ไมเคิล บลูมเบอร์ก
ไมเคิล บลูมเบอร์ก (Michael Bloomberg) | |
---|---|
![]() | |
ผู้ว่าการนครนิวยอร์กคนที่ 108 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม 2545 – 31 ธันวาคม 2556 | |
ก่อนหน้า | Rudy Giuliani |
ถัดไป | Bill de Blasio |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไมเคิล รูเบนส์ บลูมเบอร์ก
(Michael Rubens Bloomberg) |
เชื้อชาติ | อเมริกัน |
พรรค | พรรคเดโมแครต |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น |
พรรคริพับลิกัน (สหรัฐ) (2544-2550)
|
คู่สมรส | Susan Elizabeth Barbara Brown-Meyer (สมรส ค.ศ. 2518; หย่า ค.ศ. 2536) |
คู่อาศัย | Diana Taylor (2543-ปัจจุบัน) |
บุตร | Emma Frissora Georgina Bloomberg |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ (วิทยาศาสตรบัณฑิต)
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) |
ทรัพย์สินสุทธิ | 47,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (ตุลาคม 2560)[1] |
ลายมือชื่อ | ![]() |
เว็บไซต์ | Official website |
ไมเคิล รูเบนส์ บลูมเบอร์ก (อังกฤษ: Michael Rubens Bloomberg)[2] (เกิด 14 กุมภาพันธ์ 2485) เป็นนักธุรกิจ นักเขียน นักการเมือง และนักการกุศลชาวอเมริกัน เขามีทรัพย์สินสุทธิประเมินที่ 47,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท)[1] โดยเดือนตุลาคม 2560 จึงทำให้เขาเป็นคนรวยที่สุดอันดับ 8 ในสหรัฐอเมริกา และอันดับ 10 ของโลก เขาได้ลงนามร่วมกับองค์กรสัญญาว่าจะให้ ที่มหาเศรษฐีสัญญาว่าจะมอบทรัพย์สินของตนเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง[3]
บลูมเบอร์กเป็นผู้ก่อตั้ง ประธานบริหาร และเจ้าของบริษัท Bloomberg L.P. ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการทางการเงิน สื่อมวลชน และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งรู้จักกันดีว่าผลิตโปรแกรม Bloomberg Terminal ซึ่งให้ข้อมูลทางการเงินที่ใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมบริการทางการเงินทั่วโลก เขาเริ่มทำงานที่บริษัทนายหน้าขายหลักทรัพย์ Salomon Brothers ก่อนตั้งบริษัทของตนเองในปี 2524 และใช้เวลาอีก 20 ปีต่อมาโดยเป็นประธานและประธานบริหารของบริษัท บลูมเบอร์กยังเคยเป็นประธานกรรมการของมหาวิทยาลัยที่เขาเป็นศิษย์เก่า คือ มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ ระหว่างปี 2539-2545
บลูมเบอร์กเคยเป็นผู้ว่าการนครนิวยอร์กถึง 3 สมัย เริ่มตั้งแต่ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2544 แม้จะเคยลงทะเบียนว่าเป็นคนสนับสนุนพรรคเดโมแครตก่อนจะเริ่มหาเสียง เขาก็ได้เปลี่ยนทะเบียนของเขาในปี 2544 เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคริพับลิกัน เขาชนะฝ่ายตรงข้ามอย่างเฉียดฉิวในการเลือกตั้งที่ทำไม่กี่อาทิตย์หลังเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 เขาชนะการเลือกตั้งสมัยที่สองในปี 2548 และลาออกจากพรรคริพับลิกันสองปีหลังจากนั้น บลูมเบอร์กได้รณรงค์เพื่อเปลี่ยนกฎหมายซึ่งจำกัดสมัยที่สามารถเป็นผู้ว่าการ แล้วได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่สามในปี 2552 โดยไม่สังกัดพรรค
สื่อมักจะลือว่า เขาจะลงสมัครับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐทั้งในปี 2551 และ 2555 ตลอดทั้งผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กในปี 2553 แต่เขาก็ปฏิเสธไม่สมัคร โดยเลือกทำหน้าที่เป็นผู้ว่าการของนครนิวยอร์กต่อไปในเวลานั้น
ในปี 2557 Bill de Blasio ก็ได้แทนที่บลูมเบอร์กเป็นผู้ว่าการนครนิวยอร์ก หลังจากที่ทำงานการกุศลอย่างเต็มเวลาในระยะสั้น ๆ บลูมเบอร์กก็กลับไปทำหน้าที่เป็นประธานบริหารของบริษัท Bloomberg L.P. โดยท้ายปี 2557 ในวันที่ 7 มีนาคม 2559 เขาได้ประกาศว่าจะไม่สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐจากพรรคที่ 3 สำหรับการเลือกตั้งปี 2559 แม้จะมีข่าวลือที่กระจายไปทั่ว และภายหลังได้ให้การสนับสนุนแก่ฮิลลารี คลินตัน
การกุศล[แก้]
สิ่งแวดล้อม[แก้]
