงสาบ, สมาชิกหรือผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ คำนี้หมายถึงบุคคลที่ทำร้ายคนอื่นด่าทอคนอื่นอย่างร้ายกาจ บุคคลไร้จุดยืนยังไงก็ได้แบบไหนก็ได้ขอให้ตนเองได้รับตำแหน่งและผลประโยชน์ พรรคประชาธิปัตย์สมัยเป็นฝ่ายค้านต้องการเป็นรัฐบาลมากถึงกับด่านายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชาว่าไม่ใช่คนไทย[10]ต่อมาสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่มีพฤติกรรมด่าทอทักษิณ ชินวัตรมาตลอดได้เป็นรัฐบาลเพราะเข้าร่วมกับตระกูลชินวัตรพรรคเพื่อไทย ถึงแม้จะทำร้ายคนอื่นด่าทอคนอื่นมาโดยตลอดแต่เพื่อตำแหน่งรัฐมนตรีพรรคประชาธิปัตย์จะเปลี่ยนท่าทีได้ทันที
  • สามกีบ/สามนิ้ว กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลใช้คำนี้หมายถึงฝ่ายตรงกันข้ามอันได้แก่ คณะประชาชนปลดแอก หมู่บ้านทะลุฟ้า ทะลุวัง ไฟเย็น (วงดนตรี) สาเหตุที่ใช้คำนี้เพราะผู้ประท้วงมักชอบชูสามนิ้วได้แก่นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง ตลอดการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 สามกีบ หมายถึงสัตว์เดรัจฉานที่มีนิ้วเพียงสามนิ้ว เป็นการเปรียบเปรยว่ากลุ่มคนข้างต้นไม่ต่างกับสัตว์เดรัจฉาน
  • อิกนอร์, มาจากภาษาอังกฤษว่า Ignore แปลตรงตัวว่า ไม่สนใจ เมื่อนำมาใช้เป็นคำแสลงจึงหมายถึงคนที่เพิกเฉยทางการเมือง บุคคลที่แสดงออกว่าไม่ยุ่งการเมือง ไม่สนใจการเมือง ไม่คุยเรื่องการเมือง ทั้งนี้รวมถึงบุคคลที่อ้างว่าไม่สนใจเรื่องการเมือง[11]แต่เรื่องที่พูดอยู่เป็นเรื่องการเมืองหรือสนใจเฉพาะบางเรื่องที่กระทบต่อทรัพย์สินของตนเอง
  • อำมาตย์, กลุ่มอภิชนในการเมืองไทย ซึ่งมีการตีความว่าหมายถึงองคมนตรี นักธุรกิจใหญ่ นายทหารใหญ่ ซึ่งถูกกล่าวหาว่าคอยบงการการเมืองไทยอยู่
  • ไอโอ,ย่อมาจากภาษาอังกฤษว่า information Operation แปลตรงตัวว่ายุทธการทางข้อมูลข่าวสาร ผู้ปฏิบัติการสงครามข่าวสารของกองทัพหรือรัฐบาล ในระยะหลังใช้เรียกผู้ปฏิบัติการสงครามข่าวสารในพรรคการเมืองต่าง ๆ ด้วยเช่นกลุ่มที่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีโจมตีสื่อมวลชนที่อาจได้รับการว่าจ้างมา
  • ส.ว.สีน้ำเงิน สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 13 ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพรรคภูมิใจไทย ชัย ชิดชอบ เนวิน ชิดชอบ และได้มาซึ่งตำแหน่งวุฒิสภาด้วยการสนับสนุนอย่างดีเยี่ยมจากพรรคภูมิใจไทยอีกทั้งสมาชิกวุฒิสภาชุดดังกล่าวยังชอบใส่เสื้อสีน้ำเงินมาทำงานในสภาอีกด้วย
  • สาม ป. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา สาเหตุที่พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา อยู่ในสาม ป. เพราะชื่อเล่นว่าป๊อก บุคคลทั้งสามคนครองอำนาจตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีมาอย่างยาวนาน
  • กลุ่มสามมิตร เป็นชื่อเรียกที่นักการเมืองตั้งขึ้นเองหมายถึง สมศักดิ์ เทพสุทิน สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ กลุ่มสามมิตรเป็นกลุ่มที่ได้ตำแหน่งรัฐมนตรีเสมอไม่ว่ารัฐบาลจะเป็นฝ่ายใดก็ตามต่อให้มีการรัฐประหารในประเทศไทยก็ยังได้ตำแหน่งรัฐมนตรี ทั้งสามรายจะได้เป็นรัฐมนตรีแทบจะตลอดเวลา ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าทั้งสามรายมีวิธีใดที่ทำให้ฝ่ายที่เป็นรัฐบาลนำตนเองเป็นรัฐมนตรี

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 สมคิด เลิศไพฑูรย์ (2547). นรนิติ เศรษฐบุตร (บ.ก.). สารานุกรมการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. p. 69.
  2. ราชบัณฑิตยสถาน (2552). พจนานุกรมคำใหม่ (PDF). Vol. 2. กรุงเทพฯ: ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต. p. 7. ISBN ISBN 978-616-7073-04-0. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-08-08. สืบค้นเมื่อ 2019-09-09. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help)
  3. เกิดเหตุคนร้ายจ่อยิงหัวคะแนนนักการเมืองดังแปดริ้วหวิดดับ
  4. นักรบไซเบอร์หาช่องสู้ “ไอซีที”ไล่ปิดเว็บ-บล็อกเสื้อแดง[ลิงก์เสีย]
  5. "สรรเสริญ" ปัดข่าว "มาร์ค" ถูกทำร้าย โชว์ 4 คลิปยันทหารไม่เคยใช้ "เอ็ม79" แต่เป็นเครื่องยิงแก๊สน้ำตา
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "เลือกตั้ง62 I เปิดความหมายอำนาจสารพัดใบ กกต. แจกเอง-ขอศาลได้". workpointTODAY. สืบค้นเมื่อ 7 October 2022.
  7. "ประชาธิปไตยครึ่งใบสมัย 2". ประชาชาติธุรกิจ. 16 June 2018. สืบค้นเมื่อ 28 October 2022.
  8. ""รักตู่อยู่กับป้อม" อวสาน "ส.ส.นกแล" ปักษ์ใต้". กรุงเทพธุรกิจ. 4 December 2022. สืบค้นเมื่อ 19 January 2023.
  9. ประชาธิปัตย์ สู้ๆ
  10. ‘หนูนา’ ย้อนสมัยบรรหารโดนปชป.ซักฟอกปมสัญชาติ ชี้สุดเจ็บปวด แต่ต้องก้าวข้ามเพื่อปท.
  11. เรียนถามฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ ตาย 91 เจ็บ2พันไม่น่าสะเทือยใจกว่าหรือ