สถานีย่อย:คณิตศาสตร์/บทความยอดเยี่ยม พ.ศ. 2551

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


บทความยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2550 | พ.ศ. 2551 | พ.ศ. 2552


มกราคม 2551

แฟร็กทัล (fractal) ในปัจจุบันเป็นคำที่ใช้ในเชิงวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หมายถึง วัตถุทางเรขาคณิต ที่มีคุณสมบัติคล้ายตนเอง คือ ดูเหมือนกันไปหมด (เมื่อพิจารณาจากแง่ใดแง่หนึ่ง) ไม่ว่าจะดูที่ระดับความละเอียด (โดยการส่องขยาย) หรือ สเกลใดก็ตาม

คำว่า แฟร็กทัล นี้ เบอนัว มานดัลบรอ เป็นคนบัญญัติขึ้นในปี ค.ศ. 1975 จากคำว่า fractus ในภาษาละติน ซึ่งแปลว่า แตก หรือ ร้าว อ่านต่อ...


บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: ภาคตัดกรวย - 1 − 2 + 3 − 4 + · · · - ทฤษฎีเกม
ที่เก็บถาวร

กุมภาพันธ์ 2551

ฟังก์ชันตรีโกณมิติ คือฟังก์ชันของมุม ซึ่งมีความสำคัญในการศึกษารูปสามเหลี่ยมและปรากฏการณ์ในลักษณะเป็นคาบ ฟังก์ชันอาจนิยามด้วยอัตราส่วนของด้าน 2 ด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก หรืออัตราส่วนของพิกัดของจุดบนวงกลมหนึ่งหน่วย หรือนิยามในรูปทั่วไปเช่น อนุกรมอนันต์ หรือสมการเชิงอนุพันธ์ รูปสามเหลี่ยมที่นำมาใช้จะอยู่ในระนาบแบบยุคลิด ดังนั้น ผลรวมของมุมทุกมุมจึงเท่ากับ 180° เสมอ อ่านต่อ...


บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: แฟร็กทัล - ภาคตัดกรวย - 1 − 2 + 3 − 4 + · · ·
ที่เก็บถาวร

มีนาคม 2551

รูปสามเหลี่ยม คือ หนึ่งในรูปร่างพื้นฐานในเรขาคณิต เป็นรูป 2 มิติ ที่ประกอบด้วยจุดยอด 3 จุดและด้าน 3 ด้านที่เป็นส่วนของเส้นตรง ซึ่งมีผลรวมของมุมภายในเท่ากับ 180 องศาเสมอ รูปสามเหลี่ยมแบ่งชนิดตามความยาวของด้านได้ดังนี้

  • รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า มีด้านทุกด้านยาวเท่ากัน รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าจะเป็นรูปมุมเท่าอีกด้วย นั่นคือ มุมภายในทุกมุมจะมีขนาดเท่ากัน คือ 60°
  • รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มีด้านสองด้านยาวเท่ากัน รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วจะมีมุมสองมุมมีขนาดเท่ากัน
  • รูปสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า ด้านทุกด้านจะมีความยาวแตกต่างกัน มุมภายในในรูปสามเหลี่ยมด้านไม่เท่าจะมีขนาดเแตกต่างกัน อ่านต่อ...

บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: ฟังก์ชันตรีโกณมิติ - แฟร็กทัล - ภาคตัดกรวย
ที่เก็บถาวร

เมษายน 2551

ลูกบาศก์ของรูบิค เป็นของเล่นลับสมอง ประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1974 โดย เออร์โน รูบิค (Ernö Rubik) ซึ่งเป็น ประติมากร และ ศาสตราจารย์ในสาขาสถาปนิก ชาวฮังการี โดยทั่วไป ตัวลูกบาศก์นั้นทำจากพลาสติก แบ่งเป็นชิ้นย่อยๆ 26 ชิ้น ประกอบกันเป็นรูปลูกบาศก์ที่สามารถบิดหมุนไปรอบๆ ได้ ส่วนที่มองเห็นได้ของแต่ละด้าน จะประกอบด้วย 9 ส่วนย่อย ซึ่งมีสีทั้งหมด 6 สี ส่วนประกอบที่หมุนไปมาได้นี้ทำให้ การจัดเรียงสีของส่วนต่างๆ สลับกันได้หลายรูปแบบ จุดประสงค์ของเกมคือ การจัดเรียงให้แถบสีทั้ง 9 ที่อยู่ในด้านเดียวกันของลูกบาศก์ ซึ่งมีทั้งหมด 6 ด้านนั้น มีสีเดียวกัน

ลูกบาศก์ของรูบิค ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงต้นของทศวรรษ 1980 และ ได้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ ของ วัฒนธรรมสมัยนิยม ของยุคนั้น ลูกบาศก์ของรูบิคนั้นถือได้ว่าเป็นเป็นของเล่นที่ขายได้มากที่สุดในโลก โดยมีจำนวนยอดขายรวม ทั้งของแท้ และ เลียนแบบ มากกว่า 300,000,000 ชิ้นทั่วโลก อ่านต่อ...


บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: รูปสามเหลี่ยม - ฟังก์ชันตรีโกณมิติ - แฟร็กทัล
ที่เก็บถาวร

พฤษภาคม 2551

ควน เด เอร์เรรา (Juan de Herrera, พ.ศ. 2073 - พ.ศ. 2136) เป็นสถาปนิกและนักคณิตศาสตร์ชาวสเปน

เอร์เรราเป็นสถาปนิกที่ได้รับการอ้างถึงมากที่สุดในราชอาณาจักรสเปนช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นผู้นำแนวทางการออกแบบของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาไปสู่จุดสูงสุดในสเปน ชื่อของเขาได้รับการนำไปเป็นชื่อเล่นของโบสถ์ซานโลเรนโซ (Monastery of San Lorenzo de El Escorial) ว่า "เอร์เรเรียโน (Herreriano) " รูปแบบสถาปัตยกรรมที่เขาสร้างขึ้นได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวแทนของยุคจักรพรรดิฟิลิปที่ 2 (Spanish Empire of Philip II) และบรรพบุรุษชาวออสเตรียของพระองค์ อ่านต่อ...


บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: ลูกบาศก์ของรูบิค - รูปสามเหลี่ยม - ฟังก์ชันตรีโกณมิติ
ที่เก็บถาวร

มิถุนายน 2551

ในทางคณิตศาสตร์ เศษส่วน คือความสัมพันธ์ตามสัดส่วนระหว่างชิ้นส่วนของวัตถุหนึ่งเมื่อเทียบกับวัตถุทั้งหมด เศษส่วนประกอบด้วย ตัวเศษ หมายถึงจำนวนชิ้นส่วนของวัตถุที่มี และตัวส่วน หมายถึงจำนวนชิ้นส่วนทั้งหมดของวัตถุนั้น ตัวอย่างเช่น 3/4 อ่านว่า เศษสามส่วนสี่ หรือ สามในสี่ หมายความว่า วัตถุสามชิ้นส่วนจากวัตถุทั้งหมดที่แบ่งออกเป็นสี่ส่วนเท่าๆ กัน นอกจากนั้น การแบ่งวัตถุสิ่งหนึ่งออกเป็นศูนย์ส่วนเท่า ๆ กันนั้นเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น 0 จึงไม่สามารถเป็นตัวส่วนของเศษส่วนได้ อ่านต่อ...


บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: ควน เด เอร์เรรา - ลูกบาศก์ของรูบิค - รูปสามเหลี่ยม
ที่เก็บถาวร

กรกฎาคม 2551

สัญลักษณ์แบ่งเลขฐานสิบ คือสัญลักษณ์ที่ใช้แบ่งส่วนจำนวนเต็มออกจากเศษของจำนวนในเลขฐานสิบ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จุดทศนิยม นิยมใช้มหัพภาค ( . ) เป็นตัวแบ่ง สำหรับมหัพภาคที่ปรากฏในเลขฐานอื่นจะไม่เรียกว่าจุดทศนิยม แต่เรียกว่า จุดฐาน (radix point)

สัญลักษณ์แบ่งเลขฐานสิบยังหมายถึง สัญลักษณ์ที่ใช้แบ่งตัวเลขจำนวนขนาดใหญ่ออกเป็นกลุ่มที่เรียกว่า สัญลักษณ์แบ่งหลักพัน หรือ เครื่องหมายคั่นหลักพัน นิยมใช้จุลภาค ( , ) เป็นตัวแบ่งที่ทุกๆ หลักพัน แต่ในบางประเทศอาจมีการสลับการใช้งานมหัพภาคกับจุลภาค หรือแบ่งตรงหลักอื่นที่ไม่ใช่หลักพัน อ่านต่อ...


บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: เศษส่วน - ควน เด เอร์เรรา - ลูกบาศก์ของรูบิค
ที่เก็บถาวร

สิงหาคม 2551

เอวานเจลิสตา โตร์ริเชลลี (อิตาลี: Evangelista Torricelli, บางตำราออกเสียงภาษาอังกฤษว่า ตอร์ริเชลลี หรือ ทอร์ริเชลลี, 15 ตุลาคม พ.ศ. 2151 - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2190) เป็นนักฟิสิกส์ และนักคณิตศาสตร์ ชาวอิตาลี ผู้ประดิษฐ์คิดค้น บารอมิเตอร์ และภายหลังได้ถูกนำชื่อของเขาได้นำไปตั้งเป็น หน่วยของความดันในระบบ หน่วยเอสไอ บางตำรายกย่องให้เขาเป็น บิดาแห่งอุทกพลศาสตร์ อ่านต่อ...


บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: สัญลักษณ์แบ่งเลขฐานสิบ - เศษส่วน - ควน เด เอร์เรรา
ที่เก็บถาวร

กันยายน 2551
สัญลักษณ์ค่าพาย
สัญลักษณ์ค่าพาย

พาย หรือ ไพ (pi - สัญลักษณ์ π) เป็นค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์ ที่เกิดจากความยาวเส้นรอบวงหารด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม ค่า π มักใช้ในคณิตศาสตร์, ฟิสิกส์ และวิศวกรรม π เป็นอักษรกรีกที่ตรงกับตัว "p" ในอักษรละติน มีชื่อว่า "pi" (อ่านว่า พาย ในภาษาอังกฤษ แต่อ่านว่า พี ในภาษากรีก) บางครั้งเรียกว่า ค่าคงตัวของอาร์คิมิดีส หรือจำนวนของลูดอฟ

ในเรขาคณิตแบบยุคลิด π มีนิยามว่าเป็นอัตราส่วนของเส้นรอบวงหารด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม หรือเป็นอัตราส่วนของพื้นที่วงกลม หารด้วย รัศมียกกำลังกำลังสอง ในคณิตศาสตร์ชั้นสูงจะนิยาม π โดยใช้ฟังก์ชันตรีโกณมิติ เช่น π คือจำนวนบวก x ที่น้อยสุดที่ทำให้ sin(x) = 0 อ่านต่อ...


บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: เอวานเจลิสตา โตร์ริเชลลี - สัญลักษณ์แบ่งเลขฐานสิบ - เศษส่วน
ที่เก็บถาวร

ตุลาคม 2551
เกล็ดหิมะค็อค
เกล็ดหิมะค็อค

เกล็ดหิมะค็อค หรือ ดาวค็อค (อังกฤษ: Koch snowflake, Koch star) เป็นเส้นโค้งทางคณิตศาสตร์ และเป็นเส้นโค้งแฟร็กทัลแรก ๆ ที่ได้บรรยายไว้ เกล็ดหิมะค็อคปรากฏในบทความชื่อภาษาฝรั่งเศส Sur une courbe continue sans tangente, obtenue par une construction géométrique élémentaire ซึ่งแปลว่า เกี่ยวกับเส้นโค้งต่อเนื่องที่ไม่มีเส้นตั้งฉาก สร้างได้จากเรขาคณิตพื้นฐาน โดย เฮลเก ฟอน ค็อค (Helge von Koch) นักคณิตศาสตร์ชาวสวีเดน อ่านต่อ...


บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: พาย - เอวานเจลิสตา โตร์ริเชลลี - สัญลักษณ์แบ่งเลขฐานสิบ
ที่เก็บถาวร

พฤศจิกายน 2551
การจัดเรียงสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีความยาวด้านเท่ากับจำนวนฟีโบนัชชี
การจัดเรียงสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีความยาวด้านเท่ากับจำนวนฟีโบนัชชี

ในทางคณิตศาสตร์ จำนวนฟีโบนัชชี (อังกฤษ: Fibonacci number) เป็นเลขในลำดับจำนวนฟีโบนัชชี จำกัดความหมายด้วยสูตร:

โดยกฎว่าเลขลำดับแรกคือ 0 ลำดับที่สองคือ 1 และลำดับถัดไปคือผลบวกของเลขในสองลำดับก่อนหน้านี้ รายชื่อตัวเลขดังนี้คือลำดับจำนวนฟีโบนัชชี เริ่มต้นจากลำดับแรก:

0, 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, 144, 233, 377, 610, 987, 1597, 2584, 4181, 6765, 10946, ฯลฯ อ่านต่อ...

บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: เกล็ดหิมะค็อค - พาย - เอวานเจลิสตา โตร์ริเชลลี
ที่เก็บถาวร

ธันวาคม 2551
รูปหกเหลี่ยม
รูปหกเหลี่ยม

ในทางเรขาคณิต รูปหกเหลี่ยม หมายถึงเป็นรูปหลายเหลี่ยมแบบหนึ่ง ที่มีด้าน 6 ด้าน และจุดยอด 6 จุด สัญลักษณ์ชเลฟลี (Schläfli symbol) คือ {6}

มุมภายในของหกเหลี่ยมปกติ หรือหกเหลี่ยมด้านเท่า (มีความยาวด้านเท่ากันทุกด้าน และขนาดมุมเท่ากันทุกมุม) เท่ากับ 120 ° รูปหกเหลี่ยมด้านเท่าก็เหมือนกับรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และสามเหลี่ยมด้านเท่า ที่สามารถวางเรียงในแนวระนาบต่อกันไปโดยไม่มีช่องว่าง (รูปหกเหลี่ยม 3 รูปจะบรรจบกัน (หกเหลี่ยม 3 รูปสามบรรจบกัน 3 มุมยอด) และมีประโยชน์มากสำหรับการสร้าง เทสเซลเลชัน (การวางรูปซ้ำๆ ต่อกันจนเต็มพื้นที่ โดยไม่ซ้อนทับ หรือมีช่องว่าง)

ช่องรังผึ้งช่องหนึ่งเป็นรูปหกเหลี่ยมด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ และเนื่องจากรูปทรงนี้ทำให้สามารถใช้วัสดุการสร้างและพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับVoronoi diagramของตาข่ายสามเหลี่ยมด้านเท่า เป็นเทสเซลเลชั่นรังผึ้งของหกเหลี่ยมนั่นเอง อ่านต่อ...


บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: จำนวนฟีโบนัชชี - เกล็ดหิมะค็อค - พาย
ที่เก็บถาวร