บลูมเบอร์กเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตัวยง และได้สนับสนุนให้มีนโยบายสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตั้งแต่ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าการนครนิวยอร์ก ในระดับประเทศ บลูมเบอร์กได้ผลักดันให้เปลี่ยนการใช้พลังงานในสหรัฐจากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ให้เป็นพลังงานสะอาด ในเดือนกรกฎาคม 2554 บลูมเบอร์กบริจาคทรัพย์มูลค่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,625 ล้านบาท) ผ่านองค์กร Bloomberg Philanthropies ให้แก่การรณรงค์ Beyond Coal (ถัดจากถ่านหิน) ขององค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม Sierra Club ซึ่งทำให้สามารถขยายความพยายามเพื่อปิดโรงผลิตไฟฟ้าถ่านหินในรัฐ 15 รัฐเพิ่มขึ้นเป็น 45 รัฐ[4][5] วันที่ 8 เมษายน 2558 เพื่อต่อยอดความสำเร็จของโครงการรณรงค์นี้ บลูมเบอร์กประกาศการให้ทรัพย์เพิ่มอีก 30 ล้านเหรียญสหรัฐ (975 ล้านบาท) โดยเพิ่มให้คู่กับการบริจาคของผู้อื่นเป็นจำนวนเท่ากัน (รวม 60 ล้าน) เพื่อให้สามารถรีไทร์โรงไฟฟ้าถ่านหินครึ่งหนึ่งในประเทศโดยปี 2560[6]
บลูมเบอร์กได้บริจาคทรัพย์ 6 ล้านเหรียญสหรัฐ (195 ล้านบาท) ผ่าน Bloomberg Philanthropies ให้แก่องค์กรสนับสนุนให้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม Environmental Defense Fund เพื่อสนับสนุนกฎหมายที่เข้มงวดเพื่อควบคุมเทคนิคการเพิ่มผลผลิตบ่อน้ำมัน/แก๊สธรรมชาติคือ Hydraulic fracturing ในรัฐ 14 รัฐที่ผลิตแก๊สธรรมชาติมากที่สุด[7]
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 บลูมเบอร์กและองค์กรการกุศลของเขาคือ Bloomberg Philanthropies ได้ตั้งโครงการริเริ่มธุรกิจเสี่ยงกับอดีตเลขาธิการกระทรวงการคลัง Henry Paulson และอภิมหาเศรษฐีอีกท่านคือ Tom Steyer เพื่อชักจูงชุมชนนักธุรกิจว่า จำเป็นต้องมีพลังงานที่ยั่งยืนและนโยบายการพัฒนาพลังงาน โดยระบุตัวเลขและเผยแพร่ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจต่อสหรัฐเนื่องจากผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[8] ในเดือนมกราคม 2558 บลูมเบอร์กได้นำ Bloomberg Philanthropies เพื่อร่วมมือในโครงการ 48 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,560 ล้านบาท) ร่วมกับตระกูล Heising-Simons เพื่อจัดตั้งโครงการริเริ่มพลังงานสะอาด (Clean Energy Initiative) ซึ่งสนับสนุนการแก้ปัญหาระดับรัฐโดยมุ่งหมายให้อเมริกามีระบบพลังงานที่สะอาด ไว้ใจได้ และยอมรับราคาได้[9]
ตั้งแต่ปี 2553 บลูมเบอร์กได้มีบทบาทเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในระดับโลกเพิ่มขึ้น ในระหว่างปี 2553-2556 เขาทำหน้าที่เป็นประธานกลุ่ม C40 Cities Climate Leadership Group (ตัวย่อ C40) ซึ่งเป็นเครือข่ายของนครที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ทำงานร่วมกันเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน[10] ในสมัยของประธานาธิบดีบิล คลินตัน บลูมเบอร์ได้ทำงานเพื่อรวมกลุ่ม C40 เข้ากับโครงการของรัฐคือ Clinton Climate Initiative โดยมีจุดมุ่งหมายเพิ่มกำลังของโครงการทั้งสองในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก[11] เขาทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการของโครงการ C40[12]
ในเดือนมกราคม 2557 บลูมเบอร์กเริ่มพันธสัญญาเป็นระยะ 5 ปีเพื่อให้ทรัพย์จำนวน 53 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,723 ล้านบาท) แก่โครงการ Vibrant Oceans Initiative ซึ่งเป็นการจับมือระหว่างองค์กร Bloomberg Philanthropies, Oceana, Rare, และ Encourage Capital เพื่อสนับสนุนให้ปฏิรูปการจับสัตว์น้ำและเพิ่มประชากรสัตว์อย่างยั่งยืนทั่วโลก[13]
วันที่ 31 มกราคม 2557 เลขาธิการสหประชาชาติ พัน กี-มุน ได้แต่งตั้งบลูมเบอร์กเป็นผู้แทนพิเศษเพื่อการเปลี่ยนแปลงเมืองและภูมิอากาศ (Special Envoy for Cities and Climate Change) เพื่อช่วยสหประชาชาติในการทำงานร่วมกับเมืองต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ[14] ในเดือนกันยายน 2557 บลูมเบอร์กได้มาประชุมร่วมกับเลขาธิการและผู้นำโลกอื่น ๆ ที่ "ประชุมสุดยอดสหประชาชาติเกี่ยวกับภูมิอากาศ" (UN Climate Summit) เพื่อประกาศการกระทำที่ชัดเจนเพื่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในปี 2558[15]
