ฟรุตตี้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟรุตตี้
Fruity
ที่เกิดกรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
แนวเพลงสตริงคอมโบ (ยุคแรก)
ป็อป
ป็อปร็อก
ช่วงปีพ.ศ. 2524–2534
ค่ายเพลงอาร์.เอส.โปรโมชั่น
สมาชิกสุทธิพงษ์ วัฒนจัง - ร้องนำ, กีต้าร์, คีย์บอร์ด เกิด 7 สิงหาคม พ.ศ. 2507
สมพร ปรีดามาโนช - เบส, ร้องนำ, กีต้าร์ เกิด 18 มกราคม พ.ศ. 2504
อดีตสมาชิกวรวุฒิ พูลขวัญ - กีต้าร์
ทวีศักดิ์ เนนเลิศ - คีย์บอร์ด, ทรัมเป็ต
ประดิษฐ์ ศิลาวงศ์ - แซกโซโฟน
ประกิจ ประเสริฐศิลป์ - ทรัมเป็ต, คีย์บอร์ด
อนุรักษ์ ใช้ลิ้ม - กลอง
สาโรจน์ ไชยเนตร - กีต้าร์

ฟรุตตี้ (อังกฤษ: Fruity) เป็นวงดนตรียุคแรก ๆ ของ อาร์เอสมีสมาชิกทั้งหมด 8 คน โดยมีสมาชิกที่เป็นแกนหลักคือ ชมพู - สุทธิพงษ์ วัฒนจัง (กีตาร์, ร้องนำ) และ ปิง - กัณพล ปรีดามาโนช (เบส, ร้องนำ, กีต้าร์, หัวหน้าวง) มีเพลงดังหลายเพลงเช่น เหมือนนกไร้ปีก, คนข้างเคียง, ลืมเธอ, รอยนิรันดร์, อยากบอกรัก, คิดไม่ตก (อยากตาย), ไปให้พ้น, รักแท้ (แต่รอให้รวยก่อน) ฯลฯ

อัลบั้มชุดที่ 5 "อยากบอกรัก" ที่ออกมาในปี พ.ศ. 2530 เป็นผลงานชุดแรกของฟรุตตี้ที่นำเสนอในรูปแบบศิลปินคู่คือชมพูและปิง ด้วยดนตรีเพลงป็อปที่ทันสมัยขึ้น ทิ้งรูปแบบเพลงสตริงเดิม ๆ ที่ทางวงเคยทำมา

ประวัติ[แก้]

ฟรุตตี้เกิดจากการรวมตัวกันของเพื่อนสมัยที่กำลังเรียนในโรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย ทั้งหมด 6 คน แต่นักร้องนำได้ลาออกจากวงในภายหลัง อนุรักษ์ ใช้ลิ้ม มือกลองได้แนะนำให้ปิงซึ่งเป็นมือกีตาร์และหัวหน้าวงไปดูฝีมือของชมพู - สุทธิพงษ์ วัฒนจัง และสาโรจน์ ไชยเนตร ซึ่งเล่นดนตรีและร้องเพลงแนวโฟล์คซองที่ร้านศาลาโฟร์โมสต์ ที่ตั้งอยู่ปากซอยบ้านปิง ซึ่งต่อมาปิงได้ดึงชมพูและสาโรจน์เข้าร่วมวงและตระเวนออกแสดงตามที่ต่าง ๆ โดยมีชมพูรับหน้าที่แต่งเพลงส่วนใหญ่ให้กับวงจนได้เข้าสังกัด อาร์เอส ซาวด์ (อาร์เอสในปัจจุบัน) จากการชักชวนของอาจารย์ บุญสม รดาเจริญ จนได้ออกอัลบั้มชุดแรกคือ "เหมือนนกไร้ปีก" ในปี พ.ศ. 2526 มีเพลงดังคือเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้ม ตามมาด้วยอัลบั้มชุดที่ 2 "คนข้างเคียง" ในปี พ.ศ. 2527, ชุดที่ 3 "2 สไตล์" ในปี พ.ศ. 2528, ชุดที่ 4 "รอยนิรันดร์" ในปี พ.ศ. 2529 หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2530 กับอัลบั้มชุดที่ 5 "อยากบอกรัก" ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านสมาชิกขึ้น เมื่ออาร์เอสต้องการเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอของวงฟรุตตี้ให้เน้นไปที่สมาชิกแกนหลักสองคนในวงคือ ชมพู และ ปิง ทั้งการออกสื่อและรูปแบบวง โดยที่สมาชิกที่เหลือยังคงอยู่กับวงในฐานะแบ๊คอัพของทั้งคู่ อัลบั้มชุดนี้จึงเป็นชุดสุดท้ายที่สมาชิก 7 คนในวงอยู่ในนาม ฟรุตตี้

