ข้ามไปเนื้อหา

ฮันกี๋

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮันกี๋ (หาน ฉี)
韓琪
ขุนพลแห่งวุยก๊ก
ถึงแก่กรรมค.ศ. 228
สถานที่ถึงแก่กรรมเขาฮองเบงสัน
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม韓琪
อักษรจีนตัวย่อ韩琪
ยุคในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก

ฮันกี๋ มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หาน ฉี (จีน: 韓琪; พินอิน: Hán Qí) เป็นตัวละครในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์จีนในศตวรรษที่ 14 เรื่องสามก๊ก เป็นบุตรชายคนที่ 4 ของฮันเต๊กและขุนพลของมณฑลเลียงจิ๋วแห่งรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊ก ใช้ดาบคู่อาวุธ[1]

ฮันกี๋เป็นตัวละครสมมติในนวนิยายสามก๊ก ไม่ปรากฏชื่อในบันทึกทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการ

ในนิยายสามก๊ก

[แก้]

ฮันเขงปรากฏเป็นตัวละครในนวนิยายสามก๊กตอนที่ 92[a] ตามความในนวนิยายสามก๊ก เมื่อจูกัดเหลียงอัครมหาเสนาบดีแห่งรัฐจ๊กก๊กนำทัพบุกขึ้นเหนือครั้งแรกในปี ค.ศ. 228 ฮันเต๊กนำกองกำลังชนเผ่าเสเกี๋ยง (西羌 ซีเชียง) หรือเกี๋ยงตะวันตกแปดหมื่นนายยกมาสนับสุนนแฮหัวหลิมแม่ทัพวุยก๊กในการรบกับจ๊กก๊ก ฮันเขงและบุตรชายคนอื่นของฮันเต๊กอีก 3 คนคือฮันเอ๋ง (韓瑛 หาน อิง) ฮันเอี๋ยว (韓瑤 หาน เหยา) และฮันเขง (韓瓊 หาน ฉฺยง) ได้ติดตามฮันเต๊กผู้บิดามาร่วมรบด้วย

ฮันเต๊กและบุตรชายเข้ารบกับเตียวจูล่งขุนพลจ๊กก๊กที่เขาฮองเบงสัน (鳳鳴山 เฟิ่งหมิงชาน) ฮันเอ๋งบุตรชายคนโตของฮันเต๊กเป็นคนแรกที่เข้ารบตัวต่อตัวกับเตียวจูล่งและถูกแทงตกม้าเสียชีวิต ฮันเอี๋ยวบุตรชายคนรองจึงขับม้าถือดาบเข้ารบกับเตียวจูล่ง ฮันเอี๋ยวสู้เตียวจูล่งไม่ได้ ฮันเขงและฮันกี๋ก็เข้าช่วยรบ ฮันกี๋ถูกเตียวจูล่งแทงตกม้า รองขุนพลในทัพฮันเต๊ํกออกไปช่วยพาตัวฮันกี๋กลับเข้าในทัพได้ แต่ฮันกี๋ก็เสียชีวิตด้วยบาดแผลที่ถูกเตียวจูล่งแทงในเวลาต่อมา[c][4][2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ตรงกับสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 70[2]
  2. ชื่อตัวของเตียวจูล่ง
  3. นวนิยายสามก๊ํกไม่ได้ระบุการเสียชีวิตของฮันกี๋โดยตรง แต่สามารถอนุมานว่าฮันกี๋เสียชีวิตได้จากความในนิยายสามก๊กในภายหลังว่า "ฮันเต๊กเห็นบุตรชายสี่คนต่างถูกฆ่าด้วยมือของเจ้า ยฺหวิน[b] (趙雲)"[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. (四子韓琪,見二兄戰雲不下,也縱馬掄兩口日月刀而來,圍住趙雲。) สามก๊ก (ซานกั๋วเหยี่ยนอี้) ตอนที่ 92.
  2. 2.0 2.1 "สามก๊ก ตอนที่ ๗๐". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ September 7, 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. (韓德見四子皆喪趙雲之手) สามก๊ก (ซานกั๋วเหยี่ยนอี้) ตอนที่ 92.
  4. สามก๊ก (ซานกั๋วเหยี่ยนอี้) ตอนที่ 92.

บรรณานุกรม

[แก้]