ข้ามไปเนื้อหา

สนามกีฬาเครสตอฟสกี

พิกัด: 59°58′22.63″N 30°13′13.92″E / 59.9729528°N 30.2205333°E / 59.9729528; 30.2205333
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนามกีฬาเครสตอฟสกี
แผนที่
ที่ตั้งเกาะเครสตอฟสกี, เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก, รัสเซีย
พิกัด59°58′22.63″N 30°13′13.92″E / 59.9729528°N 30.2205333°E / 59.9729528; 30.2205333
ขนส่งมวลชนรถไฟใต้ดินเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก สาย 5: สถานีเกาะเครสตอฟสกี
เจ้าของนครเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก
ผู้ดำเนินการสโมสรฟุตบอลเซนิตเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก
ความจุ56,196 ที่นั่ง (รัสเซียนพรีเมียร์ลีก)
67,000 (ฟุตบอลโลก)[2]
ขนาดสนาม105 x 68 m
พื้นผิวหญ้า
การก่อสร้าง
ลงเสาเข็มค.ศ. 2007
เปิดใช้สนามค.ศ. 2017
งบประมาณในการก่อสร้าง1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[1]
สถาปนิกKisho Kurokawa
การใช้งาน
สโมสรฟุตบอลเซนิตเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก (ค.ศ. 2017-ปัจจุบัน)
เว็บไซต์
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

สนามกีฬาเครสตอฟสกี[3] (รัสเซีย: стадион «Крестовский») ชื่ออย่างเป็นทางการ สนามกีฬาเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก หรือ เซนิตอารีนา เป็นสนามกีฬาที่มีหลังคาเปิด-ปิดได้ ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเกาะเครสตอฟสกี ในเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก ประเทศรัสเซีย ปัจจุบันเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลเซนิตเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก[4] สนามกีฬาแห่งนี้เปิดใช้งานในปี ค.ศ. 2017 เพื่อรองรับฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2017[5] กำหนดการเดิมจะต้องสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 2008[6] แต่ก็เลื่อนไปหลายครั้ง[7] จนกระทั่งได้เปิดใช้งานจริงในปี ค.ศ. 2017 สรุปในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2017 สนามกีฬาล่าช้ากว่ากำหนด 518% และใช้เงินเกินงบประมาณ 548%[8][9][10] สนามกีฬามีความจุ 67,000 ที่นั่ง[11] สนามแห่งนี้ถูกเรียกว่า สนามกีฬาเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก ในการแข่งขันฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2017[12] และฟุตบอลโลก 2018.[13]

จากค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นหนึ่งในสนามกีฬาที่แพงที่สุดเท่าที่เคยมีการก่อสร้างมา[14]

ภาพรวม

[แก้]

สถาปัตยกรรมสนามที่ชนะการประกวด คือรูปแบบ "ยานอวกาศ" ออกแบบโดย คิโชะ คุโระคะวะ โดยเป็นการนำเอาแบบของโตโยต้าสเตเดียมในเมืองโทะโยะตะ ประเทศญี่ปุ่น มาปรับให้ใหญ่ขึ้น สนามกีฬาถูกสร้างขึ้นในที่เดียวกับสนามกีฬาคีรอฟที่ถูกรือถอนไป

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 เดอะเซนต์ปีเตอส์เบิร์กไทม์ รายงานว่าโครงการนี้จะได้รับเงินทุนเพิ่ม แต่จะสลับไปสร้างตึกระฟ้าแทน ทำให้นครต้องเข้ามาเจรจา หลังจากที่กัซปรอมปฏิเสธที่จะลงทุนสร้างสนามกีฬา[15]

วันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 ผู้รับเหมา อินซ์ทรานสตรอย-Spb กล่าวว่า นครล้มเหลวในการจ่ายเงินค่าสร้างสนาม 1 พันล้านรูเบิล (หรือ 15.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทำให้สัญญาการก่อสร้างต้องหยุดลงชั่วคราว ต่อมาวันที่ 1 สิงหาคม เกิดพายุและน้ำท่วมสนาม[16][17]

ปลายเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2016 ผู้รับเหมารายใหม่อย่างเมโทรสตรอย ได้กลับมาทำการก่อสร้างใหม่อีกครั้ง[18]

การแข่งขันนัดแรกที่สนามแห่งนี้ เกิดขึ้นในรัสเซียนพรีเมียร์ลีก นัดระหว่างสโมสรฟุตบอลเซนิตเซนต์ปีเตอส์เบิร์กกับสโมสรฟุตบอลอูรัล เมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 2017 ผู้ทำประตูแรกที่สนามแห่งนี้คือ บรานิสลาฟ อีวานอวิช

ต่อมาวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2017 นัดแรกของฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2017 จัดขึ้นที่สนามแห่งนี้ โดยเป็นแข่งขันในกลุ่ม A ระหว่างเจ้าภาพ รัสเซีย พบนิวซีแลนด์[19]

และในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 2017 การแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ ระหว่างชิลีกับเยอรมนี ก็จัดขึ้นที่สนามแห่งนี้[20] และเป็นนัดที่มีผู้ชมมากที่สุดของการแข่งขัน

ภาพของสนาม ก่อนที่การแข่งขันฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2017 นัดชิงชนะเลิศ จะเริ่มต้นขึ้น

การแข่งขัน

[แก้]

