ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลศาลาครุ

พิกัด: 14°11′09.2″N 100°54′47.0″E / 14.185889°N 100.913056°E / 14.185889; 100.913056
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลศาลาครุ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Sala Khru
ประเทศไทย
จังหวัดปทุมธานี
อำเภอหนองเสือ
พื้นที่
 • ทั้งหมด49.65 ตร.กม. (19.17 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[1]
 • ทั้งหมด5,277 คน
 • ความหนาแน่น106.28 คน/ตร.กม. (275.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 12170
รหัสภูมิศาสตร์130406
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลศาลาครุ
อบต.ศาลาครุตั้งอยู่ในจังหวัดปทุมธานี
อบต.ศาลาครุ
อบต.ศาลาครุ
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลศาลาครุ
พิกัด: 14°11′09.2″N 100°54′47.0″E / 14.185889°N 100.913056°E / 14.185889; 100.913056
ประเทศ ไทย
จังหวัดปทุมธานี
อำเภอหนองเสือ
การปกครอง
 • นายกอนันต์ รุ่งแสง
พื้นที่
 • ทั้งหมด49.65 ตร.กม. (19.17 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)
 • ทั้งหมด5,277 คน
 • ความหนาแน่น106.28 คน/ตร.กม. (275.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06130407
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 54 หมู่ที่ 3 ทางหลวงชนบท ปท.3033 ตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี 12170
โทรศัพท์0 2159 8519-20
โทรสาร0 2159 8519-20
เว็บไซต์salakru.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ศาลาครุ เป็นตำบลหนึ่งในเขตอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี

ประวัติ

[แก้]

ในอดีตพื้นที่ของตำบลศาลาครุเป็นที่ลาดต่ำจากเขตแนวภูเขาในจังหวัดสระบุรีและจังหวัดนครนายก ลักษณะเป็นป่าหญ้าปรือและหญ้าคาสลับต้นไม้เบญจพรรณจำนวนมาก มีสัตว์ป่านานาชนิด พื้นที่กันดารไม่มีแม่น้ำลำคลอง มีแต่ลำธารและบึงน้ำขนาดใหญ่ตามธรรมชาติ ผู้คนส่วนใหญ่อพยพมาจากตำบลบางปลากด อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก อาศัยทำมาหากินใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ อาชีพหลักคือการทำนาและเลี้ยงสัตว์ไว้ใช้แรงงาน ผลผลิตที่ได้ส่วนใหญ่เก็บไว้บริโภคในครัวเรือนและบางส่วนนำไปแลกเปลี่ยนผลผลิตอื่นกับชุมชนใกล้เคียง การดำรงชีวิตมีความใกล้ชิดกับธรรมชาติ

การคมนาคมสมัยก่อนต้องเดินทางเท้าระยะไกล จึงได้มีการสร้างศาลาหลังหนึ่งขึ้นที่บึงวังจระเข้ (ปัจจุบันเป็นพื้นที่บริเวณบ้านวังศาลา หมู่ที่ 1 ตำบลนพรัตน์) ไว้สำหรับคนเดินทางได้แวะพักร้อน ภายในศาลามีครุน้ำตั้งไว้เพื่อให้ดื่มแก้กระหาย จึงเรียกศาลานี้ว่า "ศาลาครุ" และเป็นที่มาของชื่อตำบลศาลาครุในปัจจุบัน ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2433–2439 รัชกาลที่ 5 ทรงพัฒนาทุ่งหลวงรังสิตให้เป็นคลองซอยเล็ก ๆ ขวางคลองรังสิตเพื่อส่งน้ำเข้าคลองเพื่อเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ พื้นที่บริเวณนี้จึงอุดมสมบูรณ์ ผู้คนจึงอพยพเข้ามาทำมาหากินเพิ่มมากขึ้น

ในปี พ.ศ. 2460 ทางราชการได้จัดตั้งอำเภอหนองเสือ ตำบลศาลาครุตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของที่ว่าการอำเภอหนองเสือ มีระยะห่างประมาณ 14.7 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 49.65 ตารางกิโลเมตร มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูก ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2515 มีประชาชนชาวอำเภอดำเนินสะดวกและบางมดมาเช่าที่ดินทำสวนส้มเขียวหวานซึ่งได้ผลผลิตและราคาดี คนในพื้นที่เดิมส่วนใหญ่จึงเปลี่ยนจากการทำนามาทำสวนส้ม และบางส่วนหันมารับจ้างทำงานในสวนส้ม ทำให้พื้นที่การทำนาในปัจจุบันลดลง

สภาพทั่วไป

[แก้]

ที่ตั้ง

[แก้]

ที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลศาลาครุตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอหนองเสือ มีระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอหนองเสือประมาณ 14.7 กิโลเมตร และห่างจากศาลากลางจังหวัดปทุมธานี 62.7 กิโลเมตร

เนื้อที่

[แก้]

ตำบลศาลาครุมีเนื้อที่โดยประมาณ 49.65 ตารางกิโลเมตร

ภูมิประเทศ

[แก้]

ตำบลศาลาครุมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีลำคลองไหล ผ่านหลายสาย เหมาะแก่การทำอาชีพเกษตรกรรม

