ข้ามไปเนื้อหา

พระแม่ไวษณวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระแม่ไวษณวี
(หรือ พระนารายณี )
คณะเทพีแห่งมาตฤกา , ศักติแห่งพระนารายณ์
ส่วนหนึ่งของ กลุ่มเทพีแห่งมาตฤกา
จิตรกรรมเจ้าแม่ไวษณวี (ซ้าย) และ พระเทพีวราหิ ศิลปะอินเดียแบบประเพณีภาคเหนือ จากคัมภีร์เทวีมาหาตมยะ พุทธศตวรรษที่ยี่สิบสอง จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะลอสแอนเจลิสเคาน์ตี้ ลอสแอนเจลิส สหรัฐ
ชื่ออื่นนารายณี
ชื่อในอักษรเทวนาครีवैष्णवी
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤตVaiṣṇavī
ส่วนเกี่ยวข้องพระเทพี, มาตฤกา, มหาเทวี, พระปารวตี, ทุรคา, พระลักษมี, นารายณี,ไวษโณเทวี
ที่ประทับสัตยโลก, มณีทวีป
มนตร์ไวษณวีมนตร์
สัญลักษณ์จักร
หอยสังข์
คฑา
ดอกบัว
พาหนะครุฑ
เทศกาลนวราตรี
คู่ครองพระนารายณ์ (ตามปุราณะส่วนใหญ่)
พระโกรธาไภรวะ (ในคติลัทธิไศวะ)

ไวษณวี (Sanskrit: वैष्णवी, IAST:Vaiṣṇavī) เป็นเทวีในศาสนาฮินดูและเป็นพละกำลังอำนาจของพระวิษณุและเป็นพระเทพีของคณะมาตฤกา นามของนางเป็นคำในภาษาสันสกฤตอันหมายถึงพละกำลังอำนาจของพระนารายณ์[1] โดยนามของนั้นใช้สำหรับเทวีในศาสนาฮินดู ในศาสนาพราหมณ์ ฮินดู โดยเฉพาะพระลักษมี ซึ่งเป็นเทพีภริยาของพระวิษณุและยังใช้กับพระแม่ทุรคาและเจ้าแม่กาลีด้วย นอกจากนี้นามนี้ยังใช้สำหรับสตรีที่บูชาพระวิษณุและเทพีไวษโณเทวี เทพารักษ์นารีแห่งเขาตรีกูฏ ในรัฐชัมมูและกัศมีร์ด้วย[2]

เทพปกรณัม

[แก้]
เทวปฏิมาเจ้าแม่ไวษณวี ศิลปะโจฬะ จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์รัฐบาลบังกาลอร์ นครเบงคลูรู รัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดีย

พระนางคือพระเทพีของคณะมาตฤกา พระนางเป็นพละกำลังอำนาจของพระวิษณุโดยประติมานวิทยาของพระนางทรงเทพอาวุธจักร หอยสังข์ คฑา ดอกบัว และทรงเทพพาหนะคือ ครุฑ[3][4]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Sapta Matrikas
  2. SiliconIndia News: «More pilgrim rush to Vaishno Devi this year» (2006)
  3. "Vaishnavi, Vaiṣṇāvī, Vaiṣṇavī: 21 definitions". www.wisdomlib.org (ภาษาอังกฤษ). 28 August 2015. สืบค้นเมื่อ 3 September 2022.
  4. https://hindumeeting.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2/. สืบค้นเมื่อ 3 September 2022. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]