ฮายาบูซะ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฮายาบูซะ2)
ฮายาบูซะ 2
はやぶさ 2 (ญี่ปุ่น)
ยานสำรวจ ฮายาบูซะ 2
ยานสำรวจ ฮายาบูซะ 2
ประเภทภารกิจเก็บตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อยและนำกลับ
ผู้ดำเนินการองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น
COSPAR ID2014-076A
SATCAT no.40319
เว็บไซต์Hayabusa2 on jaxa.jp
ข้อมูลยานอวกาศ
ผู้ผลิตNEC[1]
มวลขณะส่งยาน609 กิโลกรัม
ขนาด(1 × 1.6 × 1.25) ม. (แกนยาน)
(6 × 4.23) ม. (แผงโซลาร์)
กำลังไฟฟ้า2.6 kW (ที่ระยะ 1 AU)
1.4 kW (ที่ระยะ 1.4 AU)
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้น3 ธันวาคม พ.ศ. 2557, 04:22 น. UTC[2]
จรวดนำส่งH-IIA 202
ฐานส่งLA-Y, ศูนย์ศึกษาอวกาศทาเนงาชิมะ
สิ้นสุดภารกิจ
ลงจอดธันวาคม พ.ศ. 2563 (แผน)
พิกัดลงจอดวูเมอรา, ออสเตรเลีย
บินผ่านโลก
เข้าใกล้สุด3 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ระยะทาง3,090 กิโลเมตร[3]
ยานอวกาศโคจรรอบ 162173 รีวงู
แทรกวงโคจร27 มิถุนายน พ.ศ. 2561[4]
ออกวงโคจรธันวาคม พ.ศ. 2562 (แผน)
 

ฮายาบูซะ 2 (อักษรโรมัน: Hayabusa2; ญี่ปุ่น: はやぶさ2โรมาจิหมายถึงเหยี่ยวเพเรกริน) เป็นโครงการสำรวจและเก็บตัวอย่างดาวเคราะห์น้อยกลับสู่โลก ดำเนินงานโดยองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) ถือเป็นภารกิจต่อจากภารกิจฮายาบูซะ ซึ่งประสบความสำเร็จในการสำรวจดาวเคราะห์น้อย 25143 อิโตกาวะไปเมื่อปี พ.ศ. 2548[5]

ภาพจำลองยานฮายาบูซะ 2 ขณะที่ไอพ่นกำลังทำงาน

ยานสำรวจฮายาบูซะ2 สร้างโดยบริษัท NEC ของญี่ปุ่น[6] ซึ่งเป็นบริษัทเดียวกันกับที่สร้างยานฮายาบูซะ ภารกิจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลการพัฒนาจุดอ่อนและปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในยุคของฮายาบูซะ[7]

ภาพรวมภารกิจ[แก้]

การปล่อยยานแต่เดิมกำหนดปล่อยเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เวลา 13:23 น.[8][9][10] แต่ถูกเลื่อนออกไป 4 วัน เป็นวันที่ 4 ธันวาคม เวลา 13:22 น. ตามเวลามาตรฐานญี่ปุ่น[11]

ยานสำรวจฮายาบูซะ2 มีเป้าหมายคือดาวเคราะห์น้อย 162173 รีวงู (ชื่อเดิม 1999 JU3) ตามกำหนดการคาดว่ายานลำนี้จะไปถึงราวเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 แล้วโคจรสำรวจรอบดาวเคราะห์น้อยเป็นเวลา 1 ปีครึ่ง ออกจากวงโคจรในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 และกลับถึงโลกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563[10]

ยานฮายาบูซะ2 ใช้พลังงานจากเครื่องขับดันไอออน ใช้เทคโนโลยียกระดับการเดินอวกาศยาน การนำทาง สายอากาศและระบบควบคุมการวางตัวของยาน[12] นอกจากนี้ยังบรรทุกอุปกรณ์ระเบิดไปกับยานเพื่อใช้ขุดผิวหน้าดาวเคราะห์น้อยและเก็บตัวอย่างชิ้นส่วน[10]

