เครือฟ็อลคส์วาเกิน
สำนักงานใหญ่ในว็อลฟส์บวร์ค ประเทศเยอรมนี | |
ประเภท | บริษัทมหาชนจำกัด |
---|---|
การซื้อขาย | FWB: VOW |
ISIN | DE0007664005 |
อุตสาหกรรม | ยานยนต์ |
ก่อตั้ง | กรุงเบอร์ลิน ไรช์เยอรมัน (28 พฤษภาคม 1937 ) |
ผู้ก่อตั้ง | แนวร่วมแรงงานเยอรมัน |
สำนักงานใหญ่ | , |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
ผลิตภัณฑ์ | ยานยนต์, รถยนต์พาณิชย์, เครื่องยนต์สันดาปภายใน, จักรยานยนต์, เครื่องกลเทอร์โบ |
ผลผลิต | 11,018,000 คัน(2018) |
ตราสินค้า | พาณิชย์: ออกแบบ: |
บริการ | ธนาคาร, เงินทุน, บริหารและติดตามพิกัดตำแหน่งยานพาหนะ, ประกันภัย, สัญญาเช่า[2] |
รายได้ | €2.358 แสนล้านยูโร (2018)[3] |
รายได้จากการดำเนินงาน | €1.392 หมื่นล้านยูโร (2018)[3] |
รายได้สุทธิ | €1.184 หมื่นล้านยูโร (2018)[3] |
สินทรัพย์ | €4.581 แสนล้านยูโร (2018)[3] |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | €1.171 แสนล้านยูโร (2018)[3] |
เจ้าของ |
|
พนักงาน | 302,554 (salaried staff) (2018)[3] |
แผนก | ยานยนต์, บริการทางการเงิน[2] |
บริษัทในเครือ | ด้านการคมนาคม:[1]
บริการทางการเงิน:
ด้านการขนส่ง:
ด้านอุตสาหกรรม:
ระหว่างประเทศ:
|
เว็บไซต์ | www |
บมจ.ฟ็อลคส์วาเกิน (เยอรมัน: Volkswagen AG) หรือที่นิยมเรียก เครือฟ็อลคส์วาเกิน (Volkswagen Group) เป็นเครือบริษัทยานยนตร์ข้ามชาติของเยอรมัน มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในว็อลฟส์บวร์ค รัฐนีเดอร์ซัคเซิน ประเทศเยอรมนี มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือตระกูลพอร์เชอและรัฐบาลนีเดอร์ซัคเซิน เครือฟ็อลคส์วาเกินเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับหนึ่งของโลกแซงหน้าโตโยต้าเมื่อวัดจากยอดขายในปีค.ศ. 2016 และยังสามารถรักษาบัลลังก์นี้ได้ในปี 2017 และ 2018 ด้วยยอดผลิต 10.8 ล้านคัน[3][4] เครือฟ็อลคส์วาเกินยังคงเป็นบริษัทรถยนต์ที่มีครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดในยุโรปมาแล้วกว่าสองทศวรรษ[5] และเป็นบริษัทใหญ่อันดับ 7 ของโลกในตาราง Fortune Global 500 ประจำปี 2018[6]
เครือฟ็อลคส์วาเกินก่อตั้งเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1937 ที่กรุงเบอร์ลิน เมื่อแรกก่อตั้งมีชื่อว่า บริษัทจำกัดหนี้สำหรับเตรียมการรถยนต์ของชนชาวเยอรมัน (เยอรมัน: Gesellschaft zur Vorbereitung des Deutschen Volkswagens mbH) ดำเนินงานโดยแนวร่วมแรงงานเยอรมันแห่งพรรคนาซี โดยมีเป้าหมายแรกเริ่มคือการผลิตรถยนต์พอร์เชอแบบ 60 ซึ่งต่อมาเรียกว่าฟ็อลคส์วาเกินแบบ 1 แลกเรียกจนติดปากว่ารถเต่า[7] รถรุ่นนี้ออกแบบโดยดร.แฟร์ดีนันท์ พอร์เชอ โดยการสนับสนุนของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์[8] ที่ต้องการสร้างรถราคาถูกคุณภาพดีสำหรับชาวเยอรมัน
บริษัทด้านยานยนต์ในเครือฟ็อลคส์วาเกินได้แก่ ฟ็อลคส์วาเกิน, อาวดี้, พอร์เชอ, เบนท์ลีย์, ลัมโบร์กีนี, บูกัตติ, สแกนเนีย, ซีอัท, สโกด้า, ดูคาติ เป็นต้น เครือฟ็อลคส์วาเกินแบ่งส่วนงานออกเป็นสองแผนกหลัก คือแผนกยานยนต์ และแผนกไฟแนนซ์[9] ปัจจุบันบริษัทดำเนินกิจการใน 150 ประเทศและมีโรงงานมากกว่าร้อยแห่งใน 27 ประเทศ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Volkswagen AG 2012, pp. U60–U73.
- ↑ 2.0 2.1 Volkswagen AG 2012, p. 110.
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 "Full Speed Ahead To The Future. 2018 Annual Report". Volkswagen Group. March 12, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-20. สืบค้นเมื่อ March 13, 2019.
- ↑ "Focus2move| World Car Group Ranking - the top 25 in the 2019". 29 July 2019.
- ↑ "NEW PASSENGER CAR REGISTRATIONS BY MANUFACTURER EUROPEAN UNION (EU)". ACEA. 16 มกราคม 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (XLS)เมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2013. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2013.
- ↑ fortune.com/global500/list/
- ↑ "Volkswagen Makes Automotive History". volkswagen.vn. Volkswagen AG. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2012.
- ↑ Nelson, Walter (1967). Small Wonder. Little, Brown & Company. p. 333.
- ↑ Volkswagen AG 2009.