คนอสซอส
Κνωσός | |
ทางเข้าด้านทิศเหนือที่ได้รับการบูรณะพร้อมกับภาพปูนเปียกรูปกระทิง | |
เกาะครีตแสดงตำแหน่งเมืองฮีราคลีออน ที่ตั้งของคนอสซอส | |
ที่ตั้ง | ฮีราคลีออน เกาะครีต กรีซ |
---|---|
ภูมิภาค | ชายฝั่งตอนกลางเหนือ ห่างจากฮีราคลีออนไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 5 กม. (3.1 ไมล์) |
พิกัด | 35°17′53″N 25°9′47″E / 35.29806°N 25.16306°E |
ประเภท | หมู่พระราชฐาน ศูนย์กลางการบริหาร เมืองหลักของเกาะครีตและดินแดนในเขตอำนาจ |
ความยาว | 5 กม. (3.1 ไมล์)[1] |
ความกว้าง | 3 กม. (1.9 ไมล์) |
พื้นที่ | รวมทั้งหมด: 10 ตร.กม. (3.9 ตร.ไมล์) ตัวพระราชวัง: 14,000 ตร.ม. (150,000 ตร.ฟุต)[2] |
ความสูง | ไม่ทราบ |
ความเป็นมา | |
ผู้สร้าง | ไม่ทราบ |
สร้าง | ตั้งถิ่นฐานครั้งแรกเมื่อประมาณ 7,000 ปีก่อน ค.ศ. พระราชวังหลังแรกมีอายุย้อนไปถึง 1,900 ปีก่อน ค.ศ. |
ละทิ้ง | ช่วงหนึ่งในสมัยมิโนอันตอนปลาย (LM IIIC) 1,380–1,100 ปีก่อน ค.ศ. |
สมัย | ยุคหินใหม่ถึงยุคสัมฤทธิ์ตอนปลาย พระราชวังหลังแรกสร้างขึ้นในสมัยมิโนอันตอนกลาง (MM IA) |
วัฒนธรรม | ไมนอส, ไมซีนี |
เกี่ยวเนื่องกับ | มิโนอันตอนกลาง: ไม่ทราบกลุ่มชาติพันธุ์ชัดเจน แต่เรียกว่าเป็นชาวมิโนอัน มิโนอันตอนปลาย: ชาวกรีกไมซีนี |
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่ | |
ขุดค้น | ค.ศ. 1900–1931 ค.ศ. 1957–1960 ค.ศ. 1969–1970 |
ผู้ขุดค้น | ผู้ค้นพบช่วงแรก: อาร์เธอร์ อีแวนส์, เดวิด จอร์จ โฮการ์ธ, ดันแคน แม็คเคนซี; ผู้ขุดค้น: ทีโอดอร์ ฟิฟ สถาปนิก, คริสเตียน ดอลล์ สถาปนิก |
สภาพ | ได้รับการบูรณะและพร้อมให้เข้าชม |
ผู้บริหารจัดการ | 23rd Ephorate of Prehistoric and Classical Antiquities |
การเปิดให้เข้าชม | ใช่ |
เว็บไซต์ | "Knossos". British School at Athens. "Knossos". Odysseus. กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวสาธารณรัฐเฮลเลนิก. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มิถุนายน 2007. |
คนอสซอส (อังกฤษ: Knossos, ออกเสียง: /ˈknɒsɒs/; กรีกโบราณ: Κνωσός, อักษรโรมัน: Knōsós, [knoˈsos], อักษรลิเนียร์บี: 𐀒𐀜𐀰 Ko-no-so)[3] หรือที่เรียกว่า "ลายวงกต" หรือ "พระราชวังคนอสซอส" คือแหล่งโบราณคดีที่ใหญ่ที่สุดของยุคสัมฤทธิ์บนเกาะครีต และได้รับการขนานนามว่าเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของยุโรป[4]
มีผู้ตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้มาตั้งแต่ยุคหินใหม่ ชื่อคนอสซอสมาจากภาษากรีกโบราณที่กล่าวถึงเมืองหลักบนเกาะครีต พระราชวังคนอสซอสกลายเป็นศูนย์กลางทางพิธีและการเมืองของอารยธรรมและวัฒนธรรมไมนอส บนผนังของพระราชวังเป็นภาพรายละเอียดของชีวิตชาวครีตในปลายยุคสัมฤทธิ์ พระราชวังถูกทิ้งร้างในช่วงสิ้นสุดยุคสัมฤทธิ์ตอนปลาย ในเวลาใดไม่ทราบแน่ชัด[5] และไม่มีใครทราบเหตุผลว่าทำไม ปัจจุบันคนอสซอสกลายเป็นสถานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเพราะตั้งอยู่ใกล้กับเมืองใหญ่ฮีราคลีออน คนอสซอสได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เป็นอันมากโดยเซอร์อาร์เทอร์ อีแวนส์ นักโบราณคดีชาวอังกฤษ
ในสมัยพระราชวังแรก (ประมาณ 2,000 ปีก่อน ค.ศ.) บริเวณเมืองมีประชากรมากถึง 18,000 คน[6] ในสมัยรุ่งเรืองที่สุด พระราชวังและเมืองรอบ ๆ มีประชากรมากถึง 100,000 คน หลัง 1,700 ปีก่อน ค.ศ. ไม่นานนัก[7][8][9]
