ศาสนาอิสลามในสหราชอาณาจักร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาสนาอิสลามในสหราชอาณาจักร
มัสยิดกลางแบรดฟอร์ดเป็นมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดตามความจุในสหราชอาณาจักร และใหญ่ที่สุดในยอร์กเชอร์และฮัมเบอร์
ศาสนิกชนรวม
  • 3,868,133 (2021)[1]
  • 6.5% ของประชากรทั้งหมด
  • (เฉพาะอังกฤษและเวลส์)
ภูมิภาคที่มีศาสนิกชนจำนวนมาก
เกรตเตอร์ลอนดอน1,318,754
เวสต์มิดแลนส์569,963
นอร์ทเวสต์อิงแลนด์563,105
ยอร์กเชอร์และฮัมเบอร์442,533
ศาสนา
ส่วนใหญ่นับถือนิกายซุนนี ส่วนชีอะฮ์มีจำนวนมาก และส่วนน้อยนับถือนิกายอะห์มะดียะฮ์
ภาษา
อังกฤษ, ปัญจาบ, สินธ์, อูรดู, เบงกอล, คุชราต, อาหรับ, ตุรกี, โซมาลี, เปอร์เซีย[2]
ศาสนาอิสลามในทวีปยุโรป
ตามจำนวนร้อยละของประชากรประเทศ[3]
  90–100%
  70–80%
คาซัคสถาน
  50–70%
  30–50%
มาซิโดเนียเหนือ
  10–20%
  5–10%
  4–5%
  2–4%
  1–2%
  < 1%

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับ 2 ในสหราชอาณาจักร ซึ่งมาจากผลสำรวจสำมะโน ค.ศ. 2011 ที่ระบุจำนวนประชากรทั้งหมด 2,786,635 คน หรือ 4.4% ของประชากรสหราชอาณาจักรทั้งหมด[4] ส่วนสำมะโน ค.ศ. 2021 (เท่าที่เผยแพร่ในข้อมูลเมื่อ พฤศจิกายน 2022) แสดงจำนวนประชากรที่ 3,868,133 คน (6.5%) ในอังกฤษและเวลส์ แบ่งเป็นในประเทศอังกฤษ 3,801,179 คน และประเทศเวลส์ 66,950 คน[5][6][a] สำมะโน ค.ศ. 2011 รายงานมุสลิม 76,737 คนในประเทศสกอตแลนด์ (1.45%) ลอนดอนเป็นเมืองที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดของประเทศ[7][8][9] ประชากรมุสลิมส่วนใหญ่ในสหราชอาณาจักรนับถือศาสนาอิสลามนิกายซึนนี[10] และจำนวนน้อยที่นับถือนิกายชีอะฮ์

ในสมัยกลาง มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมโดยทั่วไประหว่างโลกคริสเตียนกับโลกอิสลาม อย่างไรก็ตาม ในเวลานั้นยังไม่มีมุสลิมอาศัยอยู่ในบริติชไอลส์ (นักรบครูเสดบางส่วนหันมาเข้ารีตในดินแดนตะวันออก เช่น รอเบิร์ตแห่งเซนต์ออลบันส์) ในสมัยเอลิซาเบธ การติดต่อเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากราชวงศ์ทิวเดอร์สร้างพันธมิตรกับโมร็อกโกและจักรวรรดิออตโตมันเพื่อต่อต้านสเปนสมัยราชวงศ์ฮาพส์บวร์คที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก เมื่อจักรวรรดิบริติชเติบโตขึ้น โดยเฉพาะในอินเดีย บริเตนจึงเริ่มปกครองดินแดนที่มีพลเมืองมุสลิมจำนวนมาก โดยกลุ่มหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อ lascar เป็นที่รู้จักจากการที่พวกเขาตั้งถิ่นฐานในบริเตนในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 บูรพาคดีศึกษาสมัยวิกตอเรียกระตุ้นความสนใจต่อศาสนาอิสลาม และชาวบริติชบางส่วน (รวมถึงชนชั้นสูง) หันมาเข้ารับอิสลาม

ส่วนภายในกองทัพบริติชอินเดียน มีมุสลิมจำนวนมากต่อสู้เพื่อสหราชอาณาจักรทั้งในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและที่สอง (โดยมีหลายคนที่ได้รับรางวัลกางเขนวิกตอเรีย เครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของบริเตน) หลายทศวรรษหลังความขัดแย้งในช่วงหลังกับการแบ่งอินเดียใน ค.ศ. 1947 มุสลิมหลายคน (จากบริเวณที่ปัจจุบันคือบังกลาเทศ, อินเดีย และปากีสถาน) เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเตน จนกระทั่งปัจจุบัน ชาวบริติชเอเชียน (British Asians) เป็นประชากรมุสลิมส่วนใหญ่ในสหราชอาณาจักรในแง่ของเชื้อชาติ[11][12] แม้ว่าจะมีชุมชนเติร์ก, อาหรับ และโซมาลีที่สำคัญ และมีชาวบริติชจากภูมิหลังทางชาติพันธุ์หลายกลุ่มที่เข้ารับอิสลามสูงสุดถึง 100,000 คนก็ตาม[13]