สำหรับที่มาของชื่อวง ฟรุตตี้ มีที่มาจากที่ ปิง สมพร หัวหน้าวงไปนั่งที่ป้ายรถเมล์แล้วเห็นโฆษณาเครื่องสำอางเพี๊ยซรุ่น ฟรุตตี้ แล้วชอบชื่อนี้จึงได้นำมาตั้งเป็นชื่อวง

ฟรุตตี้ ยุค ชมพู-ปิง[แก้]

อัลบั้มถัดมาในปี พ.ศ. 2530 คือ "อยากบอกรัก" งานชุดแรกของฟรุตตี้ที่สมาชิกมีเพียง ชมพู และ ปิง โดยปิงรับบทบาทในตำแหน่งกีต้าร์ทั้งในการแสดงสดและบันทึกเสียง ในปีเดียวกันทางวงออกผลงานชุดพิเศษขึ้นคือ 5.5 ที่นำเพลงใหม่บางเพลงอย่าง "คิดไม่ตก (อยากตาย)" บวกกับเพลงจากอัลบั้มเก่า ๆ เป็นการปิดท้ายยุคเดิมของฟรุตตี้ งานในยุคนี้ของฟรุตตี้เน้นไปที่เพลงป็อปตามสากลนิยมมากขึ้น เจือด้วยเพลงแนวป็อปร็อก เต็มรูปแบบ สมาชิกทั้งสองคนมีส่วนร่วมในการทำงานทั้งการเล่นดนตรีในห้องอัด เรียบเรียงดนตรี ควมคุมการผลิตเอง และ การแต่งเพลง โดยเฉพาะ ชมพู ที่แต่งเพลงเกือบทั้งหมดให้แก่วง งานเพลงในยุคนี้ที่โด่งดังได้แก่ "อยากบอกรัก", "นิยายรักขาดตอน", "สายเกินไป", โปรดรับรู้ (ร้องและแต่งโดย ปิง), "คารมเป็นต่อ รูปหล่อเป็นรอง", "รักนิด ๆ", "รักแท้ (แต่รอให้รวยก่อน)", "ทำไม่ได้", "สุดใจบิน"

ผลงานเพลง[แก้]

  • เหมือนนกไร้ปีก (มกราคม พ.ศ. 2526)
  • คนข้างเคียง (พ.ศ. 2527)
  • 2 สไตล์ (พ.ศ. 2528)
  • รอยนิรันดร์ (มกราคม พ.ศ. 2529)
  • อยากบอกรัก (มกราคม พ.ศ. 2530)
  • 5.5 (กรกฎาคม พ.ศ. 2530)
  • คารมเป็นต่อ รูปหล่อเป็นรอง (มกราคม พ.ศ. 2531)
  • มีก็เหมือนไม่มี (พฤศจิกายน พ.ศ. 2531)
  • สุดขีด (ธันวาคม พ.ศ. 2532)
  • ฟรุตตี้คั้น (เมษายน พ.ศ. 2533)

ผลงานภาพยนตร์[แก้]

  • มนต์รักเพลงทะเล้น (พ.ศ. 2531) รับบท ชมพูและปิง
  • สงครามเพลงแผน 2 (พ.ศ. 2533) รับบท ชมพูและปิง