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2017

[แก้]
วันที่ เวลา ทีมแรก ผล ทีมที่สอง รอบ ผู้ชม
17 มิถุนายน ค.ศ. 2017 18:00 ธงชาติรัสเซีย รัสเซีย 2–0 ธงชาตินิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ กลุ่ม A 50,251[21]
22 มิถุนายน ค.ศ. 2017 18:00 ธงชาติแคเมอรูน แคเมอรูน 1–1 ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย กลุ่ม B 35,021[22]
24 มิถุนายน ค.ศ. 2017 18:00 ธงชาตินิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ 0–4 ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส กลุ่ม A 56,290[23]
2 กรกฎาคม ค.ศ. 2017 21:00 ธงชาติชิลี ชิลี 0–1 ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี นัดชิงชนะเลิศ 57,268[24]

ฟุตบอลโลก 2018

[แก้]
วันที่ เวลา ทีมแรก ผล ทีมที่สอง รอบ ผู้ชม
15 มิถุนายน ค.ศ. 2018 18:00 ธงชาติโมร็อกโก โมร็อกโก ธงชาติอิหร่าน อิหร่าน กลุ่ม B
19 มิถุนายน ค.ศ. 2018 21:00 ธงชาติรัสเซีย รัสเซีย ธงชาติอียิปต์ อียิปต์ กลุ่ม A
22 มิถุนายน ค.ศ. 2018 15:00 ธงชาติบราซิล บราซิล ธงชาติคอสตาริกา คอสตาริกา กลุ่ม E
26 มิถุนายน ค.ศ. 2018 21:00 ธงชาติไนจีเรีย ไนจีเรีย ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา กลุ่ม D
3 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 17:00 อันดับที่ 1 กลุ่ม F อันดับที่ 2 กลุ่ม E รอบ 16 ทีมสุดท้าย
10 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 21:00 ทีมชนะนัดที่ 57 ทีมชนะนัดที่ 58 รอบรองชนะเลิศ
14 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 17:00 ทีมแพ้นัดที่ 61 ทีมแพ้นัดที่ 62 นัดชิงอันดับที่สาม

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020

[แก้]

เมื่อวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 2014 ยูฟ่าประกาศว่าสนามแห่งนี้ จะใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 ทั้งหมด 4 นัด ได้แก่ รอบแบ่งกลุ่ม 3 นัด และรอบก่อนรองชนะเลิศอีก 1 นัด[25]

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ПРОВЕРКИ ОРГАНОВ ГОСУДАРСТВЕННОЙ ВЛАСТИ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 2018-03-21.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-06. สืบค้นเมื่อ 2018-03-21.
  3. "Стадион получит название "Крестовский" - Официальный сайт стадиона Зенит-Арена / Питер-Арена на Крестовском острове". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-31. สืบค้นเมื่อ 2018-03-21.
  4. (รัสเซีย) St. Petersburg Gorzakaz construction tender announcement เก็บถาวร 2019-06-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. "Match report – Group A – Russia - New Zealand" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-07-12. สืบค้นเมื่อ 2018-03-21.
  6. New stadium เก็บถาวร 19 สิงหาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at Zenit's website (รัสเซีย)
  7. ""Газпром-Арена". Лучше, но позже - Невское время".
  8. "Case Study – What Happens When Corruption Meets Incompetence - Krestovsky Stadium". Moscow Times. 13 May 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-17. สืบค้นเมื่อ 3 June 2017.
  9. "FIFA confident that stadium in St. Petersburg will meet all requirements". TASS. 26 December 2016. สืบค้นเมื่อ 30 December 2016.
  10. "Match report – Group A – Russia - New Zealand" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-07-12. สืบค้นเมื่อ 2018-03-21.
  11. FIFA.com. "2018 FIFA World Cup Russia - Destination - FIFA.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-06. สืบค้นเมื่อ 2018-03-21.
  12. FIFA.com. "FIFA Confederations Cup Russia 2017 - Saint Petersburg - FIFA.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 2018-03-21.
  13. Stadium names for the 2018 FIFA World Cup Russia™ confirmed เก็บถาวร 2017-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. FIFA.
  14. Elusive arena. “Krestovsky” and 4 “most expensive” football stadium เก็บถาวร 2021-06-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 27.01.2017
  15. "City Hall Pulls Out of Skyscraper, Redirects Funds to New Stadium". The St. Petersburg Times. 13 January 2009. สืบค้นเมื่อ 27 May 2012.
  16. "У "Зенит-Арены" снесло крышу" (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 9 August 2016.
  17. "Строящийся стадион "Зенита" начал уходить под воду" (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 9 August 2016.
  18. "Мутко: уровень беспокойства за стадион в Санкт-Петербурге понизят в сентябре" (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-09. สืบค้นเมื่อ 4 September 2016.
  19. "Match report – Group A – Russia - New Zealand" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-07-12. สืบค้นเมื่อ 2018-03-21.
  20. "Match report – Final – Chile - Germany" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-07-12. สืบค้นเมื่อ 2018-03-21.
  21. "Match report – Group A – Russia - New Zealand" (PDF). FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 17 June 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-07-12. สืบค้นเมื่อ 17 June 2017.
  22. "Match report – Group B – Cameroon - Australia" (PDF). FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 22 June 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-07-21. สืบค้นเมื่อ 22 June 2017.
  23. "Match report – Group A – New Zealand - Portugal" (PDF). FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 24 June 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-07-12. สืบค้นเมื่อ 24 June 2017.
  24. "Match report – Final – Chile - Germany" (PDF). FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 2 July 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-07-12. สืบค้นเมื่อ 2 July 2017.
  25. https://www.uefa.com/uefaeuro-2020/#/

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า สนามกีฬาเครสตอฟสกี ถัดไป
สนามกีฬามารากานัง
รีโอเดจาเนโร บราซิล
สนามแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ
ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ

(2017)
เป็นสนามในการแข่งขันครั้งสุดท้ายของรายการ