ประวัติ[แก้]

ช่วงต้น[แก้]

แม้ว่าโดยทั่วไปศาสนาอิสลามคาดว่าเป็นการเข้ามายังสหราชอาณาจักรเมื่อไม่นานมานี้ แต่มุสลิมได้ทำการค้าขายและแลกเปลี่ยนแนวคิดกับชาวบริติชมาหลายศตวรรษ

mancus/ดีนารทองคำของพระเจ้าออฟฟาที่คัดลอกจากดีนารของรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ (ค.ศ. 774); เหรียญนี้ยังรวมข้อความภาษาอาหรับที่ว่า "มุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์" ซึ่งเป็นประโยคจากชะฮาดะฮ์

หลักฐานแรกสุดของอิทธิพลอิสลามในอังกฤษสืบไปได้ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 เมื่อออฟฟา กษัตริย์แอลโกล-แซกซันแห่งเมอร์เซีย ผลิตเงินที่มีจารึกภาษาอาหรับ ส่วนใหญ่เป็นสำเนาของเหรียญที่ออกโดยอัลมันศูร ผู้ปกครองอับบาซียะฮ์ที่มีชีวิตร่วมสมัยกับพระองค์[14] ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มุสลิมจากแอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลาง และเอเชียกลางเข้ามาอยู่ที่ลอนดอน โดยทำงานหลากหลายประเภท ตั้งแต่นักการทูตและนักแปล ไปจนถึงพ่อค้าและนักดนตรี[15]

ประชากร[แก้]

ประชากรมุสลิมในประเทศอังกฤษและเวลส์
ปีประชากร±%
1961 50,000[16]—    
1971 226,000[16]+352.0%
1981 553,000[16]+144.7%
1991 950,000[16]+71.8%
2001 1,600,000[16]+68.4%
2011 2,706,066[17]+69.1%
20213,868,133[18]+42.9%

ประชากรมุสลิมในประเทศอังกฤษและเวลส์เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง โซฟี กิลเลียต-เรย์ยกการเติบโตในช่วงล่าสุดเข้ากับ "การอพยพในช่วงล่าสุด อัตราการเกิดที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย บางส่วนเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม"[19]

สำมะโนสหราชอาณาจักร ค.ศ. 2021 รายงานว่า มุสลิมในอังกฤษและเวลส์มีจำนวน 3,868,133 คน หรือ 6.5% ของประชากรทั้งหมด[20]

ปีสำรวจสำมะโน จำนวนมุสลิม ประชากรในอังกฤษและเวลส์ มุสลิม (ร้อยละของประชากร) มัสยิดที่จดทะเบียนแล้ว จำนวนมุสลิมต่อมัสยิด
1961 50,000 46,196,000 0.11[16] 7 7,143
1971 226,000 49,152,000 0.46[16] 30 7,533
1981 553,000 49,634,000 1.11[16] 149 3,711
1991 950,000 51,099,000 1.86[16] 443 2,144
2001 1,600,000 52,042,000 3.07[16] 614 2,606
2011 2,706,000 56,076,000 4.83[17] 1,500 1,912
2017 (ประมาณ) 3,373,000[21] 5.17
2021 3,868,133 59,597,542 6.5
ประชากรมุสลิมในเขตการปกครองท้องถิ่นของอังกฤษ, ค.ศ. 2011
  0.0%–0.9%
  1%–1.9%
  2%–4.9%
  5%–9.9%
  10%–19.9%
  20% ขึ้นไป

ตามการคาดการณ์ล่าสุด ประชากรมุสลิมในสหราชอาณาจักรน่าจะมีจำนวนประมาณ 13 ล้านคนภายใน ค.ศ. 2050[22]

กลุ่มชาติพันธุ์ของมุสลิมชาวบริติช (สำมะโน ค.ศ. 2011)[17]

หมายเหตุ[แก้]

  1. จำนวนที่ตีพิมพ์ในสำมะโน ค.ศ. 2021 โดยรวมสำหรับอังกฤษและเวลส์แตกต่างจากยอดรวมตามพื้นที่ด้วย 5

อ้างอิง[แก้]