คอนเสิร์ต[แก้]

  • 30 ตุลาคม พ.ศ. 2547 คอนเสิร์ต เก็บตะวัน A Tribute To อิทธิ พลางกูร
  • 8 กรกฏาคม พ.ศ. 2550 คอนเสิร์ต เพื่อนช่วยเพื่อน แด่โฆษกคนยาก
  • 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 คอนเสิร์ต A Special Tribute to Bee Gees
  • 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556 คอนเสิร์ต ด้วยรักและภักดี
  • 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556 คอนเสิร์ต Retro Music ไทยจัง
  • 18 มกราคม พ.ศ. 2557 คอนเสิร์ต The Memory ความรัก ความทรงจำ ความคิดถึง
  • 6 - 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557 คอนเสิร์ต ร้อยใจ ร้อยมาลัย ร้อยล้านดวงใจ เทิดไท้ราชินี
  • 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 คอนเสิร์ต ขออภัยในทุกลีลา By ชมพู ฟรุ๊ตตี้
  • 9 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 คอนเสิร์ต สองวัยใจเดียวกัน
  • 24 กันยายน พ.ศ. 2559 คอนเสิร์ต แฟนฉัน นราธิป กาญจนวัฒน์ (วงชาตรี)
  • 17 - 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 คอนเสิร์ต Krabi Naga Fest 2017
  • 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 คอนเสิร์ต การกุศล รวมดวงใจสานฝันพ่อ
  • 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 คอนเสิร์ต สวัสดี บางกอก 2561
  • 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 คอนเสิร์ต สองวัยใจเดียวกัน ครั้งที่ 2
  • 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 คอนเสิร์ต GSB Present 789 0's The Gallery Concert
  • 26 กรกฎาคม - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2561 คอนเสิร์ต 70's Once More
  • 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 คอนเสิร์ต AUDI Thailand Presents Byrd & Heart High School Class Reunion Concert
  • 10 มีนาคม พ.ศ. 2562 คอนเสิร์ต พลังแห่งรัก สุเทพ วงศ์กำแหง
  • 27 เมษายน พ.ศ. 2562 คอนเสิร์ต รวมดาว 18 กะรัต The Concert
  • 25 สิงหาคม พ.ศ. 2562 คอนเสิร์ต “โก๋หลังวัง” ตอน โก๋กี๋มีเรื่อง (เล่า)
  • 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 คอนเสิร์ต EMOTION THE SONG OF FAITH
  • 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563 คอนเสิร์ต เพื่อครู...ชาลี อินทรวิจิตร & สุรพล โทณะวณิก สองศิลปินแห่งชาติ
  • 14 มีนาคม พ.ศ. 2564 คอนเสิร์ต 99 ปี ชาลี อินทรวิจิตร
  • 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 คอนเสิร์ต Byrd & Heart | Birthday Concert
  • 3 ธันวาคม พ.ศ. 2566 คอนเสิร์ต Bangkok Airways Presents La Boum Sway and Dance

อัลบั้มพิเศษร่วมกับศิลปินอื่นและอัลบั้มรวมเพลง[แก้]

  • รวมดาว (พ.ศ. 2527)
  • พบดาว (พ.ศ. 2527)
  • รวมดาว 2 (พ.ศ. 2528)
  • นพเก้า (พ.ศ. 2528)
  • มรดกไทย (พ.ศ. 2528)
  • นพเก้า 2 (พ.ศ. 2529)
  • พบดาว 2 (พ.ศ. 2529)
  • นพเก้า 3 (พ.ศ. 2530)
  • ตราบนิรันดร์ 1-3 (พ.ศ. 2531)
  • The best of ฟรุ๊ตตี้ (พ.ศ. 2539)
  • The best of ฟรุ๊ตตี้ (พ.ศ. 2544)
  • Best Collection ฟรุ๊ตตี้ (พ.ศ. 2554)
  • Classic ฟรุ๊ตตี้ (พ.ศ. 2556)
  • Classic ฟรุ๊ตตี้ (พ.ศ. 2557)