อมรวิชช์ นาครทรรพ
อมรวิชช์ นาครทรรพ | |
---|---|
ไฟล์:Aj.Amorn.jpg | |
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ | |
ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.ศึกษาธิการ
โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
อมรวิชช์ นาครทรรพ เกิดวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 อาจารย์ประจำภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกิดที่กรุงเทพฯ เป็นบุตรของ ศาสตราจารย์ ดร.อรรถ นาครทรรพ[1] (ถึงแก่กรรม) อดีตอาจารย์ในสาขาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับ ศาสตราจารย์กิตติคุณฐะปะนีย์ นาครทรรพ[2] [3](ถึงแก่กรรม) อดีตอาจารย์ในสาขาการสอนภาษาไทย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้องสี่คน คือ ดร.คุรุจิต นาครทรรพ[4]กรรมการอิสระ บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน, นางสาวปฤชญีน นาครทรรพ ข้าราชการบำนาญในสังกัดวิทยาลัยปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อดีตรองผู้อำนวบการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)[5]
จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ครุศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกาจนได้รับปริญญา M.S. (Higher Education) จาก Florida State University และ M.A., Ph.D. (Education Research and Evaluation) จาก Ohio State University
- 1991 - Certificate in Policy Studies, Cambridge University
- 2002 - Fellow, Eisenhower Fellowships, U.S.A.[6]
งานประพันธ์[แก้]
ดร. อมรวิชช์ นาครทรรพ เริ่มต้นผลงานทางวิชาการที่เป็นที่รู้จักในหนังสือชุด "ความฝันของแผ่นดิน" และ "ความจริงของแผ่นดิน" [7]ในโครงการการศึกษาไทยในยุคโลกาภิวัตน์ โดยมีศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัตเป็นประธาน นอกจากนี้ยังมีผลงานประพันธ์หนังสือและงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ประมาณ 30 เล่ม บทความวิชาการและบทความเผยแพร่ลักษณะอื่นๆ อีกมากมาย
ชีวิตราชการ[แก้]
ดร.อมรวิชช์เข้าสู่วงการศึกษาด้วยการเริ่มต้นรับราชการที่ทบวงมหาวิทยาลัยในสมัยที่มีศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน เป็นปลัดทบวงฯ ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 จึงได้ย้ายมาเป็นอาจารย์ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างนั้นได้เริ่มโครงการสำคัญหลายเรื่อง อาทิ งานติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวขนรายจังหวัด (Child Watch) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) งานยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และกระทรวงวัฒนธรรม งานพัฒนาการศึกษาตามบริบทวัฒนธรรมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 อาจารย์ได้ถูกยืมตัวไปช่วยงานด้านการศึกษาเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ( ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ) ในสมัยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ นอกจากนี้อาจารย์ได้ถูกยืมตัวตามมติคณะรัฐมนตรีเป็นเวลา 4 ปีจากปี 2555-2558 มาเป็นที่ปรึกษาสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) และได้ร่วมพัฒนาการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ (Area-Based Education) ใน 14 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน น่าน ลำปาง สุโขทัย สุรินทร์ อำนาจเจริญ ชลบุรี ตราด พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และยะลา ในปี พ.ศ. 2558 ได้เข้ารับตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ( ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ) และโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ [8] [9]ในสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในขณะเดียวกันก็ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ควบคู่ไปด้วย โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นโฆษกคณะกรรมาธิการด้านการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อีกด้วย ต่อมาในปี 2558-ปัจจุบัน อาจารย์จึงได้กลับมาสอนหนังสือที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้ง แต่ก็ยังมีบทบาทช่วยงานพัฒนานโยบายการศึกษาในฐานะ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติด้านการศึกษา (สปช.) [10]และกรรมาธิการด้านการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสปช. อนุกรรมาธิการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พร้อมกันอีกด้วย ภายหลังเกษียณอายุราชการจากภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ได้เข้าเป็นที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)[11] และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการพัฒนายุทธศาสตร์การวิจัยด้านการพัฒนาเด็กไทยและคนไทยให้แก่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รวมถึงเป็นผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาสถาบันรามจิตติ [12] อีกด้วย
รางวัล[แก้]
- รางวัลบุคลลดีเด่นแห่งชาติด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ในสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรี
- ปี 2543 รางวัลงานวิจัยดีเด่น จากสกว. จากชุดโครงการวิจัยการศึกษากับชุมชน
- ปี 2545 โครงการพัฒนาเครือข่ายวิจัยระดับปริญญาตรี
- ปี 2550 จากโครงการพัฒนาการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทวัฒนธรรมท้องถิ่นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
- โล่ห์กิตติการจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในฐานะกรรมการผู้ร่วมก่อตั้งและทำคุณประโยชน์แก่มหาวิทยาลัย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2542 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[13]
- พ.ศ. 2558 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[14]
- พ.ศ. 2556 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[15]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ศาสตราจารย์ ดร.อรรถ นาครทรรพ ผู้บุกเบิกเทคโนโลยีนิวเคลียร์ด้านการเกษตร
- ↑ หนังสือ “ ในความทรงจำ ”อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ม.ว.ม., ป.ช., จ.ภ.
- ↑ ศาสตราจารย์ฐะปะนีย์ นาครทรรพ : หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ ยุคโครงการพัฒนาการศึกษาของชาติ
- ↑ ดร.คุรุจิต นาครทรรพ’ อีกหนึ่งตำนาน..‘คนพลังงานไทย’...
- ↑ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (สคพ.) itd[ลิงก์เสีย]
- ↑ https://www.efworld.org/meet-our-fellows/dr-amornwich-nakornthap[ลิงก์เสีย]
- ↑ ศูนย์บรรณสารและสื่อการสอน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- ↑ แถลงข่าวการถ่ายโอน รร. ศธ.แถลงข่าวเกี่ยวกับข้อเสนอเรื่องการถ่ายโอนโรงเรียน. ข่าวสำนักนายกรัฐมนตรี
- ↑ นโยบายการประชาสัมพันธ์ ศธ.
- ↑ ระบบบริหารจัดการสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ สถาบันรามจิตติhttp://www.ramajitti.com/about.php เก็บถาวร 2018-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๙, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑๖๐, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