อนุสรณ์สถานประธานเหมา
อนุสรณ์สถานประธานเหมา | |
---|---|
毛主席纪念堂 | |
![]() | |
![]() | |
ชื่ออื่น | สุสานของเหมา เจ๋อตง |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | เปิดใช้งาน |
ประเภท | อนุสรณ์สถาน, สุสาน |
สถาปัตยกรรม | โมเดิร์น |
ที่ตั้ง | จัตุรัสเทียนอันเหมิน, เขตตงเฉิง, กรุงปักกิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน |
ประเทศ | ![]() |
พิกัด | 39°54′04″N 116°23′29″E / 39.9010°N 116.3915°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 39°54′04″N 116°23′29″E / 39.9010°N 116.3915°E |
ตั้งชื่อให้ | เหมา เจ๋อตง |
เริ่มสร้าง | 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 |
แล้วเสร็จ | 24 มีนาคม พ.ศ. 2520 |
ปรับปรุง | พ.ศ. 2540–41 |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
สถาปนิก | สถาบันออกแบบและวิจัยสถาปัตยกรรมปักกิ่ง |
ผู้รับเหมาก่อสร้าง | คณะกรรมการก่อสร้างเทศบาลปักกิ่ง |
เป็นที่รู้จักจาก | สถานที่พำนักสุดท้ายของเหมา เจ๋อตง |
เว็บไซต์ | |
jnt |
อนุสรณ์สถานประธานเหมา (จีนตัวย่อ: 毛主席纪念堂; จีนตัวเต็ม: 毛主席紀念堂; พินอิน: Máo Zhǔxí Jìniàn Táng) หรือที่รู้จักกันในชื่อ สุสานของเหมาเจ๋อตง ตั้งอยู่ที่ใจกลางจัตุรัสเทียนอันเหมิน ในกรุงปักกิ่ง บนพื้นที่เดิมของอดีตประตูจงหวาเหมิน (จีนตัวย่อ: 中华门; จีนตัวเต็ม: 中華門; พินอิน: Zhōnghuámén) ซึ่งเป็นประตูหลักทางตอนใต้ของนครจักรพรรดิ ในสมัยราชวงศ์หมิง และชิง เป็นสถานที่พำนักแห่งสุดท้ายของเหมา เจ๋อตง บิดาผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน และประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน ตั้งแต่ปี 2486 จนถึงแก่อสัญกรรมในปี 2519
แม้ว่าเหมา เจ๋อตง จะปรารถนาให้เผาศพของเขา แต่ความปรารถนาของเขากลับถูกเพิกเฉย การก่อสร้างอนุสรณ์สถานเริ่มขึ้นไม่นานหลังจากที่เหมาถึงแก่อสัญกรรม
ร่างของประธานเหมาถูกดอง และถูกเก็บรักษาไว้ในโถงกลางของอนุสรณ์ ในโลงแก้วที่มีแสงสลัว ถูกอารักขาโดยทหารกองเกียรติยศ
อนุสรณ์สถานประธานเหมาเปิดให้สาธารณชนเข้าชมทุกวันยกเว้นวันจันทร์[1]
ประวัติ[แก้]

อนุสรณ์สถานสร้างขึ้นไม่นานหลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของเหมา เจ๋อตง ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2519 พิธีวางศิลาฤกษ์มีขึ้นในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 และสร้างเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 ประธานฮั่ว กั๋วเฟิง ซึ่งดูแลโครงการก่อสร้างได้เขียนป้ายชื่ออนุสรณ์สถานด้วยลายมือของตนเอง
ประชาชนทั่วประเทศจีนมีส่วนร่วมในการออกแบบและก่อสร้างอนุสรณ์สถาน โดยมีผู้คน 700,000 คนจากมณฑลต่างๆ เขตปกครองตนเอง และสัญชาติต่างๆ[2]
วัสดุจากทั่วประเทศจีนถูกนำมาใช้สร้างและตกแต่งทั่วทั้งอาคาร เช่น หินแกรนิตจากมณฑลเสฉวน จานลายครามจากมณฑลกวางตุ้ง, ต้นสนจากเมืองหยานอัน ในมณฑลส่านซี, เมล็ดสาโทเลื่อยจากภูเขาเทียนชาน ในเขตปกครองตนเองซินเจียง, หินกรวดสีจากหนานจิง, ควอตซ์สีน้ำนมจากภูเขาคุนหลุน, ไม้สนจากมณฑลเจียงซี และตัวอย่างหินจากยอดเขาเอเวอเรสต์ น้ำและทรายจากช่องแคบไต้หวันยังถูกใช้เพื่อเน้นย้ำถึงการอ้างสิทธิ์ของสาธารณรัฐประชาชนจีนเหนือไต้หวัน
อนุสรณ์สถานแห่งนี้ปิดปรับปรุงเป็นเวลา 9 เดือนในปี พ.ศ. 2540 ก่อนที่จะเปิดอีกครั้งในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2541[3]
ประติมากรรม[แก้]

ภายในอนุสรณ์สถานมีรูปปั้นของเหมา เจ๋อตง และมีประติมากรรม 4 อีกชิ้นที่ตั้งอยู่ด้านนอกโถงอนุสรณ์สถาน
การเข้าชม[แก้]
ปัจจุบันอนุสรณ์สถานเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยว และมักจะมีบุคคลสำคัญจากต่างประเทศและเจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนมาเยี่ยมชมบ่อยครั้ง ประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ เช่น ฟิเดล คาสโตร ผู้นำคิวบา และประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโร แห่งเวเนซุเอลา ที่มาเยี่ยมชมหอรำลึกระหว่างการเดินทางเยือนจีน[4][5]
ในวันที่ พ.ศ. 2562 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงพร้อมด้วยสมาชิกโปลิตบูโรคนอื่นๆ ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เยี่ยมชมอนุสรณ์สถานประธานเหมา[6]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "毛主席纪念堂". cpc.people.com.cn. สืบค้นเมื่อ 10 November 2019.
- ↑ "The Chairman Mao Memorial Hall Successfully Completed", China Pictorial, 9: 4–12, 1977
- ↑ "Crowds flock to Mao mausoleum". BBC. January 6, 1998. สืบค้นเมื่อ 2013-12-31.
- ↑ "Castro Honors Mao". The Washington Post. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 10 November 2019.
- ↑ "Venezuela's Maduro pays tribute to 'giant' Mao". MalayMail. September 14, 2018. สืบค้นเมื่อ 10 November 2019.
- ↑ "Xi bows to Mao Zedong ahead of Communist China's 70th anniversary". Al Jazeera. Al Jazeera and news agencies. สืบค้นเมื่อ 10 November 2019.