เมื่อปลายปี 2557 บลูมเบอร์ก พันกี-มุน และเครือข่ายเมืองทั่วโลกรวมทั้ง ICLEI-Local Governments for Sustainability (ICLEI), C40 Cities Climate Leadership Group (C40), และ United Cities and Local Governments (UCLG) โดยได้การสนับสนุนจาก UN-Habitat ได้เริ่มโครงการ Compact of Mayors ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างผู้ว่า/นายกเทศมนตรีและเจ้าหน้าที่เทศบาลอื่น ๆ โดยสัญญาว่าจะลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากเมือง เพิ่มมาตรการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และติดตามผลอย่างโปร่งใส[16] จนถึงปลายปี 2558 มีเมืองกว่า 250 เมืองโดยมีประชากรรวม 300 ล้านคนเป็นอัตรา 4.1% ของคนทั่วโลก ได้สัญญาทำตามเป้าหมายขององค์กร[17] ซึ่งต่อมารวมเข้ากับโครงการ Covenant of Mayors ในเดือนมิถุนายน 2559[18][19]
วันที่ 30 มิถุนายน 2558 บลูมเบอร์กและผู้ว่านครปารีสได้ประกาศร่วมกันเรื่องการจัดประชุมสุดยอดสำหรับผู้นำท้องถิ่น ซึ่งทำเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2558[20] โดยมีผู้นำเทศบาลเป็นร้อย ๆ ท่านทั่วโลกมาประชุมกันที่ศาลาเทศบาลนครปารีส[21][22] ซึ่งเป็นประชุมใหญ่ที่สุดที่เคยมีของผู้นำท้องถิ่นเพื่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[23] ประชุมได้จบลงด้วยการเสนอปฏิญญาปารีส (Paris Declaration) ซึ่งเป็นสัญญาจากผู้นำที่มาประชุมเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนแต่ละปีโดย 3,700 ล้านตันภายในปี 2573[24]
ระหว่างการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558 ในนครปารีส ผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติอังกฤษได้ประกาศว่า บลูมเบอร์กจะเป็นหัวหน้าคณะทำงานเฉพาะกิจสากล ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยอุตสาหกรรมและตลาดการเงิน ให้เข้าใจความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[25]
บลูมเบอร์กและอดีตกรรมการบริหารของ Sierra Club ผู้หนึ่ง ได้ร่วมเขียนหนังสือเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศชื่อว่า "Climate of Hope: How Cities, Businesses, and Citizens Can Save the Planet (ภูมิอากาศแห่งความหวัง - เมือง ธุรกิจ และประชาชนจะสามารถช่วยชีวิตโลกได้อย่างไร)"[26][27] ซึ่งวางตลาดเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2560 และได้ปรากฏบนรายการหนังสือปกแข็งขายดีที่สุดของเดอะนิวยอร์กไทมส์[28]
หลังจากการประกาศว่า รัฐบาลสหรัฐจะถอนตัวจากความตกลงปารีส บลูมเบอร์กก็ได้ประกาศว่า เมือง รัฐ มหาวิทยาลัย และธุรกิจต่าง ๆ ได้ร่วมใจกันทำตามข้อตกลงของอเมริกาในความตกลงปารีสโดยผ่านโครงการ America's Pledge (สัญญาของอเมริกา)[29] และโดยผ่านองค์กร Bloomberg Philanthropies เขาจะให้ "ถึง 15 ล้านเหรียญสหรัฐ (487.5 ล้านบาท) เพื่อสนับสนุนองค์กรของสหประชาชาติที่ช่วยประเทศต่าง ๆ ดำเนินการตามความตกลง"[30][31]
ต่อจากนั้นอีกหนึ่งเดือน บลูมเบอร์กและผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียได้ประกาศว่า ผู้ร่วมโครงการ America's Pledge จะทำงาน "เพื่อกำหนดเป้าหมายโดยจำนวนซึ่งการดำเนินการของรัฐ เมือง และธุรกิจในสหรัฐ เพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก ให้สมควรกับเป้าหมายของความตกลงปารีส"[32][33] เมื่อประกาศโครงการริเริ่มนี้ บลูมเบอร์กได้กล่าวไว้ว่า "รัฐบาลสหรัฐอาจจะถอนตัวจากความตกลงปารีส แต่ชนอเมริกันยังยืนหยัดเพื่อมัน"[34]
องค์กร Think tank สององค์กร คือ World Resources Institute และ Rocky Mountain Institute จะทำงานร่วมกับ America's Pledge เพื่อวิเคราะห์การดำเนินการของเมือง รัฐ และธุรกิจเพื่อให้ถึงเป้าหมายสัญญาของสหรัฐต่อความตกลงปารีส[35]
การสร้างและพัฒนาผู้นำ[แก้]
ในวันที่ 25 สิงหาคม 2559 Bloomberg Philanthropies และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ประกาศการจัดตั้งโครงการริเริ่ม Bloomberg Harvard City Leadership Initiative[36] โดยได้เงินทุน 32 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,040 ล้านบาท) จากบลูมเบอร์ก โครงการจะจัดประชุมนายกเทศมนตรีถึง 300 ท่านบวกกับเจ้าหน้าที่เทศบาลอีก 400 คนทั่วโลกในอีก 4 ปีข้างหน้า เป็นโปรแกรมฝึกผู้บริหารโดยเล็งเพิ่มประสิทธิผลของการบริหารรัฐกิจและการสร้างนวัตกรรมการปกครองในระดับเมือง[37]
