พระสทาศิวะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระสทาศิวะ
ส่วนเกี่ยวข้องพระศิวะ
ที่ประทับSadakya Tattva, มหาไกลาศัมบนสวรรค์
มนตร์โอม นมัส ศิวายะ
สัญลักษณ์มุขลึงค์
พาหนะโคนนทิ
คู่ครองอาทิปราศักติ หรือ พระแม่คายตรี ความเชื่อของ ลัทธิไศวะ [1]

พระสทาศิวะ (สันสกฤต: सदाशिव, Sadāśiva, ทมิฬ: சதாசிவம்) คือพระเป็นเจ้าตามคติลัทธิไศวสิทธานตะสายมันตรมรรค เชื่อว่าทรงมีอำนาจทุกอย่างแต่ยังคงความละเอียดอ่อนและลึกลับ แน่นอน และส่องสว่าง การสำแดงสูงสุดที่ประทานพรด้วย อนุเคราะห์ หรือพระคุณที่ห้าแห่ง ปัญจกฤตยะ (การกระทำศักดิ์สิทธิ์ทั้งห้า) ของพระศิวะ รูปเคารพของพระสทาศิวะมักจะมีห้าพักตร์และสิบกร พระองค์ถือว่าเป็นเป็นหนึ่งใน 25 มเหศวรมุรตัม (Maheshwara murtam) ของพระศิวะ คัมภีร์ศิวาคมสรุปว่าศิวลึงค์ โดยเฉพาะ มุขลึงค์ ถือเป็นปางหนึ่งของพระสทาศิวะ[2] ในประเทศไทยมีความนิยมสร้างรูปเคารพของพระสทาศิวะอยู่ในยุคหนึ่ง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือที่ศาลพระตรีมูรติ เซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งเกิดความผิดพลาดได้นำรูปเคารพของพระสทาศิวะมาบูชาแทนพระตรีมูรติ[3]

การแปลความ[แก้]

พระพักตร์ทั้งห้าของพระสทาศิวะ มักถูกระบุว่าได้แก่ มหาเทพ พระปารวตี โคนนทิ พระไภรวะ และองค์สทาศิวะเอง[4] พระกรทั้งสิบของ พระสทาศิวะแสดงถึงทิศทางทั้งสิบ[1] รูปแบบอื่นของ พระสทาศิวะต่อมาพัฒนาเป็นรูปแบบของพระศิวะที่รู้จักกันเป็นมหาสทาศิวะ คือพระศิวะยี่สิบห้าเศียร เจ็ดสิบเจ็ดเนตร และห้าสิบกร ข้อมูลดังกล่าวได้ระบุไว้ในกามิกาคม และวิษณุธรรโมตตรปุราณะ การมีห้าเศียรนั้น แต่ละเศียรมีพระนามต่างๆ กันออกไป คือ อีศานะ ตัตปุรุษะ วามเทวะ อโฆระ และสัตโยชาตะ ซึ่งล้วนเป็นพระนามและองค์คุณของพระศิวะ

พระเศียรทั้งห้าสะท้อน ภาวะห้าของจักรวาล ธาตุทั้งห้า (ดิน น้ำ ไฟ ลม อวกาศ) สะท้อนกิจกรรมทั้งห้าของพระเจ้าคือ สรรค์สร้าง รักษา ทำลาย ปลดปล่อย และสร้างมายาภาพ (ลวง) สีทั้งห้า

ดังนั้น ชาวไศวะสิทธานตะจึงถือว่านี่คือรูปสูงสุดของพระศิวะ[5] [6]

ตำนาน[แก้]

คัมภีร์ศิวะปุราณะ ได้เขียนเกี่ยวกับพระสทาศิวะไว้ว่า "เมื่อครั้งปฐมกัลป์ ในเวลานั้นมีแต่ความว่างเปล่า ไม่มีสิ่งใดเลย ทุกหนแห่งอยู่ในความมืดมนอนธกาล พลันท่ามกลางความเงียบสงัดนั้นก็บังเกิดเสียงหนึ่งขึ้น เสียงนั้นเปล่งเป็นคำว่า โอม ดังก้องไปทั่ว และก็บังเกิดเป็นเทพองค์หนึ่ง นามว่า พระสทาศิวะ และในเวลานั้นเอง พระสทาศิวะก็ทรงเปล่งถ้อยคำว่า ตรีภูอัมภวะ ภูชัม ก็บังเกิดพระแม่ศักติ-ศิวาขึ้นจากกลางพระหทัยของพระสทาศิวะ ทั้งสองพระองค์ต่างสนทนากัน และก็เริ่มวางแผนสร้างสรรค์จักรวาลในเวลาต่อมา

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Omacanda Hāṇḍā (1992). Śiva in art: a study of Śaiva iconography and miniatures. Indus Pub. House.
  2. Srinivasan, Dorin (1997). Many Heads, Arms, and Eyes: Origin, Meaning, and Form of Multiplicity in Indian Art. BRILL. p. 272. ISBN 9789004107588.
  3. https://thematter.co/thinkers/sadashiva/25855#
  4. C. V. Ramachandra Rao (1988). Siva-Mahesa (Sadasiva) Murti of Bhairavakona: an iconographical study. Manasa Publications.
  5. DR. S.P. SABHARATHANAM SIVACHARYA. "Kamika Agama Uttara Pada". Hmalayan Academy. สืบค้นเมื่อ 28 September 2017.
  6. B.N. Sharma (1976). Iconography of Sadasiva. Abhinav Publications. pp. 1–3. ISBN 9788170170372.