เคนิลเวิร์ทโรด

พิกัด: 51°53′03″N 0°25′54″W / 51.88417°N 0.43167°W / 51.88417; -0.43167
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เคนิลเวิร์ทโรด
แผนที่
ชื่อเต็มเคนิลเวิร์ทโรดสเตเดียม
ที่ตั้งลูตัน เบดฟอร์ดเชอร์
พิกัด51°53′03″N 0°25′54″W / 51.88417°N 0.43167°W / 51.88417; -0.43167
เจ้าของสภาเมืองลูตัน
ผู้ดำเนินการลูตันทาวน์
ความจุ10,356 คน[1]
ขนาดสนาม110 โดย 72 หลา (100.6 โดย 65.8 เมตร)
พื้นผิวหญ้า
การก่อสร้าง
ก่อสร้างค.ศ. 1905
เปิดใช้สนามค.ศ. 1905
การใช้งาน
ลูตันทาวน์ (1905–ปัจจุบัน)

เคนิลเวิร์ทโรด (อังกฤษ: Kenilworth Road) เป็นสนามฟุตบอลในเมืองลูตัน, เบดฟอร์ดเชอร์ เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลลูตันทาวน์ตั้งแต่ ค.ศ. 1905 สนามฟุตบอลแห่งนี้ยังเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลหญิงและเยาวชนระหว่างประเทศ รวมถึงเลกที่ 2 ของการแข่งขันฟุตบอลหญิงชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปรอบชิงชนะเลิศใน ค.ศ. 1984

สนามฟุตบอลขนาดความจุ 10,356 ที่นั่งตั้งอยู่ในเขตเบรีพาร์ก ห่างจากใจกลางเมืองลูตันไปทางตะวันตก 1.6 กิโลเมตร ตั้งชื่อตามถนนที่ตั้งอยู่ข้างสนามคือถนนเคนิลเวิร์ท แม้ว่าที่อยู่อย่างเป็นทางการคือ เลขที่ 1 ถนนเมเปิล เคนิลเวิร์ทโรดจัดการแข่งขันฟุตบอลในเซาเทิร์นลีกจนถึง ค.ศ. 1920 จากนั้นในฟุตบอลลีก จนถึง ค.ศ. 2009 เมื่อลูตันตกชั้นสู่คอนเฟอเรนซ์พรีเมียร์ (เนชันนัลลีกในปัจจุบัน) มีการแข่งขันฟุตบอลลีกอีกครั้งตั้งแต่ ค.ศ. 2014 เมื่อพวกเขาเลื่อนชั้นกลับสู่อีเอฟแอลลีกทู ด้วยการเลื่อนชั้นของสโมสรฟุตบอลลูตันทาวน์สู่พรีเมียร์ลีกใน ค.ศ. 2023 เคนิลเวิร์ทโรดจึงกลายเป็นสนามที่มีความจุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ของพรีเมียร์ลีก[2]

สนามติดตั้งหลอดไฟแสงกระจายใน ค.ศ. 1953 และสนามกลายเป็นที่นั่งทั้งหมดใน ค.ศ. 1991 สถิติผู้ชม 30,069 คนเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1959 ในการแข่งขันเอฟเอคัพรอบที่ 6 นัดรีเพลย์ที่เจอกับแบล็กพูล

ประวัติ[แก้]

ลูตันทาวน์ย้ายไปที่เคนิลเวิร์ทโรดใน ค.ศ. 1905 โดยออกจากสนามเหย้าเดิมของพวกเขาคือดันสเตเบิลโรดหลังจากที่เจ้าของที่ขายพื้นที่สำหรับสร้างที่อยู่อาศัยโดยไม่ทันได้ตั้งตัว[3] คณะกรรมการของสโมสรรีบหาสถานที่สำหรับสร้างสนามฟุตบอลใหม่ของพวกเขา และนัดแรกของสโมสรที่สนามแห่งใหม่คือวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1905 ซึ่งพวกเขาเสมอกับพลิมัทอาร์ไกล์ 0-0

อ้างอิง[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. "Luton Town's Official Matchday Programme". Lutontown. 2007-04-14.
  2. "Kenilworth Road Set To Break Record For Premier League's Smallest Stadium If Luton Town Win Promotion". Sports Illustrated. 16 May 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2023. สืบค้นเมื่อ 29 May 2023.
  3. Hayes (2002). Completely Top Hatters!. p. 43.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Collings, Timothy (1985). The Luton Town Story 1885–1985. Luton Town F.C. ISBN 0-9510679-0-7.
  • Bailey, Steve (December 1997). The Definitive Luton Town F.C. Soccerdata. ISBN 1-899468-10-2.
  • Hayes, Dean P. (November 2002). Completely Top Hatters!. The Book Castle. ISBN 1-903747-27-9.
  • Howells, Kristina (November 1997). A Hatter goes mad!. The Book Castle. ISBN 1-871199-58-1.