บลูมเบอร์กได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมธุรกิจโลกในวันที่ 20 กันยายน 2560 ซึ่งจัดในระหว่างการประชุมประจำปีของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และมีองค์ประชุมทั้งเป็นประธานกรรมการบริษัทข้ามชาติและประมุขของประเทศต่าง ๆ[38] งานประชุม "จัดในที่พิเศษซึ่งงานประชุมประจำปี Clinton Global Initiative เคยจัด" โดยอดีตประธานาธิบดีสหรัฐ บิล คลินตัน ได้เป็นผู้ให้ปาฐกถาเป็นบุคคลแรก[39][40] จุดประสงค์ของงานนี้ก็เพื่อปรึกษาเรื่อง "โอกาสเพื่อพัฒนาการค้าและเศรษฐกิจ และปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกัน..."[40] นอกจากคลินตันและบลูมเบอร์ก วิทยากรท่านอื่น ๆ รวมทั้งผู้ร่วมจัดตั้งไมโครซอฟท์และนักการกุศลบิล เกตส์ ประธานบริหารบริษัทแอปเปิลทิม คุก ผู้ว่าการธนาคารโลก Jim Yong Kim ผู้ว่าการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ คริสตีน ลาการ์ด นายกรัฐมนตรีแคนาดา จัสติน ทรูโด และประธานาธิบดีฝรั่งเศส แอมานุแอล มาครง[41][38]
การอื่น ๆ[แก้]
ตามโพรไฟล์ของบลูมเบอร์กในนิตยสาร Fast Company มูลนิธิการกุศลของเขาคือ Bloomberg Philanthropies เพ่งความสนใจในเรื่อง 5 เรื่อง คือ สาธารณสุข ศิลปะ นวัตกรรมการปกครอง สิ่งแวดล้อม และการศึกษา[42] ส่วนตามนิตยสารองค์กรไม่หวังผลกำไร Chronicle of Philanthropy บลูมเบอร์กเป็นนักการกุศลที่ให้มากที่สุดเป็นอันดับสามของอเมริกาในปี 2558[43] ผ่านมูลนิธิของเขา เขาได้บริจาคหรือสัญญาว่าจะบริจาค 240 ล้านเหรียญสหรัฐปี 2548, 60 ล้านปี 2549, 47 ล้านปี 2550, 150 ล้านปี 2551, 332 ล้านปี 2552, 311 ล้านปี 2553, และ 510 ล้านปี 2554 (รวม 1,650 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 53,625 ล้านบาท)[43][44]
ผู้รับบริจาคปี 2554 รวม Campaign for Tobacco-Free Kids (การรณรงค์เพื่อเยาวชนไร้บุหรี่) Centers for Disease Control and Prevention (ศูนย์เพื่อควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ) Johns Hopkins Bloomberg School of Public Health (คณะสาธารณสุขบลูมเบอร์กแห่งมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์) มูลนิธิปอดโลก (World Lung Foundation) และองค์การอนามัยโลก
ในปี 2556 มีรายงายว่า บลูมเบอร์กได้บริจาค 109.24 ล้านเหรียญสหรัฐ (3,550 ล้านบาท) เพื่อรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่ในประเทศ 61 ประเทศ[45] ตามหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ บลูมเบอร์กเป็นผู้บริจาคนิรนามคนหนึ่งต่อองค์กรเผยแพร่ความรู้ Carnegie Corporation ในระหว่างปี 2544-2553 ด้วยเงินบริจาคระหว่าง 5-20 ล้านเหรียญต่อปี (162.5-650 ล้านบาท)[46] ส่วน Carnegie Corporation เองก็ได้บริจาคเงินทุนเหล่านี้ไปยังองค์กรในนครนิวยอร์กเป็นร้อย ๆ ตั้งแต่โรงบัลเลต์แห่งฮาเร็ม (Dance Theatre of Harlem) จนถึง Gilda's Club ซึ่งเป็นองค์กรไม่หวังผลกำไรที่ให้การสนับสนุนแก่คนไข้มะเร็งและครอบครัว เขายังสนับสนุนงานศิลป์ผ่านมูลนิธิของเขาด้วย[47]
ในปี 2539 บลูเบอร์กได้มอบทุนแก่โปรแกรม William Henry Bloomberg Professorship ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเป็นจำนวน 3 ล้านเหรียญสหรัฐ (97.5 ล้านบาท) เพื่อยกย่องบิดาของตนผู้เสียชีวิตในปี 2506 โดยกล่าวว่า "ชั่วชีวิตของเขา เขาเข้าใจถึงความสำคัญในการเอื้อมมือช่วยเหลือองค์กรไม่หวังผลกำไร เพื่อช่วยปรับปรุงสวัสดิภาพของทุก ๆ คน"[48] บลูมเบอร์กยังให้ทุนแก่ธรรมศาลาชาวยิวในเมืองที่อยู่ของเขาคือ Temple Shalom ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อให้เกียรติแก่บิดามารดาของเขาคือ William and Charlotte Bloomberg Jewish Community Center of Medford[49]
บลูมเบอร์กรายงานการบริจาค 254 ล้านเหรียญสหรัฐ (8,255 ล้านบาท) ในปี 2552 แก่องค์กรไม่หวังผลกำไรเกือบ 1,400 องค์กรโดยกล่าวว่า "ผมเป็นคนศรัทธาอย่างยิ่งในเรื่องการบริจาคทรัพย์ทั้งหมด และได้กล่าวมาอย่างเสมอ ๆ ว่า การวางแผนทางการเงินที่ดีสุดก็คือการจบลงด้วยการปล่อยให้เช็คเด้งสำหรับสัปเหร่อ"[50] โดยปี 2557 เขาได้บริจาคเงินกว่า 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (58,500 ล้านบาท) แก่องค์กรการกุศล 850 องค์กร[51]
ในเดือนกรกฎาคม 2554 บลูมเบอร์กบริจาคทรัพย์ 24 ล้านเหรียญสหรัฐ (780 ล้านบาท) สำหรับโครงการริเริ่ม Innovation Delivery Teams (ทีมส่งมอบนวัตกรรม) โดยเป็นส่วนของจุดประสงค์หลักขององค์กร Bloomberg Philanthropies ซึ่งก็คือ พัฒนาสร้างนวัตกรรมในการปกครองของรัฐบาล[52]