เมืองคนอสซอสมีความสำคัญจนตลอดสมัยคลาสสิกและสมัยโรมัน แต่ชาวเมืองย้ายไปอยู่ในเมืองคันดักส์ซึ่งเป็นเมืองใหม่ (ฮีราคลีออนในปัจจุบัน) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 คนอสซอสก็มีชื่อใหม่ว่า "มาครีเทคอส" (Makryteikhos หรือ "กำแพงยาว") แต่บิชอปแห่งกอร์ทินยังคงเรียกตนเองว่าบิชอปแห่งคนอสซอสมาจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19[10] ในปัจจุบันคำว่า "คนอสซอส" ใช้เฉพาะในการเรียกแหล่งโบราณคดีที่ตั้งอยู่ที่ปริมณฑลของเมืองฮีราคลีออนเท่านั้นเอง
การสะกด
[แก้]คำว่าคนอสซอสเคยถูกแผลงเป็นภาษาละตินอยู่หลายแบบ เช่น Cnossus หรือ Cnossos และบางครั้งเขียนเป็น Knossus, Gnossus หรือ Gnossos[11][12] แต่ปัจจุบันมีการเขียนคำนี้เกือบทุกครั้งด้วยรูปแบบ Knossos[13]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Papadopoulos, John K (1997). "Knossos". ใน Delatorre, Marta (บ.ก.). The conservation of archaeological sites in the Mediterranean region : an international conference organized by the Getty Conservation Institute and the Paul Getty Museum, 6–12 May 1995. Los Angeles: The Paul Getty Trust. p. 93.
- ↑ McEnroe, John C. (2010). Architecture of Minoan Crete: Constructing Identity in the Aegean Bronze Age. Austin: University of Texas Press. p. 50. อย่างไรก็ตาม Davaras 1957, p. 5 หนังสือคู่มือทางการเล่มหนึ่งระบุว่าพระราชวังเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างและยาว 150 เมตร (490 ฟุต) และมีเนื้อที่ประมาณ 20,000 ตารางเมตร (220,000 ตร.ฟุต)
- ↑ palaeolexicon.com, "Mycenaean Greek and Linear B", Palaeolexicon.
- ↑ Todd Whitelaw 2000, p. 223.
- ↑ Castleden, Rodney (1993). Life in Bronze Age Crete. London; New York: Routledge. p. 35.
- ↑ Castleden, Rodney (2002). "Life in the Towns". Minoan Life in Bronze Age Crete. Routledge. p. 68. ISBN 978-1-134-88064-5.
- ↑ Ring, Trudy; Noelle Watson; Paul Schellinger (2013). "Crete (Greece)". Southern Europe: International Dictionary of Historic Places. Routledge. p. 172. ISBN 978-1-134-25958-8.
- ↑ Mithen, Steven (2012). Thirst: For Water and Power in the Ancient World. Harvard University Press. p. 77. ISBN 978-0-674-07219-0.
- ↑ Humphrey, John William (2006). "Bronze Age Civil Engineering". Ancient Technology. Greenwood Publishing Group. p. 56. ISBN 978-0-313-32763-6.
- ↑ Oliver Rackham and Jennifer Moody (1996). The Making of the Cretan Landscape. Manchester University Press. pp. g. 94, 104. ISBN 0-7190-3646-1.
- ↑ EB (1878).
- ↑ EB (1911), p. 573.
- ↑ "Google Ngram Viewer". books.google.com. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2018.
บรรณานุกรม
[แก้]- Baynes, T. S., บ.ก. (1878), Encyclopædia Britannica, vol. 6 (9th ed.), New York: Charles Scribner's Sons, p. 44 ,
- Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 6 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 573–574.
- Davaras, Costos (1957), Knossos and the Herakleion Museum: Brief Illustrated Archaeological Guide, แปลโดย Doumas, Alexandra, Athens: Hannibal Publishing House
- Todd Whitelaw (2000), "Beyond the palace:A century of investigation at Europe's oldest city", Bulletin of the Institute of Classical Studies: 223, 226
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ คนอสซอส