เหยี่ยวเพเรกริน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหยี่ยวเพเรกริน
เหยี่ยวเพเรกรินเกาะกับกิ่งไม้
ขณะบิน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Falconiformes
วงศ์: Falconidae
สกุล: Falco
สปีชีส์: F.  peregrinus
ชื่อทวินาม
Falco peregrinus
Tunstall, 1771
ชนิดย่อย
  • F. p. anatum Bonaparte, 1838
  • F. p. brookei Sharpe, 1873
  • F. p. calidus Latham, 1790
  • F. p. cassini Sharpe, 1873
  • F. p. ernesti Sharpe, 1894
  • F. p. fruitii Momiyama, 1927
  • F. p. japonensis Gmelin, 1788
  • F. p. macropus Swainson, 1838
  • F. p. madens Ripley & Watson, 1963
  • F. p. minor Bonaparte, 1850
  • F. p. nesiotes Mayr, 1941
  • F. p. pealei Ridgway, 1874
  • F. p. peregrinator Sundevall, 1837
  • F. p. peregrinus Tunstall, 1771
  • F. p. radama Hartlaub, 1861
  • F. p. tundrius C. M. White, 1968
แผนที่แสดงแหล่งกระจายพันธุ์ทั่วโลก
  แหล่งเพาะขยายพันธุ์ในฤดูร้อน
  แหล่งเพาะขยายพันธุ์ประจำ
  แหล่งที่พบได้ในฤดูหนาว
  แหล่งที่อพยพ
ชื่อพ้อง
  • Falco atriceps Hume
  • Falco kreyenborgi Kleinschmidt, 1929
  • Falco pelegrinoides madens Ripley & Watson, 1963
  • Rhynchodon peregrinus (Tunstall, 1771)
Falco peregrinus
Falco peregrinus madens

เหยี่ยวเพเรกริน (อังกฤษ: Peregrine falcon, Peregrine; ชื่อวิทยาศาสตร์: Falco peregrinus) เป็นนกล่าเหยื่อจำพวกเหยี่ยวชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์เหยี่ยวปีกแหลม (Falconidae)

เหยี่ยวเพเรกริน เป็นนกที่บินได้เร็วมาก โดยทำความเร็วที่ได้ 321-563 กิโลเมตร/ชั่วโมง และทำความเร็วได้สูงที่สุดเมื่อพุ่งดิ่งลงจากที่สูง ถ้าบินระดับแนวนอนปกติ จะอยู่ที่ความเร็วประมาณ 80-90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่หากดิ่งลงมาจากที่สูงสามารถทำความเร็วได้ถึง 205-320 กิโลเมตร/ชั่วโมง นับเป็นนกที่บินได้เร็วที่สุดในโลก และสามารถเพิ่มความเร็วได้ขณะบินได้ถึง 210 กิโลเมตร/ชั่วโมง ด้วยเวลาไม่ถึง 1 วินาที ซึ่งถือว่าเร็วกว่ารถสปอร์ต เสียอีก และนับเป็นสัตว์ที่มีความเร็วที่สุดในอาณาจักรสัตว์ทั้งหมด[2][3]

ซึ่งในความเร็วระดับนี้ ลมจะเข้าไปในโพรงจมูกของเหยี่ยวเพเรกริน ซึ่งแรงพอที่จะทำให้สลบได้ แต่ในโพรงจมูกของเหยี่ยวเพเรกรินจะมีกระดูกอีกชั้นหนึ่งสำหรับกันลม[3]

เหยี่ยวเพเรกรินตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ โดยเฉลี่ยมีขนาดลำตัวประมาณ 34-58 เซนติเมตร (13–23 นิ้ว) และเมื่อกางปีกจะกว้างได้ถึง 74-120 เซนติเมตร (29–47 นิ้ว)[4][5]

เป็นนกที่กระจายพันธุ์ได้กว้างไกลในหลายพื้นที่ของโลก ล่านกและสัตว์ต่าง ๆ กินเป็นอาหาร โดยเฉพาะนกพิราบ[3] มีความแตกต่างกันออกไปของสีขนและลักษณะขน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นชนิดย่อยต่าง ๆ ได้ถึง 16 ชนิด (ดูในตาราง)[6] แต่โดยทั่วไป ส่วนหัวและแถบหนวดดำตัดกับข้างแก้มและคอสีขาวเป็นแถบใหญ่ สำหรับในประเทศไทย ชนิดย่อย F. p. japonensis มีลำตัวด้านบนเทาเข้ม ลำตัวด้านล่างขาว อกมีลายจุดเล็ก ๆ ลำตัวด้านล่างมีลายละเอียดต่อกันตามขวาง ขณะบินปีกกว้าง ปลายมนกว่าชนิดอื่น ๆ ใต้ปีกขาวมีลายดำหนาแน่นที่ขนคลุมใต้ปีก ชนิดย่อย F. p. peregrinator ลำตัวด้านล่างแกมน้ำตาลแดง และชนิดย่อย F. p. ernesti พบในพื้นที่ภาคใต้ มีแก้มสีดำ หัวและลำตัวสีคล้ำมาก อกค่อนข้างเรียบ มีลายขวางหนาแน่นที่ท้องทำให้ลำตัวด้านล่างเป็นสีดำ

ขณะที่ยังเป็นวัยอ่อนมีลายขีดที่อกและท้อง ลำตัวด้านบนแกมน้ำตาลมากกว่านกเต็มวัย ในชนิดย่อย F. p. peregrinator อกและท้องลาย แซมด้วยสีน้ำตาลแดงถึงท้องด้านล่าง ในประเทศไทย มีถิ่นอาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ในบริเวณพื้นที่เปิดโล่ง, ชายฝั่งทะเล, หน้าผา หรือที่ราบถึงความสูง 2,565 เมตร จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยถือเป็นนกอพยพที่หายากชนิดหนึ่ง[7][8][9]

แผนที่แสดงถึงถิ่นกระจายพันธุ์ตามชนิดย่อยต่าง ๆ[แก้]

แผนที่แสดงถึงถิ่นกระจายพันธุ์ตามชนิดย่อยต่าง ๆ (E-สูญพันธุ์)

อ้างอิง[แก้]

  1. BirdLife International (2012). "Falco peregrinus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 16 July 2012.
  2. "5 อันดับนกที่บินเร็วที่สุดในโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-28. สืบค้นเมื่อ 2013-01-04.
  3. 3.0 3.1 3.2 Deadly 60, สารคดีทาง True Explore 1. ทรูวิชั่นส์: ศุกร์ที่ 4 มกราคม 2555
  4. White, C.M. et al. (1994), "Family Falconidae", in del Hoyo, J., Elliot, A. and Sargatal, J., Handbook of Birds of the World: New World Vultures to Guinea fowl, 2, Barcelona: Lynx Edicions, pp. 216–275, plates 24–28, ISBN 84-87334-15-6
  5. Dewey, T.; Potter, M. (2002), Animal Diversity Web: Falco peregrinus, University of Michigan Museum of Zoology, retrieved 21 May 2008
  6. จาก itis.gov
  7. คู่มือดูนก โดย น.พ.บุญส่ง เลขะกุล และนกในเมืองไทย เล่ม 3 โดย รศ.โอภาส ขอบเขตต์
  8. บัญชีรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครอง 2546 - 2
  9. Ferguson-Lees, James; Christie, David (2005). Raptors of the World: A Field Guide (Helm Field Guides) . Christopher Helm Publishers Ltd. ISBN 0713669578.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Falco peregrinus ที่วิกิสปีชีส์