ในเดือนธันวาคม 2554 Bloomberg Philanthropies เริ่มการร่วมมือกับเสิร์ชเอนจินสำหรับตั๋วออนไลน์คือ SeatGeek เพื่อหาผู้ชมใหม่ ๆ ให้แก่ศิลปิน โดยเรียกโครงการว่า Discover New York Arts ซึ่งรวมองค์ต่าง ๆ เช่น HERE, New York Theatre Workshop, และ Kaufman Center[53] ในสมัยสุดท้ายที่เป็นผู้ว่าการนครนิวยอร์ก บลูมเบิร์กได้ตั้งงบประมาณของนครอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อ The Shed ซึ่งเป็นศูนย์ศิลปะใหม่ที่วางแผนว่าจะสร้างทางทิศตะวันตกปลายเขตของแมนฮัตตันที่ Hudson Yards[54] เมื่อสิ้นสมัยแล้ว เขาก็ยังสนับสนุนโครงการนี้ต่อไปด้วยการบริจาคทรัพย์มูลค่า 75 ล้านเหรียญสหรัฐ (2,438 ล้านบาท)[55] ศูนย์ "จะมีการแสดง คอนเสิร์ต ทัศนศิลป์ ดนตรี และกิจกรรมอื่น ๆ"[56]
ในวันที่ 22 มีนาคม 2555 บลูมเบอร์กได้ประกาศว่ามูลนิธิของเขาสัญญาว่าจะบริจาค 220 ล้านเหรียญสหรัฐ (7,150 ล้านบาท) ในช่วงเวลาอีก 4 ปีเพื่อต่อต้านการสูบบุหรี่ทั่วโลก[57]
บลูมเบอร์กได้บริจาคทรัพย์ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ (6,500 ล้านบาท) เพื่อสร้างอาคารต่าง ๆ ที่โรงพยาบาลจอนส์ฮอปกินส์ ซึ่งเป็น รพ. สอนแพทย์และเป็นศูนย์วิจัยชีวเวช ของคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยจอนส์ออปกิสน์ อาคารรวมทั้งศูนย์เด็ก Charlotte R. Bloomberg Children's Center[51] ในเดือนมกราคม 2556 มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ได้ประกาศว่า ด้วยการบริจาคอีก 350 ล้านเหรียญสหรัฐ (11,375 ล้านบาท) เงินบริจาคที่บลูมเบอร์กมอบให้ในฐานะศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยได้เกิน 1,100 ล้านเหรียญสหรัฐ (35,750 ล้านบาท) แล้ว เขาเริ่มบริจาคให้มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรกเมื่อ 48 ปีก่อนเป็นจำนวน 5 เหรียญ[58] ทรัพย์ 5 ส่วนใน 7 ส่วนของ 350 ล้านเหรียญจะลงให้แก่โปรแกรม Bloomberg Distinguished Professorships โดยเป็นเงินทุนสำหรับศาสตราจารย์ดีเด่น 50 ท่าน ที่ชำนาญพิเศษข้ามหลายสาขาวิชา[59]
ในเดือนกันยายน 2559 ในงานครบร้อยปีของคณะสาธารสุขของมหาวิทยาลัย Bloomberg Philanthropies ได้มอบทรัพย์ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ (9,750 ล้านบาท) เพื่อตั้งโครงการ Bloomberg American Health Initiative รวมการบริจาคให้แก่มหาวิทยาลัยทั้งหมดเป็น 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ (48,750 ล้านบาท)[60] ในวันที่ 29 มีนาคม 2559 บลูมเบอร์กร่วมกับรองประธานาธิบดีสหรัฐ ณ มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ได้ประกาศสร้าง Bloomberg-Kimmel Institute for Cancer Immunotherapy สำหรับคณะแพทย์ในบอลทิมอร์ด้านตะวันออก[61][62] ซึ่งเริ่มต้นด้วยการบริจาค 50 ล้านเหรียญ (1,625 ล้านบาท) จากบลูมเบอร์ก 50 ล้านเหรียญจากนักการกุศล Sidney Kimmel และ 25 ล้านเหรียญจากผู้บริจาคอื่น ๆ[63] ให้เพื่อเป็นศูนย์วิจัยการบำบัดมะเร็ง เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ และเพื่อการร่วมมือกันระหว่างองค์กรเอกชนต่าง ๆ[64] สถาบันนี้มีจุดประสงค์เหมือนกับโครงการของรองประธานาธิบดี ซึ่งก็คือการหาวิธีรักษามะเร็งผ่านการร่วมมือกันระหว่างองค์กรต่าง ๆ ของทั้งรัฐบาลและเอกชน[61]
บลูมเบอร์กเป็นเป็นผู้ก่อตั้งโครงการ Everytown for Gun Safety (เมืองทุกเมืองเพื่อความปลอดภัยจากปืน) ซึ่งเป็นกลุ่มที่สนับสนุนให้ควบคุมอาวุธปืน
ในวันที่ 17 สิงหาคม 2559 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แต่งตั้งบลูมเบอร์กให้เป็นทูตโลกในเรื่องโรคไม่ติดต่อ (Global Ambassador for Noncommunicable Diseases)[65] ในบทบาทนี้ บลูมเบอร์กจะระดมกำลังของทั้งฝ่ายเอกชนและผู้นำทางการเมืองเพื่อช่วย WHO ลดจำนวนผู้เสียชีวิตเนื่องจากโรคที่ป้องกันได้ อุบัติเหตุรถยนต์ การสูบบุหรี่ โรคอ้วน และการดื่มเหล้า เมื่อประกาศการแต่งตั้งเขา ผู้อำนวยการของ WHO ได้อ้างการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของบลูมเบอร์กเพื่อโครงการต่อต้านการสูบบุหรี่ขององค์กร เพื่อป้องกันการจมน้ำ และเพื่อโปรแกรมความปลอดภัยในถนน[66][67]
