สยามอะเมซิ่งพาร์ค
![]() สไลเดอร์ยักษ์ในดินแดนวอเตอร์เวิลด์ | |
ที่ตั้ง | คันนายาว, กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย |
---|---|
ดำเนินการโดย | บริษัท สยามพาร์ค บางกอก จำกัด |
เปิดกิจการ | พฤศจิกายน 1980 |
ฤดูการดำเนินงาน | รอบปี |
ผู้เข้าชมต่อปี | 2016 >2.000.000 |
พื้นที่ | 300 ไร่ |
เครื่องเล่น | |
รวม | >30 |
เว็บไซต์ | siamamazingpark.com |
สยามอะเมซิ่งพาร์ค (อังกฤษ: Siam Amazing Park, ชื่อเดิม: สวนสยาม;อังกฤษ: Siam Park City) เป็นพิพิธภัณฑ์,ศูนย์การค้า,สวนสนุกและสวนน้ำ ตั้งอยู่ที่ถนนสวนสยาม แขวงคันนายาว เขตคันนายาว บนเนื้อที่ 300 ไร่ มีจุดเด่นที่ภายในโครงการมีทะเลเทียมขนาดใหญ่ อันเป็นที่มาของฉายาว่า "ทะเลกรุงเทพ" โดยทะเลเทียมแห่งนี้เป็นทะเลเทียมที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยการรับรองของบันทึกสถิติโลกกินเนสส์
สยามอะเมซิ่งพาร์ค หรือชื่อเดิมคือ สวนสยาม เปิดดำเนินการมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ. 2523 ดำเนินงานโดย บริษัท อมรพันธ์นคร-สวนสยาม จำกัด โดย นายไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ เป็น ประธานกรรมการ แรกเริ่มมีเพียงสวนน้ำภายหลังจึงได้ซื้อเครื่องเล่นเดิมจากสวนสนุกแฮปปี้แลนด์ที่ได้ปิดกิจการมาให้เปิดบริการ สวนสยามจึงเป็นทั้งสวนน้ำและสวนสนุกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีรางน้ำวน สปา พร้อมเครื่องเล่นทางน้ำครบครัน สไลเดอร์ที่สูงเท่ากับตึก 7 ชั้น ซูเปอร์สไปรัลรางน้ำคดเคี้ยว รถไฟเหาะวอร์เท็กซ์ รถไฟเหาะบูมเมอแรง และเครื่องเล่นอื่น ๆ อีกเกือบ 40 ชนิด
ภายในสยามอะเมซิ่งพาร์ค[แก้]
ประกอบด้วย 5 พื้นที่ และ 1 สวนน้ำ[1]
พื้นที่[แก้]
บางกอกเวิลด์[แก้]
สถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บางกอกเวิลด์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยการนำสถาปัตยกรรมของกรุงรัตนโกสินทร์มาปรับใช้ เช่น ศาลาเฉลิมไทย ศาลาเฉลิมกรุง ห้างแบดแมนแอนด์โก ห้างบี.กริมแอนด์โก เยาวราชไชน่าทาวน์
เอ็กซ์ตรีมเวิลด์[แก้]
ประกอบไปด้วยเครื่องเล่นที่มีความตื่นเต้นและหวาดเสียว เช่น รถไฟเหาะตีลังกาเกลียวสว่าน (Vortex), ยักษ์ตกตึก (Giant Drop), รถไฟเหาะตีลังกาถอยหลัง (Boomerang) และล่องแก่งมหาสนุก (Log Flume) และมัตัวละครมาสคอตที่สำคัญคือ Golden the Tiger
แอดเวนเจอร์เวิลด์[แก้]
เป็นพื้นที่ผจญภัย มีตัวละครมาสคอตคือ ไดโน่ ประกอบไปด้วยเครื่องเล่นที่สำคัญคือ ผจญภัยดินแดนไดโนเสาร์ (Jurassic Adventure), เครื่องเล่นแฟนตาซี อาทิ Twin Dragon, Monster, Astrofighter เป็นต้น
แฟมมิลีเวิลด์[แก้]
มีตัวละครมาสคอตคือ ม้าวิลลี่ ประกอบไปด้วยเครื่องเล่นที่สำคัญคือ ท่องป่าแอฟริกา (Africa Adventure), หอคอยชมวิว (Si-Am Tower) และม้าหมุนสองชั้น (The Merry-Go-Round)
สมอลล์เวิลด์[แก้]
มีตัวละครมาสคอตคือ ป้าหงส์แซลลี่ ประกอบไปด้วยเครื่องเล่นที่สำคัญคือ ม้าหมุนเล็ก, เพลย์พอร์ท, มอเตอร์ไซค์เล็ก, เรือหงส์, เรือหมุน
สวนน้ำ[แก้]
วอเตอร์เวิลด์[แก้]
เป็นสวนน้ำที่มีทะเลเทียมใหญ่ที่สุดในโลก ธารน้ำวน สปาคลับ รวมถึงมีเครื่องเล่นที่สำคัญคือ สไลเดอร์ยักษ์สายรุ้ง 7 สี, Super Spiral และ Si-Am Lagoon เป็นต้น มีตัวละครมาสคอตคือ Ranger the Whale
พื้นที่อื่น ๆ[แก้]
นอกจากนี้ยังทีพื้นที่อื่น ๆ คือ
- สัมมนาจัดเลี้ยง เป็นสถานที่รับรองสำหรับการประชุมหรืองานกิจกรรมต่าง ๆ
- ค่ายพักแรม สำหรับกิจกรรมการเข้าค่ายลูกเสือ มีฐานต่าง ๆ ห้องพักแบบเชลเตอร์และเรือนนอน 48 หลัง มีพัดลมปรับอากาศ ห้องน้ำในตัว
เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
พ.ศ. 2528 เคยใช้เป็นสถานที่จัดการประกวดนางสาวไทยรอบตัดสิน
พ.ศ. 2550 เกิดอุบัติเหตุกับเครื่องเล่น อินเดียน่าล็อก เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ทำให้มีผู้เสียชีวิต และ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2551 เกิดเหตุกับซูเปอร์สไปรัล ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 28 ราย ทางเจ้าของจึงประกาศขายกิจการแต่มีหลายฝ่ายให้กำลังใจและขอร้องอย่าขายเจ้าของจึงตัดสินใจบริหารสวนสยามต่อไป[2]
