อิซมีร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อิซเมียร์)
อิซมีร์
เทศบาลนคร
Alsancak quarter in the Konak district of İzmir
İzmir Clock Tower
Asansör in İzmir
Konak Pier in İzmir
ตามเข็มนาฬิกาจากบน: ย่าน Alsancak ในเขต Konak, Asansör, Kültürpark, ตึกระฟ้าใน Bayraklı, Konak Pier, และ หอนาฬิกาอิซมีร์
สมญา: 
ไข่มุกแห่งทะเลอีเจียน
อิซมีร์ตั้งอยู่ในประเทศตุรกี
อิซมีร์
อิซมีร์
ที่ตั้งของอิซมีร์ในประเทศตุรกี
พิกัด: 38°42′N 27°14′E / 38.700°N 27.233°E / 38.700; 27.233
ประเทศธงของประเทศตุรกี ตุรกี
เขตอีเจียน
จังหวัดจังหวัดอิซมีร์
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีTunç Soyer
(CHP)
พื้นที่
 • เขตเมือง919 ตร.กม. (355 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล2,259 ตร.กม. (872 ตร.ไมล์)
ความสูง2 เมตร (7 ฟุต)
ประชากร
 (31 ธ.ค. 2019 (ประมาณการ)[1])[2][3][4]
 • เทศบาลนคร4,367,251 คน
 • เขตเมือง2,965,900 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง4,761 คน/ตร.กม. (12,330 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล3,209,179 คน
 • ความหนาแน่นรวมปริมณฑล1,400 คน/ตร.กม. (3,700 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมอังกฤษ: Izmirian
ตุรกี: İzmirli
เขตเวลาUTC+3 (TRT)
รหัสไปรษณีย์35xxx
รหัสพื้นที่(+90) 232
ทะเบียนรถยนต์35
เว็บไซต์www.izmir.bel.tr
www.izmir.gov.tr

อิซมีร์ (ตุรกี: İzmir [ˈizmiɾ]; กรีก: Σμύρνη Smýrni/Smýrnē ) เป็นมหานครในปลายสุดทางตะวันตกของอานาโตเลีย และเป็นเมืองอันดับที่สามมีประชากรมากที่สุด ในประเทศตุรกี[1] เป็นรองแค่อิสตันบูล กับอังการา และเป็นเมืองริมทะเลอีเจียนที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดรองจากเอเธนส์ โดยในปี ค.ศ. 2017 เมืองอิซมีร์มีประชากร 3,028,323 คน ในสมัยโบราณเมืองนี้มีชื่อเรียกว่า สมึร์นา (ละติน: Smyrna )

ภูมิลักษณ์[แก้]

ภาพถ่าย NASA Earth Observatory ของอิซมีร์ ถ่ายจากสถานีอวกาศนานาชาติเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 จุดเด่นคือภูมิทัศน์ที่ทันสมัยของเมือง

ประวัติความเป็นเมืองของอิซมีร์มีบันทึกไว้มากกว่า 3,000 ปี และมีประวัติศาสตร์มากถึง 8,500 ปีในฐานะที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ตั้งแต่ยุคหินใหม่ ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบที่หัวอ่าวของส่วนกลางแนวชายฝั่งอนาโตเลียตะวันตก ตลอดประวัติศาสตร์เมืองนี้เป็นหนึ่งในท่าเรือการค้าที่สำคัญของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นอกจากนี้ อิซมีร์สมัยใหม่ยังรวมเอาเมืองโบราณเอฟิซัส, เพอร์กามอน, ซาร์ดิส และคลาโซเมแน และเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ เช่น คูชาดาซี, เชชเม, มอร์โดอัน และโฟชาด้วย เมื่อพวกออตโตมันเข้ายึดครองอิซมีร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมืองไม่ได้สืบทอดความทรงจำทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ ไม่เหมือนกับเมืองสำคัญอื่น ๆ ของเครือข่ายการค้าออตโตมัน เช่น คอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล), ดามัสกัส, แบกแดด และไคโร

การเกิดขึ้นของอิซมีร์ในฐานะท่าเรือระหว่างประเทศที่สำคัญในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความดึงดูดในการเข้ามาของชาวต่างชาติและการวางแนวทางของเมืองให้เป็นแบบยุโรป[5] ในทางการเมืองอิซมีร์ถือเป็นฐานที่มั่นของอุดมการณ์อาตาเติร์กนิยม (Kemalism) และพรรค CHP (ตุรกี: Cumhuriyet Halk Partisi)

ท่าเรือของอิซมีร์เป็นท่าเรือหลักของตุรกีสำหรับการส่งออกโดยเฉพาะโดยเรือบรรทุกตู้สินค้าและเป็นเขตปลอดอากร โดยมีกิจการร่วมค้าระหว่างตุรกีและสหรัฐ ที่ก่อตั้งขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นผู้นำของธุรกิจร่วมกับอีกยี่สิบบริษัทของตุรกี แรงงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มวิชาชีพรุ่นใหม่ที่กำลังเติบโตนั้นกระจุกตัวอยู่ในเมืองหรือในบริเวณใกล้เคียง (เช่นในจังหวัดมานิซา และเมืองตูร์กุตลู) ซึ่งประกอบด้วยทั้งบริษัทขนาดใหญ่และเอสเอ็มอี ที่เติบโตอย่างรวดเร็วโดยดำเนินงานในระดับสากล[6]

อิซมีร์เป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาเมดิเตอร์เรเนียนในปี ค.ศ. 1971 และการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก (Universiade) ในปี ค.ศ. 2005 ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2008 อิซมีร์ได้ยื่นข้อเสนอต่อองค์การนิทรรศการนานาชาติ (BIE) เพื่อขอเป็นเจ้าภาพจัดงานงานแสดงสินค้าโลก 2015 แต่ที่สุดแล้วเมืองมิลาน ประเทศอิตาลีเป็นผู้ได้รับเลือก