ในพิธีที่จัดในวันที่ 18 ตุลาคม 2559 พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์บอสตันได้ประกาศการได้รับบริจาค 50 ล้านเหรียญ (1,625 ล้านบาท) จากบลูมเบอร์ก[68] โดยเป็นการบริจาคครั้งที่ 4 ให้กับพิพิธภัณฑ์ ซึ่งบลูมเบอร์กได้ยกย่องว่าช่วยสร้างความคิดจินตนาการเมื่อครั้งเป็นนักเรียนเมื่อเขาได้มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์[69] ทุนนี้จะสนับสนุนแผนกให้การศึกษาและเปลี่ยนชื่ออาคารเป็น William and Charlotte Bloomberg Science Education Center เพื่อยกย่องบิดามารดาของเขา โดยเป็นเงินบริจาคมากที่สุดในประวัติ 186 ปีของพิพิธภัณฑ์[70]
ในวันที่ 5 ธันวาคม 2559 Bloomberg Philanthropies ได้กลายเป็นผู้บริจาคเพื่อการต่อต้านการสูบบุหรี่มากที่สุดในประเทศกำลังพัฒนา องค์กรได้ประกาศว่าจะให้ทรัพย์อีก 360 ล้านเหรียญ (11,700 ล้านเหรียญ) นอกเหนือจากที่ตั้งใจไว้ก่อนแล้ว โดยรวมเป็นทรัพย์ที่บริจาคหรือตั้งใจบริจาคทั้งหมด 1,000 ล้านเหรียญ (32,500 ล้านบาท) เงินก้อนใหม่นี้จะช่วยขยายงานที่มีอยู่แล้ว เช่น ชักนำให้ประเทศต่าง ๆ ตรวจตราการสูบบุหรี่ ออกกฎหมายที่เข้มงวดเพื่อควบคุม และรณรงค์ทางสื่อมวลชนเพื่อให้การศึกษาแก่สาธารชนเกี่ยวกับอัตรายของ บุหรี่ เป็นโปรแกรมที่ทำในประเทศ 110 ประเทศ รวมทั้งจีน อินเดีย อินโดนีเซีย บังกลาเทศ[71] และประเทศไทย[72]
เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 "Michael Bloomberg". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-07-31.
- ↑ "About Mike Bloomberg". mikebloomberg.com. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-12. สืบค้นเมื่อ 2016-07-31.
- ↑ Banjo, Shelly (2010-08-05). "Mayor Pledges Wealth". Wall Street Journal. ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ 2017-04-22.
- ↑ Torres, Christian; Eilperin, Juliet (2011-07-20). "N.Y. Mayor Bloomberg gives $50 million to fight coal-fired power plants". The Washington Post. ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2015-11-10.
- ↑ Shogren, Elizabeth. "Mayor Bloomberg Donates $50 Million To Sierra Club". NPR. สืบค้นเมื่อ 2015-11-10.
- ↑ "Michael Bloomberg's war on coal". POLITICO. สืบค้นเมื่อ 2015-11-10.
- ↑ Navarro, Mireya (2012-08-24). "Bloomberg Backs Fracking, With Rules to Protect the Environment". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2015-11-11.
- ↑ Mundy, Alicia. "'Risky Business' Report Aims to Frame Climate Change as Economic Issue". Wall Street Journal. ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ 2015-11-11.
- ↑ "States Get $48M Boost From Bloomberg Charity To Help Meet Obama Climate Change Agenda". International Business Times. สืบค้นเมื่อ 2015-11-11.
- ↑ "History of the C40". C40 Cities. c40.org. สืบค้นเมื่อ 2015-11-11.
- ↑ Barbaro, Michael (2011-04-13). "Bloomberg and Bill Clinton to Merge Climate Groups". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2015-11-11.
- ↑ Andrews, Jonathan (2014-02-18). "Interview: Michael Bloomberg, Outgoing Chair and Current President C40 Cities". Cities Today. สืบค้นเมื่อ 2015-11-11.
- ↑ "Bloomberg Philanthropies Commits $53 Million to Save the Oceans". The Hollywood Reporter. 2014-01-29. สืบค้นเมื่อ 2015-11-11.
- ↑ "U.N. appoints former NYC Mayor Bloomberg cities, climate change envoy". Reuters. 2014-01-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-27. สืบค้นเมื่อ 2015-11-10.
- ↑ Taylor, Adam (2014-09-22). "U.N. climate summit is high-profile, but some of world's most important leaders will skip it". The Washington Post. ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2015-11-10.
- ↑ "C40: About the Compact of Mayors". c40.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-02. สืบค้นเมื่อ 2015-11-10.
- ↑ "News Archives - Compact of Mayors". Compact of Mayors. สืบค้นเมื่อ 2015-11-10.
- ↑ "Compact of Mayors and EU Covenant of Mayors launch largest global coalition of cities committed to fighting climate change". National Geographic Society (blogs). nationalgeographic.com. 2016-06-22. สืบค้นเมื่อ 2016-07-21.