  1. "Religious composition, 2011 and 2021, England and Wales". Office of National Statistics. 2022-11-29. สืบค้นเมื่อ 2022-11-29.
  2. "2011 Census: Quick Statistics". สืบค้นเมื่อ 17 May 2014.
  3. "Religious Composition by Country, 2010-2050". Pew Research Center. 12 April 2015. สืบค้นเมื่อ 22 October 2017.
  4. CT0341_2011 Census - Religion by ethnic group by main language - England and Wales ONS.
  5. "Religion, England and Wales - Office for National Statistics". www.ons.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 2022-12-05.
  6. "Religion (detailed) - Office for National Statistics". www.ons.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 2022-12-05.
  7. "2011 Census: KS209EW Religion, local authorities in England and Wales (Excel sheet 270Kb)" (xls). Office for National Statistics. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2013. สืบค้นเมื่อ 7 July 2014.
  8. "Scotland's Census 2011 – National Records of Scotland Table KS209SCa – Religion (UK harmonised)" (PDF). National Records of Scotland. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2013. สืบค้นเมื่อ 7 July 2014.
  9. "Religion – Full Detail: QS218NI" (xls). Northern Ireland Statistics and Research Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2013. สืบค้นเมื่อ 7 July 2014.
  10. UK Masjid Statistics เก็บถาวร 11 กันยายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Muslims In Britain (18 August 2010)
  11. Shaw, Alison (4 April 2011). "Review of Crime and Muslim Britain: Culture and the Politics of Criminology among British Pakistanis by Marta Bolognani". Journal of Islamic Studies. Oxford Journals. 22 (2): 288–291. doi:10.1093/jis/etr020.
  12. Muslims in Britain: an Introduction, Cambridge: Cambridge University Press, pp.xvii + 318, ISBN 978-0-521-83006-5
  13. Nye, Catrin (4 January 2011). "The white Britons converting to Islam". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2 September 2020.
  14. "Offa Dinar". British Museum. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2017.
  15. Brotton, Jerry (21 March 2016). "The First Muslims in England". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 March 2016. สืบค้นเมื่อ 21 March 2016.
  16. 16.00 16.01 16.02 16.03 16.04 16.05 16.06 16.07 16.08 16.09 "Hindu, Muslim and Sikh populations". brin.ac.uk/figures. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มีนาคม 2013.
  17. 17.0 17.1 17.2 "Datablog: UK Census: religion by age, ethnicity and country of birth". The Guardian. 16 May 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2016. สืบค้นเมื่อ 5 July 2014.
  18. "Religion, England and Wales: Census 2021 - Office for National Statistics".
  19. Gilliat-Ray, Sophie (2010). Muslims in Britain. Cambridge University Press. p. 117. ISBN 9780521536882., reported in Field, Clive. "How Many Muslims?". British Religion in Numbers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2015. สืบค้นเมื่อ 7 July 2014.
  20. "Religion, England and Wales - Office for National Statistics". www.ons.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 2022-11-29.
  21. "Muslim population in the UK". 2 August 2018 – โดยทาง www.ons.gov.uk.
  22. Rudgard, Olivia (29 November 2017). "Muslim population of the UK could triple to 13m following 'record' influx". The Telegraph. ISSN 0307-1235. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2022. สืบค้นเมื่อ 15 July 2018.
  • Laçiner, Sedat (2008), Ermeni sorunu, diaspora ve Türk dış politikası: Ermeni iddiaları Türkiye'nin dünya ile ilişkilerini nasıl etkiliyor?, USAK Books, ISBN 978-6054030071.
  • Sonyel, Salahi R. (2000), "Turkish Migrants in Europe" (PDF), Perceptions, Center for Strategic Research, 5 (Sept.–Nov. 00): 146–153, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 March 2013, สืบค้นเมื่อ 8 August 2019

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Koenig, Matthias. "Incorporating Muslim migrants in Western nation states—a comparison of the United Kingdom, France, and Germany." in Marian Burchardt & Ines Michalowski, eds., After Integration (Springer Fachmedien Wiesbaden, 2015) pp. 43–58.
  • Lewicki, Aleksandra, and Therese O’Toole. "Acts and practices of citizenship: Muslim women’s activism in the UK. Ethnic and Racial Studies 40#1 (2017): 152-171.
  • Lewicki, Aleksandra. Social Justice Through Citizenship?: The Politics of Muslim Integration in Germany and Great Britain (Springer, 2014).
  • Lewis, Valerie A., and Ridhi Kashyap. "Piety in a Secular Society: Migration, Religiosity, and Islam in Britain." International Migration 51#3 (2013): 57–66.
  • Model, Suzanne, and Lang Lin. "The cost of not being Christian: Hindus, Sikhs and Muslims in Britain and Canada." International Migration Review 36#4 (2002): 1061–1092.
  • Peach, Ceri, and Richard Gale. "Muslims, Hindus, and Sikhs in the new religious landscape of England." Geographical Review 93#4 (2003): 469–490.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]