ประวัติศาสตร์[แก้]

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

การเมืองการปกครอง[แก้]

การศึกษา[แก้]

เศรษฐกิจ[แก้]

สาธารณสุข[แก้]

ภูมิอากาศ[แก้]

ข้อมูลภูมิอากาศของอิซมีร์
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 22.4
(72.3)
23.8
(74.8)
30.5
(86.9)
32.2
(90)
37.5
(99.5)
41.3
(106.3)
42.6
(108.7)
43.0
(109.4)
40.1
(104.2)
36.0
(96.8)
29.0
(84.2)
25.2
(77.4)
43
(109.4)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 12.6
(54.7)
13.4
(56.1)
16.5
(61.7)
20.9
(69.6)
26.1
(79)
31.0
(87.8)
33.3
(91.9)
32.8
(91)
29.1
(84.4)
24.0
(75.2)
18.2
(64.8)
13.9
(57)
22.65
(72.77)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 8.9
(48)
9.4
(48.9)
11.8
(53.2)
15.9
(60.6)
20.9
(69.6)
25.8
(78.4)
28.1
(82.6)
27.6
(81.7)
23.7
(74.7)
18.8
(65.8)
13.7
(56.7)
10.3
(50.5)
17.91
(64.24)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 5.9
(42.6)
6.2
(43.2)
8.0
(46.4)
11.5
(52.7)
15.6
(60.1)
20.2
(68.4)
22.9
(73.2)
22.7
(72.9)
18.9
(66)
14.8
(58.6)
10.4
(50.7)
7.5
(45.5)
13.72
(56.69)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) −6.4
(20.5)
−5.0
(23)
−3.1
(26.4)
0.6
(33.1)
7.0
(44.6)
10.0
(50)
16.1
(61)
15.2
(59.4)
10.0
(50)
5.3
(41.5)
-0.1
(31.8)
−4.0
(25)
−6.4
(20.5)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 118.6
(4.669)
103.8
(4.087)
75.3
(2.965)
48.3
(1.902)
26.9
(1.059)
8.5
(0.335)
1.9
(0.075)
2.0
(0.079)
17.3
(0.681)
44.5
(1.752)
95.5
(3.76)
147.5
(5.807)
690.1
(27.169)
ความชื้นร้อยละ 68 63 62 58 55 48 42 47 53 60 68 70 57.8
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 11.2 10.8 8.9 8.4 5.1 1.9 0.5 0.5 2.1 5.4 8.5 12.9 76.2
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 133.3 141.3 195.3 219.0 294.5 342.0 375.1 353.4 300.0 226.3 159.0 124.0 2,863.2
แหล่งที่มา 1: Turkish Meteorological Service,[7] World Meteorological Organization (precipitation data)[8]
แหล่งที่มา 2: BBC Weather (humidity values)[9]

เมืองพี่น้อง - เมืองแฝด[แก้]

ต่อไปนี้เป็นรายการของอิซเมียร์ของ เมืองพี่น้อง:[10]

ยุโรป
เอเชีย
แอฟริกา
อเมริกา

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Turkey: Administrative Division (Provinces and Districts) - Population Statistics, Charts and Map".
  2. "Population of Province/District Centers, Towns/Villages by Provinces and Districts and Annual Growth Rate Of Population". Turkish Statistical Institute. สืบค้นเมื่อ 26 April 2019.
  3. "İstatistiklerle İzmir". T.C. İzmir Valiliği. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-20. สืบค้นเมื่อ 26 April 2019.
  4. "Population of Province / District Centers and Towns / Villages by Province and Sex, Population Density by Province". Turkish Statistical Institute. สืบค้นเมื่อ 26 April 2019.
  5. Edhem Eldem; Daniel Goffman; David Morgan (1999). The Ottoman City Between East and West: Aleppo, İzmir and Istanbul. Cambridge University Press. ISBN 0-521-64304-X.
  6. WebProNews. "Microsoft acquires Devbiz business solutions". WebProNews. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มกราคม 2011. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2010.
  7. "Official Statistics (Statistical Data of Provinces and districts)-İzmir" (ภาษาตุรกี). Turkish Meteorological Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-20. สืบค้นเมื่อ September 14, 2012.
  8. "Climate Information for İzmir". World Meteorological Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-22. สืบค้นเมื่อ September 14, 2012.
  9. "BBC Weather: İzmir". BBC. สืบค้นเมื่อ September 14, 2012.
  10. "Sister Cities". İzmir Metropolitan Municipality. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-16. สืบค้นเมื่อ 2015-02-15.
  11. Frohmader, Andrea. "Bremen - Referat 32 Städtepartnerschaften / Internationale Beziehungen" [Bremen - Unit 32 Twinning / International Relations]. Das Rathaus Bremen Senatskanzlei [Bremen City Hall - Senate Chancellery] (ภาษาเยอรมัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2013-08-09.
  12. "Kardeş Şehirler" [Sister Cities]. Famagusta Municipality (ภาษาตุรกี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-16. สืบค้นเมื่อ 2013-10-19.
  13. "Mostar Gradovi prijatelji" [Mostar Twin Towns]. Grad Mostar [Mostar Official City Website] (ภาษามาซิโดเนีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-30. สืบค้นเมื่อ 2013-12-19.
  14. A.Ş., ÜNİBEL. "İzmir Büyükşehir Belediyesi". İzmir Büyükşehir Belediyesi (ภาษาอังกฤษ).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  1. http://www.citypopulation.de/Turkey-RBC20.html December 2012 address-based calculation of the Turkish Statistical Institute as presented by citypopulation.de