- ↑ "7,100 Cities From 119 Countries Join Together in Historic Collaboration to Accelerate Climate Action". EcoWatch. สืบค้นเมื่อ 2016-07-21.
- ↑ "Local-governments day announced for Paris climate summit | Citiscope". citiscope.org. สืบค้นเมื่อ 2015-11-10.
- ↑ Stothard, Michael (2015-12-04). "Mayors call for more powers to fight climate change". Financial Times. ISSN 0307-1766. สืบค้นเมื่อ 2016-03-17.
- ↑ Section, United Nations News Service (2015-12-04). "UN News - COP21: in Paris, mayors and celebrities join UN launch of report on boosting investment towards climate smart cities". UN News Service Section. สืบค้นเมื่อ 2016-03-17.
- ↑ "Extending local-level climate action beyond '30-ring circus' of COP 21". citiscope.org. สืบค้นเมื่อ 2016-03-17.
- ↑ "With Paris City Hall Declaration, world mayors throw down gauntlet on climate". citiscope.org. สืบค้นเมื่อ 2016-03-17.
- ↑ Elliott, Larry (2015-12-04). "Michael Bloomberg to head global taskforce on climate change". สืบค้นเมื่อ 2015-12-12 – โดยทาง TheGuardian.com.
- ↑ "Climate of Hope by Michael Bloomberg". St. Martin's Press.
- ↑ Intelligencer, Daily. "An Exclusive Look at Michael Bloomberg and Carl Pope's Book on Climate Change". Daily Intelligencer. สืบค้นเมื่อ 2016-12-23.
- ↑ "Hardcover Nonfiction Books - Best Sellers - May 14, 2017 - The New York Times". สืบค้นเมื่อ 2017-08-09.
- ↑ "Bloomberg delivers U.S. pledge to continue Paris climate goals to U.N." Reuters. 2017-06-05. สืบค้นเมื่อ 2017-08-18.
- ↑ "Bloomberg Promises $15 Million To Help Make Up For U.S. Withdrawal From Climate Deal". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-08-18.
- ↑ Tabuchi, Hiroko; Fountain, Henry (2017-06-01). "Bucking Trump, These Cities, States and Companies Commit to Paris Accord". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2017-08-18.
- ↑ "America's Pledge on Climate Change". Americas Pledge On Climate (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-08-18.
- ↑ Cam, Deniz. "Michael Bloomberg and California Governor Jerry Brown Pledge To Fight Climate Change". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-08-18.
- ↑ "The governor of California and Michael Bloomberg launched a new plan to fight climate change — with or without Trump". Business Insider (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-08-18.
- ↑ Tabuchi, Hiroko; Friedman, Lisa (2017-07-11). "U.S. Cities, States and Businesses Pledge to Measure Emissions". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2017-08-18.
- ↑ "Bloomberg Philanthropies and Harvard University Launch Bloomberg Harvard City Leadership Initiative - News - Harvard Business School". www.hbs.edu. สืบค้นเมื่อ 2016-09-27.
- ↑ Beck, Christina (2016-08-25). "$32 million Bloomberg-Harvard 'mayor school' supports leaders' changing role". Christian Science Monitor. ISSN 0882-7729. สืบค้นเมื่อ 2016-09-27.
- ↑ 38.0 38.1 Goldmacher, Shane (2017-09-19). "As the Clintons Step Back From Global Stage, Bloomberg Steps Up". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2017-10-18.
- ↑ "The US Government-In-Exile Has A New President". BuzzFeed (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-10-18.
- ↑ 40.0 40.1 "Michael Bloomberg is the new Clinton". Axios (ภาษาอังกฤษ). 2017-08-21. สืบค้นเมื่อ 2017-10-18.
- ↑ Stewart, Emily (2017-09-20). "Bloomberg Claps Back at Trump at Inaugural Business Forum". TheStreet (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-10-18.
- ↑ "What's Next For Michael Bloomberg". Fast Company. 2011-08-08.
- ↑ 43.0 43.1 "Conservative Billionaire Richard Scaife Tops List of 50 Biggest Donors". The Chronicle of Philanthropy. สืบค้นเมื่อ 2016-02-11.
- ↑ "No. 5: Michael R. Bloomberg". The Chronicle of Philanthropy. 2012-02-06.
- ↑ "Michael Bloomberg". Forbes. 2016-09. สืบค้นเมื่อ 2016-02-05.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "Bloomberg Is Quietly Ending a Charitable Program". The New York Times. 2010-03-18.
- ↑ "Bloomberg Family Foundation to Support Arts". The New York Times. 2011-02-15.
- ↑ "Bloomberg Endows Professorship for Five Faculties". The Harvard University Gazette. 1996-09-19.
throughout his life, he recognized the importance of reaching out to the nonprofit sector to help better the welfare of the entire community.
- ↑ "Bloomberg — America's first Jewish president". MSNBC. 2007-07-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-06. สืบค้นเมื่อ 2017-12-27.
- ↑ Campbell, Dakin (2010-06-17). "Broad, Bloomberg Back Buffett Call for Billionaire Donations". Bloomberg.
I am a big believer in giving it all away and have always said that the best financial planning ends with bouncing the check to the undertaker.
- ↑ 51.0 51.1 "Michael Bloomberg Net Worth". TheRichest. 1942-02-14. สืบค้นเมื่อ 2014-04-20.
- ↑ "Mayor's Innovation Delivery Team to funnel grant for inner-city revival". The Commercial Appeal. Memphis, TN. 2012-01-06.