อุปกรณ์และเครื่องมือ[แก้]

อุปกรณ์และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ยานสำรวจฮายาบูซะ2 ได้บรรทุกไปด้วย ได้แก่[13][14]

  • เครื่องมือเพื่อการรับรู้ระยะไกล ได้แก่ กล้องนำทางเชิงแสง (Optical Navigation Camera, ONC-T, ONC-W1, ONC-W2) กล้องอินฟราเรดช่วงคลื่นสั้น (NIR3) กล้องอินฟราเรดความร้อน (Thermal-Infrared Camera, TIR) และไลดาร์ (LIDAR)
  • เครื่องมือเพื่อเก็บตัวอย่าง ได้แก่ อุปกรณ์เก็บตัวอย่าง (SMP) ตัวปะทะติดตัวขนาดเล็ก (Small Carry-on Impactor, SCI) และกล้องปรับได้ (Deployable Camera, DCAM3)
  • แลนเดอร์ (ยานลงจอด) และโรเวอร์ (ยานลงจอดเคลื่อนที่ได้) ได้แก่ Mobile Asteroid Surface Scout (MASCOT), MINERVA-II-1 ROVER 1A, MINERVA-II-1 ROVER 1B และ MINERVA-II-2 ROVER 2

อ้างอิง[แก้]

  1. "JAXA Launches Hayabusa2 Asteroid Probe: NEC conducts manufacturing and testing as probe system coordinator" (ภาษาอังกฤษ). NEC. 3 ธันวาคม 2014.
  2. "Launch of "Hayabusa2" by H-IIA Launch Vehicle No. 26" (ภาษาอังกฤษ). JAXA. 30 กันยายน 2014.
  3. "Hayabusa2 Earth Swing-by Result" (ภาษาอังกฤษ). JAXA. 14 ธันวาคม 2015.
  4. "Japan's Hayabusa 2 spacecraft reaches cosmic 'diamond'" (ภาษาอังกฤษ). BBC. 27 มิถุนายน 2018. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2018.
  5. Planetary Protection of Hayabusa-2 Mission, a Sample Return from 1999 JU3 เก็บถาวร 2013-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. Engineers seek smoother space journey for Hayabusa 2, Takashi Kamiguri, Asahi Shimbun, 9 มิถุนายน 2012
  7. Wendy Zukerman (18 สิงหาคม 2010). "Hayabusa2 will seek the origins of life in space". New Scientist.
  8. JAXA Report on Hayabusa2, May 21st, 2014 เก็บถาวร 4 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. Vilas, Faith (25 February 2008), "Spectral characteristics of Hayabusa 2 near-Earth asteroid targets 162173 1999 JU3 AND 2001 QC34", The Astronomical Journal, 135 (4): 1101, Bibcode:2008AJ....135.1101V, doi:10.1088/0004-6256/135/4/1101, target for the planned Japanese mission Hayabusa2
  10. 10.0 10.1 10.2 Makoto Yoshikawa (6 January 2011), "小惑星探査ミッション「はやぶさ2」- Asteroid Exploration Mission "Hayabusa2"" (PDF), 11th Symposium on Space Science (ภาษาญี่ปุ่น), สืบค้นเมื่อ 20 February 2011[ลิงก์เสีย]
  11. Clark, Stephen (3 ธันวาคม 2014), Hayabusa2 launches on audacious asteroid adventure, spaceflightnow
  12. Japan's next asteroid probe approved for development
  13. はやぶさ2情報源 Fact Sheet 小惑星到着直前版 (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น), JAXA, 19 April 2018, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-06-20, สืบค้นเมื่อ 20 June 2018
  14. "Current status of the asteroid explorer, Hayabusa2, leading up to arrival at asteroid Ryugu in 2018" (PDF). JAXA. 14 June 2018. สืบค้นเมื่อ 20 June 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]