พ.ศ. 2552 เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552 ที่สยามพาร์คซิตี้ สวนสยาม กินเนสส์ เวิลด์ เร็คคอร์ด ร่วมกับสมาคมสวนน้ำโลก มอบรางวัลหนังสือรับรอง "ทะเลเทียมที่ใหญ่ที่สุดในโลก" ให้แก่ ทะเล-กรุงเทพฯ สวนสยาม โดยมีนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นประธานรับมอบ นายไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ที่ปรึกษาบริษัท สยามพาร์คซิตี้ จำกัด กล่าวว่า ดีใจที่สุด 29 ปีที่ผ่านมาหายเหนื่อยแล้ว ด้านนายทาลาล โอมาร์ ผู้แทนจากกินเนสส์ เวิลด์ เร็คคอร์ด กล่าวว่า แต่ละสัปดาห์มีผู้เสนอเรื่องราวให้บันทึกสถิติโลกถึง 1 พันรายการ รางวัลนี้เป็นแนวความคิดสร้างสรรค์ที่ทะเลเทียมของไทยใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งนี้ ทะเล-กรุงเทพฯ สวนสยาม มีขนาด 13,600 ตร.ม. รองรับผู้ใช้บริการได้พร้อมกัน 13,000 คน ส่วนเจ้าของสถิติทะเลเทียมที่ใหญ่ที่สุดในโลกเดิมคือ ดีโน่ พาร์ค นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน มีขนาด 6,053 ตร.ม. รองลงมาคือ สวนน้ำดิสนีย์ เมืองออร์ลันโด ฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ขนาด 4,220 ตร.ม.[3]
พ.ศ. 2553 วันที่ 19 พฤศจิกายน - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553 สยามพาร์คซิตี้ สวนสยาม ได้ จัดงานฉลองครบรอบเปิดกิจการ 30 ปี จัดโปรโมชั่นพิเศษ ซื้อบัตร ครั้งเดียวเที่ยวฟรีตลอดวัน ผู้ใหญ่ 300 บาท เด็ก 100 บาท [4]นับว่าเป็นสวนสนุกและสวนน้ำที่มีอายุมากที่สุดในประเทศไทยที่เปิดดำเนินการอยู่จนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2562 สวนสยามประกาศปิดปรับปรุงใหญ่บางส่วน พร้อมกับเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น สยามอะเมซิ่งพาร์ก ภายใต้การบริหารของทายาทรุ่นที่สองคือ สิทธิศักดิ์ เหลืองอมรเลิศ, วุฒิชัย เหลืองอมรเลิศ และจิรวรรณ ดิศกุล ณ อยุธยา โดยมีการปรับภาพลักษณ์ให้ดูทันสมัยและสดใสมากขึ้น มีการปรับปรุงเครื่องเล่นให้ใช้งานได้ตามปกติ ปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรวมของโครงการ และก่อสร้างส่วนขยายบริเวณด้านหน้าโครงการ ภายใต้การควบคุมและดูแลของ Spikeband บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลกที่เป็นผู้พัฒนาสวนสนุกโตเกียวดิสนีย์แลนด์ ที่ประเทศญี่ปุ่น[5] และยังเป็นการปรับปรุงเพื่อรองรับการเปิดให้บริการของรถไฟฟ้าสายสีชมพู และรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยการปรับปรุงจะแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2564 พร้อม ๆ กับการเปิดให้บริการของรถไฟฟ้าสายสีชมพู[6]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "เกี่ยวกับเรา". bbc.co.uk. สยามอะเมซิ่งพาร์ค. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-17. สืบค้นเมื่อ 2008-01-15.
- ↑ http://www.moneychannel.co.th/Menu6/MoneylineNews/tabid/89/newsid491/87552/Default.aspx[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.thairath.co.th/content/ent/131219
- ↑ ปิดตำนาน 39 ปี “สวนสยาม” เปลี่ยนชื่อ “Siam Amazing Park” ทรานส์ฟอร์มสู่ยุค Gen 2
- ↑ ‘สวนสยาม’ รับรถไฟฟ้า 2 สาย อัดงบ 3 พันล้าน ปั้น!! ‘บางกอกเวิลด์’
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ภาสวร สังข์สร. “การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจการพักผ่อนหย่อนใจในกรุงเทพ ปี พ.ศ. 2470-2540.” วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์). คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559.
- เว็บไซต์สวนสยาม
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สยามอะเมซิ่งพาร์ค
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°48′19″N 100°41′50″E / 13.805242°N 100.697229°E