- ↑ "SeatGeek and Bloomberg to support 30 treasured arts groups in NYC". The Next Web. 2011-12-08.
- ↑ Kim, Jeanhee. "The Shed at Hudson Yards event is like a Bloomberg-era reunion". Crain's New York Business. สืบค้นเมื่อ 2017-08-09.
- ↑ "Michael R. Bloomberg Donates $75 Million to New NYC Arts Center, The Shed| Playbill". Playbill (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-08-09.
- ↑ Pogrebin, Robin (2017-05-24). "Michael Bloomberg Gives $75 Million to Shed Arts Center". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2017-08-09.
- ↑ "Bloomberg charity adds $220 million to anti-smoking effort". Reuters. 2012-03-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-21. สืบค้นเมื่อ 2017-12-27.
- ↑ "$1.1 Billion in Thanks From Bloomberg to Johns Hopkins". The New York Times. 2013-01-27.
- ↑ "Michael R. Bloomberg Commits $350 Million to Johns Hopkins for Transformational Academic Initiative 2013". 2013-01-26.
- ↑ "Michael Bloomberg Gives $300 Million to Johns Hopkins for Public-Health Effort". The Wall Street Journal. 2016-09-15.
- ↑ 61.0 61.1 "Bloomberg and Kimmel Help Launch Johns Hopkins Cancer Center With Major Donations". Fortune. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
- ↑ "Mike Bloomberg and others donate $125 million for breakthrough cancer research". FastCo News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-20. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
- ↑ "Bloomberg, others give $125 million for immunotherapy cancer research". Reuters. 2016-03-29. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
- ↑ "Johns Hopkins launches cancer research center with $125 million from Bloomberg, Kimmel, others". The Hub. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
- ↑ "Michael R. Bloomberg Becomes WHO Global Ambassador for Noncommunicable Diseases". World Health Organization (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2016-09-27.
- ↑ "Michael Bloomberg Joins U.N. Agency as Health Ambassador". 2016-08-18. สืบค้นเมื่อ 2016-09-27.
- ↑ "Bloomberg becomes global health ambassador". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-01. สืบค้นเมื่อ 2016-09-27.
- ↑ Barone, Joshua (2016-10-18). "Michael Bloomberg Gives $50 Million to Museum of Science, Boston". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2016-11-04.
- ↑ "Michael Bloomberg Donates $50M to Boston Museum of Science". The Forward. สืบค้นเมื่อ 2016-11-04.
- ↑ "Museum of Science changed Michael Bloomberg's life. He gives back with a $50 million gift". BostonGlobe.com. สืบค้นเมื่อ 2016-10-18.
- ↑ "Michael Bloomberg may be Big Tobacco's biggest enemy". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2016-12-06.
- ↑ "Tobacco control in Thailand". WHO - Tobacco Free Initiative. 2015-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-27.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ไมเคิล บลูมเบอร์ก |
- Brash, Julian. Bloomberg's New York: Class and Governance in the Luxury City (University of Georgia Press; 2010) 344 pages. Uses anthropology and geography to examine the mayor's corporate-style governance, with particular attention to the Hudson Yards plan, which aims to transform the far West Side into a high-end district.
- Brash, Julian. "The ghost in the machine: the neoliberal urban visions of Michael Bloomberg." Journal of Cultural Geography 29.2 (2012) : 135-153.
- David, Greg. Modern New York: The Life and Economics of a City (2012).
- Klein, Richard. "Nanny Bloomberg." Society 51.3 (2014) : 253-257, Regarding the "nanny state"
- Purnick, Joyce. Mike Bloomberg: Money, Power, Politics (2009)
- Mayor website
- เว็บไซต์ทางการ
- Michael Bloomberg, City Mayors' Mayor of the Month for August 2012
- Profile at Bloomberg Businessweek
- #23 Michael Bloomberg at Forbes list of 2010 world's billionaires
- Appearances on C-SPAN
- ไมเคิล บลูมเบอร์ก ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- Issue positions and quotes at On The Issues
- งานโดยหรือเกี่ยวกับ ไมเคิล บลูมเบอร์ก ในห้องสมุดต่าง ๆ ในแคตาลอกของเวิลด์แคต
- Michael Bloomberg เก็บถาวร 2011-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน collected news and commentary at the New York Daily News
- Michael Bloomberg collected news and commentary at Newsday
- Biography at the Encyclopædia Britannica
ก่อนหน้า | ไมเคิล บลูมเบอร์ก | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
วาระในพรรคการเมือง | ||||
สมัยก่อนหน้า Rudy Giuliani |
Republican nominee for Mayor of New York City 2001, New York City mayoral election, 2005 |
สมัยต่อมา Joe Lhota | ||
ตำแหน่งทางการเมือง | ||||
สมัยก่อนหน้า Rudy Giuliani |
Mayor of New York City 2002-2013 |
สมัยต่อมา Bill de Blasio |
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- CS1: abbreviated year range
- CS1 errors: unsupported parameter
- ไมเคิล บลูมเบอร์ก
- นักธุรกิจชาวอเมริกัน
- ผู้บริหารธุรกิจชาวอเมริกัน
- ผู้ก่อตั้งบริษัทชาวอเมริกัน
- นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก
- บุคคลที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 1940
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักบินชาวอเมริกัน
- นักเขียนชาวอเมริกัน
- เศรษฐีชาวอเมริกัน
- ชาวอเมริกันเชื้อสายยิว
- ชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซีย
- ผู้สัญญาว่าจะให้
- นักการกุศลชาวอเมริกัน
- นักธุรกิจซอฟต์แวร์
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์