การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558
วันที่30 พฤศจิกายน 2558–
12 ธันวาคม 2558
ที่ตั้งกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศศ
ชื่ออื่นCOP 21/CMP 11
ผู้เข้าร่วมภาคี UNFCCC
เว็บไซต์Venue site
UNFCCC site

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558, COP 21 หรือ CMP 11 จัดในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน - 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เป็นสมัยประชุมประจำปีที่ 21 ของการประชุมภาคี (Conference of the Parties) กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ปี พ.ศ. 2535 และสมัยประชุมที่ 11 ของการประชุมภาคี (Meeting of the Parties) พิธีสารเกียวโตปี พ.ศ. 2540[1]

การประชุมบรรลุวัตถุประสงค์เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ได้ความตกลงทั่วโลกเรื่องการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในความตกลงปารีสซึ่งแทบทุกรัฐมีมติเห็นชอบ[2] ความตกลงนี้จะมีผลผูกมัดตามกฎหมายหากอย่างน้อย 55 ประเทศซึ่งคิดเป็นร้อยละ 55 ของการปล่อยแก๊สเรือนกระจกทั่วโลก[3][4][5]เป็นภาคีความตกลงฯ โดยการลงนามตามด้วยการให้สัตยาบัน การสนองรับ การอนุมัติหรือผ่านภาคยานุวัติในนิวยอร์กระหว่างวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559 - 21 เมษายน พ.ศ. 2560 คาดว่าความตกลงฯ จะมีผลใช้บังคับในปี พ.ศ. 2563[6] ตามคณะกรรมการผู้จัดการประชุม ผลลัพธ์สำคัญที่คาดหมายคือจำกัดปรากฏการณ์โลกร้อนภายในปี พ.ศ. 2643 โดยเทียบกับก่อนยุคอุตสาหกรรมให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส[7] ทว่า มีการเสริมเป้าหมายเพื่อจำกัดการเพิ่มของอุณหภูมิที่ 2 องศานี้ในความตกลงปารีสฉบับที่มีมติเห็นชอบ[3] โดยข้อแถลงความว่าภาคี "มุ่ง" จำกัดการเพิ่มอุณหภูมิที่ 1.5 องศาเซลเซียส[8] นักวิทยาศาสตร์บางคนว่าเป้าหมาย 1.5°C จะต้องอาศัยการปล่อยแก๊สเรือนกระจกที่ระดับศูนย์บางช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2573 ถึง พ.ศ. 2593[2] แต่ทว่า ไม่มีแผนเวลาในรายละเอียดหรือเป้าหมายจำเพาะประเทศสำหรับการปล่อยแก๊สเรือนกระจกแถลงในฉบับสุดท้ายของความตกลงปารีส ขัดกับพิธีสารเกียวโตก่อนหน้า ในความตกลงนี้การปล่อยแก๊สเรือนกระจกระดับศูนย์ควรบรรลุในครึ่งหลังของศตวรรษนี้

ก่อนการประชุม คณะผู้อภิปรายด้านสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ 146 ประเทศนำเสนอร่างการอุดหนุนด้านสภาพภูมิอากาศของประเทศ ที่เรียก การดำเนินงานของประเทศในระดับมุ่งมั่น (Intended Nationally Determined Contributions, INDC) ข้อผูกมัดเหล่านี้ประมาณให้จำกัดปรากฏการณ์โลกร้อนที่ 2.7 องศาเซลเซียสภายในปี 2643[9] ตัวอย่างเช่น INDC ที่สหภาพยุโรปเสนอ คือ ข้อผูกมัดให้ลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกร้อยละ 40 ภายในปี พ.ศ. 2573 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2533[10] ก่อนการประชุมนี้ สมัชชาหารือเกี่ยวกับปรากฏการณ์โลกร้อนในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในมาร์แซย์ ประเทศฝรั่งเศส ระหว่าง MedCop21 ในวันที่ 4 - 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558 มีการประชุมก่อน COP ในบอนน์ ประเทศเยอรมนี ระหว่างวันที่ 19 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2558 โดยมีรัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อมจากทั่วโลกเข้าร่วม

อ้างอิง[แก้]

  1. "19th Session of the Conference of the Parties to the UNFCCC". International Institute for Sustainable Development. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-13. สืบค้นเมื่อ 20 February 2013.
  2. 2.0 2.1 Sutter, John D.; Berlinger, Joshua (12 December 2015). "Final draft of climate deal formally accepted in Paris". CNN. Cable News Network, Turner Broadcasting System, Inc. สืบค้นเมื่อ 12 December 2015.
  3. 3.0 3.1 "Adoption of the Paris agreement—Proposal by the President—Draft decision -/CP.21" (PDF). UNFCCC. 2015-12-12. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-12. สืบค้นเมื่อ 2015-12-12.
  4. The Editorial Board (28 November 2015). "What the Paris Climate Meeting Must Do". New York Times. สืบค้นเมื่อ 28 November 2015.
  5. Borenstein, Seth (29 November 2015). "Earth is a wilder, warmer place since last climate deal made". สืบค้นเมื่อ 29 November 2015.
  6. The 2015 international agreement, EC climate action, access date 30 October 2015
  7. What is COP21? เก็บถาวร 2015-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน access date 30 November 2015
  8. Sutter, John D.; Berlinger, Joshua (12 December 2015). "Final draft of climate deal formally accepted in Paris". CNN. Cable News Network, Turner Broadcasting System, Inc. สืบค้นเมื่อ 12 December 2015.
  9. New UN Report Synthesizes National Climate Plans from 146 Countries, UNFCCC 30 October 2015
  10. Intended Nationally Determined Contribution of the EU and its Member States, 6 March 2015