อาณาเขต

[แก้]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

ตำบลศาลาครุแบ่งออกเป็น 10 หมู่บ้าน ดังนี้

  • หมู่ที่ 1 บ้านท่าลาภบำรุงเจริญรัฐ
  • หมู่ที่ 2 บ้านลาดผักขวง
  • หมู่ที่ 3 บ้านสหพัฒนา
  • หมู่ที่ 4 บ้านวังทองสามัคคี
  • หมู่ที่ 5 บ้านบึงปลาร้า
  • หมู่ที่ 6 บ้านวังจระเข้
  • หมู่ที่ 7 บ้าน 33 พัฒนา
  • หมู่ที่ 8 บ้านลำน้ำพัฒนาหรือบ้านสำนักพัฒนา
  • หมู่ที่ 9 บ้านลำน้ำสามัคคี
  • หมู่ที่ 10 บ้านแสนจำหน่าย

ลักษณะทางสังคม

[แก้]

การศึกษา

[แก้]

- โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 3 แห่ง

- โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง

ศาสนา

[แก้]

- มีวัด จำนวน 1 แห่ง

สาธารณสุข

[แก้]

- มีสถานีอนามัยประจำตำบล จำนวน 1 แห่ง

- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100

- กองทุนวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าตั้งเป็นศูนย์ จำนวน 1 แห่ง

- มีการออกข้อบัญญัติป้องกันโรคไข้เลือดออกขององค์การบริหารส่วนตำบลมีการป้องกัน และรณรงค์ตลอดทั้งปี

เศรษฐกิจ

[แก้]

อาชีพของประชากร

[แก้]

- ทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก คือ ทำนา ทำสวนกล้วย ถั่วฝักยาว เห็ดฟาง และพืชพันธุ์นานาชนิด ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจ เพาะพันธ์ปลาน้ำจืด

เศรษฐกิจของตำบล

[แก้]

- ประกอบอาชีพทางการเกษตร เพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดจำหน่าย รับจ้างเป็นแคดดีในสนามกอล์ฟและอาชีพอื่นตามฤดูกาล

- มีการเดินทางไปทำงานในโรงงานนอกเขตองค์การบริหารส่วนตำบล

หน่วยธุรกิจ

[แก้]

- โรงสี จำนวน 1 แห่ง

- โรงงานทำเสาเข็ม พื้นสำเร็จรูป จำนวน 2 แห่ง

- โรงงานชำแหลไก่สด จำนวน 1 แห่ง

- โรงงานฟอกหนังสัตว์ จำนวน 1 แห่ง

โครงสร้างพื้นฐาน

[แก้]

คมนาคม

[แก้]

1. มีเส้นทางคมนามคมติดต่อกับอำเภอ 2 เส้นทาง คือ

- ศาลาครุ-วัดเจริญบุญ-ที่ว่าการอำเภอหนองเสือ-ปากคลอง 10

- ศาลาครุ-ถนนแอนหนึ่ง-ถนนหน้า อบต.หนองสามวัง-คลองสิบ-อำเภอ-ปากคลองสิบ

2. มีเส้นทางคมนาคมติดต่อกับจังหวัดปทุมธานี 2 เส้นทาง คือ

- ศาลาครุ-ปากคลองสิบสี่-ถนนรังสิต-องครักษ์-ปทุมธานี

- ศาลาครุ-อำเภอหนองเสือ-คลองหลวง-พหลโยธิน-ปทุมธานี

โทรคมนาคม

[แก้]

- มีโทรศัพท์ใช้ หมู่ที่ 2, 5, 6, 8 และ 9

- ไม่มีโทรศัพท์ใช้ หมู่ที่ 1, 3, 4, 7 และ 10

การไฟฟ้า

[แก้]

ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลศาลาครุ มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหลังคาเรือน จำนวน 8 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9

ส่วนหมู่บ้านที่เข้าถึงเป็นบางส่วนยังไม่เต็มพื้นที่มีจำนวน 2 หมู่บ้าน คือ

- หมู่ที่ 2 หมู่บ้านลาดผักขวง จำนวน 1 หลังคาเรือน

- หมู่ที่ 10 หมู่บ้านแสนจำหน่าย จำนวน 1 ครัวเรือน

แหล่งน้ำธรรมชาติ

[แก้]

- บึง, หนอง จำนวน 2 แห่ง

- คลองบึงปลาร้า ไหลผ่านหมู่ที่ 3, 5

- คลองลาดผักขวง ไหลผ่านหมู่ที่ 2, 5

- คลองระบายน้ำที่ 12 ไหลผ่านหมู่ที่ 8, 9

- คลองระบายน้ำที่ 13 ไหลผ่านหมู่ที่ 2, 4, 6, 7

- คลองระบายน้ำที่ 14 ไหลผ่านหมู่ที่ 1, 3, 5, 10

- คลองระบายน้ำที่ 32 ไหลผ่านหมู่ที่ 1, 2, 10

- คลองระบายน้ำที่ 33 ไหลผ่านหมู่ที่ 7, 10

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

[แก้]

- ฝาย 1 แห่ง

- บ่อบาดาล 12 แห่ง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 อำเภอหนองเสือ". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)